การบริหารด้วยความรัก
: เปิดรับความต่างด้วยใจ
โดย...ดร.ชัยเสฏฐ์
พรหมศรี
อาชีพ พนักงานมหาวิทยาลัย
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
แขวงจิตรลดาเหนือ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
อีเมล์ : chaiyaset_promsri@yahoo.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
กิจกรรมการอ่านสีด้านบนกำลังบอกอะไรแก่เรา สิ่งที่เราเห็น คือ ชื่อสีกับตัวสีที่เขียนลงในตารางมีความแตกต่างกัน
เวลาที่เราต้องบอกสีที่แท้จริงที่ถูกเขียนบนชื่อของสีที่
มีความแตกต่างจากสีจริงๆ ที่ระบาย เช่น สีดำกลับถูกระบบด้วยสีแดง ซึ่งถ้าเราอ่านแบบธรรมดาก็จะอ่านได้ว่าเป็น
สีดำ แต่ในความเป็นจริงเราต้องอ่านตัวสีที่ถูกระบบ ซึ่งก็คือ
สีแดง ทำให้เกิดความยุ่งยากและความยากลำบากในการอ่านสำหรับบุคคลที่ไม่เคยได้ลองทำแบบฝึกหัดนี้มาก่อน
จุดมุ่งหมายของการทำกิจกรรมนี้เพื่อแสดงให้เห็นความขัด
แย้งของสมองทั้งสองซีกของเรา โดยสมอง โดยสมองซีกขวาพยายามในการพูดชื่อของสี
(ที่ระบาย) เหล่านี้ออกมา ในขณะที่สมองซีกซ้ายพยายามอ่านตัวหนังสือที่บ่งบอกว่าเป็น
สีอะไร
ประเด็นสำคัญของการทำกิจกรรมนี้ไม่ใช่เพียงแค่แสดงให้เห็นความขัดแย้งของสมองทั้ง
2 ด้านเท่านั้น แต่ลงลึกไปสู่การทำงานที่แตกต่างกันของสมองทั้ง 2 ซีกด้วย
โดย
สมองซีกซ้ายซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวซีกขวาของร่างกาย มุ่งเน้นในเรื่องของการคิดอย่างมีเหตุมีผล
การคิดวิเคราะห์ และเรื่องที่เป็นตรรกะทั้งหลาย ในขณะที่
สมองซีกขวาซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวซีกซ้ายของร่างกาย เน้นในเรื่องของจินตนาการ
อารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ถ้าสรุปให้เข้าใจได้โดยง่ายก็คือ สมองซีกซ้ายพยายามจะ
อธิบายถึงเหตุผลหรือการคิดวิเคราะห์ต่อสิ่งต่างๆ ส่วนสมองซีกขวาพยายามอธิบายถึงเรื่องอารมณ์และความรู้สึก
เนื่องจากการมีปฏิสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกับคนอื่น
มีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งได้เสมอ ด้วยเหตุนี้ผู้รู้ทั้งหลายจึงได้ให้แนวทางในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน
ว่า
ควรใช้เหตุผลใดมาคิดวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางร่วมกันซึ่งเป็นการใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าการใช้สมองซีกขวา
แต่ในความเป็นจริงการใช้เพียงเหตุผลเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข
ปัญหาความขัดแย้ง หรือเพื่อทำความเข้าใจอีกฝ่ายนั้นไม่เพียงพอ แต่ต้องอาศัยสมองซีกขวาประกอบกันด้วย
ถึงแม้ว่าในทางทฤษฎีหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งจะชี้ให้
เห็นวิธีการตอบสนองของความขัดแย้งไว้เป็น 2 ลักษณะ อันประกอบไปด้วยการตอบสนองที่สร้างสรรค์
(Constructive Response) และการตอบสนองที่ไม่สร้างสรรค์
(Destructive Response) ซึ่งวิธีการแรกเป็นการใช้สติปัญญา (Cognitive) ในการแก้ไขปัญหาซึ่งส่งผลให้เกิดการแสดงพฤติกรรมที่ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งขึ้น
ในขณะที่
วิธีที่สองเป็นการใช้อารมณ์ (Emotion) ในการแก้ไขปัญหาอันส่งผลให้ความขัดแย้งลุกลามหรือบานปลายเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ถ้าพิจารณาตามแนวคิดนี้ ดูเหมือนว่าโอกาสที่ผลลัพธ์จะ
เป็นบวกหรือลบขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการตอบสนอง โดยเฉพาะการใช้เหตุผลเหนืออารมณ์
แต่ในความเป็นจริงความหมายของคำว่า อารมณ์ คือการใช้ใจมองอีกฝ่าย ทำความเข้า
ใจกับอีกฝ่าย เหมือนที่มีคำสุภาษิตของชนเผ่าอินเดียแดงที่กล่าวว่า Never
criticize a man until youve walked a mile in his moccasins. หรือแปลว่า
ไม่ตัดสินคนอื่น
จนกว่าเราจะได้เดินเป็นไมล์บนรองเท้าที่เขาสวมใส่ การใช้อารมณ์ไม่ใช่การใช้อารมณ์ตัดสินคนอื่นในแง่ลบ
แต่การใช้อารมณ์คือการใช้ใจมองเพื่อทำความเข้าใจกับอีกฝ่ายว่า
ทำไมเขาถึงคิด พูด หรือกระทำในลักษณะนั้น เป็นการใช้อารมณ์ร่วมเพื่อเข้าถึงความรู้สึก
ซึ่งการเข้าถึงในความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งได้นั้น ต้องอาศัยหลักแห่งการฟังที่ดี
ตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่า
ฟัง บ่งชี้ให้เห็นองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาทักษะในการฟังเพื่อทำความเข้าใจบุคคลอื่น
ดังรูปภาพด้านล่างนี้
ภาพจาก
Web Site
http://shakiboo.blogspot.com/2014/03/listening.html
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 15-8-57 |
|
ตัวอักษรที่รวมกันกลายเป็นคำว่า
ฟัง ประกอบไปด้วยคำว่า หู ตา และ ใจ โดยมีสิ่งที่เชื่อมประสานคือ
การไม่ถูกแบ่งความสนใจ (Undivided Attention) ซึ่งองค์
ประกอบที่น่าสนใจของการฟังคือ ใจ ซึ่งหมายถึง หัวใจที่เปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นหรือความแตกต่างของคนอื่น
เพราะฉะนั้นการใช้ ใจ ฟังผู้อื่นคือการดำเนินชีวิตด้วย
การสอดเสริม อารมณ์ และ ความรู้สึก เข้าไปกับเรื่องของ เหตุผล ดังนั้นในมุมมองของผม
การจะทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัย
สมองทั้ง 2 ด้านพร้อมๆ กัน คือ สร้างสมดุลทั้งเรื่องของเหตุผลและอารมณ์ ตัวอย่างของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยทุกวันนี้
เป็นเพราะคนส่วนใหญ่ใช้อารมณ์ (ในด้านลบ)
เหนือกว่าเหตุผล ในขณะที่มีคนอีกจำนวนไม่น้อยใช้แต่เหตุผล แต่ไม่ใช้อารมณ์
(หรือใจ) ในการพิจารณามุมมองหรือจุดยืนของอีกฝ่ายแต่อย่างใด เมื่อทั้ง 2
ส่วนถูกนำมาใช้อย่าง
ไม่สัมพันธ์หรือสมดุลกันแล้ว โอกาสที่ปัญหาจะได้รับการแก้ไขก็เป็นไปได้ยาก
การสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างคนในองค์กร ชุมชน และสังคม ก็มิอาจเกิดขึ้นได้
ภาพจาก
Web Site
http://modernservantleader.com/servant-leadership/do-you-show-your-unsung-heroes-love/
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 15-8-57 |
|
การใช้ใจมองคนอื่นเป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารคนในองค์กรด้วยความรักและความเมตตา
ในความเป็นจริงผู้หริหารหลายท่านทราบดีอยู่แล้วว่า การใช้ใจ คือกุญแจที่
สำคัญที่นำไปสู่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน การสร้างสัมพันธภาพที่ดีแก่กัน
ความสามัคคี และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์กร
แต่
ทำไมสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในองค์กรไม่ได้เป็นอย่างที่เรารู้อยู่แก่ใจ คำตอบก็คือ
เรามักเอาประสบการณ์เดิมของเรามาเป็นตัวตัดสินสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งทำให้เราด่วน
สรุปหรือขาดความละเอียดรอบครอบในการพิจารณามุมมองหรือความคิดของคนอื่น เพราะเราเชื่อว่า
สิ่งที่เราคิด เราเห็น เป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่แล้ว แต่แท้จริงแล้วการคิดเช่นนี้คือ
ความสิ้นคิด เพราะเราใช้แต่การวิเคราะห์แต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ใช้อารมณ์
หรือ ใจ ประกอบการพิจารณา
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์กร.
กรุงเทพมหานคร: เอกซเปอร์เน็ท
http://boards.cannabis.com/cannabis-com-lounge/8734-different-coloured-eyes.html
http://www.quotationspage.com/quote/2278.html
|