สมเด็จพระศรีสวรินทิรา
บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า บุคคลสำคัญของโลก กับพระราชกรณียกิจในด้านการส่งเสริม
กิจการการแพทย์และสาธารณสุขของไทย
โดย...นายชินาทร
กายสันเทียะ
อาชีพ
นักวิชาการประวัติศาสตร์อิสระ
ประธานชมรมยุวชนมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์
สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
ต.โพธิ์กลาง
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
อีเมล์
: rachachinakawin@gmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
สฺวางฺวฑฺฒนาติ
นามํ
สา โหตุ สุขินี ปุตฺตี
อทฺธา มหทฺธนา จาปี
จิรฏฺฐายินี วํสมฺหิ |
ยสฺสาเยว
กตํ อิธ
อโรคา นิรุปทฺทวา
โภคินี จ ยสสฺสินี
เสฏฺฐุตฺตรา หิ เปติเก |
คาถาภาษามคธที่กล่าวมาข้างต้นนี้
เป็นคาถาพระราชทานพระนาม ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๔ พระราชนิพนธ์ เป็นภาษามคธ สำหรับพระราช
ทานแก่ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (พระอิสริยยศเมื่อแรกประสูติ)
ซึ่งเป็นพระราชนิยมในรัชกาลของพระองค์ที่จะทรงพระราชนิพนธ์คาถาพระราชทานพระนาม
หรือ
คาถาพระราชทานพระพร แก่พระราชโอรสธิดาในพระองค์ ทุกพระองค์ ซึ่งบทพระราชนิพนธ์คาถาพระราชทานพระนามบทนี้
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ได้พระนิพนธ์แปล เป็นภาษาไทยไว้ว่า
เราได้ตั้งนามของบุตรีในราชสกุลนี้ว่า
"สว่างวัฒนา" ดังนี้ ขอบุตรีนั้นจงเป็นผู้มีสุข เลี้ยงง่าย ไม่มีโรค
ไม่มีอุปัทวันตราย มั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ดำรง
อิศริยยศตั้งอยู่ในพระบรมราชวงศ์ที่ประเสริฐสูงสุดของพระบิดายั่งยืนกาลนานเทอญ
ซึ่งบัดนี้เป็นเวลาล่วงมากว่า
๑๕๒ ปีแล้ว ที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์คาถาพระราชทานพระนาม คาถาพระราชทานพระพรไว้
และอาจจะกล่าวได้ว่าคาถาที่ได้พระราชนิพนธ์ไว้นี้
เป็นไปตามพระราชประสงค์ที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ทุกประการ อีกเช่นเดียวกัน
เนื่องจากสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้รับพระราชทาน
สถาปนาพระราชอิสริยยศสูงสุดในรัชกาลที่ ๕ ในฐานะพระอัครมเหสี ที่ สมเด็จ
พระบรมราชเทวี เป็นสมเด็จพระราชชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
พระองค์แรกของไทย นั่นคือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
และเป็นสมเด็จพระอัยยิกาเจ้า (ย่า)ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึง ๒
รัชกาล คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่
๘, และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน และเป็น
ที่ประจักษ์ชัดว่า คาถาที่สมเด็จพระบรมราชชนกนาถพระราชทานแด่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
เป็นภาษามคธนั้น ได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เนื่องจากสมเด็จพระพัน
วัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเจริญพระชนมพรรษายืนยาวถึง ๖ แผ่นดิน ทรงดำรงพระองค์ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
จนถึงพระชนมพรรษาได้ ๙๓ พรรษา
พระราชโอรส
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่ประสูติ และพระราชสมภพแต่ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
(จากซ้ายมาขวา)
พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา, พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์, พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์,
พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย |
|
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา
บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา
เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล
ที่ ๔ พระราชสมภพแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม
สกุลเดิม สุจริตกุล) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน ๑๐ แรม ๒ ค่ำ ปีจอ จัตวาศก
จ.ศ. ๑๒๒๔
ตรงกับวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ในพระบรมมหาราชวัง มีพระเชษฐา พระเชษฐภคนี
พระขนิษฐา และพระอนุชา ร่วมพระโสทร พระมารดาเดียวกัน ๕ พระองค์ ได้แก่
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ, สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา
กุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี, สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ, และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
เมื่อเจริญพระชนมายุได้
๑๖ พรรษา พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งพระภรรยาเจ้า
เช่นเดียวกับพระเชษ
ฐภคินีร่วมพระชนนี อีก ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
พระบรมราชเทวี และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระอัคร
มเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และดำรงพระอิสริยยศ
พระราชอิสริยยศตามลำดับ ดังนี้
ที่ พระนางเจ้าสว่างวัฒนา
พระราชเทวี
ที่ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา
พระราชเทวี
ที่ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา
พระบรมราชเทวี
ในฐานะพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าพระองค์แรก คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
(หรือ สมเด็จพระบรม
ราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ในรัชกาลปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา
พระราชเทวี ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา
พระบรมราชเทวี ซึ่งเป็นตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสี
สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา
พระบรมราชเทวี
ฉลองพระองค์ตามแบบพระราชนิยมในราชสำนักฝ่ายใน
|
|
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา
บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๑๐ พระองค์
เป็นพระราชโอรส ๔ พระองค์ เป็นพระราชธิดา ๔ พระองค์
ตกเสียก่อนเป็นพระองค์อีก ๒ พระองค์ ดังต่อไปนี้
๑. สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร)
๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา อดุลยาดิเรกรัตน ขัตติยราชกุมารี
๔. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
๕. สมเด็จพระราชปิตุจฉา
เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
นรินทรเทพยกุมารี)
๖. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี
๗. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช
กรมขุนสงขลานครินทร์)
๘. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าหญิง (ยังไม่ได้รับพระราชทานนาม) สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ ๓ วัน
นอกจากนี้
พระองค์ยังทรงรับอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงกำพร้าพระมารดาอีก ๔ พระองค์ คือ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงษ์สนิท, และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อม
ราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ อีกทั้ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไล
และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพร้อม
จากการที่ทรงต้องสูญเสียพระราชโอรสธิดาหลายพระองค์ในช่วงเวลาต่อกัน
ทำให้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระอาการประชวร พระสุขภาพทรุดโทรมลงอย่าง
รวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯ ให้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จ ฯ แปรพระราชฐาน ไปประทับรักษาพระองค์
ที่พระตำหนักศรีราชา ขณะที่ประทับอยู่ ณ อำเภอศรีราชา มีพระราชดำริว่า ประชาชน
ในพื้นที่นั้นยังขาดแคลนสถานพยาบาลและแพทย์ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสถานพยาบาลขึ้น
ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามสถานพยาบาลนี้ว่า
โรงพยาบาลสมเด็จ ต่อมาเรียกว่า โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ปัจจุบันคือ
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลแห่งนี้ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้พระราชทานพระราชินูปถัมภ์มาโดยตลอด
และต่อมาได้พระราชทานให้สภา
อุณาโลมแดง(สภากาชาดสยาม) หรือสภากาชาดไทยในปัจจุบัน ดูแลกิจการบริหารงานของโรงพยาบาลนี้สืบมาจนถึงปัจจุบัน
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ทรงมีส่วนช่วยริเริ่มการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดง หรือสภากาชาดสยาม หรือสภากาชาดไทยในปัจจุบัน
ทรงดำรงตำแหน่งสภาชนนีแห่งสภา
อุณาโลมแดง ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ และทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาแห่งสภากาชาดสยาม
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จนเสด็จสวรรคต สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราช
ทานพระราชทรัพย์ในการทำนุบำรุงกิจการสภากาชาดไทยจนพัฒนาเป็นปึกแผ่นมั่นคงวัฒนาถาวรจนมาถึงทุกวันนี้
นอกจากนั้นแล้ว
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ายังทรงริเริ่มงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ตั้งแต่ยังต้องใช้เกวียนเป็นพาหนะแจกจ่ายยารักษาโรคและปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่
ราษฎร ทรงสนับสนุนการจัดสร้างโรงศิริราชพยาบาลหรือโรงพยาบาลศิริราช ในปัจจุบัน
ซึ่งนับเป็นโรงพยาบาลหลวงแห่งแรก อีกทั้งทรงเป็นแรงบันดาลพระราชหฤทัยให้สมเด็จ
พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สนพระราชหฤทัย และทรงอุทิศพระองค์เพื่อพัฒนากิจการการแพทย์
และการสาธารณสุขไทย
และทรงสนับสนุนส่งเสริมพระราชกรณียกิจของพระราชโอรสเกี่ยวกับในด้านการพัฒนาการแพทย์ในประเทศไทย
และนี่เป็นเพียงพระราชกรณียกิจที่ยกมาเทิดพระเกียรติ
บางส่วนที่สำคัญในสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และยังมีพรราชกรณียในด้านต่างๆ
ที่ทรงบำเพ็ญนานัปการเพื่อประเทศชาติและประชาชน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษา
วิทยา
ศาสตร์สุขภาพ และการอนุรักษ์พัฒนาวัฒนธรรม
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ในหนังสือพิมพ์
Le petit Journal ปี ค.ศ.๑๘๙๓
|
|
ด้วยพระเกียรติคุณที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนนานัปการ
จนเป็นที่ประจักษ์ชัดจนถึงทุกวันนี้ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO ในที่ประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่
๓๖ ณ สำนักงานใหญ่องค์กรการยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่
๒๕ ตุลาคม - ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔ จึงได้ประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณยกย่องให้สมเด็จพระศรีสวรินทิรา
บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นบุคคล
สำคัญของโลก ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการอนุรักษ์พัฒนาวัฒนธรรม
ปี ๒๕๕๔ เนื่องในโอกาสครบ ๑๕๐ ปี แห่งการพระราชสมภพ
๑๐ กันยายน ๒๕๕๕ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณให้ปรากฏแผ่ไพศาล สืบไป
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
๑. คาถาพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานพระนาม
พระโอรสธิดา และพระนามพระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ และ พระราช
นิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ. , ๒๕๒๔ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
หม่อมเจ้าอัปภัศราภา เทวกุล ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
๒. มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า. ศรีสวรินทิรานุสรณีย์ น้อมรำลึกถึงสมเด็จพระพันวัสสา
อัยยิกาเจ้า. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๙.
๓. สมภพ จันทรประภา, สมเด็จพระศรีสวรินทิราพระบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า.
กรุงเทพฯ :
เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๒๘.
|