ปัจจุบันประเทศเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เมื่อมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น โรคภัยก็ตามมาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบ ประสาทและความทรงจำ เป็นสาเหตุให้คุณภาพชีวิตของประชากรสูงอายุลดน้อยลง อาการหนึ่งคือความจำไม่ค่อยดีคือเลอะๆเลือนๆ จำอะไรไม่ค่อยได้นึกอะไรไม่ออก บางคนหนักมาก ถึงกับเป็นโรคอัลไซเมอร์ ยาหรือสมุนไพรที่จะสามารถนำมาป้องกัน รักษาหรือบรรเทาอาการโรคที่เกิดจากการเสื่อมนี้ จึงมีความสำคัญทั้งทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ ดังนั้นวันนี้เราจะ มาทำความรู้จักกับสมุนไพร ที่มีชื่อว่า พรมมิ พรมมิ (จัดอยู่ในวงศ์ Scrophulariaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bacopa monnieri Wettst) หรือเรียกอีกอย่างว่า ผักมิ ผักหมี่ นมมิ พรมลี หยดน้ำตา เป็นต้น มีผลออกฤทธิ์ต่อ การจดจำและเพิ่มการเรียนรู้ได้ดี และเป็นพืชผักพื้นบ้านที่ขึ้นสำรับอาหารรับประทานกับน้ำพริกได้ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ "พรมมิ" เป็นพืชล้มลุก ลำต้นทอดนอนแผ่ไปตามพื้น มีความ ยาว 10-40 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านมาก มีรากออกตามข้อใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ไม่มีก้านใบ ใบอวบน้ำ เป็นรูปซ้อนหรือรูปไข่กลับ ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อยปลายใบมน ดอกเดี่ยว ออกจากซอกใบ กลีบดอกติดกัน เป็นทรงระฆัง รูปปากเปิด หยักเป็น 5 กลีบ สีขาวหรือม่วงอ่อน ดังรูป
สำหรับในประเทศไทย มีหลักฐานการใช้พรมมิเป็นยาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการกล่าวถึงพรมมิในตำราโอสถพระนารายณ์ จนมาถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ปรากฏหลักฐานการ ใช้พรมมิในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ระบุว่า พรมมิ มีรสหวาน แก้ไขสวิงสวาย (อาการที่เป็นลม ทำให้หน้ามืด ตาลาย ใจหวิว หรือกระสับกระส่าย) แก้หืด ไอ กินแก้ริดสีดวง กินเจริญ ปัญญา และมีการใช้เป็นตัวยาในตำรับต่าง ๆ เช่น เข้ายาเขียวมหาพรหม สำหรับแก้โลหิตพิการ ซึ่งทำให้พิษร้อนทั่วสรรพางค์กาย เข้ายาแก้ซางแห้งในเด็ก เข้ายาแก้ลมที่ทำให้ท้องขึ้น เข้ายาเขียวประทานพิษ แก้โรคลม การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพรมมิต่อระบบประสาท การกระตุ้นการเรียนรู้และความจำ พบว่า สารออกฤทธิ์สำคัญที่มีผลต่อระบบประสาทที่พบในต้นพรมมิเป็นสารในกลุ่ม triterpenoid saponin ที่ชื่อว่า bacoside ซึ่งชนิดที่มีรายงานการศึกษามากที่สุดได้แก่ bacoside A และ bacoside B ในการศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดพรมมิต่อการฟื้นฟู ความจำในอาสาสมัครที่มีภาวะสูญเสียความจำเนื่องจากอายุมาก (อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป) โดยให้อาสาสมัครรับประทานแคปซูลสารสกัดพรมมิขนาดวันละ 300-450 มก. (ประกอบด้วย สารสกัด bacosides อย่างน้อย 40%) พบว่า อาสาสมัครมีทักษะในการเรียนรู้เกี่ยวกับการทดสอบความจำดีขึ้น และการศึกษาในเด็กที่มีอายุระหว่าง 4-18 ปี โดยให้รับประทานแคปซูล สารสกัดพรมมิวันละ 1 แคปซูล (ประกอบด้วยสารสกัดพรมมิมาตรฐาน 225 มก.) นาน 4 เดือนพบว่า พรมมิมีผลช่วยเพิ่มพัฒนาการในการเรียนรู้ของเด็กได้เมื่อเทียบกับเด็กกลุ่มที่ได้รับ ยาหลอก นอกจากนี้ยังพบว่าการให้เด็กสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) รับประทานสารสกัดพรมมิ ขนาด 50 มก. (ประกอบด้วย bacosides 20%) วันละ 2 ครั้ง มีผลช่วยให้เด็กมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ดีขึ้น และจากการศึกษาความเป็นพิษของพรมมิในอาสาสมัครสุขภาพดี โดยให้รับประทานสารสกัดพรมมิ (BacoMindTM) ขนาด 300 มก./วัน ติดต่อ 15 วัน และตามด้วยขนาด 450 มก./วัน อีก 15 วันไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด แต่มีอาสาสมัครบางรายมีอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร และมีอาการคลื่นไส้ ผลการศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดพรมมิต่อประสิทธิภาพของกระบวนการคิด การเรียนรู้ และการฟื้นฟูความจำในระดับคลินิกส่วนใหญ่ให้ผลในเชิงบวก และค่อนข้าง ปลอดภัย ดังนั้น สมุนไพรพรมมิจึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้เป็นยาเพื่อบำบัดและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะความจำเสื่อมได้ สรุป
พรมมิ เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้สืบเนื่องกันเป็นเวลานาน ทั้งในด้านอาหารและยา
คณะผู้วิจัยไทยสามารถวิจัยและพัฒนาสารสกัดมาตรฐานพรมมิอย่างครบวงจรทั้งด้าน
|