การสลักหยวกหรือการแทงหยวกเป็นงานฝีมือช่างประเภทหนึ่ง ที่จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่ประเภทช่างสลักของอ่อน การแทงหยวกเป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายก็คือต้นกล้วย นำมาสร้างเป็นงานฝีมือซึ่งมักใช้กันในงานตกแต่งประดับประดาเมรุเผาศพ งานบวช งานกฐินและงานตกแต่งอื่น ๆ โดยสืบทอดกันมาหลาย ร้อยปีแล้ว และผู้ที่สืบทอดงานศิลปการแทงหยวกกล้วยที่ปัจจุบันนี้หาชมได้ยากแล้ว ก็คือคุณทวีศักดิ์ หว่างจันทร์ เป็นผู้สืบทอดฝีมือและเอกลัษณ์งานแทงหยวกกล้วยกลุ่มวัดจำปา และเป็นวิทยากรสอนการแทงหยวกกล้วยให้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ อีกมาก และชื่อที่คนในแวดวงศิลปประเภทนี้จะทราบกันในชื่อคุณดุ่ย หรืออาจารย์ดุ่ย
ความเป็นมา ช่างแทงหยวกของวัดจำปาเป็นชุมชนเก่าซึ่งมีอยู่มานานแล้ว ถ้าจะย้อนดูประวัติแล้วเก่าถึงอยุธยา จัดว่าเป็นชุมชนเก่าหนึ่งในแปดของกรุงเทพมหานคร แต่ทำไมตอนนี้ ถึงต้องมาอยู่ที่วัดจำปา หากเข้าไปดูตามพื้นที่แล้วจะเห็นว่าที่วัดจำปาจะเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมในอดีตโดยจะมีท่าเรือ และในอดีตก็ยังเคยเป็นตลาดน้ำอยู่ที่บริเวณที่เขา เรียกว่าเกาะศาลเจ้า จึงเป็นธรรมดาตามที่เขาว่าศิลปวิทยาการจะเจริญมาจากการลื่นไหลตามสายน้ำ คือมาจากเส้นวังหลวง ทำไมถึงพูดว่ามาจากวังหลวง เนื่องจากว่าในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 คุณครูหลวงวัฒนศิลป์ ท่านได้ลี้ภัยสงครามโลกมาอยู่ที่วัดจำปา ตรงชุมชนเกาะศาลเจ้า และท่านได้มาเห็นช่างของวัดจำปาทำเรื่องงานแทงหยวก ดังนั้น ท่านก็เลยมาแลกเปลี่ยนความรู้กับช่างวัดจำปา และก็ได้พาช่างของกลุ่มวัดจำปาไปดูงานพระเมรุมาศในสมเด็จพระพันวษาและงานของในหลวงรัชกาลที่ 8 ก็เลยทำให้ช่างของ วัดจำปาคล้าย ๆ เกิดเห็นภาพของงานหลวงขึ้นมาจนเกิดรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มช่างวัดจำปาก็คือ ในเรื่องของลวดลายและก็ในเรื่องของอุดมคติใน การสร้างภาพ ถือเป็นเรื่องคร่าว ๆ เกี่ยวกับความเป็นมาของกลุ่มช่างวัดจำปา แต่ว่าปัจจุบันนี้ก็คงจะเหมือนกับหลาย ๆ สาขาที่เริ่มสูญหายไป ซึ่งคุณพ่อของอาจารย์ดุ่ยเป็นคน สุดท้ายของช่างกลุ่มวัดจำปาที่เสียชีวิตลงเมื่อตอนอายุ 80 เลยทำให้ในปัจจุบันนี้ไม่มีช่างเหลือแล้ว ส่วนตัวอาจารย์ก็เป็นแค่เพียงทายาทของคุณพ่อที่เป็นทายาทของกลุ่มช่าง วัดจำปา จึงเปรียบเสมือนว่าเป็นกลุ่มของตระกูลหว่างจันทร์ ซึ่งเรียกตามนามสกุลของอาจารย์ จึงเป็นที่มาที่ไปของกลุ่มช่างวัดจำปา คือ กำกับสืบต่อรุ่น ต่อรุ่นกันมา เหตุผลที่ให้ทำงาน อาจารย์เริ่มจับงานศิลปประเภทนี้มาตั้งแต่ชั้นมัธยม 2 ก็คือ เนื่องจากว่าคุณพ่อของอาจารย์ไม่ให้อาจารย์จับงานเลยเหตุผลก็คือ ท่านกลัวว่างานของท่านจะพังอะไรทำนอง นี้ โดยท่านจะไม่ให้อาจารย์ยุ่งเลย ไม่ให้จับทำอะไรสักอย่าง แต่แล้ววันหนึ่งคุณพ่อของอาจารย์ท่านได้วางฟักทองไว้ลูกหนึ่ง อาจารย์ด้วยความซนก็ขโมยเอาฟักทองมาแกะสลัก เป็นมังกรหนึ่งตัว เนื่องจากว่าอาจารย์จะเห็นคุณพ่อทำมาตั้งแต่อาจารย์ยังเล็กๆ และเห็นว่าเขามีกรรมวิธีการขึ้นรูปอย่างไร อาจารย์ก็ขโมยหรืออย่างที่เขาเรียกกันว่าครูพักลัก จำอาจารย์ก็เอามาทำ ปรากฎว่าเมื่อทำเสร็จเอาไปให้คุณพ่อดู ซึ่งคุณพ่อบอกอยู่คำหนึ่งว่า หลังจากที่ทำให้ท่านดูแล้วต่อไปนี้เวลาไปทำที่ไหนก็แล้วแต่ขอให้ทำเหมือนกับที่ทำให้ ท่านดู จึงเหมือนกับว่าเป็นบทสรุปการตอบรับได้รับความไว้วางใจ เหมือนกับว่าจบแล้วไม่ต้องเรียนอีกต่อไป อาจารย์จึงเริ่มทำงานนี้ไปเรื่อย ๆ จนเกิดงาน
ตอนแรกอาจารย์ยังไม่ได้จับงานแทงหยวก เริ่มแต่งานแกะสลักก่อน แต่ต่อมาก็มีคนมาหางานซึ่งคุณพ่อของอาจารย์ไม่ยอมรับ เนื่องจากท่านมีอายุมากแล้ว ตัวอาจารย์เอง ก็เสียดายเงินก็คิดจะทำอย่างไรอยากได้เงินอาจารย์ก็เลยรับทำเอง โดยเริ่มตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา โดยเริ่มต้นที่เปลี่ยนวิถีตัวเอง เอางานศิลปที่คุณพ่อมีออกมาเริ่มสร้างรายได้ ขึ้นมา ส่วนในงานของการแทงหยวกอาจารย์เริ่มหลังจากนั้นประมาณ 2 ปี เพราะพอดีมีงานศพของญาติกัน อาจารย์ก็ไปเห็นมีดวางไว้อีก ก็ขโมยมีดเอามาแทงหยวก ประกอบกับ ว่าลูกของคุณครูกำจาดซึ่งเป็นเพื่อนของคุณพ่อ ท่านเห็นเข้าก็บอกว่าจะมาแทงเล่นทำไมให้ลงมือทำจริง ๆ เลย ท่านก็เลยสอนเทคนิคการแทงหยวกให้ ซึ่งก็เลยเริ่มตั้งแต่ฟันปลา ซึ่งฟันปลาก็คือรอยหยัก เหมือนฟันของปลาแหลม ๆ หรือรอยแหลมที่เหมือนรอยของเลื่อยมิรัดดา ทำให้อาจารย์ทำเป็นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาโดยที่ไม่มีการสอนอีก การนำเอางานศิลปมาใช้ตกแต่ง ศิลปงานแทงหยวกกล้วยคนในสมัยก่อนจะนำมาตกแต่งในงานศพ งานบวช งานกฐิน และยังมีงานอื่น ๆ อีก ซึ่งตามปกติเราจะไม่ค่อยได้เห็นกันในงานประเภทนี้แล้ว เพราะ อาจารย์มีความรู้สึกว่าคนส่วนใหญ่จะเข้าใจกันผิด ๆ คิดว่า พอเห็นงานแทงหยวกต้องคิดว่าเป็นเรื่องของงานศพ เพราะไปเจอในงานศพ แต่มีเหตุอยู่งานหนึ่งที่เขาเรียกว่างาน ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ซึ่งเป็นงานมงคล คือ คุณพ่อของอาจารย์ไปทำเบญจาเจดีย์ทรายในงานขึ้นบ้านใหม่ แล้วอาจารย์ก็ไปเห็นเข้า จึงเกิดความสงสัยว่าทำไมเขาต้องเอาหยวก กล้วยมาทำตรงนี้ก็เลยถามคุณพ่อ ซึ่งท่านก็บอกว่าเขาเรียกเบญจาเจดีย์ทรายเป็นงานของคนปลายคลอง ซึ่งคนปลายคลองของบ้านอาจารย์ ก็คือคลองบ้านไทร เป็นเขตต่อเนื่อง กับจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดนครปฐม พออาจารย์ได้เห็นแล้วก็จดจำแบบเอาไว้และก็หายไปไม่เคยได้เห็นอีกเลยประมาณเกือบ 30 ปี จนวันหนึ่งอาจารย์ได้จัดงานทำบุญบ้านและ ประกอบกับที่ทำบุญบ้านวันนั้น ก็เป็นวันโกนผมไฟให้ลูกสาวด้วย จึงได้ทำเบญจากระถางน้ำมนต์ด้วย เบญจากระถางน้ำมนต์ก็คือ การเอาน้ำมนต์ไปตั้งบนปรำพีธี เสร็จแล้วพระ ท่านก็จะโยงสายสิญจ์มาที่ปรำพิธี เมื่อเสร็จพิธีก็จะเอาน้ำมนต์นั้นมาให้เด็กอาบ ปรากฎว่างานนี้พออาจารย์ทำขึ้นมา ชาวบ้านแถวนั้นก็พากันตกใจถามอาจารย์ว่า ทำงานอะไรเขา พากันมาดูกันยกใหญ่ เพราะเขาไม่เคยเห็นกันเหมือนเขาสงสัย ว่างานนี้มันไม่ใช่งานศพมิใช่หรือ คุณพ่อของอาจารย์ก็ได้เล่าให้ฟังว่า ความจริงงานแบบนี้มันมีมานานแล้ว ซึ่งเรา ไปดูภาพเก่า ๆ ก็จะมี แต่ว่าถ้าเป็นงานโกนผมจุก เขาจะเอาเด็กไปนั่งบนนั้นเลย ไปนั่งเสร็จแล้วก็ตัดผมจุกบนนั้นเลย ทำไมถึงต้องทำแบบนั้นเพราะเขาถือว่าเด็กเปรียบเหมือน ลูกเทวดาซึ่งเกิดมาจากสวรรค์ และเวลาจะทำพิธีก็ต้องทำบนเขาพระสุเมรุก็มี การตัดผมจุก การทำน้ำมนต์บนนั้น จึงทำให้อาจารย์รู้สึกว่าได้นำกลับมาฟื้นขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่ว่า ก็จะพยายามฟื้นในเรื่องของพิธีจริง ๆ เพราะเห็นว่ามีการทำจริง แต่ว่าการสาธิตอะไรส่วนใหญ่ก็จะไม่ค่อยได้ทำให้ดูมากนัก
สำหรับคำว่างานมงคลกับงานอวมงคล คืองานศพ มีความต่างกันหรือมีความเหมือนกันตรงไหน ก็คือมีความเหมือนกันบางอย่าง ต่างกันที่ว่าส่วนของรัดเกล้าคือส่วนของ หลังคาถ้าเป็นงานมงคลจะใช้เทพพนมเป็นตัวประดับ คำว่าเทพพนมคือ การอัญเชิญเทวดามาอวยพร แต่ถ้าเป็นงานศพก็จะใช้พระมาตุลีคือ เทวดาที่ถือแพนนกยูงมาทำหน้าที่ เหมือนขับรถ ก็คือท่านเป็นสารถีของพระอินท์ ฉะนั้นเวลาเราเสียชีวิตแล้ว ก็เหมือนกับว่าจะต้องมีคนขับรถพาเราไปสวรรค์ ณ ปัจจุบันนี้เราไม่ค่อยได้เห็นอุดมคติในเรื่องการสร้าง ภาพบนเขาพระสุเมรุหรืองานแทงหยวกกันแล้ว ก็นับว่าเป็นที่น่าเสียดายว่าอุดมคติตรงนี้ก็เริ่มจางหายไป นั้นอาจทำให้เป็นส่วนหนึ่งหรือเปล่าที่ทำให้คนลดความนิยมและการเห็น คุณค่าตรงนี้น้อยลงไป เพราะอุดมคติได้หายไป จะมองถึงแต่เรื่องความสวยงาม เครื่องมือหรือวัสดุที่นำมาใช้ในการแทงหยวกกล้วย เครื่องมือหรือวัสดุที่นำมาใช้ในการแทงหยวกกล้วยที่ว่านี้สิ่งที่จะขาดไม่ได้นั้นก็คือ ต้นกล้วย ต้นกล้วยที่เราใช้จะเป็นกล้วยตานี ซึ่งกล้วยตานีที่อาจารย์ใช้เขาจะเรียกกันว่า กล้วยตานีหม้อหรือว่ากล้วยตานีสวน เนื่องจากว่ากล้วยตานีหม้อหรือกล้วยตานีสวนเขาจะปลูกในที่ร่ม ก็เหมือนกับว่าวัสดุที่อยู่ในหม้อหรือเก็บในภาชนะที่มันไม่โดดแดดก็จะขาว สวย กล้วยตานีนี้ก็เหมือนกันปลูกอยู่ในร่มมันก็จะสวยงาม ซึ่งอาจารย์จะไม่ใช้กล้วยตานีป่า จริง ๆ แล้วก็สามารถใช้ได้แต่ว่าทำไมไม่ใช้ ก็เพราะกล้วยตานีป่าจะแข็งและกล้วยตานี ป่าเหมือนโดดแดดโดยลม ก็จะมีผิวไม่สวย เพราะต้องทนแดดจนกร้าน จะส่งผลต่อการทำงาน เนื่องจากผิวจะแข็ง ทำให้แกะยาก เวลาที่จะแทงหยวกก็จะค่อนข้างยาก ซึ่งกล้วย ตานีหม้อหรือกล้วยตานีสวนก็ต้องเป็นกล้วยตานีที่ปลูกในพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นที่ที่จะต้องมีน้ำแช่ท่วมถึง คือไม่ถึงกับเน่า โดยให้มีน้ำหล่อเลี้ยงไว้เพราะว่ากล้วยตานีมันจะดูดน้ำขึ้นไป จึงทำให้เวลาการทำงานหรือการเผาจะเหี่ยวเฉาได้ยาก ซึ่งจะต้องเอามาจากต้นกล้วยและก็ต้องมีใบกล้วย ส่วนอุปกรณ์ในการประดับก็จะประกอบด้วย มีดแทงหยวก มีดปาดหยวก และก็อีกสิ่งหนึ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งก็คือ ตอนนี้เราหาก้านลานยากมาก ก้านลานคือ เป็นคล้าย ๆ เหมือนตอกยาว ๆ เอาไว้สำหรับใช้เย็บติดกันระหว่าง ที่เขาเรียกว่าเย็บติดแผง หยวก ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่าร้านลานทองที่บางลำพูที่ไปซื้อในตอนนี้เขาบอกว่าไม่มีอีกแล้ว และร้านนี้ก็กำลังจะเลิกกิจการแล้วด้วย ที่ขายอยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือ เอาของเก่ามาขาย ถ้าหมดเมื่อไร ร้านนี้ก็จะปรับเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะไปใช้อะไรแทน เครื่องมือก็เริ่มหายลง ตอนนี้ก็ต้องมาใช้ไม้กลัด คล้าย ๆ ไม้เสียบลูกชิ้น มาปักแทน และการเย็บ การ เย็บตรึงก็อาจจะไม่แน่นเหมือนในอดีต และอีกบางส่วนก็ใช้คล้ายไม่ไผ่มาผ่าเป็นไม้ตอก เป็นตอกยาว ๆ รวมใช้อยู่ด้วย นี่คือวัสดุเย็บตรึง และก็มีฆ้อน เลื่อย สำหรับตัด สำหรับตอก
วัสดุในการตกแต่งก็อาจจะเป็นพวกเครื่องสด คือ มะละกอ ฟักทอง หรือพืชผักผลไม้ที่สามารถนำมาใช้ได้ ตอนนี้พวกพืชผักผลไม้เมื่อแกะสลักเสร็จในอดีตที่ผ่านมาเขาจะ ต้องมีการระบายสีเพื่อให้เกิดความสวยงาน ก็ต้องมีอุปกรณ์ในการระบายสี อย่างเช่น พวกสีหรือว่าสีโปสเตอร์ หรือว่าเป็นสีย้อมผลไม้ เมื่อต้องการย้อมดอกไม้ให้มีความสวยงาม แบบธรรมชาติ อุปกรณ์อีกประเภทหนึ่งก็คือ อุปกรณ์ในการแกะสลัก ประเภทมีดต่าง ๆ มีดแกะสลัก มีด 2 คม เครื่องปั้มลาย ก็คือประเภทงานแทงหยวก ประเภทที่ต้องการทำ เครื่องถม ซึ่งก็ต้องมีการปั้มลายขึ้นมา และก็มีกระดาษสีที่เรียกว่ากระดาษอังกฤษ เพื่อต้องการจะไว้ซับลวดลายให้เกิดลายขึ้นมา นี่คือคร่าว ๆ แต่วัสดุโดยส่วนใหญ่ถ้าเป็นวัสดุใน การแกะสลักจะเป็นวัสดุที่ช่างคิดทำกันขึ้นมาเอง อย่างเช่น ถ้าเราจะแกะเกสรดอกไม้ให้เป็นเส้นยาว ๆ ถ้าเป็นช่างผู้หญิงเขาอาจจะใช้มีด แต่ว่าอาจารย์จะใช้เส้นที่เขาเรียกว่า ก้านร่มนำมาตอกทำเป็นปากฉลาม แล้วก็สอดลงไป โดยกดลงไปจะได้เส้นยาวออกมาทีเดียว จะทำให้ได้เส้นเกสรหนึ่งเส้นเลย และใช้กระบอกไฟฉายมาทำกลีบดอกไม้ หรือ สมมุติว่าต้องการจะแกะมังกร คือทำเป็นเกล็ดมังกร เกล็ดพญานาค ก็จะเห็นว่าวัสดุพวกนี้สามารถหาได้ คือช่างผู้ชายเขาจะหาวัสดุที่มาทดแทนกันได้ง่ายกว่าช่างผู้หญิง และก็ เป็นของใกล้ตัวที่มีอยู่ในบ้าน จะเห็นได้ว่าคนที่มีความรักในงานศิลปก็สามารถจะปรับประยุกต์สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาทำให้เกิดผลงานทางศิลปะได้ ถ้าเราดูกันจริง ๆ วัสดุอุปกร์ ที่ช่างเขาทำขึ้นมาทำไมจะต้องคิดเอง ทำเอง เพราะเนื่องจากงานที่ทำมันขึ้นอยู่กับเวลาแข่งกับเวลา ฉะนั้นจะทำอย่างไรให้งานออกมาให้เร็วที่สุดโดยเราจะต้องมีวัสดุมาช่วย ถือ ว่าเป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา
การวางแผนในการสืบทอดต่อไป ปัจจุบันนี้อาจารย์ดุ่ยจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลอยู่ทั้งหมดและต้องการทำให้งานศิลปะนี้ประสบความสำเร็จต่อเนื่องยาวนาน ก็คิดว่ากำลังวางแผนซึ่งอาจจะแหกกฎ แหกกฎ ระเบียบ คือ โดยปกติแล้วงานแทงหยวกจะไม่เห็นมีผู้หญิงทำ ทำไมถึงไม่ให้ผู้หญิงทำเพราะว่าเป็นเรื่องของความเหมาะสม ถ้าดูจากภาพงานศพที่เป็นงานศพของพระ และถ้า ผู้หญิงทำเกิดมีการปีนขึ้นไปบนหลังคา ขึ้นไปบนที่สูงด้วยก็ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ก็เลยจะไม่มีผู้หญิงทำงานนี้ ฉะนั้นบางคนเขาสงสัยว่างานพวกนี้ทำไมผู้ชายมาทำทั้ง หมดเลย แม้กระทั่งการแกะสลัก ร้อยดอกไม้สด เขาก็สงสัยว่าเป็นงานของผู้หญิงหรือเปล่า แท้จริงแล้วมันไม่ใช่เป็นงานของผู้ชาย และเป็นงานของช่างด้วย บางคนเป็นช่างปลูก บ้านด้วยมาทำ อย่างคุณพ่อของอาจารย์ก็เป็นช่างปลูกบ้าน ก็คือทำได้หมดทุกอย่างเลย จึงอาจจะเป็นข้อห้ามในตอนนั้น แต่ตอนนี้เนื่องจากอาจารย์มีลูกสาวถึง 2 คน ก็ต้องการให้ ลูกสาวทำต่อ และรวมถึงต้องการให้ความรู้กับองค์กรภายนอกด้วย อาจารย์ก็ยินดีที่จะสอนให้ แต่เป็นในลักษณะแบบมาเรียนรู้และก็มาทำจริง ไม่อยากให้ทำเป็นในลักษณะแบบ ไปเปิดเป็นคอร์สกัน เพื่อที่จะหาวิชาความรู้เข้าไปสอนและก็เปิดเป็นอาชีพ อาจารย์อยากให้เป็นลักษณะถ้ามาแล้วมาพูดคุยสนทนาจะสนุกกว่า ซึ่งอาจารย์พร้อมที่จะให้การต้อนรับ คนที่ต้องการหาความรู้ในด้านศิลปะการแทงหยวกกล้วยแบบเดิมๆ โดยสามารถจะมาพบอาจารย์ได้โดยตรงที่ชุมชนเกาะศาลเจ้า หรือถ้าไม่รู้จักก็ให้มาที่ตลาดน้ำวัดจำปา ในวัน เสาร์และวันอาทิตย์ หรือทางโทรศัพท์ติดต่อกับอาจารย์ได้โดยตรง ที่หมายเลข 087 036 6322
นางสาวเยาวลักษณ์ ศิริสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง |