มือใหม่ขับรถควรรู้เรื่องอะไร
โดย...พ.ต.ท.ภาคิน  วังสถิตธรรม
สารวัตรฝ่ายกฎหมายกองบังคับการตำรวจจราจร

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2556)

          ในเรื่องของมือใหม่ขับรถควรรู้เรื่องอะไรบ้าง ประเด็นสำคัญ คือ เรื่องของป้ายทะเบียน การติดอุปกรณ์ตกแต่งเสริม แล้วก็เรื่องของการได้รับใบสั่งจราจร รวมถึงข้อแนะนำ
สำหรับผู้ขับรถมือใหม่ เรื่องของมือใหม่ ปัจจุบันนี้มีเยอะแยะมากในเมืองไทย เพราะมีรถคันแรกคราวนี้มือใหม่ควรจะรู้เกี่ยวกับการขับรถอย่างไร


ภาพจาก Web Site
http://p.lnwfile.com/_/p/_raw/fn/1b/54.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 18-6-58

กฎหมายที่ควรรู้ในการขับสำหรับมือใหม่
          1. ป้ายแดง ปัจจุบันนี้จะเห็นได้เวลาขับรถไปตามท้องถนน เห็นพวกรถป้ายแดงวิ่งกันอยู่มาก ตรงนี้อยากจะทำความเข้าใจกับท่านผู้ใช้รถใช้ถนน รถป้ายแดงเป็นรถที่ยังไม่
จดทะเบียนและเสียภาษี การนำรถป้ายแดงมาวิ่งบนท้องถนนนั้นมีความผิดตามกฎหมายจราจร มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทครับ การใช้ป้ายแดงของผู้ใช้รถใช้ถนน ป้ายแดงคือ
เครื่องหมายพิเศษที่กรมการขนส่งทางบกออกให้กับบริษัทหรือตัวแทนผู้จำหน่ายรถ ใช้ขับรถไปขายเพื่อขายหรือเพื่อซ่อมยังจุดหมายที่เขาจะไป เช่น จะซื้อรถซักคันไปที่โชว์รูม
ตรงลาดพร้าว เขาก็จะขับรถมาส่ง รถที่ขับมาจากโชว์รูมนั้นจะเป็นรถป้ายแดงขับมา เมื่อไปถึงจุดหมายแล้ว เขาก็จะถอดป้ายเก็บกลับไปตรง รถคันนั้นยังไม่มีป้ายทะเบียน ทาง
ท่านผู้ที่ซื้อรถใหม่นั้นต้องไปจดทะเบียนดำเนินการทางทะเบียนที่ขนส่งก็จะได้แผ่นป้ายทะเบียน ขั้นตอนเป็นแบบนี้
          บางคนไปจดทะเบียนมาแล้วแต่ยังอยากใหม่อยู่ เท่ากับว่ารถเขานั้นจดทะเบียนมาเรียบร้อยแล้ว แต่เป็นการใช้แผ่นป้ายทะเบียนไม่ตรงตามที่จดทะเบียนกับขนส่งไว้ตรงนี้
ก็มีความผิด ส่วนอีกประเด็นรถป้ายแดงจริงๆ ยังไม่จดทะเบียนเลยระหว่างรอป้ายขาวอยู่ ตรงนี้ก็จะมีความผิดในข้อหาที่ขับรถยังไม่จดทะเบียนและเสียภาษีนำมาวิ่งบนถนน ขั้น
ตอนที่ควรปฏิบัติเมื่อซื้อรถใหม่ป้ายแดงมาแล้วควรจะรีบดำเนินการไปดำเนินการทางทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบก ในที่ตัวเองมีภูมิลำเนาตรงนั้นรีบไปดำเนินการ
          2. การติดอุปกรณ์ตกแต่งเสริมในรถยนต์หรือว่าส่วนนอกตัวรถ ตรงนี้การไปติดเมื่อซื้อรถมาแล้วจะไปติดพวกสปอยเลอร์หรือว่าแร็คบนหลังคา บางทีจะใช้เดินทางไปเที่ยว
พักผ่อนตามต่างจังหวัด ตรงนี้ไม่เป็นความผิดครับเพราะว่าถ้าติดอย่างมั่นคงแข็งแรง เป็นอุปกรณ์เสริม
          3. การคาดเข็มขัดนิรภัยการขึ้นรถทุกครั้ง คือกฏหมายเขาบัญญัติมาเพื่อความปลอดภัยกับตัวผู้ขับขี่กับผู้โดยสาร เวลาขับไปตามท้องถนนไปถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกเข้า
โดยหลักเป็นความผิดตามกฏหมายจราจร คือไม่คาดเข็มขัดนิรภัยมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ส่วนถ้าเกิดมีผู้โดยสารนั่งมาด้วยแล้วไม่คาดด้วยผู้โดยสารก็จะโดนข้อหาเป็น
ผู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดเหมือนกันโดนปรับไม่เกินห้าร้อย ส่วนผู้ขับขี่โดนอีกหนึ่งข้อหาก คือ ยินยอมให้ผู้โดยสารที่โดยสารมาด้วยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย คือเท่ากับผู้ขับขี่โดนสอง
ข้อหาปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท เพราะฉนั้นใครที่เป็นผู้ขับขี่เป็นผู้รับผิดชอบชีวิตของคนอื่นนอกจากท่านจะต้องขับรถอย่างระมัดระวัง เมื่อผู้โดยสารของท่านขึ้นรถ เตือนเลยว่าให้
คาดเข็มขัดนิรภัย มิฉนั้นท่านจะเสียเงินเข้าหลวงไม่เกินหนึ่งพันบาท


ภาพจาก Web Site
http://www.trafficintertrade.com/thai/wp-content/uploads/2014/01/%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%
E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A31.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 18-6-58

          4. ถนนที่มีหลุมมีบ่อบ้าง แล้วบางทีน้ำที่มันท่วมขังจากฝนตกทำให้มีน้ำขัง ถ้าขับรถแล้วบังเอิญไม่ได้ชะลอความเร็วแล้วไปทำให้น้ำในหลุมที่ขังน้ำกระเด็นโดนคนที่เดินไป
เดินมา ตรงนี้บางทีเชื่อว่าหลายคนคงคาดไม่ถึงว่า การที่ว่าบางครั้งขับรถไปตามท้องถนนเห็นน้ำที่ขังอยู่ตามหลุมตามบ่อ บางทีเผลอไปเหยียบเข้าแล้วตรงนั้นเป็นบริเวณป้ายรถ
เมล์หรือป้ายรถประจำทาง มีผู้โดยสารยืนอยู่หรือคนยืนรออยู่บริเวณนั้น ขับไปแล้วเหยียบน้ำกระเซ็นไปถูกทางคนที่ยืนอยู่เปียกเปรอะเปื้อนเต็มไปหมด ตรงนี้ก็จะมีความผิดข้อหา
ขับรถไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ซึ่งตรงนี้มีโทษถึงจำคุกเลย ถ้าเกิดเป็นเรื่องเอาราวขึ้นมา ทางที่ดีของสองฝ่ายถ้าไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้
          5. การติดตั้งไฟส่องสว่าง ไฟที่ติดมากับรถนั้นกฎหมายได้กำหนดไว้อยู่แล้ว เช่น ไฟหน้าจะต้องเป็นไฟสีเหลืองหรือสีขาวนวลๆ ส่วนไฟเบรกต้องให้แสงสีแดง ไฟเลี้ยวต้อง
ให้สีเหลืองอำพัน เวลาซื้อรถมารถเดิมๆ ถูกต้องตามกฎหมาย แต่บางทีอาจจะไม่ถูกใจคนขับอาจจะไปเห็นแฟชั่นใหม่ๆ ตามท้องถนนลองมาเปลี่ยนดูบ้าง ถ้าเกิดไปเปลี่ยน หรือ
แสงของไฟที่ให้ความสว่างออกมาผิดไปจากระบุไว้ จะมีเป็นความผิดตามกฏหมายจราจรมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
          ตอนกลางคืนขณะขับรถพบว่าไฟหน้ารถสีสว่างจ้ามาก สีเขียวเข้มสีแดงเข้มขับสวนทางมาบางทำให้ตาพร่า ตรงนี้เป็นความผิดตามกฏหมายเป็นการเพิ่มสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้าไป
จะทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายจิตใจของผู้อื่นมีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท เพราะฉะนั้นการขนส่งก็ได้มารณรงค์เรื่องนี้อยู่ครับ บางทีไปติดใต้ท้องรถขับมาขับไปเห็นสว่างมาก
ตาฝ้าเลยบางที
          กรณีไฟซีนอนลักษณะมีความความสว่างมากกว่าไฟรถปกติทั่วไป ตรงนี้ถ้าซื้อรถออกมาแล้วไฟดังกล่าวไฟซีนอนติดมาจากโรงงาน ตรงนี้ก็ยังไม่เป็นความผิดเพราะว่ารถจะ
ได้มีการตรวจสภาพจากทางขนส่งมา ผ่านกรรมวิธีการตรวจสภาพมาเรียบร้อยแล้ว จะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อรถไม่ใช่ไฟซีนอนแต่เอาไปติดไฟซีนอนตรงนี้มุมระดับต่างๆ องศาต่างๆ
จะเพี้ยนไป ทำให้ความสว่างออกมาบางทีเชื่อว่าหลายคนที่ขับรถตามหลังมาหรือว่าสวนทางมาตาฝ้า
          6. การปรับเปลี่ยนสีรถยนต์ ทำได้เปลี่ยนได้ไม่เป็นความผิดแต่การเปลี่ยนนั้นกฏหมายกำหนดว่า จะต้องไปแจ้งต่อนายทะเบียนขนส่งภายในกำหนดเจ็ดวันนับจากวันเปลี่ยน
สีและการเปลี่ยนสีนั้นต้องเปลี่ยนจากเฉดสีเดิมเป็นสีใหม่ เช่น รถของท่านเป็นสีขาวแต่ไปทำฝากระโปรงดำตรงนี้ถือว่าเปลี่ยนสี แต่ถ้ารถของท่านเป็นสีแดงเข้มแต่มาแดงจางลง
ตรงนี้ไม่เปลี่ยนสี การดูที่ว่าเปลี่ยนจากสีเดิม
          7. กรณีอื่น ๆ ถ้าไม่แน่ใจว่าจะถูกต้องในการตรวจสภาพรถยนต์ ถ้ามีการแจ้งให้ปรับเปลี่ยนอะไรควรปรับเปลี่ยนให้เรียบร้อยก่อนการต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี

การชำระค่าใบสั่งกรณีฝ่าฝืนกฎระเบียบ
          ทำผิดข้อหาอะไรและให้ไปชำระค่าปรับที่สน.ไหน ตรงนี้ใบสั่งจะกำหนดไว้ให้ชำระภายในไม่เกิน 7 วัน ในใบสั่งเขียนไว้เลย ถ้ามาชำระล่าช้าโดยไม่มีเหตุอันควรก็จะมีความ
ผิดขึ้นมาอีกหนึ่งข้อหา คือ ข้อหามาชำระล่าช้าปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทตามกฏหมายจราจร ตรงนั้นจะชำระที่เจ้าหน้าพนักงานสอบสวนก็ดำเนินการเปรียบเทียบไปคดีเรียบร้อยหรือ
อีกทางหนึ่ง คือสามารถชำระ ถ้าสมมุติว่าท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่เชียงใหม่ท่านเดินทางมาทำธุระที่กรุงเทพแล้วได้รับใบสั่งไป แล้วยังไม่สะดวกชำระตอนนั้น เมื่อกลับไปเชียงใหม่
แล้วก็สามารถชำระค่าปรับทางไปรษณีย์ได้ ซึ่งกฏหมายจราจรได้เขียนไว้ตรงนี้จะอำนวยความสะดวก


ภาพจาก Web Site
http://p4.isanook.com/au/0/ud/1/6042/13830320461383032129l.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 18-6-58

เจ้าหน้าที่สามารถออกใบสั่ง
          ตามกฎหมายจราจรปี 2522 ได้กำหนดตัวบุคคลที่ออกใบสั่งได้ก็มีสองท่าน คือเจ้าพนักงานจราจร อีกท่านก็คือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตรงนี้เจ้าพนักงานจราจรก็จะมีใครเป็น
บ้างก็จะมีอยู่ในคำสั่งกระทรวงหมาดไทยเขาจะระบุไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ส่วนพนักงานเจ้าหน้าที่ คือ พวกตำรวจชั้นประทวนรวมทั้งนายตำรวจที่ทำหน้าที่
อำนวยความสะดวกการจราจร ยืนโบกรถจัดการจราจรบนถนนข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดเป็นข้อที่สำหรับมือใหม่ขับรถควรรู้เรื่องอะไรบ้าง และควรจะปฏิบัติตามกฏตามระเบียบ
เพื่อเวลาที่เราเป็นเจ้าของรถยนต์จะใช้รถยนต์ให้สบายใจ แล้วก็ปลอดภัยสำหรับตัวเราและเพื่อนร่วมทาง




   นางอุษณีย์  จูฑะศิลป์    ผู้เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2556)