ข้าว : จุดกำเนิดพิธีกรรมข้าวไทย
        โดย...คุณสุดารัตน์  บัวศรี
                นักวิชาการศึกษา ชำนาญการ
                หน่วยบรรณาธิการ ฝ่ายวิชาการ
                สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                อีเมล์ : upacbsud@yahoo.co.th

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)


          ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมีพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าวถือเป็นอาหารหลักของคนภายในประเทศ และเหลือเป็นสินค้าส่งออก
ที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย
          สังคมไทยปลูกข้าวเพื่อการบริโภคมาตั้งแต่ยุคโบราณ เรียกได้ว่า ข้าวเป็นแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงคนในสังคมไทย พิธีกรรมการปลูกข้าวจึงถือกำเนิดขึ้น กลายเป็น
วัฒนธรรมสืบเนื่องต่อกันมา ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมทางศาสนา งานพระราชพิธี รวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อเกี่ยวกับข้าวมาจนปัจจุบัน

จุดกำเนิดพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับข้าว
          จุดมุ่งหมายที่สำคัญของพิธีกรรมการปลูกข้าวก็เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ได้ผลผลิตจำนวนมาก พิธีกรรมข้าวยุคแรกของสังคมไทยก่อนที่จะรับเอาศาสนาฮินดูเข้ามา ในสมัย
นั้นการปลูกข้าวนั้นจำเป็นต้องพึ่งพิงธรรมชาติ จึงเป็นเรื่องของการพยายามที่จะติดต่อหรือขอร้องอำนาจเหนือธรรมชาติ หรือผีแถน โดยเชื่อว่าอำนาจนี้จะสามารถบันดาลผลผลิต
สภาพดิน ฟ้า อากาศ โดยผ่านพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ที่ควบคุมอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติได้ ต่อมาเมื่อรับเอาพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูเข้ามา ทำให้ผสมผสานกันกลายเป็น
พิธีกรรมของชาวบ้าน และมีพระราชพิธีหลวง คือ พิธีแรกนาขวัญ
          การประกอบพิธีกรรมมีความสำคัญต่อชาวบ้านมาก เพราะการปลูกข้าวเป็นการประกอบอาชีพและทำมาหากินเลี้ยงชีพ จะเห็นว่า คนนับถือข้าว เรียกข้าวว่า “แม่โพสพ”
เป็นการยกย่องข้าวว่าเป็นผู้ให้ชีวิตแก่มนุษย์ เปรียบเสมือน “แม่” ผู้มีชีวิตจึงต้องสุภาพอ่อนโยน เคารพนับถือ กตัญญูกตเวที การปลูกข้าวไม่ว่าจะขั้นตอนใด ดำนา ไถ ต้องมีพิธี
บูชาของไหว้แม่โพสพก่อนเสมอ

พิธีกรรมข้าวมีอยู่ในช่วงใดของการปลูกข้าวบ้าง
          พิธีกรรมข้าวทำขึ้นตลอดปีของการปลูกข้าว โดยจัดต่อเนื่องตามลำดับการเพาะปลูก ช่วงเวลาของพิธีกรรมที่สำคัญจะอยู่ตั้งแต่ก่อนเริ่มฤดูกาลปลูก จนกระทั่งหลังการเก็บ
เกี่ยวผลผลิต พิธีกรรมข้าวที่สำคัญมีอยู่ใน 4 ช่วงของการปลูก คือ
          1. พิธีกรรมก่อนการเพาะปลูก วัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวง บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือบรรพบุรุษให้คุ้มครองป้องกันภยันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ให้มีความสวัสดิมงคล มี
ความอุดมสมบูรณ์ ขอโอกาสและมีความเชื่อมั่นในการดำรงชีวิตในรอบปีปลูก อาทิ พิธีเลี้ยงขุนผีขุนถ้ำ พิธีแห่นางแมว เทศน์พญาคันคาก สวดคาถาปลาช่อน พิธีปั้นเมฆ พิธีบุญ
บั้งไฟขอฝน พิธีบุญซำฮะ พิธีเหล่านี้จัดขึ้นก่อนเริ่มการเพาะปลูก


พิธีแห่นางแมว
ภาพจาก Web Site
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 5-11-57


ภาพจาก Web Site
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8% ที่มา: https://www.nongkhainewonline.blogspot.com
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 5-11-57


ภาพจาก Web Site
http://www.watpotikaram.com/webboard/index.php?topic=2527.0
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 5-11-57

          2. พิธีกรรมช่วงเพาะปลูก ทำเพื่อบวงสรวงบนบานแก่เทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บอกกล่าว ฝากฝังสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้าวหรือการเพาะปลูก ขอให้การปลูกข้าวดำเนินไป
ได้ด้วยดี ปราศจากอันตรายต่างๆ อาทิ พิธีแรกไถนา พิธีเลี้ยงผีตาแฮก พิธีตกกล้า พิธีแรกดำน้ำ พิธีปักข้าวตาแฮก พิธีปักกกตาแฮก


ภาพจาก Web Site
http://www.watpotikaram.com/webboard/index.php?topic=2527.0
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 5-11-57

          3. พิธีกรรมเพื่อการบำรุงรักษา ทำเพื่อให้ข้าวงอกงาม ปลอดภัยจากสัตว์ต่างๆ หนอนเพลี้ย พิธีกรรมประเภทนี้จัดขึ้นในช่วงระหว่างการเพาะปลูก จนกระทั่งเก็บเกี่ยว
อาทิ พิธีไล่น้ำ พิธีปักตาเหลว พิธีสวดสังคหะ พิธีรับขวัญแม่โพสพ พิธีไล่หนู ไล่นก ไล่เพลี้ย ไล่แมลง ใช้วิธีภาวนา หว่านทราย น้ำมนต์ เครื่องราง


ภาพจาก Web Site
https://www.gotoknow.org/posts/93222
http://www.kasetsomboon.org/%E0%B8%AA%E0%
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 5-11-57

          4. พิธีกรรมเพื่อการเก็บเกี่ยวและฉลองผลผลิต ทำเพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก เพื่อแสดงความอ่อนน้อมกตัญญูต่อข้าว พิธีกรรมนี้จัดขึ้นในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว
อาทิ พิธีรวบข้าว พิธีแรกเกี่ยวข้าว พิธีเชิญข้าวขวัญ พิธีวางข้าวต๋างน้ำ พิธีปลงข้าว พิธีขนข้าวขึ้นยุ้ง พิธีตั้งลอมข้าว พิธีเปิดยุ้ง และพิธีปิดยุ้ง ฯลฯ


ภาพจาก Web Site
http://www.isan.clubs.chula.ac.th/webboard/?transaction=post_view.php&room_no=0&id_main=1246&star=0
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 5-11-57

          พิธีกรรมทั้งหมดมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของข้าวและแสดงให้เห็นถึงวิธีการแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน รวมถึงสะท้อนภูมิปัญญาของชาวบ้านในการเผชิญ
กับปัญหาเรื่องปากท้องและสร้างแรงกำลังใจ เพื่อความอยู่รอดของชาวนาไทย แม้ว่าพิธีกรรมบางอย่างอาจตัดทอนไป เนื่องจากคนทำนารุ่นลูกหลานเห็นคุณค่าทางพิธีกรรมน้อย
ลง แต่ก็มีให้เห็นในแหล่งเพาะปลูกข้าวภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง ยังมีความเชื่อเละรักษาวัฒนธรรมข้าวและพิธีกรรมทางศาสนาเกี่ยวกับข้าวผ่านประเพณีท่องเที่ยวตาม
จังหวัดต่างๆ ที่ได้จัดขึ้นในปัจจุบัน



เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

http://library.stou.ac.th/ODI/rice/P3-2html
http://thairice.org/html/aboutrice/culture01.html
http://www.openbase.in.th/node/10222