แนะแนวการศึกษา
ทุนการศึกษา
แบบฟอร์ม ทุน กรอ.
ข่าวประชาสัมพันธ์

สาระสำคัญของกองทุน กรอ.



 
  1. กองทุน กรอ. คืออะไร
  2. ใครขอทุน กรอ. ได้บ้าง
  3. นักศึกษาจะสมัครเรียนกับ มสธ. และจะขอรับทุนกู้ยืม กรอ. ในภาคการศึกษาที่ 2 /2549 จะต้องทำอย่างไร
  4. เคยกู้ยืมจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มาแล้วตอนเรียน ม.6 หรือ ปวช. จะสมัครเรียนปริญญาตรีกับ มสธ. ภาคการศึกษาที่ 2/2549 จะขอทุนกู้ยืมแบบ กรอ. ได้หรือไม่
  5. เป็นนักศึกษา มสธ. ปี 2 จะขอกู้ยืม กรอ. ภาคการศึกษาที่ 2/2549 ได้หรือไม่
  6. ระยะเวลาในการให้กู้ยืม กรอ. กำหนดไว้อย่างไร
  7. จำเป็นหรือไม่ว่าเมื่อกู้ยืม กรอ. ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกแล้วจะต้องกู้ต่อไปทุกภาคการศึกษาจนสำเร็จการศึกษา
  8. หากพ้นสภาพหรือออกจากระบบการศึกษา ผู้กู้จะต้องชำระหนี้เงินกู้กองทุน กรอ. หรือไม่
  9. เสียชีวิตหรือเป็นบุคคลล้มละลายหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ใครจะต้องรับภาระชำระหนี้แทน
  10. เงื่อนไขการชำระหนี้กองทุน กรอ. เป็นอย่างไร
  11. แจ้งรายได้ต่ำกว่าจริงเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ได้หรือไม่
  12. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กับ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) แตกต่างกันอย่างไร

1. กองทุน กรอ. คืออะไร

คือ กองทุนสำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ให้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเล่าเรียนตามอัตราค่าเล่าเรียนที่รัฐกำหนดแล้วค่อยผ่อนใช้คืนภายหลังเมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกษา หรือเลิกศึกษาแล้วและมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่รัฐกำหนด

2. ใครขอทุน กรอ. ได้บ้าง

แนวตอบ
  1. มีสัญชาติไทย
  2. เป็นนิสิต นักศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาตอบรับให้เข้าศึกษา

3. นักศึกษาจะสมัครเรียนกับ มสธ. และจะขอรับทุนกู้ยืม กรอ. ในภาคการศึกษาที่ 2 /2549 จะต้องทำอย่างไร

แนวตอบ ติดต่อแจ้งชื่อ-สกุล และที่อยู่ที่ฝ่ายแนะแนวการศึกษา สำนักบริการการศึกษา โทรศัพท์หมายเลข 0 2504 7631-7 เพื่อที่จะได้จัดส่งแบบแจ้งความจำนงเพื่อขอรับทุนฯ ไปให้ ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากทางหน้าเว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัย โดยคลิกที่บริการการศึกษา--แนะแนวการศึกษา หลังจากนั้นให้กรอกรายละเอียดและจัดส่งพร้อมกับใบสมัครไปที่สำนักทะเบียนและวัดผล ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2549 - 5 พฤศจิกายน 2549 กรณีส่งแบบแจ้งความจำนงเพื่อขอรับทุนฯ พ้นกำหนดระยะเวลา นักศึกษาจะไม่สามารถขอรับทุนกู้ยืมฯ ได้ทันในภาคการศึกษาที่ 2/2549

4. เคยกู้ยืมจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มาแล้วตอนเรียน ม.6 หรือ ปวช. จะสมัครเรียนปริญญาตรีกับ มสธ. ภาคการศึกษาที่ 2/2549 จะขอทุนกู้ยืมแบบ กรอ. ได้หรือไม่

แนวตอบ ได้ โดยขอให้ดำเนินการตามขั้นตอนในข้อ 3

5. เป็นนักศึกษา มสธ. ปี 2 จะขอกู้ยืม กรอ. ภาคการศึกษาที่ 2/2549 ได้หรือไม่

แนวตอบ ไม่ได้ เพราะ กรอ. จะให้กู้เฉพาะนักศึกษาใหม่ที่สมัครเรียนตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2549 เป็นต้นไป เว้นเสียแต่ว่าเมื่ออยู่ชั้นปี 1 (ปีการศึกษา 2548) เคยกู้ยืมแบบกยศ. กับมสธ. ก็สามารถขอรับทุนกู้ยืมแบบ กยศ.ต่อไปจนสำเร็จการศึกษาแต่ก็ต้องไม่เกินระยะเวลาของหลักสูตร

6. ระยะเวลาในการให้กู้ยืม กรอ. กำหนดไว้อย่างไร

แนวตอบ กองทุน กรอ. กำหนดระยะเวลาในการกู้ยืมตามหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชา ถึงแม้สถาบันการศึกษาจะกำหนดให้เรียนได้นานกว่าระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด ดังนั้น หากนักศึกษาเรียนในหลักสูตร 4 ปี ก็จะกู้ได้เพียง 4 ปี เมื่อเข้าสู่ปีที่ 5 นักศึกษาก็ไม่สามารถขอทุนกู้ยืม กรอ. ได้ถึงแม้จะยังไม่สำเร็จการศึกษาก็ตาม โดยจะให้กู้เรียนคนละไม่เกิน 1 สาขาวิชาเท่านั้น

7. จำเป็นหรือไม่ว่าเมื่อกู้ยืม กรอ. ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกแล้วจะต้องกู้ต่อไปทุกภาคการศึกษาจนสำเร็จการศึกษา

แนวตอบ ไม่จำเป็น ผู้กู้สามารถกู้เงินจากกองทุน กรอ. ในบางภาคเรียน หรือจะชำระค่าเล่าเรียนเป็นเงินสดในบางภาคเรียน หรือปีการศึกษาใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้กู้ยืมเอง

8. หากพ้นสภาพหรือออกจากระบบการศึกษา ผู้กู้จะต้องชำระหนี้เงินกู้กองทุน กรอ. หรือไม่

แนวตอบ ผู้กู้ต้องรับภาระหนี้สิ้น ถึงแม้จะพ้นสภาพนักศึกษาหรือออกจากระบบการศึกษาไปแล้วก็ยังต้องรับภาระหนี้เงินกู้จากกองทุน กรอ. ทั้งหมด ไม่ว่าจะจบการศึกษาหรือไม่กู้ตาม เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กองทุน กรอ. กำหนด

9. เสียชีวิตหรือเป็นบุคคลล้มละลายหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ใครจะต้องรับภาระชำระหนี้แทน

แนวตอบ กรณีนี้ ไม่ต้องมีใครมารับภาระแทน เพราะเงินกู้ยืมกองทุน กรอ. ไม่มีผู้ค้ำประกัน อาศัยความสามารถในการหารายได้ของผู้กู้ในอนาคตมาเป็นหลักประกัน เมื่อผู้กู้ไม่มีทางหารายได้ หรือมีอายุเกิน 60 ปี หรือตายไป หนี้ทั้งหมดเป็นอันยกเลิกไป ผู้ปกครองหรือบุคคลอื่นไม่ต้องมารับภาระหนี้แทน รัฐเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สูญดังกล่าว ทั้งหมด ไม่ว่าจะจบการศึกษาหรือไม่กู้ตาม เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กองทุน กรอ. กำหนด

10. เงื่อนไขการชำระหนี้กองทุน กรอ. เป็นอย่างไร

แนวตอบ กองทุน กรอ. ไม่กำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการหารายได้ของผู้กู้ เมื่อทำงานมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดคือ 16,000 บาท ต่อเดือน ก็จะต้องชำระหนี้ให้กับกองทุน กรอ. ตามสัดส่วนที่กำหนด ผ่านระบบการเสียภาษีเงินได้ซึ่งกรมสรรพากรจะเป็นผู้ติดตามและทวงหนี้ โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลักเป็นเลขเดียวกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเงินได้ โดยมีบทลงโทษและมาตรฐานจูงใจให้ชำระหนี้เร็วขึ้น

11. แจ้งรายได้ต่ำกว่าจริงเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ได้หรือไม่

แนวตอบ กรมสรรพากรจะดำเนินการติดตามทวงหนี้จากผู้กู้เช่นเดียวกับการติดตามหนี้ภาษีค้างของกรมสรรพากร โดยมีโปรแกรมการสำรวจ ติดตาม และมีบุคลากรประจำสำนักงานเขตพื้นที่และสรรพากรพื้นที่สาขาซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศตรวจสอบ เพื่อให้ผู้อยู่นอกระบบฐานภาษีเข้าสู่ระบบภาษี หากกรมสรรพากรพบว่ามีผู้กู้รายใดเจตนาหลบเลี่ยงหรือหลบหนีการเสียภาษีหรือการชำระหนี้เงินกู้และถูกตรวจสอบพบ ผู้กู้จะต้องเสียเงินเพิ่มและค่าปรับทั้งส่วนที่เป็นเงินได้และเงินกู้ด้วยบทลงโทษขั้นรุนแรง

12. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กับ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) แตกต่างกันอย่างไร
เงื่อนไขผู้กู้ กยศ. กรอ.
ระดับการศึกษา - มัธยมศึกษาตอนปลาย
- อนุปริญญา
- ปริญญาตรี
- เฉพาะอุดมศึกษา
- มัธยมศึกษาตอนปลายให้ทุนให้เปล่า
กลุ่มเป้าหมาย เฉพาะผู้เรียนที่ยากจน (รายได้ครัวเรือน 150,000 ต่อปี) ผู้เรียนที่ประสงค์ขอกู้ทุกคน
ผู้ค้ำประกัน มีผู้ค้ำประกัน ไม่มีผู้ค้ำประกัน
ประเภทรายจ่ายที่ให้กู้ - ค่าเล่าเรียน
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว
ให้เฉพาะค่าเล่าเรียน
- ค่าใช้อื่นๆ ให้เฉพาะคนยากจนโดยดูจากเส้นความยากจน (เฉพาะต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา)
เงื่อนไขการชำระหนี้
  • เงินเดือนขั้นต่ำที่ต้องชำระหนี้
  • ระยะเวลาปลอดหนี้ และชำระคืนหนี้
  • อัตราดอกเบี้ย
  • ผู้รับชำระหนี้
  • 4,700 บาทต่อเดือน
  • ปลอดหนี้ 2 ปี ชำระหนี้ภายใน 15 ปี
  • ร้อยละ 1
  • ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน)
  • ไม่ต่ำกว่า 16,000 บาท
  • ขึ้นอยู่กับความสามารถในการหารายได้
  • ขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อ
  • กรมสรรพกร

8. ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน กยศ. และกองทุน กรอ. จะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไหน

แนวตอบ

- กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) www.studentloan.or.th โทรศัพท์หมายเลข 0 2643 1461-7 และที่

- สำนักงานบริหารโครงการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษา www.icl.or.th โทรศัพท์หมายเลข 0 2354 5500-19