หน้าที่พลเมืองตามแนวทางพุทธศาสนา
          โดย...พระอัครเดช   ญาณเตโช
วัดฉาง  ต.บางปรอก  อ.เมือง  จ.ปทุมธานี
อีเมล์ : akradate@outlook.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)

 
          มนุษย์นับว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และมีความสำคัญมากที่สุดในโลก เพราะมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สามารถเรียนรู้และรับการฝึกอบรมสั่งสอน จนสามารถนำความรู้ที่ได้
รับมาสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นคุณประโยชน์ต่อโลกได้ ในการเรียนรู้และการฝึกอบรมเพื่อสะสมประสบการณ์ชีวิต มนุษย์ควรได้รับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมไปด้วย
พร้อม ๆ กัน เพราะคุณธรรมจริยธรรมมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคนเป็นอย่างมาก


ภาพจาก Web Site
http://www.culture.go.th/thai/index.php?option=com_content&view=article&id=2483:2013-11-13-09-50-13&catid=37:articles&Itemid=354
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-12-57

หน้าที่ของพลเมืองดี
          พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
          หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวม
          จริยธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย
          คุณธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
          ศีลธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย พร้อมกันนั้นก็สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย

คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี
          ๑. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
          ๒. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
          ๓. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
          ๔. ความซื่อสัตย์สุจริต
          ๕. ความสามัคคี
          ๖. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว
          ๗. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
          ๘. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ


ภาพจาก Web Site
http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/017/692/original_Image.aspx.jpg?1399560368
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-12-57

จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี
          คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ความดีที่ควรประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คุณธรรม จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ได้แก่
          ๑. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา และการจงรักภักดี
ต่อพระมหากษัตริย์
          ๒. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
          ๓. ความกล้าทางจริยธรรม หมายถึง ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร
          ๔. ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
          ๕. การเสียสละ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
          ๖. การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย

หน้าที่พลเมืองตามแนวทางพุทธศาสนา ควรประกอบด้วยคุณธรรม ๓ ประการ คือ
๑. คารวธรรม หมายถึง การมีความเคารพซึ่งกันและกัน การประพฤติตนเป็นผู้มีคารวธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
          ๑. เคารพบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิด เคารพญาติผู้ใหญ่ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้สูงอายุ เคารพครูอาจารย์ และเพื่อน ๆ โดยแสดงความ
เคารพและกล่าวคำทักทายด้วยคำสุภาพ
          ๒. เคารพกฏระเบียบทางสังคม เช่น ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม ปฏิบัติตามกฏหมายของประเทศ
          ๓. เคารพสิทธิของผู้อื่น เช่น ไม่ทำร้ายผู้อื่นโดยเจตนา ไม่เอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นต้น
          ๔. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น ควรฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยความตั้งใจและไตร่ตรองก่อนตัดสินใจว่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ และไม่ควรยึดถือความคิดเห็นของตนว่า
ถูกเสมอไป
          ๕. เคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่สำคัญสูงสุดของประเทศ


ภาพจาก Web Site
http://radio.prd.go.th/satun/images/article/news974/t20111214134919_13719.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-12-57

๒. สามัคคีธรรม หมายถึง การร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม การประพฤติตนเป็นผู้มีสามัคคีธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
          ๑. ร่วมกันคิด ช่วยกันวางแผน และร่วมกันทำงานด้วยความเต็มใจ
          ๒. ร่วมกันรับผิดชอบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
          ๓. ร่วมกันติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
          ๔. ร่วมกันปรับปรุง มีการแก้ไข พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ
          ๕. ร่วมกันทำงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
๓. ปัญญาธรรม หมายถึง การใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต การประพฤติตนเป็นผู้มีปัญญาธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
          ๑. มีความคิดกว้างไกล โดยรับฟังข่าวสารและความคิดเห็นของผู้อื่น
          ๒. ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ไม่นำอารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวมาใช้ตัดสินปัญหา
          ๓. แสดงความคิดเห็น โดยปราศจากอคติ
          ๔. รู้จักการคิด มีการวิเคาระห์ วิพากษ์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล
          ๕. รู้จักโต้แย้งด้วยเหตุผล ถ้ามีการโต้แย้งในหมู่คณะให้ใช้เหตุผล และสติปัญญาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับฟัง ไม่ใช้อารมณ์มาเป็นตัวตัดสินปัญหา
          ความสำคัญของคุณธรรม และจริยธรรมที่กล่าวมานี้ ประเด็นที่สำคัญก็คือ สามารถลดปัญหา และขจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคล สังคม และประเทศชาติได้ เมื่อทุกคน
ประพฤติปฏิบัติตนดีแล้ว อุปสรรค ศัตรู ภัยอันตราย ก็จะหมดสิ้นไป ผู้คนมีแต่ความรักต่อกัน สังคมมีแต่ความสงบ และประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรือง

 


เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

http://www.thaistudyfocus.com/สังคมศึกษา/หน้าที่พลเมือง
http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1470-00/
https://sites.google.com/site/tauw2491/sm4