บุญข้าวปุ้น
งานบุญในประเพณีบุญมหาชาติ
โดย...คุณทิพย์สุดา
รันนัน
สำนักงานประมงจังหวัดมหาสารคาม
ถ.เลี่ยงเมืองมหาสารคาม-ร้อยเอ็ด
อ.เมือง จ.มหาสารคาม
อีเมล์
: kkjj_lp@hotmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
บุญข้าวปุ้น เป็นงานบุญหนึ่งที่อยู่ในประเพณีบุญผะเหวดหรือบุญเดือนสี่ หรือ
บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสองของชาวอีสาน เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่ง
ใหญ่ ซึ่งสืบทอดต่อกันมายาวนานของชาวอีสาน ซึ่งจะจัดขึ้นในแรม 8 ค่ำ เดือน
3 ของทุกปี ชาวอีสาน จะจัดทำบุญผะเหวด ปีละหนึ่งครั้ง ระหว่างเดือน ๓ เดือน
๔ ไปจนถึงกลาง
เดือน ๕ โดยจะมีวันรวม ตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชทุกคนในหมู่บ้านจะมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลา
หรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้
้ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ
เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต และมาร รอบๆ ศาลการเปรียญจะ
แขวน ผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ ๑ ถึงกัณฑ์สุดท้าย
เป็นการรำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือ ความดี มีการสละความเห็นแก่ตัว เพื่อประโยชน์สุข
ชาว
อีสานจึงถือเป็นเทศกาลที่ประชาชนพร้อมใจกัน ร่วมบำเพ็ญประโยชน์ และอนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบต่อกันมา
ซึ่งงานบุญทุกบ้าน ชาวบ้านจะทำ "ข้าวปุ้น" หรือขนมจีน เพื่อ
ไปทำบุญตักบาตรที่วัดและทำไว้เพื่อต้อนรับแขก ที่แวะมาเยี่ยม จึงมีคำกล่าวที่ว่า
"กินข้าวปุ้น บุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ"
ภาพจาก
Web Site
http://wadchanok.blogspot.com/2013_08_01_archive.html
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-10-57 |
|
"ข้าวปุ้น"หรือขนมจีน
ซึ่งมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น เช่น ทางภาคเหนือเรียกว่า "ขนมเส้น"กลาง
ใต้ ตะวันออกเรียก"ขนมจีน"ส่วนภาคอีสานรวมทั้งประเทศ
ลาวเรียก"ข้าวปุ้น" เวียดนามเรียก"บุ๋น" ข้าวปุ้น
ซึ่งว่าเป็นอาหารหลักของชาวอีสานและเป็นอาหารประจำงานบุญต่าง ๆ เลยก็ว่าได้
เพราะถ้าแขกที่มาร่วมงานบ้านใหน ไม่ได้กิน
ข้าวปุ้นก็จะถือเสมือนว่ายังไม่ได้ร่วมงานบุญนั้น ถือว่า ข้าวปุ้นมีความสำคัญในงานบุญข้าวปุ้น
เพราะหมายถึง เส้นยาวแสดงถึงความเหนียวแน่นกลมเกลียวกันมีความรัก ความ
สามัคคีซึ่งกันและกันในสมัยก่อนก่อนเวลามีงานบุญชาวบ้านในหมู่บ้านก็จะช่วยกันลงแรงทำข้าวปุ้นกัน
ช่วยกันตำ ช่วยกันบีบ เป็นการสร้างความสามัคคีและเชื่อมความสัมพันธ์
ในหมู่บ้าน ปัจจุบันนี้การตำข้าวปุ้นกินกันเองมีน้อยมาก มีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ทำข้าวปุ้นกินกัน
เด็กรุ่นใหม่ไม่ทำกินกันแล้ว เพราะซื้อกินสะดวกและง่ายกว่า
ภาพจาก
Web Site
http://www.phitsanulokhotnews.com/2012/11/03/26396
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-10-57 |
|
ในงานชาวบ้านจะช่วยกันหาดอกไม้มาตากแห้งไว้
ช่วยกันฝานดอกโน (ทำจากลำต้นหม่อน) ซึ่งทำติดต่อกัน 3 วัน วันแรกของงานในตอนบ่ายหรือตอนเย็น
จะมีการแห่พระ
อุปคุตรอบบ้านให้ชาวบ้านได้สักการบูชา แล้วนำไปประดิษฐานไว้หออุปคุต ภายในบริเวณงานเพราะเชื่อว่าเป็นพระเถระ
ผู้มีฤทธิ์ นิรมิตกุฏิอยู่กลางแม่น้ำมหาสมุทร สามารถขจัด
เภทภัยทั้งมวลได้ ส่วนวันที่ 2 ของงานเป็นการแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง แต่ละคุ้มวัดจะจัดขบวนแห่
แต่ละกัณฑ์ทั้ง 13 กัณฑ์แห่รอบเมือง ตอนเย็นมีมหรสพสมโภช ในวันที่ 2
ที่3 ชาวบ้านจะทำและเลี้ยงข้าวปุ้นบุญผะเหวด ผู้คนที่มาในงานกินข้าวปุ้นกัน
ทุกบ้านจะต้องมีข้าวปุ้น นำมาถวายพระและแจกคนที่มาร่วมงานบุญ และในวันที่
3 ของงานเริ่ม
ตั้งแต่เช้ามืด ประมาณตี 4 ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียวมาปั้นเสียบไม้จำนวน 1,000
ก้อน เพื่อเอาบูชากัณฑ์เทศน์ คาถาพัน เรียกว่า"ข้าวพันก้อน" ชาวบ้าน
จะพากันแห่ข้าวพันก้อน
รอบศาลาวัด หลังจากนั้นพระสงฆ์จะเริ่มเทศน์สังกาด เป็นการพรรณนาอายุกาลของพระพุทธศาสนาเริ่มแต่ต้นจนถึงอันตรธาน
เมื่อเทศน์สังกาดจบแล้วจึงเริ่มเทศน์กัณฑ์ทศพร
ไปจนจบนครกัณฑ์ อันเป็นกัณฑ์ที่ 13 เทศน์แต่เช้ามืดไปจนค่ำ จบแล้วจัดขันขอขมาโทษพระสงฆ์ให้พรเป็นเสร็จพิธี
ในวันที่ 3 นี้เอง ชาวบ้านจะแห่กัณฑ์หลอนมาร่วมถวาย
กัณฑ์เทศน์ตลอดทั้งวัด กัณฑ์เทศน์จะมี 2 ลักษณะกัณฑ์หลอน เป็นการแห่กัณฑ์เทศน์มา
ถึงบริเวณที่พระกำลังเทศน์ก็ถวายกัณฑ์เทศน์โดยไม่เจาะจงว่าจะเป็นพระสงฆ์รูปใด
กัณฑ์จอบ เป็นกัณฑ์เทศน์ที่กลุ่มผู้ถวายปรารถนาจะถวายเฉพาะภิกษุที่ตนชอบ
เคารพศรัทธา จึงมีการส่งคนไปสอดแนมว่าขึ้นเทศน์หรือยัง ภาษาอีสานเรียกว่า
"จอบ" แอบดู จึง
เรียกกัณฑ์เทศน์ประเภทนี้ว่า "กัณฑ์จอบ"
ภาพจาก
Web Site
Site
http://www.roietweb.com
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-10-57 |
|
บุญข้าวปุ้น
เป็นประเพณีที่สำคัญที่อยู่ในบุญมหาชาติหรือบุญผะเหวด มาเป็นเวลานาน เป็นบุญที่ชาวอีสานให้ความสำคัญและอนุรักษ์ไว้
เพื่อความสามัคคีกลมเกลียวใน
ชุมชนหรือท้องถิ่น ในปัจจุบันประพณีบุญข้าวปุ้น ยังคงมีให้เห็ในแต่ละท้องถิ่นของภาคอีสาน
อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างในบางท้องถิ่น แต่ยังคงความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธ
ศาสนาที่ควรค่าแก่การสืบทอดต่อไป
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
http://e-shann.com/?p=267
http://www.renunakhonradio.com/index.php?mo=59&id=381140
http://www.prapayneethai.com
http://www.lib.ru.ac.th/journal/isan/culture/roiet.html
|