ความดันโลหิตสูงกับตัวเรา
โดย...คุณณัฐธยาน์ อธิปัญจพงษ์
อาชีพ นิสิตนักศึกษา
ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี
อีเมล์ : natthaya375@gmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
ไม่กี่ปีที่ผ่านมาทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวนประมาณกึ่งหนึ่งของประชากรทั่วโลก
แม้ว่าโรคความดันโลหิตสูงนี้ อาจฟังดูแล้วไม่ได้ให้ความรู้สึกรุนแรง
เท่ากับโรคมะเร็ง แต่ทว่าโรคนี้กลับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะต่างๆตามมา
เช่น ภาวะจอประสาทตาเสื่อมตามอายุชนิดมีหลอดเลือดงอกใหม่ โดยภาวะนี้เป็นสาเหตุที่
สำคัญที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตาบอดชนิดถาวร หรือนอกจากภาวะต่างๆที่ตามมาแล้วผลข้างเคียงของโรคก็มีความรุนแรงเช่นกัน
เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือด
หัวใจอุดตัน ดังนั้นแม้ว่าจะไม่มีอาการของโรคปรากฏให้เราสังเกตุได้อย่างชัดเจน
เราก็ควรที่จะคอยใส่ใจ เอาใจใส่ต่อสุขภาพของตัวเราเองอย่างสม่ำเสมอ เช่นตรวจสุขภาพ
ร่างกายเป็นประจำ หรือ ดูแลร่างกายตนเองให้แข็งแรงอย่างง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เนื่องจากการที่เราสามารถลด
ความดันโลหิตได้นั้น จะสามารถลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆเช่น ลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
30-35% ลดโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 20-25% และสามารถ
ลดโอกาสเกิดโรคหัวใจวายได้ถึง 50 %
ภาพจาก
Web Site
http://siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/Hypertension/index.htm#.VqedSDZZHzI
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
27-1-59
|
|
แม้ว่าอาการของโรคความดันโลหิตสูงจะไม่ปรากฏออกมาอย่างชัดเจน
อีกทั้งยังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดเลยได้ หากแต่ผู้ป่วยยังมีความโชคดีเนื่องจากผู้ป่วย
สามารถดูแลรักษาให้อาการความรุนแรงของโรคเบาบางลงได้ อาการของโรคความดันโลหิตสูงที่เราสามารถรู้สึกได้ด้วยตนเองมีดังนี้
1. ปวดศีรษะหรือมึนศีรษะ
ที่จริงแล้วอาการปวดศีรษะมักเกินจากสาเหตุต่างๆมากมาย
เช่น ไข้หวัด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มสุรามากเกินไป หรือจากโรคต่างๆอาทิเช่น
โรคจมูกอักเสบเป็น
หนอง รวมถึงโรคความดันโลหิตสูงนี้ด้วย แล้วเราจะสามารถแยกอาการปวดศีรษะที่มีสาเหตุมาจากโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร
?
ภาพจาก
Web Site
https://ascannotdo.wordpress.com/tag/ปวดศีรษะ/
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
27-1-59
|
|
อาการปวดศีรษะจากโรคความดันโลหิตสูงนั้นมีสาเหตุมาจากเมื่อความดันโลหิตสูงขึ้น
หลอดเลือดในสมองจะตึงตึวมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เรามีอาการปวดศีรษะบริเวณ
หลอดเลือดเยื่อหุ้มสมองตรงด้านนอกของสมอง หรือบางครั้งอาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อที่ศีรษะตึง
หรือกล้ามเนื้อไหล่ถึงคอตึงจนแผ่ไปยังบริเวณศีรษะ แต่ถ้าหากเรามีอาการปวด
บริเวณท้ายทอยแล้วอาจสันนิษฐานก่อนก็ได้ว่าเป็นอาการปวดศีรษะเนื่องมาจากความดันโลหิตสูง
ซึ่งมีสาเหตุมาจากความตึงตัวของหลอดเลือดในสมองเปลี่ยนแปลง สมองบวม
และแรงดันในสมองเพิ่มขึ้น
หากอาการปวดมีความรุนแรง
รวมถึงมีอาการคลื่นไส้อาเจียนประกอบ การพบแพทย์ก็ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาจากอาการปวด
2. เมื่อยเอวปวดหลัง
อาการเมื่อยเอวปวดหลังนี้อาจปรากฏอาการในบางราย
ซึ่งอาการนี้ก็มิใช่อาการที่บ่งบอกถึงโรคความดันโลหิตสูงเสียทีเดียวเช่นกันกับอาการปวดศีรษะ
เนื่องจากคนทั่วไป
ที่เริ่มเข้าสู่วัยกลางคนก็ย่อมมีอาการปวดเนื้อเมื่อยตัวเช่นนี้ได้ อีกทั้งถ้าเราอยู่ในอิริยาบทท่าเดิมไปนานๆก็อาจส่งผลให้มีอาการปวดเมื่อยตัวได้เช่นกัน
3. หูอื้อ
เป็นอาการหนึงที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง
แต่หากหูชั้นกลางอักเสบ หรือ โลหิตจางก็ย่อมทำให้เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน
ภาพจาก
Web Site
http://korigashi.exteen.com/20120427/entry
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
27-1-59
|
|
4. หน้ามืดตาลาย
โรคที่ท่อครึ่งวงกลมสามารถส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืดตาลายได้เช่นกัน
โดยอาการจากสองโรคนี้จะมีความแตกต่างกันที่โรคความดันโลหิตสูงจะก่อให้มีความรู้สึกวิงเวียน
หน้ามืดตาลายเล็กน้อยบ้างเท่านั้น จะไม่รุนแรงเหมือนอย่างที่มีสาเหตุมาจากท่อครึ่งวงกลม
5. มือเท้าชาเปลี้ย
อาการมือเช้าทาเปลี้ยที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูงจะชาตามมือ
ตามเท้ารวมถึงระบบกระดูกและกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ด้วย และจะชาเป็นเวลานาน ท้ายที่สุดจะก่อให้เกิด
อาการตายซีกซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สามารถทำได้เพียงบำบัดให้ดีขึ้นเท่านั้น
นอกจากอาการที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
การป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงนี้จะส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้นจนมีอาการหัวใจห้องล่างซ้ายโต
ถ้าหากเราสามารถบรรเทา
อาการให้คงที่ได้ หรือรักษาให้อาการดีขึ้นได้ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกังวลมากนัก
แต่หากเราไม่สามารบรรเทาอาการได้แล้ว เป็นที่น่ากลัวว่าอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งอาจมีผลต่อ
ชีวิตได้ อีกทั้งโรคความดันโลหิตสูงหากเราไม่จริงจังในการดูแลแล้วปล่อยทิ้งให้คงภาวะความดันสูงต่อไป
หลอดเลือดแดงของไตจะแย่ลงเรื่อยๆ และเนื้อเยื่อก็จะตาย สิ่งเหล่านี้ส่ง
ผลให้ไตไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ของเสียในร่างกายก็จะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ
สุดท้ายจะก่อให้เกิดโรคเลือดเป็นพิษจากปัสสาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย
ถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน
โดยทั่วไปแล้ว
คนเราทุกคนไม่อาจที่จะรักษาหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยของตนเองให้ดีขึ้นได้โดยการลองผิดลองถูกโดยปราศจากการการรู้ถึงสาเหตุหรือปัจจัยเสียงที่อาจ
ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยน้ันๆได้ ดังนั้นก่อนที่เราจะเริ่มดูแลตนเอง พัฒนาตนเอง
เพื่อบรรเทาอาการป่วยด้วยโรคความดันเลือดสูง เราจึงมีความจะเป็นที่จะต้องรู้ถึงปัจจัยเสี่ยง
ต่างๆทั้งหลายที่ก่อให้เกิดโรคทั้งปัจจัยจากภายในร่างกาย และปัจจัยจากภายนอกร่างกาย
แม้ว่าเราไม่อาจแก้ไข ลด หรือยกเลิกพฤติกรรมทั้งหมดหรือสาเหตุทั้งหมดได้ ปัจจัยเสี่ยง
ที่ส่งผลให้มีอาการป่วยด้วยโรคความดันเลือดสูงได้แก่ 1.
ปัจจัยภายนอก
1)
การวัดค่าความดันที่ไม่ถูกต้อง
เนื่องจากความดันโลหิตของคนเราทุกคนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เพียงแค่ขยับตัวลุกขึ้นยืนความดันโลหิตของเราก็จะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากเราล้มตัวลงนอน
ความดันโลหิตของเราก็จะลดลง ดังนั้นหากวัดค่าความดันโดยไม่ถูกต้องหรือถูกวิธีแล้ว
ค่าความดันของเราก็อาจมีค่าสูงจนน่าตกใจได้เลยทีเดียว
2)
น้ำหนักตัวของเราเอง
เนื่องจากคนที่มีน้ำหนักตัวมากจะมีโอกาสสูงกว่าคนทั่วไปที่จะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตนี้ประมาณ
2-6 เท่า ดังนั้น เราจึงต้องมีการควบคุมน้ำหนักตัวของเราให้อยู่ใน
เกณฑ์มาตรฐาน
3)
การเคลื่อนไหวของตัวเรา
หากว่าโดยปกติทั่วไปแล้ว
ชอบมากกว่าที่จะนั่งนิ่งๆ หรืออยู่เฉยๆ ถึงเวลาแล้วค่ะที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง
เพราะจากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ทำตัวกระฉับกระเฉงจะมี
โอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่าผู้ที่ชอบนั่งนิ่งๆติดเก้าอี้ถึงร้อยละ
20-50 เลยทีเดียว
4)
โภชนาการไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ถูกไม่ควร
จากการศึกษาเกี่ยวกับอาหารที่สามารถรักษาความดันโลหิตสูง
DASH (Dietary Approaches to Stop Hypertension) พบว่าการรับประทานอาหารที่ดีมี
ประโยชน์ต่อสุขภาพจะช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้น ผู้ที่ชอบทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
เช่นอาหารมันๆ ควรที่จะเปลี่ยนมาบริโภภคอาหารเพื่อสุขภสพของตัวเราเองกัน
ภาพจาก
Web Site
http://www.foodnavigator.com/Science/Eating-junk-food-makes-a-bad-mood-worse-Study
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
27-1-59
|
|
5)
การบริโภคเกลือ
จากงานวิจัย
ไวกับเกลือ (salt-sensitive) พบว่าหากจำกัดการทานเกลือความดันโลหิตจะลดลง
ต่อมามีงานวิจัยล่าสุดพบว่าการจำกัดเกลือในอาหารที่รับประทานมี
ผลให้ความดันโลหิตลดลง ทั้งจากผู้ป่วยความดันสูง และผู้ที่มีความดันในระดับปกติ
6)
ขาดโพแทสเซียม
เนื่องจากโพแทสเซียมจะช่วปรับสมดุลระดับโซเดียมในร่างกายดังนั้นจึงควรรับประทานโพแทสเซีมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
แม้ว่าในร่างกายคนเราจะมี
โพแทสเซียมมากเป็นอันดับสามก็ตาม โดยเราสามารถเพิ่มระดับโพแทสเซียมในร่างกายได้ด้วยการเลิกรับประทานอาหารจำพวกถั่วต่างๆ
รวมถึงผักและผลไม้ด้วย
7)
ความเครียด
ความเครียดหรือเหตุการณ์กระทบกระเทือนทางอารมณ์อาจส่งผลให้ความดันโลหิตมีค่าเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้แล้ว ความกังวลและการซึมเศร้าก็ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อ
การเกิดความดันโลหิตสูงขึ้นเป็น 2 เท่าเช่นกัน
8)
การสูบบุหรี่
บุหรี่ส่งผลเสี่ยต่อร่างกายเรามากมาย
หนึ่งในผลเสียนั้นก็คงหนีไม่พ้น โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่จึงควรหาวิธีที่สามารถทำให้ตนเองเลิกบุหรี่ได้โดยเด็ดขาด
ส่วนผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ก็ไม่ควรที่จะลองสูบบุหรี่หรือเข้าใกล้บริเวณพื้นที่ที่มีการสูบบุหรี่
เพื่อป้องกันมิให้ตนเองได้รับควันบุหรี่โดยตรง เนื่องจากการอยู่ในบริเวณนั้น
จะทำให้เราได้รับ
สารพิษต่างๆ เช่นสารนิโคติน หรือสารน้ำมันดิน โดยตรงในปริมาณที่สูง
ภาพจาก
Web Site
http://www.thaihealth.or.th/Content/27071-มาเลิกบุหรี่กันเถอะ.html
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
27-1-59
|
|
9)
ดื่มแอลกอฮอล์
แม้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลให้ผู้ที่ดื่มมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
แต่ต้องดื่มในปริมาณที่พอดีพอเหมาะเท่านั้น เนื่องจากการดื่มใน
ปริมาณที่มากจนเกินไปนั้น จะส่งผลให้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ
ไม่ควรเกินวันละ 2 แก้ว
10) ไม่รับประทานยาลดความดัน
บางทีการควบคุมพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างจริงจังนั้น
มิอาจส่งผลให้ความดันโลหิตลดน้อยลงในบางราย ดังนั้นยาลดความดันจึงเป็นเรื่องจำเป็น
หากพิกเฉยไม่
ทานยาตามเวลาที่กำหนดไว้แล้ว หรือไม่ยอมทานในชนิดที่แพทย์สั่งจ่ายมา ก็อาจส่งผลให้ความดันยังคงสูงอยู่ไม่ลดลง
2. ปัจจัยภายใน
แม้ว่าเราไม่อาจแก้ไขปัจจัยนี้ได้โดยตรง
แต่หากเราทราบถึงปัจจัยภายในนี้ เราก็จะสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
1)
อายุ
เป็นความจริงที่ว่าเมื่ออายุมากขึ้น
โอกาสเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะมากขึ้นตามไปด้วย แต่เป็นจริงสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศอุตสาหกรรมเท่านั้น
เพราะประชาชนในแอฟริกา หรือประเทศที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลัก และทานอาหารที่มีเกลือและไขต่ำอยู่เสมอมักมีความดันอยู่ในระดับปกติแม้จะมีอายุมากแล้วก็ตามดังนั้น
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนจึงสรุปได้ว่า ความดันโลหิตสูงมิใช่ภาวะอันเนื่องมาจากการแก่ชรา
หากแต่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตในช่วงวัยกลางคน ซึ่งส่วนใหญ่มัก
จะออกกำลังน้อย หรือ ทานอาหาร ผักผลไม้ ที่มีประโยชน์ไม่เพียงพอ
2)
เพศหญิงหรือเพศชาย
เมื่อผู้ชายและผู้หญิงมีอายุน้อยกว่า
55 ปี พบว่า เพศชายมีแนวโน้มเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าเพศหญิง หากแต่ในทางกลับกัน
เมื่อผู้หญิงและผู้ชายมีอายุมาก
กว่า 55 ปี พบว่า เพศหญิงจะมีความดันโลหิตสูงในระดับเดียวกันกับเพศชาย และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงกว่าผู้ชายอีกด้วย
สาเหตุหนึ่งพบว่าผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคอ้วน หรือมี
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หรือป่วยด้วยโรคไต หรือคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง
หากรับประทานยาคุมกำเนิดจะสามารถก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงได้
ภาพจาก
Web Site
http://km.saard.ac.th/external_newsblog.php?links=572
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
27-1-59
|
|
3)
พันธุกรรม
จากฐานข้อมูลพบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ
30-60 อาจเกิดจากพันธุกรรม ผู้ที่มีพ่อแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจึงมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
นอกจาก
นี้แล้ว จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีพี่หรือน้องป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจจะมีโอกาสป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงขึ้น
แม้ว่าในปัจจุบัน
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงนั้นจะมีหลากหลายแนวทาง เช่น การรักษาความดันตามแนวทางการรักษาของยุโรป
หรือ การใช้ยาลดความดันโลหิต หรือ
การใช้ยาชนิดเคียวรักษาโรคความดันโลหิตสูงหากแต่วิธีการที่สำคัญที่สุดนั้นได้แก่
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจากข้อมูลข้างต้น ส่วนใหญ่ในเรื่องของปัจจัยที่อาจก่อให้เกิด
โรคได้นั้นก็ล้วนเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวเราเอง ทั้งการที่เราเป็นสาเหตุโดยที่เราอาจแก้ไขได้
หรือไม่อาจแก้ไขได้ ดังนั้น เราจึงควรเริ่มดูแลรักษาตัวเราเอง หมั่นตรวจสุขภาพ
วัดความดันเป็นประจำทุกปี เพื่อที่จะทราบถึงความเสี่ยงที่ตัวเราเองมีต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงนี้
และที่สำคัญที่สุดคือเริ่มจากวิธีการที่เราสามารถที่จะทำได้ง่าย หากเรา
สามารถที่จะทำวิธีแรกได้แล้ว เราก็จะมีกำลังใจที่จะเริ่มทำในวิธีการอื่นๆ
เช่น เราอาจเริ่มจากการเคลื่อนไหวตัวให้กระฉับกระเฉง จากนั้นเราอาจหาเวลาที่เหมาะสมเพื่อ
ออกกำลังกาย เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
อดุลย์ รัตนมั่นเกษม. (2533). ความดันโลหิตสูง.
(หน้า 40-49). กรุงเทพมหานคร : รุ่งแสงการพิมพ์.
ซูซาน เพอร์รี่. (2550). ลดความดันโลหิตสูงอย่างได้ผล. (หน้า 13-25). กรุงเทพมหานคร
: รีดเดอร์ส ไดเจสท์.
http://siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/Hypertension/women.htm#.VqedsjZZHzI
http://siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/Hypertension/treatment.htm#.VqeepjZZHzI
|