สังเวชนียสถาน
๔ ตำบลศูนย์รวมศรัทธาของพุทธบริษัท
โดย...พระอัครเดช
ญาณเตโช
วัดฉาง
ต.บางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี
อีเมล์
:
akradate@outlook.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
อินเดีย ถือว่าเป็นแดนดินถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนา
อินเดียในสมัยพุทธกาล เรียกว่า ชมพูทวีป ซึ่งแปลว่า ทวีปแห่งไม้หว้า เพราะมีต้นหว้าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกใน
ดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรที่เรียกว่า ชมพูทวีป ซึ่งรวมเขตประเทศเนปาล อินเดีย
ภูฏาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน บังคลาเทศ โดยอาณาเขตของชมพูทวีปหลายแห่งล้วนเต็มไปด้วย
รอยพระพุทธบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะเดียวกันก็ทรงประทับรอยพระบาท คือ พระธรรม
ไว้ในใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ยังสายธาราแห่งพระธรรมอันชุ่มชื่นราดรด
ดับไฟแห่งกองทุกข์ของมหาชน และแผ่ออกมานอกเหนือเขตชมพูทวีปมายังประเทศต่างๆ
มากมายในปัจจุบัน
สังเวชนียสถาน
(อ่านว่า สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน) แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช
เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ
สังเวชนียสถาน
หมายถึงสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น
เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็นในมหาปรินิพ-
พานสูตร พระพุทธองค์ได้ทรงปรารถเรื่องราวต่างๆ หลายเรื่องกับพระอานนท์พุทธอุปัฎฐากรวมทั้งเรื่อง
สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบล จากในมหาปรินิพพานสูตร พอสรุปได้ดังนี้
ครั้งนั้นพระอานนท์เถรเจ้าได้กราบทูลพระองค์ว่า
ในกาลก่อนภิกษุทั้งหลายที่ได้แยกย้ายกันไปจำพรรษาอยู่ตามชนบทในทิศต่างๆ เมื่อสิ้นไตรมาศครบ
๓ เดือนตามวินัย
นิยมหรือออกพรรษาแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ย่อมจะเดินทางมาเฝ้าพระองค์เป็นอาจิณวัตร
ก็เพื่อจะได้เห็นจะได้เข้าใกล้ จะได้อุปัฎฐากพระองค์ อันจะทำให้เกิดความเจริญ
ทางจิต ก็มาบัดนี้เมื่อกาลแห่งการล่วงไปแห่งพระองค์แล้ว ก็แล้วข้าพระองค์ทั้งหลายก็จะไม่ได้เห็น
จะไม่ได้นั่งใกล้ จะไม่ได้สากัจฉา(สนทนาธรรม)เหมือนกับสมัยที่พระองค์ยังมี
พระชนม์ชีพอีกต่อไป
ภาพจาก
Web Site
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=39377
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 3-10-57 |
|
เมื่อพระอานนท์กราบทูลดังนี้แล้ว
พระตถาคตเจ้าได้ทรงแสดงสถานที่ ๔ ตำบลว่าเป็นสิ่งที่ควรจะดู ควรจะได้เห็น
ควรจะเกิดสังเวช (ความสลดใจกระตุ้นเตือนจิตใจให้คิด
กระทำแต่สิ่งดีงาม) แก่กุลบุตร กุลธิดา ผู้มีศรัทธา คือ
๑. ชาตสถาน
(ที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือ อุทยานลุมพินี)
ลุมพินีวันเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญ
๑ ใน ๔ สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธ
เจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน
๔ ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ตัวลุมพินีวันอยู่ใกล้กับชายแดนประเทศอินเดียตอน
เหนือ ห่างจากสิทธารถนคร (หรือ นครเทวทหะ) ทางทิศตะวันตกประมาณ ๒๒ กิโลเมตร
และห่างจากเมืองติเลาราโกต (หรือ นครกบิลพัสดุ์) ทางทิศตะวันออก ๒๒ กิโลเมตร
ซึ่ง
ถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าลุมพินีวันสถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ
ปัจจุบัน ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็น
มรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐
๒. อภิสัมพุทธสถาน
(ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ควงโพธิ์ที่ตำบลพุทธคยา)
พุทธคยานับเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุดและเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทั่วโลกเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา
โดยเป็นสถานที่ที่เจ้าชาย
สิทธัตถะตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
นับเป็นเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปีที่สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของจุดหมายในการแสวงบุญ
ของชาวพุทธผู้มีศรัทธาทั่วโลก พุทธคยามีชื่อเรียกอีกชื่อว่า วัดมหาโพธิ์
ตั้งอยู่ที่จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
๓๕๐ เมตร ในอดีตตำบล
ที่ตั้งพุทธคยามีชื่อว่า อุรุเวลาเสนานิคม ต่อมา จึงเพี้ยนเป็น อุเรล ปัจจุบัน
พุทธคยาอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วมพุทธ-ฮินดู และยังได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก
ให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕
ภาพจาก
Web Site
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=39377
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 3-10-57 |
|
๓. ธัมมจักกัปปวัตตนสถาน (ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เรียกปัจจุบันว่า สารนาถ)
สารนาถในสมัยพุทธกาล
เรียกกันว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แปลว่า เขตป่าอภัยทานแก่สัตว์ที่เป็นที่บำเพ็ญตบะของฤษี
เป็นสถานที่สงบและเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤษีและ
นักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อเข้าถึงพรหมมันตามความเชื่อในคัมภีร์อุปนิษัทของพรามหณ์
ทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ปลีกตัวมาจากเจ้าชายสิทธัตถะ ภายหลังจากที่
พระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกขกริยา ได้มาบำเพ็ญตบะที่นี่แทน
หลังจากพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
และเทศน์โปรดปัญวัคคีย์จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมดแล้ว ได้ทรงพักจำพรรษาแรก
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พร้อมกับ
เหล่าปัญจวัคคีย์ ซึ่งในระหว่างจำพรรษาแรก พระองค์ได้สาวกเพิ่มกว่า ๔๕ องค์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระยสะและบริวารของท่าน ๔๔ องค์ ซึ่งรวมถึงบิดามารดาและภรรยาของ
พระยสะ ที่ได้มาฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์และได้ยอมรับนับถือเป็นอุบาสกอุบาสิกาที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะคู่แรกในโลกด้วย
ทำให้ในพรรษาแรกที่พระพุทธเจ้า
ทรงจำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน มีพระอรหันต์ในโลกรวม ๖๐ องค์ และองค์พระพุทธเจ้า
นอกจากนี้
ในบริเวณสารนาถ ยังเป็นสถานที่สำคัญที่พระพุทธองค์ทรงประกาศเริ่มต้นส่งให้พระสาวกกลุ่มแรกออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาหลังจากทรงจำพรรษาแรก
แล้ว (เชื่อกันว่าเป็นจุดที่เดียวกับที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา คือธรรมเมกขสถูป)
ภาพจาก
Web Site
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=39377
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 3-10-57 |
|
๔. ปรินิพพุตสถาน
(ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา)
ในสมัยพุทธกาล
เมืองกุสินาราอันเป็นที่ตั้งของสาลวโนทยานอยู่ในแคว้นมัลละ ๑ ใน ๑๖ แคว้น
ซึ่งเป็นเขตการปกครองสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นแคว้นมัลละแยกเป็น
สองส่วน คือ ฝ่ายเหนือมีเมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "โกสินารกา"
และฝ่ายใต้มีเมืองปาวาเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "ปาเวยยมัลลกะ"
ทั้งสองเมือง
นั้นตั้งอยู่ห่างกันเพียง ๑๒ กิโลเมตร มีอำนาจในการบริหารแยกจากกัน โดยมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
(สามัคคีธรรม) โดยมีแม่น้ำหิรัญญวดีคั่น
ตรงกลาง กุสินารานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับแคว้นอื่น ๆ ในสมัยพุทธกาล จัดว่าเป็นแคว้นเล็ก
ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักในด้านเศรษฐกิจ ดังที่พระอานนท์ได้ทูลทักท้วงพระพุทธ
องค์ที่ทรงเลือกเมืองกุสินาราเป็นสถานที่ปรินิพพาน
สังเวชนียสถาน
๔ (สถานที่เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, สถานที่เนื่องด้วยพุทธประวัติ) ซึ่งพุทธศาสนิกชนควรไปดูเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดความไม่ประมาท
จะได้เร่ง
ขวนขวายประกอบกุศลกรรม และสำหรับผู้ศรัทธาจะได้จาริกไปชมเพื่อเพิ่มพูนปสาทะ
กระทำการบูชาสักการะอันจะนำให้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เองเป็นที่มาของสังเวชนียสถาน
๔ แห่งในดินแดนพุทธภูมิ ที่ชาวพุทธทั้งหลายสมควรอย่างยิ่งที่จะไปนมัสการ
กราบไหว้สักการะสักครั้งหนึ่งในชีวิต
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
หนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=39377
http://www.dhammathai.org/buddhism/sangvechani4.php
http://th.wikipedia.org/wiki/สังเวชนียสถาน
|