“หมอลำ” กลิ่นอายวัฒนธรรมอีสานบ้านเฮา
โดย...นายภาณุพงศ์  อินทร์เพชร
อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว
ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี
อีเมล์ : phanuphong_2527@hotmail.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)



          หมอลำ เป็นรูปแบบวัฒนธรรมทางภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้หลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเรื่องต่อ
กลอนลำเพลิน ลำซิ่ง คำว่า “หมอลำ” มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ “หมอ” หมายถึง ผู้มีความชำนาญ และ “ลำ” หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่างๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ
ดังนั้นหมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่างๆ ด้วยทำนองเพลงนั่นเอง
          ความเจริญก้าวหน้าของหมอลำก็คงเหมือนกับความเจริญก้าวหน้าของสิ่งอื่นๆ เริ่มแรก คงเกิดจากผู้เฒ่าผู้แก่เล่านิทานหรือวรรณคดีที่เกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม
โดยเรียกลูกหลานมาฟังกันมาก ซึ่งจะนั่งเล่าก็คงไม่เหมาะ จึงต้องยืนขึ้นเล่า ครั้นผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็คงจะไม่สนุก ผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทาง
เป็นพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวตลก นักรบ เสนา เป็นต้น และเพิ่มความน่าตื่นเต้นด้วยสำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำประกอบ และหาเครื่องดนตรีประกอบเช่น ซอ ปี่ แคน เพื่อให้
เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดงมีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหาผู้หญิงมาแสดงประกอบ จึงถือเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงมาเกี่ยวข้อง
เรื่องต่างๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิงเด่น ยาด(แย่ง)สามี ภรรยา เรื่องตลกโปกฮาตามแต่ท้องเรื่องที่เล่านั้น เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป วัฒนาการของหมอลำ
ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยนั้นๆ อาทิ หมอลำกลอน ลักษณะเป็นการลำที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบเพียงชนิดเดียวคือ แคน การลำมีทั้งลำ
เรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอนลำทวย(ทายโจทย์ปัญหา) ซึ่งผู้ลำจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีสามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามี
การเพิ่มผู้ลำขึ้นอีกหนึ่งคน อาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่องชิงรักหักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้ ปัจจุบันกลอนนั้นหาดูได้ยากเพราะขาดความนิยมลง
ไปมาก แต่ว่าปัจจุบันได้วัฒนาการมาเป็นหมอลำกลอนซิ่งเพื่อความอยู่รอดและผลก็คือได้รับความนิยมในปัจจุบัน

          หมอลำกลอนซิ่ง เป็นการแสดงที่นำเอาศิลปะที่มีมาตั้งแต่เดิม มาดัดแปลงประยุกต์ให้ทันสมัยคือ นำเอาหมอลำกลอนซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นการลำประกอบแคนเพียงอย่าง
เดียวมาประยุกต์เข้าดนตรีชิ้นอื่นๆ เช่น พิณ เบส และกลองชุด จนได้รับความนิยม ปัจจุบันได้มีการนำเอาเครื่องดนตรีสากล เช่น ออร์แกน คีย์บอร์ด มาประยุกต์เล่นเป็นทำนอง
หมอลำ ทำให้จังหวะสนุกครึกครื้น ประกอบกับการนำเพลงไทยสากล เพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตมาประยุกต์เข้าด้วย ลำซิ่งเป็นวัฒนาการของลำคู่(เพราะใช้หมอลำ 2-3คน) ใช้เครื่อง
ดนตรีสากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลินมีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว หมอลำกลอนซิ่งในปัจจุบัน
ได้กลายเป็นธุรกิจความบันเทิงที่ได้รับความนิยมอีกแขนงหนึ่งที่ชาวอีสานนิยมจ้างไปเป็นมหรสพสมโภชน์ งานที่ได้จัดขึ้นในโอกาสต่างๆ รูปแบบการแสดงจะเป็นการร้องรำทำ
นองหมอลำประยุกต์กับเพลงที่สนุก โดยมีหมอลำฝ่ายชายคอยร้องแก้กับ หมอลำฝ่ายหญิง พร้อมกับการโชว์ลีลา การร่ายรำที่อ่อนช้อย งดงาม และมีหมอแคนเป่าแคนประกบอยู่
ข้างๆ เพื่อคอยคลอแคนให้หมอลำไม่หลงคีย์เสียงของตนเอง ซึ่งหมอลำแต่ละคนจะมีหมอแคนประจำตัวของตัวเอง ปัจจุบันวงหมอลำซิ่งใหญ่ๆ จะมีหางเครื่องเพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย
การว่าจ้าง เจ้าภาพจะเป็นคนจับคู่หมอลำเอง เพื่อจะได้เห็นการร้องแก้กันด้วยความสนุกสนานและมีไหวพริบ

         หมอลำหมู่ หมอลำเพลินเป็นการลำที่มีผู้แสดงครบหรือเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครในเรื่องที่ดำเนินการแสดง มีอุปกรณ์ประกอบ ทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจัง และยัง
มีเครื่องดนตรีประกอบ แต่เดิมที่มีหลักๆ คือพิณ (ซุง หรือ ซึง) แคน กลอง กรลำจะมี 2 แนวทางคือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอน หมอลำจะแสดงเป็นตัวละครตามบทบาท
ในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ได้อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบและความจำ เป็นที่นิยม
ในหมู่ผู้สูงอายุ ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้น จึงเกิดวัฒนาการของหมอลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ประยุกต์กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อน
การลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้องมาร้องเพลงลูกทุ่งหรือบางคณะหมอลำ ได้นำเพลงสตริงที่กำลังฮิตในขณะ
นั้นมาขับร้อง มีหางเครื่องหรือแดนซ์เซอร์เต้นประกอบ นำเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีต้าร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟนทรัมเปต และกลองชุด เป็นต้น โดยนำมาผสม
ผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่าหมอลำเฟื่องฟูมากที่สุด คณะหมอลำดังๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี อุดรธานี หมอลำหมู่สามารถแบ่งตามทำนองของบทกลอนลำได้อีกซึ่งแต่ละทำนองจะออกเสียงสูงต่ำไม่เหมือนกัน ได้แก่ ทำนองขอนแก่น
ทำนองกาฬสินธุ์ ทำนองสารคาม ทำนองอุบล เป็นต้น

          หมอลำเป็นองค์วิชาความรู้อย่างหนึ่ง ทำให้เราเรียนรู้สังคมและวัฒนธรรมได้ การแสดงหมอลำไม่ใช่แค่การอนุรักษ์ แต่ยังอธิบายความหมายและการเปลี่ยนแปลงทาง
สังคมในวงชาวบ้านซึ่งเป็นมูลชั้นต้นอย่างดี ในเมื่อวัฒนธรรมอีสานได้มีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นเราควรที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมของเราไว้ วัฒนธรรมทุกสิ่งทุกอย่างที่
เป็นของไทยก็คือเอกลักษณ์ของชาติไทยและที่คนไทยเรามีความมั่นคงอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะเรามีเอกลักษณ์ มีวัฒนธรรมไทยที่เป็นวิถีชีวิตของเรา




เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

เว็บไซต์
http://student.swu.ac.th/hm471010389/isan.htm
http://www.learners.in.th/blogs/posts/287044
www.baanmaha.com
จากวารสาร
- Chawiwan Damnoen. Mo Lam Singing of Northeast Thailand (CD). World Music Library (1991).
- Miller, Terry E. (1985). Traditional Music of the Lao: Kaen Playing and Mawlam Singing in North-east Thailand. Greenwood Press.ISBN 0-313-24765-X.
- Mosel, James N. (1959). Sound and Rhythm in Thai and English Verse, Pasa lae Nangsue.
- Prayut Wannaudom The Collision between Local Performing Arts and Global Communication, in case Mawlum. Accessed 13 May 2005.
- กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). สืบสานฮีตฮอยหมอลำเฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
- กฤษฎา ศรีธรรมา. (2534). วิเคราะห์องค์ประกอบทางวรรณกรรมของเพลงหมอลำในรอบทศวรรษ (พ.ศ.2522-2531). ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (ภาษาไทย)มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.