โรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า : ความรู้เบื้องต้น
โดย...คุณศนิศรณ์  ชัยชมภู
อาชีพ ติวเตอร์อิสระ
กรุงเทพฯ
อีเมล์ : gypsyfelino@gmail.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)

          แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีรายงานการพบผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทยมาก่อนและยังไม่มีวิธีรักษาที่จำเพาะเจาะจง แต่จากความรุนแรงของโรคและลักษณะ
การระบาดของเชื้อโรคดังกล่าว ควรมีการเผยแพร่ข้อมูลและการทำความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อป้องกันและสร้างความตระหนักตื่นตัวในการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัส แทนที่จะ
เกิดความตื่นตระหนกเหมือนที่ภาพยนตร์บางเรื่องได้เคยนำเสนอ (เช่น Contagion, Outbreak, The flu, Ebola syndrome เป็นต้น)

ข้อมูลเบื้องต้น
          ไวรัสอีโบลาเป็นไวรัสก่อโรคที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยร้ายแรงถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา และยังไม่ทราบแน่ชัดถึงต้นตอของเชื้อ ทว่ามีการพบเชื้อในสัตว์ป่าบาง
ประเภทได้แก่ กวางเขาเกลียว สัตว์ตระกูลไพรเมทและค้างคาว เป็นต้น ไวรัสดังกล่าวเป็นเชื้อไวรัสที่มีการแพร่จากสัตว์สู่คน และจากคนสู่คน พบว่ามีการอุบัติของโรคครั้งแรก
ในปีพ.ศ.2519 ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งริมแม่น้ำอีโบลา เมืองยัมบูกู ประเทศคองโก และมีการระบาดขึ้นอีกหลายครั้งในวงจำกัดในทวีปแอฟริกา


ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องผ่านแสดงลักษณะของเชื้ออีโบลา [1]
ภาพจาก Web Site
Frederick A. Murphy. “Colorized transmission electron micrograph(TEM) revealing some of the ultrastructural morphology
displayed by Ebola virus virio.” <http://www.cdc.gov/media/dpk/2014/images/ebola-outbreak/img33.jpg>

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-10-57

          โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาหรือโรคไข้เลือดออกอีโบลาเกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดคือในปี 2557 มีการระบาดในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกาได้แก่ ประเทศกิเนีย
ไลบีเรียและเซียร่า ลีโอนแล้วกว่า 10,114 ราย เสียชีวิต 4,912 ราย (ข้อมูล ณ 23 ตุลาคม 2557) และพบผู้ติดเชื้อนอกจากประเทศดังกล่าวได้แก่ ประเทศมาลี ไนจีเรีย เซเนกัล
สเปน และสหรัฐอเมริกา อีกจำนวนหนึ่งซึ่งสามารถควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไว้ได้

การติดต่อ
          เชื้อไวรัสติดต่อจากสัตว์สู่คน และจากคนสู่คน จากการสัมผัสโดยตรงกับของใช้ของผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วย เลือดและสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือน้ำจากร่างกายผู้ติดเชื้อ
หรือสัตว์ที่ป่วยโดยไม่ป้องกัน การวินิจฉัยยืนยันทำได้โดยการตรวจ antigen-RNA ของไวรัสจากตัวอย่างเลือด หรือ ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส หรือ แยกเพาะเชื้อไวรัสใน
ห้องปฏิบัติการที่มีการป้องกันระดับสูง


ภาพแสดงนิเวศวิทยาของไวรัสอีโบลา, วงจรการติดต่อและแพร่เชื้อ [2]
ภาพจาก Web Site
“Graphic showing the life cycle of the ebola virus.” <http://www.cdc.gov/vhf/ebola/images/ebola_ecology_800px.jpg>
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-10-57

ลักษณะอาการของโรคและการรักษา
          เนื่องจากเมื่อมีการติดเชื้อจะมีระยะฟักตัวของโรคก่อนจะมีอาการ 2 ถึง 21 วัน ก่อนจะแสดงอาการในระยะเริ่มแรกโดยจะมีอาการไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดกล้าม
เนื้อ ปวดข้อ ปวดศีรษะจากท้ายทอย และเจ็บคอ ต่อมาในระยะที่สองจะมีอาการผิดปกติของอวัยวะภายใน ไตและตับไม่ทำงาน มีอาการท้องเสีย อาเจียน ผื่นแดงจุดเลือด เยื่อบุตา
อักเสบ เป็นต้น บางรายที่อาการรุนแรงมีเลือดออกทั้งภายในและภายนอก เมื่อถึงระยะที่สามจะมีอาการอวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ซึ่งในปัจจุบันยัง
ไม่มีการรักษาโดยเฉพาะเจาะจง ทำได้เพียงรักษาตามอาการที่ปรากฏ เมื่อผู้ป่วยรอดชีวิตจากการติดเชื้อได้มักจะมีอาการผิดปกติทางร่างกายต่อเนื่องไปอีกเป็นระยะเวลาหนึ่ง
เช่น มีอาการอ่อนเพลียรุนแรง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดตามข้อ ตับอักเสบเป็น ๆ หาย ๆ และตาอักเสบ เป็นต้น


ภาพแสดงอาการผื่นจ้ำเลือดที่ผิวหนังผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลา [3]
ภาพจาก Web Site
“Skin rash symptoms.” <http://www.cdc.gov/vhf/ebola/images/illustrations/symptoms-skin-rash.jpg>
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-10-57

การป้องกัน
          การแพร่เชื้อสามารถป้องกันได้โดยการใช้มาตรการควบคุมการติดเชื้อ เมื่อจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาด ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ ต้องปฏิบัติตนให้
ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ระมัดระวังการใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด หรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ มูล หรือสิ่งของเครื่อง
ใช้ของผู้ป่วยที่อาจปนเปื้อนกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย รวมถึงศพของผู้ป่วยที่เสียชีวิต หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่อาจนำมาเป็นอาหาร และคอยสำรวจอาการตน
เอง หากรู้สึกไม่สบาย มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว เจ็บคอ ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน ผื่นแดง หรือตาแดง ให้พบแพทย์ทันที


ภาพแสดงชุดป้องกันการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง [4], [5]
ภาพจาก Web Site
Getty., AFP., The telegraph. “A man prepares to take off his protective suit at Biankouma hospital in Ivory Coast”. <http://i.telegraph.co.uk/multimedia/archive/03019/Ebola-suit_3019099b.jpg>
Cyril Dixon. Express. “Hillingdon Hospital in Uxbridge taking part national exercise to test Britain’s readiness for an Ebo[PA]. ”

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-10-57

          อย่างไรก็ดีแม้จะมีด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศคอยดูแลตรวจตราคัดกรอง ผู้เดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศเสี่ยง แต่เนื่องจากระยะฟักตัว
ของโรคกว่าจะมีอาการอยู่ในช่วง 2 ถึง 21 วัน ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยง ควรระมัดระวังการใกล้ชิดและมีการปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ


ภาพแสดงโปสเตอร์รณรงค์ให้ความรู้ในการหยุดการระบาดของโรคโดยองค์การยูนิเซฟ
ภาพจาก Web Site
http://www.unicef.ca/sites/default/files/imagecache/100pct_
rounded/wysiwyg_imageupload/13/unicef_liberia_-_poster.jpg>

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-10-57


ข้อมูลเพิ่มเติมโดยละเอียดสามารถศึกษาต่อได้จากเอกสารอ้างอิง

 


เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

ประกาศกรมควบคุมโรค. เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา(Ebola virus disease : EDV)
          <http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/upload/files/annoucement23092557.pdf> เข้าถึงเมื่อ28 ตุลาคม 2557
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนพิเศษ 154 ง. หน้า 1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. “เรื่อง เพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อและอาการสำคัญ”.
          <http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/upload/files/Ebola_Law_10Sep14.PDF> เข้าถึงเมื่อ28 ตุลาคม 2557
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. บทความออนไลน์. < http://th.wikipedia.org/wiki/ไวรัสอีโบลา> เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2557
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. บทความออนไลน์ “โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา(Ebola)ในแถบแอฟริกาตะวันออก”.
          < http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?items=1697> เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2557
Centers for Disease Control and Prevention. Online article. “Infection Prevention and Control
           Recommendations for Hospitalized Patients with Known or Suspected Ebola Virus Disease in
           U.S. Hospitals” < http://www.cdc.gov/vhf/ebola/hcp/infection-prevention-and-control-recommendations.html>. Accessed on October 28, 2014.
CNN Library. CNN International Edition. Online article. “Ebola Fast Facts”
           < http://edition.cnn.com/2014/04/11/health/ebola-fast-facts/>. Accessed on October 28, 2014.
World Health Organization. Fact sheet No. 103. Online article. “Ebola virus disease”
           < http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs103/en/>. accessed on October 28, 2014.

ที่มาของภาพ
[1] Frederick A. Murphy. “Colorized transmission electron micrograph(TEM) revealing some of the ultrastructural morphology
displayed by Ebola virus virio.” <http://www.cdc.gov/media/dpk/2014/images/ebola-outbreak/img33.jpg>
[2] “Graphic showing the life cycle of the ebola virus.” <http://www.cdc.gov/vhf/ebola/images/ebola_ecology_800px.jpg>
[3] “Skin rash symptoms.” <http://www.cdc.gov/vhf/ebola/images/illustrations/symptoms-skin-rash.jpg>
[4] Getty., AFP., The telegraph. “A man prepares to take off his protective suit at Biankouma hospital in Ivory Coast”.
<http://i.telegraph.co.uk/multimedia/archive/03019/Ebola-suit_3019099b.jpg>
[5] Cyril Dixon. Express. “Hillingdon Hospital in Uxbridge taking part national exercise to test Britain’s readiness for an Ebo[PA]. ”
[6] โปสเตอร์รณรงค์หยุดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา<http://www.unicef.ca/sites/default/files/imagecache/100pct_
rounded/wysiwyg_imageupload/13/unicef_liberia_-_poster.jpg>