การพัฒนาตนให้เป็นคน 3 A
              โดย...คุณสุดารัตน์  บัวศรี
                นักวิชาการศึกษา ชำนาญการ
                หน่วยบรรณาธิการ ฝ่ายวิชาการ
                สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                อีเมล์ : upacbsud@yahoo.co.th

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)

 

          จากการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน ต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ มีจุดมุ่งหมาย ทัศนคติที่ดี และมี
ความรู้ความสามารถ โดยทำงานอย่างไม่ย่อท้อ แม้จะพบปัญหาอุปสรรคระหว่างการทำงานก็ตาม ดังนั้น กว่าใครสักคนหนึ่งที่จะก้าวขึ้นมาเป็นมืออาชีพให้คนอื่นยอมรับได้ ต้อง
ผ่านกาลเวลา และการพิสูจน์ผลงานพอสมควร

องค์ประกอบของบุคคล 3 A


ภาพจาก Web Site
http://siriwishs.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 18-1-58

          1. จุดมุ่งหมาย (Aim) คือ การที่บุคคลนั้นกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การกำหนดทิศทางและเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญของบุคคล 3 A การพัฒนาตนเองแบบมีจุด
มุ่งหมายเปรียบเสมือนนักเดินทางที่ต้องมีแผนที่ เข็มทิศ และไม่ควรเสียเวลาไปกับเรื่องที่ไม่สำคัญหรือไม่จำเป็น เพราะจะทำให้เสียเวลาไปเสียเปล่า ถ้าทำงานไปเรื่อยๆ เพื่อ
ฆ่าเวลาไปวันๆ ย่อมไม่สามารถพัฒนาตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน
          2. ทัศนคติ (Attitude) คือ การมีทัศนคติในเชิงบวก ซึ่งแง่คิดนี้จะนำมาซึ่งการนับถือตัวเอง ทำให้มองเห็นตัวเองต้องการอะไร และมองผู้อื่นในแง่ดีเสมอ การมีความ
คิดเช่นนี้จะมีผลสู่ทิศทางที่เราต้องการ ทำให้เราปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ง่าย
          วิธีการสร้างทัศนคติเชิงบวกนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน แต่ก็มีวิธีการสร้างได้หลายวิธี วิธีที่ดีที่สุดก็คือ คุยกับตัวเองและผู้อื่นในด้านบวกทุกวัน พูดถึงผู้อื่นในแง่ดี ไม่ควรพูด
หรือคิดเชิงลบ เมื่อไรก็ตามที่คิดแง่ลบ ต้องปรับทัศนคติเป็นแง่บวกทันที
          3. ความรู้ความสามารถ (Ability) คือ การพยายามไม่ดูถูกตัวเอง ไม่เกี่ยงงาน อย่าปฏิบัติโอกาสของการทำงาน เมื่อไรก็ตามที่พบปัญหาและอุปสรรค หรือความยุ่งยาก
จงถือว่าเป็นบทเรียนฝึกฝนที่ดี ทำให้เกิดการเรียนรู้ เมื่อเกิดการเรียนรู้ก็จะทำให้เกิดความสามารถเพิ่มขึ้น จนถึงขั้นที่เรียกว่า “ทักษะ” จนกระทั่งถึงการมีวิสัยทัศน์กว้างไกล
          ด้วยองค์ประกอบทั้ง 3 A ดังกล่าว ถ้าใครก็ตามสามารถสร้างให้เกิดขึ้นกับตนเอง พร้อมทั้งการใฝ่รู้ และกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ต่อเนื่อง ติดตามความรู้ที่เป็น
ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานเพิ่มเติมอยู่เสมอ และนำความรู้ที่ได้สั่งสมมาพัฒนาศักยภาพของตนเองและผู้อื่น ตลอดจนถ่ายทอดความรู้ที่มีประโยชน์ต่อไปยังผู้อื่นหรือองค์กร
โดยรวม นอกจากนี้การมีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญครบ 3 A แล้ว ยังต้องมีแผนพัฒนาตนเองอีก 5 ขั้น ดังนี้

แผนพัฒนาตนเอง 5 ระดับ


ภาพจาก Web Site
http://joommyjang.blogspot.com/2013/04/blog-post.html
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 18-1-58

          1. ระดับการพัฒนา (Developing) ทำจิตใจให้ว่าง สมองต้องเปิดรับสิ่งใหม่อยู่เสมอ เพราะทุกวันจะมีสิ่งใหม่ให้เราได้เรียนรู้อยู่เสมอ เพราะนี่คือขั้นพื้นฐานของคนที่
พร้อมจะพัฒนาตนเอง
          2. ระดับนักปฏิบัติ (Performer) เมื่อการเรียนรู้เกิดขึ้น ถ้าไม่จดบันทึก ไม่ตั้งใจฟัง หรือคิดตามจะไม่สามารถเกิดผลสำเร็จได้ ควรได้ลงมือปฏิบัติ ทำซ้ำๆ หลายครั้ง
นอกจากทฤษฎีแล้ว ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติอีกมาก ถ้าไม่ลงมือทำ ไม่สังเกต ย่อมไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง แน่นอนอย่างที่สุดว่าทักษะย่อมไม่เกิดขึ้น
          3. ระดับสร้างสรรค์งาน (Proactive) การทำงานที่ซ้ำๆ จนเกิดความสามารถแล้ว ในขั้นนี้การทำงานจะเกิดเทคนิควิธีการเฉพาะที่สามารถจัดการกับปัญหานั้นๆ มี
เทคนิคการทำงานที่ชัดเจน สามารถวิเคราะห์สถานการณ์แก้ปัญหา หรือหาทางป้องกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในอนาคตได้ และเริ่มเป็นจุดเริ่มต้นของทำงานเชิงรุก
          4. ระดับสร้างต้นแบบ (Role model) สำหรับใครหลายคนในองค์กรที่ก้าวขึ้นมาในระดับที่ 3 ได้แล้ว ระดับนี้เพียงแค่เพิ่มเติมทักษะเชิงสังคม เช่น การสื่อสาร
มนุษยสัมพันธ์ การกระตุ้นจูงใจ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และได้รับการอบรมเทคนิคการนำเสนอหรือการถ่ายทอด นอกจากความสามารถจะเกิดขึ้นในตัวเองแล้ว ยังแพร่ขยาย
ไปสู่คนอื่นๆ รอบข้างด้วย องค์กรใดที่มีบุคลากรในระดับ 4 มาก ผลงานขององค์กรที่ได้รับจะทวีคูณ
          5. ระดับผู้นำความเปลี่ยนแปลง (Innovator) ระดับสูงสุดของการพัฒนาคน คือมีความคิดและจินตนาการที่กว้างไกลออกไป การสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือการทดลอง
เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ หรือแม้แต่การสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนอื่นๆ ให้ก้าวผ่านระดับชั้นต่างๆ ของการพัฒนาตนเองขึ้นมาได้
          ทั้ง 5 ระดับ ควรมีอยู่ในตัวทุกคน แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะอยู่ในระดับใด นั่นหมายถึง เราจะต้องเริ่มทำในระดับที่ 1 แต่เมื่อเวลาผ่านไป ควรที่จะมีการพัฒนาขึ้นไปในระดับที่สูง
ขึ้น อย่างน้อยที่สุดทำในระดับที่ 4 ได้ ก็สามารถสร้างผลงานทวีคูณให้แก่องค์กร การพัฒนาตนให้เป็นคน 3 A จึงเป็นการพัฒนาคนและองค์กรให้เกิดประสิทธิผลไปพร้อมกันด้วย
นั่นเอง


เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว พัฒนาตนให้เป็นคน AAA (Work Like a Pro) กรุงเทพธุรกิจ อังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2557
http://siriwishs.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%
http://joommyjang.blogspot.com/2013/04/blog-post.html