ปัจจุบันการทำงานในสังคมเมือง พบว่า ส่วนใหญ่ต้องปรึกษาแพทย์ด้วยอาการต่างๆ เช่น การปวดหลัง ปวดบริเวณคอ/ไหล่ และปวดศีรษะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรค ออฟฟิศซินโดรม นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 25-50 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูง เนื่องจากต้องทำงานหนัก ประกอบอิริยาบถในการทำงาน ไม่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งนั่งหลังค่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ มากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ นอกจากนี้ ปัญหาความเครียดก็ส่งผลต่อการเกิดโรค ดังกล่าวอีกด้วย
ในด้านการรักษาอาการดังกล่าวนั้น ปัจจุบันการแพทย์ได้พัฒนา และมีทางเลือกเพื่อรักษามากมายทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์ทางเลือก ด้านการนวดไทย ก็เป็นหนึ่ง ในทางเลือกที่จะรักษาอาการดังกล่าว โดย "การนวดไทย" เป็นศาสตร์มหัศจรรย์ โดยมูลเหตุสำคัญมาจากสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนไทย รวมถึงพฤติกรรม ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของผู้คนในสมัยโบราณ "การนวดไทย" ไม่ใช่เพื่อรักษาความเจ็บปวดเท่านั้น แต่มีคุณค่าต่อสุขภาพเป็นกระบวนการดูแลสุขภาพ และรักษาโรค โดยอาศัย การสัมผัสอย่างมีศิลปะ มีหลักการระหว่าง ผู้ให้บริการ และรับบริการ การนวดจะส่งผลโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดย การนวดไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การนวดเพื่อสุขภาพ เป็นการนวดเพื่อหย่อนคลายกล้ามเนื้อให้เลือดลมเดินได้สะดวกทำให้หายปวดเมื่อย และตัวเบาสบายใช้วิธีการนวดซึ่งผสมผสานตามที่ได้รับ การถ่ายทอดมา และคิดขึ้นเอง 2. การนวดเพื่อรักษาโรค เป็นการนวดที่ใช้ในอายุรเวทวิทยาลัย หมอนวดจะต้องวินิจฉัยโรคให้ได้ก่อนว่าคนไข้เป็นโรคใด จะต้องรักษาโดยทางยาหรือทางนวดหรือใช้ ทั้งยาและนวดร่วมกันหากพิจารณาเห็นว่าคนไข้จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ก็จะแนะนำคนไข้ไปโรงพยาบาลหมอนวดประเภทนี้จำเป็นต้องมีความ รู้ทั้งด้านเวชกรรมตรวจ และวินิจฉัยโรคกระดูก หมอนวดในประเภทนี้ตามวิธีการทางการแพทย์แผนไทย และหากมีความรู้เพิ่มเติมทางกายวิภาคศาสตร์ (กล้ามเนื้อ โครงกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็น เส้นเลือด ปอด ตับ ระบบประสาท ฯลฯ)
การนวดแผนไทย มีลักษณะ 2 แบบ คือ 1. นวดแบบราชสำนัก คือ หมอนวดจะใช้เฉพาะมือ นิ้วหัวแม่มือ และปลายนิ้วอื่น ๆ ในการนวดเท่านั้น และไม่ใช้การนวดคลึงในขณะกด (นวด) ไม่ใช้การดัด หรือการ งอข้อ หลัง หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วยกำลังแรง และกริยาการนวดจะดูเรียบร้อยกว่าการนวดแบบเชลยศักดิ์ 2. นวดแบบเชลยศักดิ์ คือ หมอนวดจะใช้ฝ่ามือ นิ้วมือ ศอก หรือเข่า ในการนวด และจะใกล้ชิดกับผู้ถูกนวดมากกว่า มีการยืด ดัด โดยที่เราพบเห็นบ่อยๆตามร้านนวด ต่างจะเป็นการนวดแบบเชลยศักดิ์
ท่าทางหรือวิธีการนวดที่ใช้ในการนวดไทยมีลักษณะดังนี้ 1. การนวดยืด ดัด ลักษณะการนวดแบบนี้คือ การยืด ดัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืด ให้ยืด และคลาย 2. การนวดแบบจับเส้น ลักษณะการนวดคือ การใช้น้ำหนักกดลงตลอดลำเส้นไปตามอวัยวะต่าง ๆ การนวดชนิดนี้ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้นวด ซึ่งได้ทำการนวด มานานและ สังเกตปฏิกิริยาของแรงกดที่แล่นไปตามอวัยวะต่าง ๆ 3. การนวดแบบกดจุด ลักษณะ การนวดคือ การใช้น้ำหนักกดลงไปบนจุดของร่างกาย การนวดนี้ เกิดจากประสบการณ์ และความเชื่อว่าอวัยวะของร่างกายมีแนวสะท้อน อยู่บนส่วนต่าง ๆ และเราสามารถกระตุ้นการทำงานของอวัยวะนั้นโดยการกระตุ้นจุดสะท้อนที่อยู่ บนส่วนต่าง ๆ บนร่างกาย
ชื่อโรคทางการนวดไทย ที่สอดคล้องกับอาการโรคออฟฟิศซินโดรม (OfficeSyndrome) 1. โรคลมปลายปัตคาด เกิดจากการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากความเครียด การทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ท่าทาง อิริยาบถต่างๆ ไม่ถูกต้อง ความเสื่อมของ กระดูกคอ และจากอุบัติเหตุ เมื่อโรคนี้เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหลัง คอ บ่า และไหล่ จะทำให้ ปวดเมื่อย ตามคอ บ่า ไหล หลัง ขา จนถึงปวดศีรษะได้ 2. โรคนิ้วไกปืน (นิ้วล๊อก) เกิดจาก เกิดจากการใช้งานมากทำให้เส้นเอ็นโคนนิ้วอักเสบ เช่น หิ้วของหนัก หรือเกิดจากพังผืดเกาะ เนื่องจากใช้งานมาก เช่นการ พิมพ์ดีด หรือการใช้ Smart Phone เป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการบริหารหรือพัก ทำให้ ปวดฝ่ามือ บริเวณโคนนิ้ว อาจมีบวม อักเสบ นิ้วเหยียดไม่ได้ กำไม่เข้านิ้วจะฝืดมีเสียง ดัง ถ้าเป็นมากนิ้วอาจงอแข็งเหยียดไม่ออก อาจมีปวดชาร่วมด้วย 3. ลมปะกัง (ไมเกรน) เกิดจากความเครียด การทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ท่าทาง อิริยาบถต่างๆ ไม่ถูกต้อง และสภาพอากาศ ทำให้ ปวดศีรษะ ขมับ เบ้าตา กระบอกตา ปวดตุ๊บๆ ตื้อๆ ข้างเดียวหรือสลับข้าง หรือทั้งสองข้าง ทำให้ หน้าแดง ตาพร่า ตาลาย เห็นแสง บางรายเป็นหลักจนมีการอาเจียร
ลูกประคบ
คือสิ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ที่ใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาใช้ในการรักษาหรือเพื่อช่วยในการไหลเวียนของโลหิต
ต่อมาก็ได้มีการ
ส่วนผสมในการทำลูกประคบสมุนไพร
ถึงแม้ว่าการรักษาจะดีมากแค่ไหนแต่ถ้าคนไข้ไม่เปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต
โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
และการสูบบุหรี่
|