ความผูกพันของสมาชิกกับองค์กร
โดย... คุณทัณดร  ธนกุลบริภัณฑ์
หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ สำนักการศึกษาต่อเนื่อง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2556)


          ในสังคมปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางธุรกิจหรือราชการ บุคคลากรขององค์กรนั้น ๆ ถือเป็นตัวจักรสำคัญที่จะผลักดันให้การดำเนินงานขององค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จได้
จากความร่วมมือร่วมใจ ความรักความสามัคคีและความผูกพันระหว่างบุคคลากรกับองค์กรนั้น ๆ ต้องมีความสมัครสมานกลมเกลียวกัน เพื่อที่จะร่วมกันสร้างสรรค์ผลักดันให้สิ่งดี ๆ
เกิดขึ้น


ภาพจาก Web Site
https://lh3.googleusercontent.com/-CmaP3C7GrBg/UUCQQf7e1oI/AAAAAAAACKA/M_uctki9Mf0/w438-h263-no/leader+skill.jpeg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 23-11-59



ความหมายและความสำคัญของความผูกพัน
          ความผูกพันระหว่างสมาชิกกับองค์กรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
          1. เน้นพฤติกรรมที่แสดงออกของสมาชิก
          2. เน้นที่ทัศนคติของสมาชิก

          1. ความผูกพันเน้นที่พฤติกรรมการแสดงออก จะเป็นการกระทำที่สม่ำเสมอต่อเนื่อง จะไม่เปลี่ยนแปลงที่ทำงาน ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจให้กับงาน ปฏิบัติงานเพื่อความ
สำเร็จขององค์กร ความผูกพัน มีเป้าหมายและยึดค่านิยมขององค์กร ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กร มีความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
เต็มใจปฏิบัติตามค่านิยม เสมือนว่าเป็นของตนเอง
          2. เน้นที่ทัศนะคติของสมาชิก การเข้าไปมีส่วนร่วมในองค์กรในกิจกรรมต่าง ๆ ที่องค์กรจัด องค์กรทำอะไรก็ทำจะด้วย จัดกิจกรรมอะไรก็เข้าไปทำด้วยความเต็มใจและ
เต็มที่ ที่สำคัญมีความจงรักภักดีต่อองค์กร รักและผูกพันต่อองค์กร มีความสนิทสนมกลมเกลียวกับสมาชิก เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เต็มใจอุทิศทั้งกำลังกายและกำลังใจเพื่อกิจกรรม
ขององค์กร

ปัจจัยแวดล้อมระหว่างสมาชิกกับองค์กร
          ในการทำงานอยู่ด้วยกันก็จะต้องทำงานลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยแบ่งออกเป็นสายงาน เช่น ในมหาวิทยาลัยก็มีสายงานนักวิชาการศึกษา นักวิชาการโสต ผู้ปฏิบัติงานบริหาร
ก็จะมีความสนิทสนมกลมเกลียวกัน ก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งปัจจัยที่จะบอกให้ทราบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้
          1. ภาวะผู้นำ หัวหน้าเป็นอย่างไร การทำงานร่วมกันตรงตามจุดประสงค์ขององค์กรหรือไม่ ลักษณะงานที่หัวหน้าให้ทำงานตรงกับตัวเรามั้ย พอใจกับงานที่ทำ ถ้าทำงานถูกก็
จะเกิดความผูกพัน
          2. ค่าตอบแทน ที่ใดให้ค่าตอบแทนดี ความผูกพันก็จะเกิดกับเขา สร้างความผูกพัน คุณภาพชีวิต สวัสดิการดีจะก่อให้เกิดผูกพันกับองค์กร
          3. โอกาสที่จะได้รับ ทำงานมานานแล้วมีความก้าวหน้าในชีวิตการงานหรือไม่ ถ้าเป็นข้าราชการจะได้รับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ปรับให้ตำแหน่งสูงขึ้น มีความสนิทสนม
กัน หรือมีแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันมั้ย
          4. อายุ คนที่มีอายุมากก็จะผูกพันกับองค์กรมาก จะคิดอย่างรอบคอบว่า เราจะต้องอยู่ต่อไป คนที่มีอายุน้อยก็จะไปหางานที่ดีกว่า
          5. ระดับการศึกษา คนที่มีการศึกษาสูงก็จะมีความผูกพันกับองค์กรต่ำ เพราะเขามีทางเลือกสูง มีความคาดหวังสูง


ภาพจาก Web Site
https://i0.wp.com/cobrahosting.co.uk/~oneguest/wp-content/uploads/2012/06/Open-plan-working.png
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 23-11-59


           6. เพศ เพศหญิงมีความผูกพันต่อองค์กรมากกว่าเพศชาย เพราะเพศหญิงมักจะไม่ค่อยเปลี่ยนงาน ผู้ชายถ้ามีโอกาสก็จะเปลี่ยนงาน
           7. ระยะเวลาในการทำงาน ถ้าทำงานมานานแล้วความผูกพันก็จะสูง เนื่องจากได้อุทิศทั้งร่างกายและจิตใจ สั่งสมเวลาการทำงานมานานมากแล้ว ก็ไม่รู้จะไปไหนแล้ว
           8. ความชำนาญในการทำงาน หากมีความเชี่ยวชาญ มีความชำนาญได้รับการยอมรับนับถือจากเพื่อนร่วมงาน จากหัวหน้างานก็จะมีความผูกพัน
           9. ความสำเร็จ ถ้ามีความก้าวหน้าอยู่เสมอ ๆ ในการทำงานก็จะมีความผูกพันสูง
          10. สถานะภาพของการสมรส คนโสดมักไม่ค่อยผูกพันกับองค์กร แต่คนที่แต่งงานแล้วมักจะไม่ค่อยเคลื่อนย้ายงาน เพราะมีครอบครัวต้องรับผิดชอบ

เทคนิคสร้างความผูกพัน
          เทคนิคการสร้างความผูกพันให้แก่สมาชิกในองค์กร ก็คือ คนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ทุกคนคือ จักรกลตัวสำคัญ ถ้าคนดี
คนมีความรู้ มีความสามารถ องค์กรก็จะอยู่รอด มีการคิดใหม่อยู่เสมอ ปรับปรุงงานอยู่เสมอ เกิดนวัตกรรมใหม่ขึ้น ซึ่งเทคนิคสร้างความผูกพัน มีดังนี้
          1. ความประทับใจครั้งแรกในการพบกับผู้นำหรือหัวหน้างาน ตอนที่เราเข้าบรรจุทำงานใหม่ ๆ มีการพาไปแนะนำมั้ย การต้อนรับภายในหน่วยงานเป็นอย่างไร สร้างความ
ประทับใจให้เรามั้ย จะเกิดขึ้นทันทีที่เข้ามาทำงาน
          2. ความรับผิดชอบ เมื่อเข้าทำงานใหม่ ๆ ได้รับการเอาใจใส่มั้ยจากหัวหน้างาน มีการอำนวยความสะดวกให้ในเรื่องของการทำงาน ตั้งแต่เริ่มแรกที่เข้ามาทำงาน มีการ
สอนงานมั้ย เปิดโอกาสให้มีการแก้ตัวมั้ย ถ้าเกิดทำงานผิดพลาดในครั้งแรก พูดอย่างกัลยาณมิตร สอนงานอย่างมีหลักปฏิบัติมั้ย
          3. ให้ความสำคัญ ต้องให้ความสำคัญกับงานที่มอบให้ปฏิบัติ งานของเราก็คืองานขององค์กร เมื่อมอบให้เขาปฏิบัติก็ต้องให้ความสำคัญกับงานของเขาที่ให้เขาปฏิบัติ อธิบาย
ถึงความสำคัญของงาน ให้เขาเห็นว่าเขามีความสำคัญมากขนาดไหนต่อองค์กร ทุกคนในองค์กรเปรียบเสมือนเฟืองตัวเล็ก จะทำให้สามารถสร้างรายได้ลดต้นทุนให้แก่องค์กรทำให้
เกิดความภาคภูมิใจในงาน ว่าเขามีประโยชน์ต่องค์กรและเขาได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับงาน


ภาพจาก Web Site
http://www.vcharkarn.com/uploads/232/232865.gif
http://www.knctrainingcenter.com/images/column_1458564650/1458564753knctrainingcentercom1.jpg

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 23-11-59


          4. มีโอกาสพัฒนาและเติบโตในหน้าที่การงาน เมื่อเข้าทำงานแล้วใครก็ตามที่เข้าไปทำงานแล้วมองไม่เห็นอนาคต ย่อมจะไม่เกิดความผูกพันแน่นอน แต่ถ้าเขามองเห็นถึงความก้าวหน้า ได้รับการเลื่อนระดับที่สูงขึ้น มีเงินเดือนที่สูงขึ้น ก็จะก่อให้เกิดความกระตื้อรือร้นและก็เป็นการท้าทายต่องานที่ได้รับ
          5. การสื่อสาร ถือเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะเมื่อเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรแล้ว ต้องให้เขารู้ทุกเรื่อง ถ้าองค์กรขาดการสื่อสารหรือสื่อสารกันไม่ดี ความวินาศหรือความไม่เจริญก้าวหน้าขององค์กร ก็จะเกิดขึ้นตามมา เพราะถ้าสื่อสารกันไม่ดีก่อให้เกิดการไม่เข้าใจกัน ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และก็ให้เกิดปัญหาตามมาได้
          6. การให้รางวัล ถือเป็นเทคนิคการสร้างความผูกพัน ถ้าทำดีต้องได้รางวัลอย่างน้อย ๆ ก็คำชมเชย ใคร ๆ ก็ชอบคำชมเชย แต่เมื่อทำไม่ดีก็ต้องมีการว่ากล่าวตักเตือนและชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องให้
          7. ความผูกพัน ถือเป็นกุญแจสำคัญต่อความสำเร็จของการทำงาน หากคนมีความผูกพันต่อองค์กร สิ่งที่องค์กรจะได้มากกว่างานก็คือ หัวใจของคนทำงาน เพราะเขาจะทุ่มเทอุทิศเวลาเพื่อองค์กรเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เขาจะมุ่งมาที่งานแล้วก็สร้างความเจริญให้กับธุรกิจหรืองาน

คุณค่าขององค์กรที่มีความผูกพันก่อให้เกิด
          ความผูกพันต่อองค์กรจะเปรียบเสมือนตัวกระตุ้นให้บุคคลในองค์กรปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความผูกพันต่องาน เพราะงานคือหนทางที่เขาสามารถทำประโยชน์ให้
กับองค์กรบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ สามารถทำนายการเข้าออกของบุคคลากรได้ สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนา จัดทำแผนงานระยะยาวได้ มีการกำหนดเป้าหมายขององค์กร
ถึงความสำเร็จ เป็นตัวชี้วัดที่ดีมีประสิทธิภาพ ความผูกพันจะก่อให้เกิดประโยชน์ คือ พนักงานมีความผูกพันต่อจุดหมาย เห็นคุณค่าขององค์กรก็จะทำให้ทำงานได้ดี ก็จะปรารถนา
ที่จะอยู่กับองค์กรไม่คิดจะย้ายงาน ช่วยเหลืองานตามภาระหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ พนักงานมีความเต็มใจใช้ความสามารถ ศากยะภาพของตัวทุ่มไปให้กับงาน ทำให้
การออกจากงานน้อยลง มีผลงานดีขึ้น งานจะบรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรตั้งไว้ การขาดงานหรือการหยุดงานจะน้อยลง พนักงานมาทำงานตรงเวลา
          องค์กรต้องมองเห็นคุณค่าของสมาชิกมากกว่าที่จะมองที่ตัวบุคคล แล้วค่อย ๆ สร้างความประทับใจ สร้างแรงจูงใจ จนก่อให้เกิดความผูกพัน ความมีใจให้แก่หน่วยงาน ไม่ว่า
หน่วยงานใดจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา คนที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขบางทีไม่เฉพาะผู้บริหาร อาจจะเป็นสมาชิกในองค์กรนั้น ๆ เอง





นางสาวเยาวลักษณ์ ศิริสุวรรณ  เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2556)
กลุ่มที่ 3 บริหารงาน/บริหารคน
กลุ่มรายการที่ 3/45-56
CD-A3(3/3)-56