ลิงหางยาว 1 ใน 4 ชนิดพันธุ์ลิงในประเทศไทย
โดย...ธัญยธรณ์ อริยะธันย์ธาดา ลินด์เนอร์
อาชีพปัจจุบัน นักศึกษา
ที่อยู่ปัจจุบัน Ehmannstr.6 89081 Ulm, Germany
52 หมู่ 1 ต.หัวเรือ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
อีเมล์ : thanyathon@lindner-email.de
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)



ภาพโดย ธัญยธรณ์ ลินด์เนอร์
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 6-9-57

          บทความนี้นะคะ ผู้เขียนจะนำผู้อ่านไปทำความรู้จักกับลิงหางยาวกันค่ะ ซึ่งผู้เขียนได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆเป็นเวลากว่า 1 ปี และยังได้ทำการเฝ้า
สังเกต บันทึกข้อมูลของกลุ่มลิงหางยาว(ในเขตมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ) ด้วยตัวเองเป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน ตั้งแต่เช้าจรดเย็น จากลิงหางยาวทั้งหมด
ประมาณ 300 ตัวค่ะ(จำนวนที่นับได้ในปีพ.ศ.2555)

ลิงหางยาว..มีลักษณะอย่างไร
          ลิงหางยาวมีขนปกคลุมตัวสีน้ำตาล ขนบนหัวจะตั้งชี้แหลมขึ้น มีหางที่ยาวกว่าความยาวของลำตัวค่ะ ลูกลิงจะมีขนปกคลุมตัวสีดำมาตั้งแต่เกิด เมื่อมีอายุประมาณ 2-3 เดือน
ขนสีดำจะเริ่มหายไป จนกระทั่งอายุครบ1ปี ก็จะมีขนสีน้ำตาลเหมือนกับตัวเต็มวัยค่ะ ตัวผู้จะมีเขี้ยวและขนาดตัวที่ใหญ่กว่าตัวเมีย ลิงหางยาวมีพุ้งแก้มที่สามารถเก็บอาหารใน
ขณะที่หาอาหารและนำมากินในภายหลังได้ค่ะ



ภาพโดย ธัญยธรณ์ ลินด์เนอร์
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 6-9-57

การสืบพันธุ์...
          ตัวเมียที่มีร่างกายเเข็งแรงกว่า จะมีลูกหลานมากกว่าตัวเมียที่อ่อนแอกว่า ไม่ใช่เพียงเพราะว่าพวกมันเริ่มสืบพันธุ์ตั้งแต่อายุน้อย แต่ยังเป็นเพราะว่าลูกหลานของมันมี
โอกาสรอดชีวิตสูงกว่านั่นเองค่ะ เช่น การได้รับอาหารที่ดีกว่า การได้รับการปกป้องจากผู้ล่าและลดโอกาสถูกรบกวนจากตัวเมียอื่นๆ ส่วนใหญ่ลิงหางยาวจะออกลูกในระหว่างเดือน
กรกฎาคม - เดือนพฤศจิกายน บางที่จะออกลูกช่วงเดือนมกราคม - เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของอาหารในพื้นที่ ตัวเมียจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 4 ปี ตัว
ผู้จะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 7ปี การติดสัดจะสังเกตได้จากการบวมของอวัยวะสืบพันธุ์ ลักษณะพฤติกรรมการร้องหาคู่ และพฤติกรรมการทำความสะอาดขนหลังการผสมพันธุ์ค่ะ
(การหาเห็บและหมัดให้คู่ผสมพันธุ์นั่นเอง)

การเลี้ยงดูลูก
          แม่ลิงหางยาวจะเป็นผู้ดูแลลูกลิงแรกเกิดและจะหวงลูกมากค่ะ มันจะไม่ยอมให้ลูกลิงอยู่ห่างจากมือของมันเลย ในช่วงสัปดาห์แรกของชีวิต แม่ลิงหางยาวยังคงดูแลลูกของ
มันอย่างต่อเนื่อง เมื่อลูกลิงเติบโตขึ้นการดูแลก็จะลดลง เมื่อถึง4 เดือนแม่ลิงก็ใช้เวลาดูแลลูกลิงน้อยลงและเริ่มมีประจำเดือนอีกครั้ง เมื่อลูกลิงมีอายุ 10-11เดือน แม่ลิงจะ
ปฏิเสธและอาจแสดงท่าทางก้าวร้าวถ้าลูกพยายามเข้ามาคลอเคลีย

การสื่อสาร

          ลิงหางยาวมีเสียงเพื่อใช้ในการสื่อสารมากมายในหลายสถานการณ์ เสียงแบบทั่วไปของลิงหางยาวมีสองลักษณะคือ เสียงห้าว “ครา” ทุกตัวจะทำเสียงนี้จากเบาไปจนถึง
ตื่นเต้นอย่างมากเพื่อเตือนภัย และเสียงร้องชัดเจน “คู” ซึ่งแสดงความเป็นมิตรและหลีกเลี่ยงความก้าวร้าวระหว่างลิงด้วยกัน

แหล่งที่อยู่
          เราสามารถพบลิงหางยาวได้ในหมู่เกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย สามารถพบได้ในฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาะสุมาตรา เกาะ
บอร์เนียว หมู่เกาะซุนดาน้อย พม่า อินเดีย เกาะนิโคบาร์ เวียดนาม กัมพูชา ลาว และประเทศไทย
          ลิงหางยาวสามารถพบได้ในป่าฝนเขตร้อนซึ่งมีสภาพอากาศที่อุ่น ชื้น และฝนตกหนัก ตามชายฝั่งป่าโกงกาง หนองน้ำ ตามฝั่งทะเล และป่าริมแม่น้ำ โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่
ใกล้ที่อยู่ของมนุษย์ซึ่งพวกมันสามารถบุกรุกเข้าไปในสวน ในบ้าน และฟาร์มได้


ภาพโดย ธัญยธรณ์ ลินด์เนอร์
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 6-9-57

การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
          ลิงหางยาวอาศัยอยู่ในกลุ่มที่ประกอบด้วยตัวผู้และตัวเมียหลายตัวรวมกัน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากผู้ล่า ในกลุ่มลิงหางยาว ตัวผู้ที่มีอายุน้อยจะไม่พยายามทำตัวให้เด่นจน
กระทั่งอายุอย่างน้อย 7 ปีขึ้นไป โดยปกติจะเป็น 9 ปี พวกมันจะพยายามครอบครองตำแหน่งสูงสุดคือการเป็นจ่าฝูง

พฤติกรรม และการหาอาหาร
          ลิงหางยาวจะเดินทางเพื่อหาอาหารประมาณ1.25กิโลเมตรต่อวันค่ะ แต่ถ้าอาหารมีการกระจายออกไปไกล ลิงหางยาวก็จะมีการเดินทางหาอาหารในแต่ละวันไกลมากขึ้น
โดยปกติพวกมันชอบหาอาหารและเคลื่อนที่ไปตามริมแม่น้ำ เวลา05:30-06:30 นาฬิกา พวกมันจะใช้เวลาในการกินอาหารอย่างหนัก และพักผ่อนในตอนเที่ยง ความก้าวร้าว
ระหว่างลิงในฝูงจะสูงที่สุดขณะกินอาหาร ซึ่งแสดงถึงการแข่งขันอย่างรุนแรงเพื่อแย่งอาหาร ในขณะกลุ่มที่กำลังพักผ่อน แต่ละตัวจะนอนหลับ เล่น หรือทำความสะอาดขน ลิงลูก
เล็กและลิงวัยรุ่นจะใช้เวลาในการเล่น ลิงทีมี่อายุมากจะนอนหลับและทำความสะอาดขน หลังจากช่วงเวลาพักผ่อนตอนเที่ยงวัน ลิงหางยาวจะออกหาอาหารและกินต่อไป ในขณะ
เดียวกันก็เคลื่อนที่เข้าใกล้ต้นไม้ที่อยู่ใกล้แหล่งพักผ่อนของพวกมัน ประมาณ18.00-18.30นาฬิกา และนอนที่นั่นในเวลากลางคืน


เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

ปานเทพ รัตนากร. 2550. การจัดการควบคุมประชากรลิงแสม. เอกสารประกอบการบรรยาย, การสัมมนาทาง
วิชาการเรื่องสัตว์ป่าเมืองไทย ครั้งที่ 28, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
Cawthon Lang KA. 2006 January 6. Primate Factsheets: Long-tailed macaque (Macaca fascicularis) Taxonomy,
Morphology, & Ecology. Accessed 2011 January 5.
Lekagul, B. and J. A. McNeely. 1977. Mammals of Thailand. Kuruspha Ladproa Press, Bangkok.
Bonnotte S. 2001. Les helminthiases du macaque de l'Ile Maurice (Macaca fascicularis): une enqu?te.
Primatologie 4: 411-33.