ตามรอยเส้นทางผ้าไทย
๔ ภาค
โดย...นายชินาทร กายสันเทียะ
ประธานชมรมยุวชนมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
ต.โพธิ์กลาง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
อีเมล์ : rachachinakawin@gmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-11-57 |
|
ในช่วงเปิดศักราชใหม่
พ.ศ. ๒๕๕๘ เทศกาลปีใหม่เช่นนี้ เป็นอีกหนึ่งเทศกาลแห่งความสุขเฉลิมฉลองของคนไทย
และเป็นเทศกาลที่หลายท่านมองหาของขวัญสำหรับ
สวัสดีปีใหม่ญาติผู้ใหญ่ และบุคคลอันเป็นที่รัก ด้วยของขวัญที่คดสรรเป็นอย่างดีเพื่อมอบแก่ญาติผู้ใหญ่
เจ้านาย และเพื่อนร่วมงาน จึงอยากจะขอนำเสนออีกหนึ่งของขวัญที่เป็นที่
นิยมและเป็นเอกลักษณ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในโอกาสต่างๆ ผ้าไทยจึงเป็นอีกหนึ่งที่นิยมนำมอบในช่วงเทศกาลปีใหม่
นอกจากเป็นของขวัญที่แสดงถึงความกตัญญู
แล้ว ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละภาคที่รังสรรค์ผ้าในภูมิภาคของตน
ออกมาอย่างเป็นเอกลักษณ์และแฝงวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่ผ่านเส้นไหมที่ถักทอออกมาเป็นผืนผ้า
ที่งดงามทั้ง ๔ ภาค
ผ้าพื้นบ้านภาคเหนือที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่สุดคือ
ผ้าไทยวน ผ้าไทลื้อ ผ้าของกลุ่มชนทั้งสอง ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องบูชาตามความเชื่อที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ
โดย
เฉพาะผ้าซิ่นตีนจก ผ้านุ่งผู้หญิงของกลุ่มไทยวนและไทลื้อ แหล่งผลิตผลงานหัตถศิลป์หรือแหล่งทอผ้าซิ่นตีนจกที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายอยู่ที่
อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้
ว่าเป็นชุมชนหนึ่งที่มีการทอผ้าซิ่นตีนจกกันมากที่สุด ผ้าทอของแม่แจ่มมีเอกลักษณ์ในการทอหรือจกในลักษณะการคว่ำลาย
ทำให้ลวดลายที่ได้สวยงาม ปราณีต เฉพาะแบบไม่
เหมือนใคร ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่มยังถือเป็นศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นล้านนา ที่สืบทอดเป็นมรดกทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
การทอผ้าตีนจกถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของผู้คนที่นั่นอย่างชัดเจนที่สุด
นับตั้งแต่ที่ผู้หญิงชาวแม่แจ่ม หรือในภาษาพื้นเมืองเรียกว่า แม่ญิงชาวแม่แจ่ม
ได้เริ่มเรียนรู้วิธีการ
ทอผ้าในวัยสาวจนกระทั่งถึงบั้นปลายของชีวิต พวกเธอก็ยังทอผ้าอยู่เสมอที่เห็นได้ชัดเมื่อเวลามีงานบุญสำคัญต่างๆ
แม่ญิงชาวแม่แจ่มก็จะนำผ้าตีนจกมานุ่งกัน ผ้าซิ่นตีนจกเป็น
มรดกจากบรรพบุรุษมาแต่โบราณกาลอันเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้น และสร้างลวดลายขึ้นบนผืนผ้าด้วยการจก
คือ การสอดหรือควักเส้นฝ้ายสีต่าง ๆ ที่พุงสลับกันเพื่อให้เกิดเป็น
รูปและลวดลายต่าง ๆ ขึ้นมา โดยใช้ขนเม่น โลหะ หรือ ไม้ปลายแหลมเป็นเครื่องมือ
ซิ่นตีนจกนับเป็นงานทอผ้าที่มีกรรมวิธีการผลิตอันยาวนานมีสีสันและลวดลายที่วิจิตรงดงาม
ชาวแม่แจ่มผูกพันลวดลายต่างๆ ไว้กับพระพุทธศาสนา เป็นเอกลักษณ์
เฉพาะตัว ซึ่งแสดงออกถึงความเพียรพยายาม ความละเอียดประณีต ในจิตใจของผู้ถักทอ
จากสภาพสังคมที่สงบสุข ธรรมชาติที่งดงามหล่อหลอมและสร้างสรรค์งานหัตถกรรมที่
ทรงคุณค่านี้มาช้านานแล้ว
การทอผ้าซิ่นตีนจกของชาวแม่แจ่ม
ยังคงมีการสืบทอดกันมาจนถึงสมัยปัจจุบัน เราจะพบเห็นการทอผ้าตีนจกมากมายในหลายหมู่บ้าน
ผ้าตีนจกโบราณที่ในอำเภอ
แม่แจ่มบางผืนมีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมทอด้วยไหม ปัจจุบันยังมีเหลือให้ชมและศึกษาอยู่ในเขตตำบลท่าผา
,ตำบลช่างเคิ่ง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าตีนจก
สำหรับท่านที่เดินทางไปยังอำเภอแม่แจ่มนอกจากจะพบเห็นวิถี
ชีวิตการทอผ้าของชาวบ้านแล้ว ที่อำเภอแม่แจ่มยังมีสถานท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่า
เช่น ภาพวาด
จิตรกรรมฝาผนังวัดป่าแดด โบสถ์กลางวัดที่วัดพุทธเอ้น พระพุทธรูปโบราณพระเจ้าตนหลวง
ตลอดจนถึงการศึกษาวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชนเผ่า โดยเฉพาะชาวลัวะ ซึ่งถือ
เป็นกลุ่มชนดั่งเดิมของที่นี่ มีการดำรงชีวิตสืบทอดลูกหลานมาหลายร้อยปี
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-11-57 |
|
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงสนพระราชหฤทัย ทรงสนับสนุนการทอผ้าพื้นเมือง โดยเฉพาะการทอผ้าไหมแพรวาของภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ให้แพร่หลายเป็นที่รู้จักอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เป็นผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะอนุรักษ์และพัฒนาการทอผ้าพื้นเมืองในภูมิภาคอื่นๆ
ของไทย
เราให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เป็นที่นิยมของคนไทยที่ใช้ตัดเย็บเป็นเครื่องแต่งกาย
ผ้าแพรวา เป็นชื่อเฉพาะที่เรียกผ้าชนิดหนึ่ง
ที่ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียงของชาวผู้ไท ซึ่งใช้ในเทศกาลงานบุญ หรืองานสำคัญอื่นๆ
เป็นผ้าที่ทอด้วยมือ แพร
หมายถึง ผ้า วา หมายถึงความยาวของผ้า ๑ วา คำว่า แพรวา จึงมีความหมายว่า
ผ้าที่มีความยาวประมาณ ๑ วา
ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์
เป็นผ้าไหมที่ทอประดิษฐ์ลวดลายด้วยการขิด และการจก ใช้เส้นไหมตีเกลียวเป็นทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง
รวมทั้งมีเส้นไหมเพิ่มพิเศษในการทำให้
เกิดลวดลายตามกรรมวิธีที่ปราณีตของชาวผู้ไทย ที่เป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสืบกันต่อมา
ชาวผู้ไท เป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากประเทศจีนตอนใต้
ข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่แถบเทือกเขาภูพาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นส่วนใหญ่
โดยยัง
รักษาวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย และการทอผ้าไหม ผู้หญิงจะถูกฝึกทอผ้าแพรวาตั้งแต่อายุ
๙ ๑๕ ปี ชาวผู้ไทยที่ทอผ้าแพรวาส่วนใหญ่จะอยู่ที่บ้านโพน อำเภอ
คำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีภูมิปัญญาในการทอผ้าไหมด้วยการเก็บลาย หรือเก็บขิดแบบจกที่มีลวดลายโดดเด่นที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
ประกอบการเลือกใช้เส้นไหมน้อย หรือไหมยอดที่มีความเลื่อมมัน ผ้าไหมแพรวาถือว่าเป็นของล้ำค่าและมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวผู้ไทจังหวัดกาฬสินธุ์อย่างแท้จริง
เมื่อวันที่
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสนิกรในอำเภอคำม่วง
จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ทอดพระเนตรเห็นชาว
ผู้ไทแต่งชุดพื้นเมือง ห่มสไบเฉียงแพรวาสีแดง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลได้ทรงพระราชทานเส้นไหมให้แก่ชาวบ้านโพน
เพื่อทอผ้าแพรวาถวาย และโปรดให้รับงานทอผ้าไว้ใน
โครงการศิลปาชีพในพระบรมราชินูปถัมภ์และทรงโปรดเกล้าฯให้มีการพัฒนาการทอผ้าไหมแพรวา
จนทำให้ผ้าแพรวาเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป
กลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน
อำเภอคำม่วง อยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ๗๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข
๒๒๗ ผ้าแพรวาเป็นผ้าไหมลายมัดหมี่ที่มีลายเอกลักษณ์
เฉพาะตัวของกลุ่มทอผ้าชาวผู้ ไทบ้านโพน แบ่งออกเป็น ๒ ลาย ได้แก่ ลายหลัก
และลายแถบ ส่วนสีของผ้าแพรวามิได้มีเพียงสีแดงเท่านั้น แต่มีการให้สีสันต่างๆ
มากขึ้นตาม
ความต้องการของตลาด เช่น สีครีม สีชมพูอ่อน สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว เป็นต้น
นับได้ว่าการทอผ้าแพรวาเป็นงานศิลปหัตถกรรมประเภทสิ่งทอที่หาได้น้อยแห่งในประเทศไทย
ในบริเวณแถบภาคกลาง
ยังมีผ้าทอมือของกลุ่มคนไทยเชื้อสายไทยวนหรือไทโยนก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีขนบประเพณีและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับชาวไทยวนหรือคนเมืองใน
ล้านนา เชื่อกันว่าไทยวนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคกลางนั้น ส่วนมากอพยพมาจากเมืองเชียงแสนในสมัยรัชกาลที่
๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อให้พ้นจากอิทธิพลของพม่าที่มัก
เข้ามาตีเมืองเชียงแสนแล้วใช้เป็นที่สะสมเสบียงก่อนที่จะเข้ามารุกรานหัวเมืองทางเหนือของไทย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าฯให้อพยพ
ชาวเมืองไทยวน ไปอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี กลุ่มชาวไทยวน ไปบริเวณอำเภอเมืองราชบุรี
และอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ผ้าซิ่นตีนจกของชาวไทยเชื้อสายไท-ยวน
ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรีถือได้ว่าเป็นผ้าซิ่นตีนจกที่ทอกันในแถบภาคกลางที่งดงามคล้ายคลึงกับทางภาค
เหนือ ซึ่งนิยมต่อหัวซิ่นด้วยผ้าพื้นสีแดงและสีขาว ตัวซิ่นนิยมทอด้วยสีเข้ม
มีลายเป็นริ้วๆ หรือทอยกเป็นลายเล็กๆ ขวางตัวซิ่น ตีนซิ่นตกแต่งด้วยลายจกจนเกือบสุดตีนซิ่น
แล้ว
คั่นด้วยแนวเล็กๆ
กลุ่มทอผ้าชาวไทยวนราชบุรีได้แก่
กลุ่มทอผ้าตำบลคูบัว ตำบลดอนแร่ และกลุ่มทอผ้าบางกระโด อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
การทอผ้าของกลุ่มชนเลห่านี้ ยังมี
เอกลักษณ์ของผ้าไทยวนชัดเจน แต่ละกลุ่มอาจมีลวดลายเฉพาะที่เป็นรสนิยมของกลุ่มแตกต่างกันไป
เช่น
ผ้าซิ่นตีนจกของกลุ่มคูบัว
ส่วนที่เป็นตีนซิ่นนิยมใช้เส้นยืนสีดำเพื่อให้จกเป็นลายได้ชัดเจน ลายที่นิยมทอเป็นลายพื้นบ้าน
เช่น ลายดอกเซีย ลายโก้งเก้ง ลายนกคู่กินน้ำ
ร่วมต้น
ผ้าซิ่นตีนจก
กลุ่มดอนแร่ นิยมทอผ้าซิ่นตีนจก ที่จกลายติดกันแน่น ทำให้ลายไม่ชัดเจน นิยมใช้สีดำและแดง
มักทอเชิงจกกว้างประมาณ ๑๔-๑๕ นิ้ว ซี่งกว้างกว่าตีนจก
กลุ่มคูบัว
ผ้าซิ่นตีนจก
กลุ่มหนองโพนิยม ทอลายหงส์คู่กินน้ำร่วมต้น รูปแบบคล้ายคลึงกับกลุ่มคูบัว
และมีลักษณะคล้ายกับซิ่นตีนจกของชาวไทยวนในล้านนามาก
ผ้าทอไทยวนราชบุรีทั้ง
๓ กลุ่ม นอกจากจะทอผ้าซิ่นตีนจกแล้ว ยังทอผ้าชนิดอื่นด้วย เช่น ผ้าซิ่นสำหรับใช้สอยประจำวัน
ได้แก่ ซิ่นแหล้ หรือซิ่นสีกรมท่าที่ใช้นุ่งอยู่กับบ้าน
ซิ่นตา สำหรับหญิงสาวนุ่งออกงาน ผ้าเบี่ยง สำหรับคลุมไหล่ นอกจากนี้ก็มีผ้าขาวม้า
ผ้าลายต่างๆ
สำหรับจุดชมงานศิลปะผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวน
นั้น อยู่ที่ ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจก วัดแคทราย ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี
เก็บรักษาผ้าจกที่มีลวดลายดั้งเดิม มีการสาธิต
การทอผ้าและจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ส่วนจุดอื่นๆก็มีที่ กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองดอนแร่
กลุ่มทอผ้าจกคุณยายซ้อน และศูนย์ทอผ้าจกวัดรางบัว
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-11-57 |
|
หากลงไปทางหัวเมืองปักษ์ใต้
หรือภาคใต้ของประเทศไทยแล้ว ผ้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับกันในแถบนี้
คงจะเป็น ผ้ายกเมืองนคร หรือผ้าทอเมืองนคร เป็นผ้าทอ
พื้นเมืองของชาวนครศรีธรรมราช เป็นผ้าทอที่มีชื่อเสียงในอดีตโดยเฉพาะ ผ้ายกทอง
ความเป็นมาของการทอผ้าเมืองนคร
การทอผ้ายกที่นครศรีธรรมราชมีหลักฐานว่า ชาวเมืองนครศรีธรรมราชได้แบบอย่างมาจากแขกไทรบุรี
กล่าวคือสมัยที่เมืองไทยบุรี
เป็นกบฏ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช คือ เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้ยกกองทัพไปปราบปราม
ขากลับได้กวาดต้อนครอบครัวเชลยเข้ามายังเมืองนครศรีธรรมราชเป็นจำนวนมาก
ได้พวกช่างมาไว้หลายพวก เช่น ช่างหล่อโลหะประสม ช่างทอง ช่างเงิน และช่างทอผ้า
สำหรับพวกช่างทอผ้าให้อยู่บริเวณทางด้านตะวันตกของตัวเมือง คือ ในตำบลมะม่วงสอง
ต้นอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และตำบลนาสาร อำเภอพระพรหมในปัจจุบัน ช่างพวกนี้ได้ถ่ายทอดความรู้แก่กันกับช่างพื้นเมืองที่มีอยู่ก่อน
จึงทำให้การทอผ้าในสมัยนั้นพัฒนา
ขึ้นกว่าสมัยก่อน ๆ มาก
ผ้ายกเมืองนคร
เป็นชื่อเฉพาะหมายถึงผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ทอสืบต่อกันมา
แต่โบราณ ด้วยการทอยกเพิ่มลวดลายด้วยเส้นพุ่งพิเศษ ทำให้เกิดลาย
นูนบนผืนผ้า มีลายกรวยเชิงชั้นเดียวหรือกรวยเชิงซ้อนกันหลายชั้น และกรวยเชิงขนานกับริมผ้า
โดยดัดแปลงนำลายอื่นมาเป็นลายกรวยเชิง
ผ้ายกเมืองนคร
เป็นผ้าที่ได้รับการยกย่องมาแต่โบราณว่าสวยงามแบบอย่างผ้าชั้นดีเป็นที่ต้องการในหมู่ชนชั้นสูงช่างทอผ้านครศรีธรรมราชจึงมีชื่อเสียงด้านฝีมือในการ
ทอผ้ายกเป็นเลิศ ตั้งแต่ในอดีต รู้จักกันแพร่หลายคน ทั่วไปกล่าวติดปากกันว่า
ถ้าจะซื้อผ้าดี ๆ จะต้องหาซื้อ ผ้ายกเมืองนคร โดยเฉพาะผ้ายกทอง
ที่บ้านมะม่วงปลายแขน
เป็นชุมชนที่ยังอนุรักษ์การทอผ้าเมืองนคร ที่มีลายเอกลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
มีการทอลวดลายดั้งเดิมได้แก่ ลายราชวัติ ลายสับปะรด
ลายดอกมะลิ ลายดอกเขมรกลม ลายดอกพิกุล ลายแมงมุมก้านแย่ง ลายดอกเขมร ลายดอกจัน
ลายดอกรัก ลายเขมรหรือลายพระตะบอง ลายลูกแก้ว ลายคดกริชเป็นต้น นอก
จากนั้นยังพบลวดลายอื่น ๆ อีกมากที่ไม่ทราบชื่อทั้งที่เป็นลายดั้งเดิมสืบทอดแต่ไม่ได้จดจำชื่อลาย
และเป็นลายที่ประยุกต์ขึ้นมาในภายหลัง โดยการเปลี่ยนสีและพัฒนาลวดลาย
เพิ่มเติมเข้าไปจากลวดลายเดิม เช่นก้าน ดอก ใบ เกสร ของพรรณไม้ต่าง ๆ เพื่อให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น
เป็นต้น และเป็นสถานที่จัดจำหน่าย ผ้ายกเมืองนคร และยังมีการแสดงการ
ทอผ้ายกให้ชมอีกด้วย สำหรับบ้านมะม่วงปลายแขน ตั้งอยู่ ถนนนพวงศ์(นครศรีธรรมราช-ตรัง)
ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช กิโลเมตรที่ ๑๓
และที่ได้รวบรวมมานี้เป็นสุดยอดผ้าไหมที่เป็นที่นิยมที่ขึ้นชื่อในภาคต่างๆ
ทั้ง ๔ ภาค และนอกจากนี้ยังมีผ้าไหม และผ้าต่างๆในภูมิภาคต่างๆที่ไม่ได้กล่าวถึง
แต่ก็มี
คุณภาพดีและมีเอกลักษณ์เช่นกันที่เป็นผลผลิตจากฝีมือหัตถศิลป์ของราษฎรในท้องถิ่นต่างๆที่ถักทอออกมาเพื่อสวมใส่และในปัจุบันก็ได้มีการส่งเสริมเป็นอาชีพที่แพร่หลายทำ
กันเป็นชุมชนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการส่งเสริมผลผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นต่างๆ
ที่ผลิตให้คนในชาติได้สวมใส่ในโอกาสที่เหมาะสมสง่างาม
สมกับเป็นคนไทยที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่งดงาม
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
๑. ถมรัตน์ สีตังวรานนท์. ปทานุกรมผ้าไทย.
กรุงเทพ : สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย, ๒๕๓๓.
๒. สาวิตตรี สุวรรณสถิต, สารานุกรมไทยส าหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21 ศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองของ
ไทยในปัจจุบัน. กรุงเทพ : ส านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,
๒๕๕๐.
๓. สุมาลย์ โทมัส. ผ้าพื้นเมือง. กรุงเทพ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
๒๕๒๕.
|