ว่าวภูมิปัญญาจากท้องถิ่น
โดย...อาจารย์ สันทัด พิชิตการค้า
อาจารย์พิเศษในการสอนทำว่าวไทย
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559) |
ภาพจาก
Web Site
https://sites.google.com/site/wawthiykhxngdek/_/rsrc/1467065958829/prawati-khxng-waw-thiy/13296332621329633390l.jpg.1347428451869.jpg
http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1669381
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
27-6-60 |
|
ว่าวเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์
เพื่อเป็นการละเล่น สร้างความบันเทิง และเพื่อประโยชน์อย่างอื่นอีกมาเป็นเวลานับพันปีมาแล้ว
มีการเล่นว่าวไทยในของทุก ๆ ภาค อาจจะมีแตกต่างกันบ้างในลักษณะ
ของว่าว กีฬาเล่นว่าว ผู้เล่นว่าวจะมีความสนุก ผู้ชมได้รับความเพลิดเพลิน
ตื่นตา ตื่นใจ นับได้ว่าเป็นความภูมิใจของภูมิปัญญาของคนไทย ที่ควรจะรักษาสืบต่อกันไป
ซึ่งว่าวไทยมีการเล่นกันมาตั้งแต่สมัย
สุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ไทยเรารู้จักการเล่นว่าวมาไม่ต่ำกว่า
700 ปี โดยมีการแบ่งว่าวออกเป็นภาคต่าง ๆ ดังนี้
ภาคกลางมี
ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวดุ้ยดุ่ย ว่าวหาง ว่าวอีแผด ว่าวอีลุ้ม
ภาคเหนือจะมีรูปร่างคล้ายว่าวปักเป้าของภาคกลาง
แต่ไม่มีหาง
ภาคตะวันออกมี
ว่าวอีลุ้ม ว่าวหาง ว่าวอีแผด ว่าวดุ้ยดุ่ย ว่าวกระดาษ ว่าวมะกอก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี
ว่าวหาง ว่าวดุ้ยดุ่ย ว่าวอีลุ้ม
ภาคใต้มี ว่าวนก
ว่าวนกปีกแอ่น ว่าวนกยูง ว่าวปลาวาฬ ว่าวปลามินแอน ว่าวควาย ว่าวใบยาง และว่าวกระบอก
แต่ชาวบ้านนิยมเล่นว่าววงเดือนเพียงอย่างเดียว มีลักษณะคล้ายวงเดือน
วัสดุอุปกรณ์ในการทำว่าวไทยจะใช้ไม้ไผ่สีสุก
ซึ่งโบราณถือว่าเป็นไม้มงคล ชาวไร่ ชาวนามักจะปลูกไม้ไผ่สีสุกไว้ตามรอบ ๆ
บ้าน เวลาไถนาจะเอาไม้ไผ่สีสุกตรงซอ ซึ่งจะเหนียวและแข็ง มาทำเป็น
แอกเทียมควายไถนา จะมีความแข็งแรง มีสปริง หักยาก ไม้ไผ่สีสุกที่คัดมาทำว่าวจะมีความเหนียว
มีสปริง มีน้ำหนักเบา แต่ถ้าจะทำว่าวให้เด็กเล่นหรือลูกหลานเล่น จะใช้ไม้ไผ่สีสุกที่มีอายุแก่หน่อยก็
สามารถใช้ทำว่าวได้ มาเจียดเป็นแผ่น ๆ สำหรับขึ้นโครง แต่ถ้าจะทำว่าวจุฬาก็จะใช้ไม้ไผ่ที่มีอายุ
7 ปี จะได้ขนาดไม้ที่พอดี ถ้าใช้ไม้แก่ไปก็ไม่ดีจะกระด้าง ไม้อ่อนไปก็ไม่ดี
ถ้าจะทำว่าวอีลุ้มอายุไม้
ประมาณ 3 4 ปี จะทำว่าวอีลุ้ม ว่าวเล่นธรรมดา ว่าวแก้บน ก็สามารถใช้ไม้ลวกทำก็ได้
แต่จะเล่นได้สักปีเดียว หรือสักพักว่าวก็จะหัก เพราะไม้ไม่มีสปริง และเปราะในสมัยบรรพบุรุษ
หลวงปู่ หลวงพ่อ ท่าน
พระยาเก่า ๆ ไม่มีอะไรจะเล่น ก็จะเล่นว่าว เช่น หลวงปู่สรวง หลวงพ่อวัดไร่ขิง
หลวงพ่อวัดเกสร หรือพระยาพิชัยดาบหัก พอมาสมัยนี้คนไทย ที่อยากจะให้สำเร็จผลที่ตนต้องการก็จะบนว่า
ถ้าสำเร็จตามที่ต้อง
การแล้วก็จะเอาว่าวมาถวาย ทำให้ว่าวขายได้ดี
ภาพจาก
Web Site
http://kanchanapisek.or.th/kp6/SERM-BOOK/SBOOK6/pictures/b6p120a.jpg
http://kanchanapisek.or.th/kp6/pictures13/l13-85a.jpg
http://kanchanapisek.or.th/kp6/SERM-BOOK/SBOOK6/pictures/b6p120b.jpg
https://kitesss.files.wordpress.com/2012/03/2137-32611.jpg
http://kanchanapisek.or.th/kp6/pictures37/b37p141a.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
27-6-60
|
|
ต่อมากระดาษ
กระดาษทำว่าวที่ดีที่สุดจะเป็นกระดาษฟาง ซึ่งในสมัยก่อนจะเป็นกระดาษฟางจากประเทศจีน
แต่เดี๋ยวนี้เป็นกระดาษฟางที่มาจากประเทศไต้หวัน แล้วก็มีกระดาษย่น กระดาษแก้ว
และ
กระดาษสาฟางซึ่งเอามาแทนกระดาษฟางของเมืองจีน ใช้สำหรับทำว่าวแข่ง กระดาษเงิน
กระดาษทอง เอามาตอกเป็นรูปปลาตัวเล็ก ๆ เอาไว้แต่งว่าวจุฬาให้สวย แต่จริง
ๆ แล้วแต่งเพื่อให้ว่าวมีกำลัง จะ
ต้องผูกสักคลึงใช้กระดาษปลาติดให้มีกำลัง ให้ลมปะทะ ว่าวตัวใหญ่ ๆ จะไม่ขาด
จะเป็นเหมือนตารางขึงเมื่อเวลาลมพัดข้างบนแรง ๆ กระดาษจะไม่ทะลุ
วัสดุต่อมาก็เป็นเชือก
เชือกสำหรับผูกคอซุง เชือกสำหรับเล่นว่าว กระดาษเงินสำหรับผูกซับ แล้วก็แปะตีตาราง
มีแป้งเปียกติดกระดาษ กาวลาเท็กซ์ ซึ่งแป้งเปียกกับกาวลาเท็กซ์จะเป็นคนละส่วนกัน
แป้งเปียกเอาไว้สำหรับติดกระดาษเพื่อไม่ให้กระดาษเป็นขอบกระด้ง ถ้าใช้กาว
ลาเท็กซ์มาติดกระดาษพอแห้งแล้วจะเป็นกระด้งแข็ง ๆ เวลาที่ใช้กาวลาเท็กซ์ผูกเชือกระหว่างไม้กับไม้ด้วยกัน
กาวลาเท็กซ์
จะยึดไม่ให้หลุด ไม่ให้เคลื่อนได้ เพราะว่าวจุฬาต้องการความแข็งแรงตรงผูกตรงนี้
สำหรับว่าวของเด็กนี้ ว่าวอีลุ้ม ว่าวอีแผด ว่าวหัวแตก จะใช้แป้งเปียกทำก็ได้
พอทำเสร็จก็ใช้เข็มสำหรับร้อยรูทำคอซุง ผูก
เชือกแล้วก็ร้อยรู ทำคอซุง ผูกด้าย
นอกจากนี้ก็ยังมีตุ๊ดตู่ที่ตอกออกมาเป็นรู
เป็นดอกไม้ เป็นรูปกลม ๆ ใช้สำหรับติดรูปปลากับตารางผูก ซึ่งว่าวจุฬาจะเรียกผูกสักติดตรงสี่เหลี่ยม
ก็ยังมีกรรไกรตัดกระดาษ มีดสำหรับหลาวไม้ ซึ่งเมื่อ
เรามีวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ก็จะสามารถที่จะทำว่าวได้ทุกชนิดและก็สนุก
ภาพจาก
Web Site
http://4.bp.blogspot.com/-SCQ8lmgEy7s/UdGtEEKq9vI/AAAAAAAAAH4/liKH29K9u94/s1600/IMG_0047.JPG
http://4.bp.blogspot.com/-SCQ8lmgEy7s/UdGtEEKq9vI/AAAAAAAAAH4/liKH29K9u94/s1600/IMG_0047.JPG
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
27-6-60 |
|
ขั้นตอนการทำเริ่มจากเลือกไม้ไผ่สีสุกมาตัดตามขนาดของว่าวที่ต้องการ
แล้วก็ผ่าไม้ โกนไม้ที่ผ่าเป็นอัน ๆ ถ้าไม้ไผ่คดก็ต้องดัดให้ตรง โกนไม้ไห้ได้รูปร่าง
ตรวจดูว่าไม้ไผ่มีมอดกินหรือเปล่า เมื่อ
ได้ไม้ตามขนาดที่จะทำว่าวอะไรแล้ว ก็วัดสัดส่วนที่เราจะทำว่าว มีไม้โครงกลาง
ไม้ปีก ซึ่งไม้ปีกจะยาวกว่าไม้โครงกลางนิดหน่อย หลาวจนได้ขนาด ต้องดีดดูว่ามันดีดกับลมได้ดี
คือไม่ให้ไม้ใหญ่หรือเล็กเกิน
ไป ส่วนหัวจะเล็กหน่อย ส่วนท้ายว่าวจะเรียวลงมาหน่อย ปีกไม้ก็ต้องหลาวให้ตรงกลางใหญ่
ปลายปีกเล็ก เอามาผูกกับไม้อกวางแล้วจับไม้วาง เอาไม้ปีกผูกกับไม้อกให้ต่ำกว่าจากหัวลงประมาณ
11.5 ส่วน
เสร็จแล้วผูกให้แน่น เอาเชือกผูกส่วนท้าย แล้วขึงมาตรงปลายปีก ขึง 2 มุมขึ้นไป
เชือกจะยาวประมาณ 33 ส่วน ตรงหัวพอเอาลงมาตรงที่โค้งจะพอดี ถือว่าเป็นว่าวที่ทำแล้วขึ้นได้ดี
รูปร่างว่าวที่มีลักษณะ
ค่อนข้างสี่เหลี่ยมจะขึ้นง่าย ต่อมาก็ใช้กระดาษฟาง กระดาษสา กระดาษแก้ว ปะตามริม
ตามเชือกด้วยแป้งเปียก ตรงภู่ก็ตัดกระดาษมาทำเป็นภู่ เมื่อแป้งเปียกแห้งก็ตัดกระดาษกลม
ๆ หนาหน่อยติดตรงที่ผูก
ไม้ปีกกับไม้อก เอากระดาษแปะแล้วช่วงจากผูกอกกับปีกลงมาถึงก้นแบ่งครึ่ง แปะเป็นกระดาษกลม
ๆ ไว้อีกหนึ่งอัน เพื่อจะเจาะคอซุงอันบนกับอันล่าง ซึ่งคอซุงยาวพอประมาณ
ปลายหนึ่งผูกตรงไม้ผูกอัน
กลางกับปีก และปลายอีกอันหนึ่งก็ผูกวงกลมไว้ตรงกึ่งกลาง พอผูกแล้วไม้จะเป็นสายซุงขึ้นมา
เมื่อเป็นสายซุงแล้วก็ กะให้เท่ากัน เส้นหน้ากับเส้นหลังให้เท่ากัน ก็เป็นอันเสร็จ
เวลาจะเล่นก็เอาเชือกเล่นว่าว
เจาะคอซุง แล้วก็เอาไปขึ้นเล่น ถ้าให้เด็ก ๆ เล่นต้องต่อหางอีกนิดหน่อย ก็จะทำให้ว่าวขึ้นนิ่ง
ไม่มีพยศ
ก่อนจะนำว่าวขึ้นไปเล่นขึ้นสู่ท้องฟ้า
ควรจะตรวจสอบความสมบูรณ์ คือ เช็คดูกระดาษไม่ขาด ไม้ไม่เดาะ คอซุงผูกต้องติดแน่น
ส่วนเชือกก็ต้องดูไม่เก่า ไม่มีแมลงมาแทะ เก็บรักษาไว้ดี ก็สามารถนำ
เอาไปเล่นได้ ปัญหาในการทำว่าวไทย ผู้ทำว่าวต้องมีทักษะในการทำ ยิ่งการหลาวไม้ทำว่าวเยอะ
ๆ จะสามารถรู้ได้เลยว่า ถ้าหลาวไม้ขนาดนี้ ต้องมีสปริงขนาดไหน ใหญ่ขนาดไหน
เล็กขนาดไหน
ภาพจาก
Web Site
https://f.ptcdn.info/008/005/000/1368189453-Kitesforsa-o.jpg
http://4.bp.blogspot.com/-GCoqsuGKJnY/VXVpPJLvMrI/AAAAAAAAAVE/y7GU9ynwjRU/s1600/E3.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
27-6-60
|
|
เสน่ห์ของว่าวไทย
ถ้าเป็นว่าวจุฬาจะเปรียบเหมือนเป็นรามเกียร จะมีส่วนที่เป็นหนุมาน จากการหลาวขากบสั้น
แล้วก็คุ้มหน่อย เมื่อเวลาขึ้นว่าวไปแล้ว ก็จะส่ายเหมือนหนุมาน มันตึงเลี้ยวซ้ายเลี้ยว
ขวาได้ จะดูสวยและก็สนุก ถ้าอีกชนิดหนึ่งจะมีลักษณะเรียบร้อย จะหลาวไม้ทรงมนุษย์หรือทรงพระรามเดินดง
เวลาว่าวขึ้นไปจะส่ายแบบองอาจ จะไม่ส่ายแบบลิง มองแล้วจะเร้าใจ ดูมีเสน่ห์
จึงควรจะ
สนับสนุนอนุรักษ์การทำว่าวไทยเอาไว้ ซึ่งตอนนี้ได้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปะวิชาทำว่าวแล้ว
และได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากรัฐบาล มีสมาคมว่าวผลิตแห่งประเทศไทยแล้ว
นางสาวเยาวลักษณ์
ศิริสุวรรณ เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
กลุ่มรายการที่ 4/47-59
CD-A4(1/5)-59
|