บ้าน ช. ช้างชรา
โดย...นายสัตวแพทย์สามารถ  ประสิทธิ์ผล
ผู้ก่อตั้งบ้าน ช.ช้างชรา และเป็นหัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาญจนบุรี

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2555)


ภาพจาก Web Site
http://www.atsiamtour.com/gallery_view.php?id=73
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 17-11-57

          ปัจจุบันปัญหาเรื่องของช้างมีมากมายหลายรูปแบบหลายคนอาจจะมองข้ามคือ ช้างที่อายุมากและประสบปัญหาในการดูแลสุขภาพ ช้างชราที่เร่ร่อนและด้อยโอกาส
ไม่สามารถทำงานตามปางช้างได้ บ้าน ช.ช้างชราชื่อเต็ม ๆ ว่าศูนย์อนุรักษ์ช้างกาญจนบุรี วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งของบ้าน ช.ช้างชรา จะเป็นสถานที่พักพิงของช้างที่ ปลด
ระวาง ปลดเกษียณจากการทำงาน จากปางช้างหรือว่าที่เจ้าของช้างไม่สามารถที่จะดูแล โดยจัดตั้งองค์กรเป็นในรูปแบบของมูลนิธิ ที่รับดูแลช้างในกลุ่มตรงนี้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่
แล้วก็จะมีช้างในวัยที่สูงอายุหรือว่าช้างชรา นอกจากช้างชราก็อาจจะมี ช้างที่บาดเจ็บ ที่พิการ หรือแม้แต่เป็นช้างเร่ร่อนที่จากทางกรุงเทพมหานคร หรือทางปริมณฑลที่ถูกจับมา
ดำเนินคดี เจ้าของช้างถูกจับดำเนินคดีส่วนสถานที่แห่งนี้เราก็จะรับดูแลช้างในช่วงที่ระหว่างดำเนินคดี
          ช้างปลดเกษียณตอนอายุเท่าไหร่ยังไม่ได้กำหนดมาตรฐาน เนื่องจากว่าช้างเป็นสัตว์ที่มีเจ้าของอยู่ เจ้าของเขาก็จะใช้งานในเรื่องของการท่องเที่ยว พานักท่องเที่ยวเดิน
จนกระทั่งเขาจะไม่สามารถทำงานได้ ก็จะถึงในวาระที่จะต้องปลดระวาง ซึ่งจะแตกต่างกันตามสภาพร่างกาย ก็จะมีตั้งแต่อายุ 50 ปี จนกระทั่งถึงประมาณ 70 ปี บางเชือกก็ 70
กว่าปี ก็ยังใช้งาน

           ปัจจุบันมีอยู่สิบเชือก ในอนาคตก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพราะว่าจะมีช้างที่แก่ชรา ที่ปลดเกษียณมากขึ้นเรื่อยๆ โครงการที่เราวางไว้ในอนาคตก็คือ จะนำช้างใน
กลุ่มที่เป็นช้างชรา นำมาทำให้เป็นประโยชน์กลับคืนสู่สังคม โครงการการนำช้างชราเหล่านี้มาใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยออทิสติก ซึ่งในปัจจุบันนี้ทราบมาว่าสัตว์ที่ใช้ในการ
บำบัดรักษา คือ ช้าง มีจุดที่น่าสนใจเนื่องจากว่าเขาเป็นสัตว์ใหญ่ มีความเฉลียวฉลาด แล้วโดยเฉพาะช้างชรา เรื่องของความก้าวร้าวจะมีน้อยมาก แล้วก็สามารถที่จะนำมาใช้ใน
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้างได้ดี โครงการน่าสนใจน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม


ภาพจาก Web Site
http://www.atsiamtour.com/gallery_view.php?id=73
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 17-11-57

ช้างที่แก่ชราลักษณะที่แตกต่างสามารถมองจะเห็นได้ดูจากสภาพร่างกายโดยทั่วไปมีดังนี้
          1. ผิวหนังของเขาจากเดิม ช้างเป็นสัตว์ใหญ่แล้วก็ผิวหนังของเขาค่อนข้างที่จะหยาบ และก็มีความหนามาก แต่ว่าช้างที่เมื่อแก่ชราผิงหนังจะบางลง
          2. หน้าตาเริ่มมองเห็นพวกโครงหน้าได้ชัดเจน ขมับบริเวณขมับจะยุบ
          3. สังเกตุว่ามีการตกกระ คือลักษณะของเม็ดสีจะเริ่มน้อยลง เห็นเป็นลักษณะผิวหนังที่จางๆ เป็นลักษณะตกกระ คล้ายๆ คน
          4. ช้างเป็นสัตว์ใหญ่แล้วก็ตัวอ้วนๆ แต่ช้างชราบางเชือก เนื่องจากว่าเขาอาจจะฟันไม่มี กินอาหารไม่ได้โภชนาการไม่ดีช้างจะมีลักษณะผอม บางเชือกก็จะมองเห็น
ซี่โครงเป็นริ้ว ๆ

          การโภชนาการต้องดูแลเป็นพิเศษก็คือในเรื่องของอาหารที่จะนำมาให้ช้างกิน อย่างบางกรณีช้างที่สูงอายุมาก ๆ ฟันไม่มีแล้วไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ อาหาร
ประเภทแข็ง ๆ ก็ไม่สามารถที่จะกินได้อาหารที่มีลักษณะที่ย่อยง่ายๆ บ้าน ช.ช้างชรามีการพัฒนาอาหารสูตรพิเศษทำจากข้าวเหนียว เพราะ ข้าวเหนียวมีลักษณะที่ย่อยง่ายแล้ว
ก็ให้พลังงานสูง โดยทำเป็นอาหารเสริมผสมกับผลไม้ที่เขาชอบตามฤดูกาล เช่น ฟักทอง มันเทศ หรือว่ากล้วยทำให้เขาทานเป็นทำอาหารเสริมให้กับช้างชราทุกวัน
          บ้าน ช.ช้างชรา นอกจากจะเน้นเป็นเรื่องของอาหาร เวชภัณฑ์ที่ใช้สำหรับดูแลช้างมีควสมสำคัญมาก เพราะว่าอย่างช้างชราตามปกติอาจจะมีป่วยมีบาดเจ็บ มีโรค
ประจำตัวโรคภัยรุมเร้า จะต้องมีเรื่องของเวชภัณฑ์ที่ใช้ดูแลรักษาช้างให้พอเพียง ปริมาณการใช้จะค่อนข้างสูง เช่น ปกติคนทำแผลอย่างใช้ทิงเจอร์อาจจะแค่สำลีชุบแล้วก็เช็ด
เวลาเกิดแผลบาดเจ็บ แต่ว่าในกรณีของช้างแผลเขาค่อนข้างใหญ่เราอาจจะต้องใช้เป็นขวด


ภาพจาก Web Site
http://www.atsiamtour.com/gallery_view.php?id=73
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 17-11-57

          การรักษาแผลให้ช้างขึ้นอยู่กับลักษณะความใหญ่ความกว้างของบาดแผล ถ้าหากแผลไม่ใหญ่มากช้างก็จะสามารถที่จะรักษาแผล อาทิตย์เดียว แต่แผลบางชนิดอาจจะต้อง
กินระยะเวลาในการรักษาอาจจะตลอดชีวิต กรณีของช้างที่ถูกลักตัดงา ซึ่งตัดลึกเกินไปจนกระทั่งอักเสบ จนกระทั่งถึงโพรงงาซึ่งเราจะมีอยู่เชือก ซึ่งในกรณีนี้จะต้องทำรักษาอยู่
เป็นประจำทุกๆ วัน ล้างแผล เชือกนี้อาจจะต้องรักษาตลอดชีวิตเลย เพราะว่าโพรงค่อนข้างใหญ่แล้วก็มีการอักเสบ เพราะว่ามีการอักเสบมาก มีหนอง แล้วก็ภายในจะมีพวกแมลง
วันเข้าไปวางไข่ แล้วก็เกิดเป็นหนอน ซึ่งตรงนี้คิดว่าจะต้องทำการแก้ไขปัญหาตรงนี้ ทำการในเรื่องของการรักษาบาดแผลมาตลอด จนทุกวันนี้ยังต้องรักษาอยู่และจะต้องล้างแผล
ต่อไปเรื่อยๆ

           ประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงเข้ามามีส่วน มีการส่งเสริมกันดูแลช้าง จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มองเห็นว่าช้างเป็นสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษมีการให้ความร่วมมือ
กรณีของพืชอาหารช้างที่ขาดแคลนในช่วงฤดูร้อน ซึ่งจริงๆทางศูนย์มีการปลูกพืชอาหารช้างไว้สำหรับให้ช้าง ไม่เพียงพอโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง กรณีของต้นกล้วย ชาวบ้าน
บางคนจะแจ้งให้ไปตัดกล้วยในไร่เป็นอาหารช้างในยามขาดแคลน ส่วนค่าตอบแทนกรณีของกล้วย คือเจ้าของจะขายกล้วยเป็นเครือ แจ้งความประสงค์เพิ่มเติมนอกจากเครือ
ขอทั้งต้น เพราะว่าจริงๆช้างก็ไม่ได้กินแค่กล้วยผลอย่างเดียว เขากินได้ทั้งต้น ซึ่งเจ้าของให้ความร่วมมืออย่างดี เพราะว่าชอบมาก เวลาไปตัดต้นกล้วยในไร่ของเขาก็เหมือน
กับแต่งสวน เป็นการพึ่งพาอาศัยกัน เจ้าของสวนก็ได้ประโยชน์ในเรื่องกการตัดแต่งสวนกล้วยก็ได้อาหารช้างเพิ่ม หน่วยงานของราชการมีการสนับสนุนในเรื่องของการปลูกพืช
เป็นอาหารให้ช้าง

          การท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวในบ้านช.ช้างชรา เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่สิบโมงเช้าถึงประมาณสี่โมงเย็น ถ้าผู้ใดสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
นะครับ ก็สามารถที่จะติดต่อเข้ามาที่ศูนย์ได้ยินดี ให้แวะจะเข้ามาเยี่ยมชมหรือว่าร่วมทำบุญบริจาคช่วยเหลือช้างที่เป็นช้างชรา เพราะว่าช้างในประเทศบ้านเราเหลือน้อย มีอยู่
ไม่มาก


ภาพจาก Web Site
http://www.atsiamtour.com/gallery_view.php?id=73
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 17-11-57

          จังหวัดอื่นๆของเมืองไทย ก็มีอีกหลายแห่งเหมือนกันที่ดูแลอนุรักษ์เกี่ยวกับช้าง เป็นเครือข่าย ทั่วประเทศ การทำงานตรงนี้ทางภาครัฐแล้วก็เอกชน ในส่วนของภาคเอกชน
ก็จะมีในเรื่องของมูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ซึ่งดูแลช้างในหลายๆจังหวัดในพื้นที่ นอกจากนั้นก็จะมีในเรื่องของสถาบันคชบาลศูนย์อนุรักษ์ช้าง จังหวัดลำปาง หลายๆแห่งจะเป็น
เครือข่ายที่เราทำงานร่วมกัน โดยมีแนวทางการที่จะช่วยให้ช้างของประเทศไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสุขภาพที่แข็งแรง



นางอุษณีย์ จูฑะศิลป์   ผู้เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2555)