การบริหารพนักงานด้วยความรัก
โดย...ดร.ชัยเสฏฐ์
พรหมศรี
อาชีพ พนักงานมหาวิทยาลัย
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
แขวงจิตรลดาเหนือ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
อีเมล์ : chaiyaset_promsri@yahoo.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
คนบนโลกนี้คงไม่สามารถอยู่ได้ถ้าปราศจากความรัก
แต่คำว่า รัก มีหลายความหมาย ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนเสียก่อนว่า
รัก ที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้หมาย
ความว่าอย่างไร ในพจนานุกรมออนไลน์ etdict.com ได้ให้ความหมายของคำว่า love
หรือ รัก ไว้หลายคำ แต่ความหมายที่เหมาะจะนำมาอธิบายในหนังสือเล่มนี้ คือ
a strong positive emotion of regard and affection แปลว่า อารมณ์ด้านบวกที่มั่นคงของความเอาใจใส่และความพึงใจ
สำหรับ การบริหาร
หรือ การจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารใช้ทรัพยากรที่อยู่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่
วางไว้ ซึ่งในที่นี้เราคงพิจารณาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด
ที่เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การใช้ทรัพยากรอื่นๆ เมื่อนำสองคำมารวมกัน
Love + Management = การบริหารด้วยความรัก หมายถึง การใช้บุคคล (ทรัพยากร)
ที่ทำงานในองค์กรโดยให้ความเอาใจใส่และสร้างความพึงใจให้เกิดขึ้นแก่กันเพื่อนำไปสู่
การบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน อย่างไรก็ตามการบริหารด้วยความรักไม่ใช่การตามใจหรือเอาใจอีกฝ่ายโดยไม่ลืมหูลืมตา
หรือรักแบบไม่สนใจเรื่องของคุณธรรม ศีลธรรม
หรือจริยธรรม แต่อย่างใด ความรักที่ให้ไปต้องเป็นความรักที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความถูกต้องและยุติธรรม
ซึ่งถ้าพิจารณาแนวทางการบริหารของผู้บริหารที่ใช้ความรักในการ
ขับเคลื่อนและจูงใจคนในองค์กรจะพบว่า ผู้บริหารต้องพิจารณาความรักควบคู่ไปกับขอบเขตในการทำงานที่ชัดเจน
ดังภาพด้านล่างที่แสดงให้เห็นความแตกต่างของแนวทางการ
บริหารด้วยความรักและการคงไว้ซึ่งหลักโครงสร้างในการทำงาน ซึ่งสามารถแบ่งผู้บริหารได้เป็น
4 ประเภท ได้แก่
ภาพจาก
Web Site
http://www.trainingreality.co.uk/blog/tough-love.shtml
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 15-8-57 |
|
1. นักบริหารแบบเอาตัวรอด บุคคลที่ไม่ให้ความสนใจต่อเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับ
และความเอาใจใส่ต่อบุคลากรในทีมหรือองค์กร
2. นักบริหารแบบปล่อยตามสบาย
บุคคลที่ไม่ได้เข้มงวด ใช้กฎระเบียบข้อบังคับ แต่ให้ความรัก ความอบอุ่น
ความเอาใจใส่อย่างเต็มที่
3. นักบริหารแบบอำนาจนิยม
บุคคลที่มีความเข้มงวดต่อการใช้กฎระเบียบข้อบังคับ แต่ไม่ได้ให้ความรัก
ความอบอุ่น ความเอาใจใส่แต่อย่างใด
4. นักบริหารแบบรักอย่างมีเหตุผล
บุคคลที่สร้างสมดุลระหว่างการใช้กฎระเบียบเพื่อให้อยู่ในวินัย และการให้ความรัก
ความเอาใจใส่และการสนับสนุน
การนำเสนอตารางการบริหารด้วยความรักมีความคล้ายคลึงกับตาข่ายแห่งการบริหาร
หรือ Managerial Grid ที่นำเสนอโดย Robert Blake และ Jane Mouton ในช่วง
ทศวรรษที่ 1960s ซึ่งช่วยในการกำหนดตำแหน่งของผู้บริหาร จากมุมมองที่สำคัญ
2 มุม ได้แก่
การให้ความใส่ใจต่อเรื่องงาน
(Task- Centeredness) เป็นระดับความใส่ใจที่ผู้บริหารมีต่อความมีประสิทธิภาพในการทำงาน
ผลผลิตที่สูงของงาน และหาแนวทางที่ดี
ที่สุดเพื่อการบรรลุเป้าหมายในการทำงาน
การให้ความใส่ใจต่อเรื่องคน
(Person-Centeredness) เป็นระดับความใส่ใจต่อสมาชิกภายในทีมหรือในองค์กร
ให้ความสำคัญกับความต้องการ ผลประโยชน์ และแนว
ทางในการพัฒนาสมาชิกเหล่านั้นซึ่งเมื่อนำทั้งน้ำหนักของทั้ง 2 ด้านมาระบุช่วงตำแหน่งในตาข่าย
จะพบลักษณะของผู้บริหารที่แตกต่างกัน 5 ลักษณะดังต่อไปนี้ (ดูภาพประกอบ)
ภาพจาก
Web Site
http://www.managementstudyguide.com/blake-mouton-managerial-grid.htm
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 15-8-57 |
|
1.
ผู้บริหารแบบปล่อยตามสบาย (1, 1): ผู้บริหารที่ใช้วิธีการแบบนี้มีความใส่ใจต่อทั้งเรื่องงานและเรื่องคนต่ำ
ไม่ให้ความสนใจต่อความเป็นอยู่หรือความพึงพอใจใน
การทำงานของพนักงานในองค์กร รวมทั้งไม่สนใจเรื่องของระยะเวลาในการทำงานให้เสร็จลุล่วงตามเป้าหมาย
2.
ผู้บริหารที่เน้นอำนาจและการเชื่อฟัง (9, 1): ผู้บริหารที่เน้นในเรื่องงานมากกว่าเรื่องคน
ผู้บริหารในลักษณะนี้สอดคล้องกับทฤษฎี X ของ McGregor ที่มองว่า
ลูกน้องขี้เกียจ ไม่เต็มใจที่จะทำงาน ต้องมีการลงโทษเพื่อกระตุ้นให้อยากทำงาน
เพราะฉะนั้นผู้บริหารประเภทนี้จะไม่ให้ความสำคัญหรือเอาใจใส่ต่อความรู้สึกของพนักงานแต่
อย่างใด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารของผู้บริหารประเภทนี้ก็คือ ผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นในระยะสั้น
แต่ในระยะยาวอาจมีการลาออกจากงานเพิ่มมากขึ้น
3.
ผู้บริหารแบบพบกันครึ่งทาง (5, 5): ผู้บริหารประเภทนี้เป็นผู้บริหารที่แสดงให้เห็นถึงความประนีประนอม
โดยพยายามจะสร้างความสมดุลระหว่างการบรรลุ
เป้าหมายขององค์กรและความต้องการของพนักงาน อย่างไรก็ตามผู้บริหารที่ใช้วิธีการในลักษณะนี้ไม่สามารถที่จะนำพาองค์กรไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้
รวมทั้งไม่สามารถตอบ
สนองความต้องการที่แท้จริงของพนักงานได้เช่นเดียวกัน
4.
ผู้บริหารแบบเน้นการสมาคม (1, 9): ผู้บริหารประเภทนี้ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องงานแต่มุ่งเน้นต่อความต้องการของพนักงานในองค์กรมากกว่า
เพราะผู้บริหาร
ลักษณะนี้เชื่อว่าการปฏิบัติที่ดีต่อพนักงานจะนำไปสู่การสร้างแรงจูงใจในการทำงานและทำให้พนักงานทำงานหนักมากขึ้นด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหารให้ความสำคัญ
กับเรื่องงานน้อยเกินไป ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการปล่อยให้พนักงานทำงานเองนั้นเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
5.
ผู้บริหารที่เน้นการทำงานเป็นทีม (9, 9): ผู้บริหารลักษณะนี้เป็นผู้บริหารที่มุ่งทั้งคนและงาน
รูปแบบการบริหารในลักษณะนี้สอดคล้องกับทฤษฎี Y ของ McGregor ที่มองว่าพนักงานมีความขยันและมีความรับผิดชอบ
การบริหารในลักษณะนี้เป็นการบริหารที่มีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผู้บริหารเชื่อว่าการมอบอำนาจ
ความผูกพัน
ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความเคารพซึ่งกันและกัน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ช่วยสร้างบรรยากาศภายในทีมที่นำไปสู่ความพึงพอใจของพนักงานและผลผลิตที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น
คุณลักษณะทั้ง
5 ประการที่ปรากฏในตาข่ายแห่งการบริหาร สะท้อนให้เห็นสิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งของหลักในการบริหารคนด้วยความรักก็คือผู้บริหารจะบริหารโดยมุ่งแต่
การตอบสนองความต้องการของทีมงานอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องตอบสนองในเรื่องของการบรรลุเป้าหมายในการทำงานด้วย
อย่างไรก็ดีมีผู้บริหารบางคนอาจมีมุมมองหรือทัศนคติ
ในแง่ลบต่อพนักงานของตน ทำให้การแสดงออกซึ่งความเอาใจใส่หรือความสนใจต่อสมาชิกในทีมลดน้อยลง
ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากการรับรู้ที่ผิดพลาดของผู้บริหาร ซึ่งส่งผลต่อ
ความคิดหรือมุมมองที่มีต่อพนักงาน แนวทางที่จะช่วยให้ผู้บริหารทำความเข้าใจกับพนักงานแต่ละคนได้ดีมากยิ่งขึ้น
คือ การสังเกตการณ์แสดงออกทางพฤติกรรมของพนักงาน
อย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงสิ่งที่สังเกตเห็นกับข้อมูลต่างๆ ที่มี เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และบทสรุปที่ว่า
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นของพนักงานคนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายในของ
ตัวพนักงานเอง หรือ เป็นเพราะปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมกันแน่
วิธีการที่ใช้ในการพิจารณาพฤติกรรมของพนักงานนี้
เป็นหลักที่สำคัญของทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เรียกว่า ทฤษฎีคุณลักษณะ ซึ่งเป็นการตัดสินว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้
บุคคลๆ หนึ่งแสดงพฤติกรรมเช่นนั้นออกมา ไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะของตัวบุคคลเอง
หรือ มาจากสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ถ้าวันหนึ่งเราถูกเจ้านายต่อว่าบอกว่าเราทำงาน
ไม่ได้เรื่อง เราอาจมองว่าพฤติกรรมหรือการแสดงออกนั้นเป็นเพราะเจ้านายของเราไม่มีความอดทน
และ ไม่ชอบรับฟังคำอธิบายใดๆ จากลูกน้อง วิธีคิดแบบนี้มองว่าพฤติกรรม
ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะตัวบุคคลเอง ในทางกลับกันถ้าเราถูกเจ้านายต่อว่าหรือตะโกนใส่หน้า
เราอาจมองว่านั่นเป็นเพราะเราทำงานไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด และส่งผลให้ลูกค้า
ไม่พอใจ การกระทำของเจ้านายสะท้อนให้เห็นสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรม
คุณลักษณะมีความสำคัญเป็นเพราะช่วยให้ให้ผู้บริหารตัดสินได้ว่าจะรับมือกับสถานการณ์อย่างไร
ตัวอย่างในกรณีเจ้านายต่อว่าหรือตะโกนใส่หน้า ลูกน้องที่ตำหนิว่าการ
ต่อว่าหรือตะโกนใส่หน้าเป็นบุคลิกภาพของเจ้านายเอง ลูกน้องก็จะมองว่าเจ้านายเป็นปัญหาและพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้า
ในทางตรงกันข้าม ถ้าลูกน้องมองว่าการต่อว่า
หรือตะโกนใส่หน้าของเจ้านายเป็นความผิดของตนเอง ในครั้งต่อไปเขาจะทำงานให้ดียิ่งขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ในลักษณะนั้นเกิดขึ้นอีก
อย่างไรก็ดี
การพิจารณาพฤติกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งจำเป็นที่จะต้องนำองค์ประกอบที่สำคัญ
3 ประการมาใช้ในการวิเคราะห์ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกนั้น มาจาก
คุณลักษณะภายในหรือภายนอก ปัจจัยที่ว่าได้แก่ ความสม่ำเสมอ ความแตกต่าง และการกระทำของคนส่วนใหญ่
โดยพิจารณาดังนี้
ความสม่ำเสมอ
เป็นการถามว่า บุคคลทำพฤติกรรมแบบนี้บ้างหรือไม่ในอดีตที่ผ่านมาก ถ้าใช่คือมีความถี่ในการทำพฤติกรรมลักษณะนี้
ก็แปลว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็น
ผลมาจากคุณลักษณะภายใน แต่ถ้าไม่ใช่คือมีความถี่น้อยหรือแทบจะไม่มีเลย ก็หมายความว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาจากคุณลักษณะภายนอก
ความแตกต่าง
เป็นการถามว่า บุคคลได้ทำพฤติกรรมแบบนี้บ้างหรือไม่ในสถานการณ์อื่น ถ้าคำตอบคือมีความแตกต่างน้อยมาก
(คือมีการกระทำในลักษณะเดียวกันใน
สถานการณ์อื่น) แปลว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นเพราะปัจจัยภายใน ในทางกลับกันถ้ามีความแตกต่างมาก
คือไม่มีการกระทำในลักษณะเดียวกันในสถานการณ์อื่น หมาย
ความว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นเกิดจากปัจจัยภายนอก
การกระทำของคนส่วนใหญ่
เป็นการถามว่า คนส่วนใหญ่ปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ถ้าคำตอบคือคนส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันเมื่อ
เผชิญกับสถานการณ์คล้ายคลึงกัน คือ การกระทำของคนส่วนใหญ่น้อย หมายความว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาจากคุณลักษณะภายใน
ในทางตรงกันข้ามถ้าคนส่วนใหญ่มีการแสดง
ออกทางพฤติกรรมที่เหมือนกันสูง แสดงว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากคุณลักษณะภายนอก
การพิจารณาองค์ประกอบทั้ง
3 ประการนี้ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจพนักงานในองค์กรได้ดียิ่งขึ้น และไม่ตัดสินเพียงแค่สิ่งที่พนักงานเหล่านั้นแสดงออก
โดยปราศจากการ
ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นหลักที่สำคัญของการบริหารคนด้วยความรัก
เพราะผู้บริหารที่ดีต้องไม่ตัดสินใจคนจากสิ่งที่เห็นเพียงแค่ครั้งแรกเท่านั้น
แต่ต้องให้
โอกาสและหาข้อมูลให้มากเพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจ เพราะโดยมาก คนเรามักมีแนวโน้มที่จะกำหนดคุณลักษณะของพฤติกรรมของบุคคลอื่นจากปัจจัยภายในมากกว่า
ภายนอก แบบนี้เรียกว่า พวกมองคนอื่นแย่ (Fundamental attribution errors)
ในทางกลับกันมักมองว่าพฤติกรรมที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะตัวเองเป็นคน
ทำไม่ได้มาจากปัจจัยภายนอกแต่อย่างใด ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า พวกชอบเข้าข้างตนเอง
(Self-serving bias) ถ้านำลักษณะทั้ง 2 อย่างมารวมเข้าด้วยกัน เราจะเรียกคน
ประเภทนี้ว่า เอาดีเข้าตัว เอาชั่วใส่คนอื่น ทั้งหมดที่กล่าวมาคือแนวทางที่สำคัญที่ช่วยในการทำความเข้าใจพนักงานในองค์กร
ที่เรียกว่า การบริหารพนักงานด้วยความรัก
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
ชัยเสฏฐ์
พรหมศรี. (2555). Happy Life: ชีวิตนี้มีความสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คิดดี.
http://www.trainingreality.co.uk/blog/tough-love.shtml http://www.managementstudyguide.com/blake-mouton-managerial-grid.htm
|