สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรมทางไกล
โดย...คุณสิรภพ  ใจสุภาพ
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีการฝึกอบรม
สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2555)

          สิ่งสำคัญาประการหนึ่งในการฝึกอบรมนั่น ก็คือ เรื่องของสื่อที่จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจได้ง่ายขึ้นและเกิดความชำนาญมีทัศนคติที่ถูกต้อง จน
ถึงขั้นสามารถนำความรู้ในเรื่องนั้นไปปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับในการฝึกอบรมทางไกลจำเป็นจะต้องมีสื่อที่พิเศษที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรู้
ความเข้าใจได้ง่ายและเป็นสิ่งที่ดี


ภาพจาก Web Site
http://www.stou.ac.th/Home/
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 17-3-58

แง่มุมของการมองเห็นความสำคัญของการเรียนการสอนทางไกล
          เรื่องของการฝึกอบรมปัจจุบันมีความก้าวหน้ามาก นอกจากการฝึกอบรมในห้องบรรยายในห้องประชุมแล้ว ยังมีการฝึกอบรมทางไกล ซึ่งสำนักการศึกษาต่อเนื่องเป็นผู้
ดำเนินการเรื่องนี้มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ในแง่มุมของการมองเห็นความสำคัญของการฝึกอบรมทางไกล สำนักการศึกษาต่อเนื่องซึ่งเป็นผู้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนทาง
ไกลตามนโยบายหลักของมหาวิทยาลัยโดยได้ทำมาหลายปีแล้ว และต่อมามหาวิทยาลัยก็มีนโยบายเห็นว่าน่าจะมีการฝึกอบรมทางไกลเพิ่มเติมเข้ามาด้วย สำนักจึงได้ดำเนินการ
ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากเทคโนโลยีก็จะเป็นไปมายุคสมัย ซึ่งเมื่อหลายปีมาแล้วเคยจัดอบรมทางไกลหลักสูตรการบริหารงาน อบต. ยุคนั้นไม่มีการใช้สื่อที่เป็น
Internet ใช้สื่อที่เป็นเอกสาร เป็นเทปเสียง เป็น VDO. วีดีทัศน์ มายุคปัจจุบันก็ปรับเปลี่ยนมาใช้สื่อ Internet เพิ่มขึ้นมา ก็เป็นไปตามเทคโนโลยีแต่ละยุคสมัย

หลักพิจารณาการออกแบบสื่อ
          หลักพิจารณาในการฝึกอบรมทางไกล การออกแบบสื่อที่ต้องใช้ในการนำมาจัดหลักสูตรการจัดฝึกอบรมทางไกล มาจาก 3 ปัจจัยหลัก ปัจจัยแรกคือ วัตถุประสงค์ของหลัก
สูตรฝึกอบรม หลักสูตรนี้ต้องการให้ผู้เข้าฝึกอบรมเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอะไร เช่น ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่สามารถลงมือปฏิบัติได้ หรือว่าจะต้องการเปลี่ยนทัศนคติ
ของเขา จะพิจารณาจากตัววัตถุประสงค์ของหลักสูตรเป็นลำดับแรก ปัจจัยที่สอง ก็คือ ลักษณะของเนื้อหาหลักสูตรเป็นเชิงอย่างไร เป็นทฤษฎีมากหรือว่าต้องการให้มีปฏิบัติด้วย
หรือว่าจะเน้นปฏิบัติก็จะเลือกสื่อให้เหมาะสม ปัจจัยที่สาม ในการเลือกให้ดูที่กลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่า กลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นใคร เป็นประชาชนทั่วไป หรือว่าเป็นกลุ่ม
บุคคลที่ทำงานในสำนักงาน หรือว่าเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา อย่างเช่น ถ้าเป็นตัวอย่างกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน เราอาจจะเน้นตัวสื่อที่ใช้เป็น Internet มากขึ้นก็ได้ เพราะ
ในที่ทำงานส่วนใหญ่ก็จะมี Internet ใช้ และใช้ได้ค่อนข้างสะดวก แต่ถ้าเป็นกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมาย เช่น อาจเป็นคนปฏิบัติงานประเภทไม่ได้อยู่กับที่ ต้องเดินทางไปที่โน้น ไป
ที่นี่ การใช้สื่อทางอิเล็คทรอนิกส์หรือ Internet อาจจะลดลงไป เพิ่มไปใช้สื่อที่เขาสามารถเปิดดูได้ด้วยตนเอง โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาอิเล็คทรอนิกส์มากนัก นี้ก็จะเป็นปัจจัยหลัก
มีอยู่ 3 ปัจจัยที่จะสามารถพิจารณาเลือกในการใช้สื่อ


ภาพจากสำนักเทคโนฯ
มสธ.

          บางครั้งก็อาจจะมีผู้ที่มาเข้ารับการฝึกอบรมแจ้งความต้องการมาเลยว่า ต้องการให้ครอบคลุมสื่ออะไรบ้าง ซึ่งถ้าเป็นหลักสูตรที่ทางสำนักจัดเป็นการทั่วไป ผู้เข้ารับการฝึก
อบรมจะไม่สามารถเลือกได้ จะต้องอบรมตามรูปแบบที่สำนักกำหนดให้ แต่ว่าถ้าเป็นกรณีที่หน่วยงานมาจ้างสำนักจัดฝึกอบรม หน่วยงานก็สามารถที่ระบุความต้องการได้ โดย
สำนักจะพิจารณาร่วมกัน เช่น กลุ่มเป้าหมายหลักสูตรที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาจ้างสำนักจัด เขาต้องการให้สำนักอบรมครู ก็จะมานั่งคุยกันว่าสื่อที่เหมาะ
กับครูควรจะเป็นอะไรบ้าง ก็จะมานั่งคุยกัน เขาสามารถที่จะระบุสื่อที่ต้องการให้สำนักจัดได้ สำนักก็จะมีเหตุผลในเชิงวิชาการ ในเชิงการจัดการคุยกับเขาแลกเปลี่ยนกันจนกระ
ทั่งได้ข้อยุติ ก็จะดำเนินการให้ตามที่ต้องการ นี่เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเลือกใช้สื่อให้เหมาะในแต่ละหลักสูตรของการฝึกอบรมทางไกล

รายละเอียดของการออกแบบสื่อ
          หลักของการออกแบบสื่อหลัก ๆ ที่สำนักใช้ในการฝึกอบรมทางไกลมีอยู่ 3 ประการ ประการแรก ก็คือ สื่อแต่ละตัวที่เราเลือกเอามาใช้ เราจะใช้ให้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน
เช่น สื่อเอกสารก็ดีในแง่ที่ให้รายละเอียดเนื้อหาได้มาก และสามารถหยิบขึ้นมาดูเมื่อไหร่ก็ได้ ส่วนพวก วีดีทัศน์ก็จะดีในแง่ของการแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานและการแสดงตัว
อย่างที่ต้องเป็นการลงมือกระทำให้เห็นภาพจริง ๆ ซึ่งก็สามารถเอามาเสริมได้ เพราะว่าในเอกสารที่เป็นหนังสือไม่สามารถทำอย่างวีดีทัศน์ได้ ก็จะใช้เสริมซึ่งกันและกัน หรือ
อย่างการใช้ Internet เข้ามาช่วยก็สามารถที่จะใช้เทคโนโลยีของ Internet เช่น เรื่องของการโต้ตอบสนทนาสด หรือว่าส่งข้อความแบบ chatหรือว่าสามารถที่จะใช้เทคโนโลยี



Internet ในการตรวจคำตอบที่ผู้เข้าอบรมตอบมาได้ ก็จะเป็นการใช้สื่อซึ่งส่งเสริมซึ่งกันและกัน ประการที่สอง ก็คือ การออกแบบสื่อก็ควรจะมีความงามในศิลปด้วยเป็นของ
แน่นอนอยู่แล้วว่าสื่อถ้าผลิตออกมาแล้วไม่ค่อยมีงามในศิลปประกอบ ก็อาจจะทำให้เกิดความน่าเบื่อและไม่ดึงดูดใจผู้เข้าอบรมเท่าที่ควร ประการที่สาม ก็คือ ไม่ควรจะทำสื่อให้
ดูยากอ่านแล้วเข้าใจยาก ต้องสื่อแบบพยายาม สื่อแบบตรงไปตรงมา ต้องทำให้คนดูทั่วไปเข้าใจได้ ถ้าคิดว่าจะเอาวิชาหนัง Art มาใช้ในสื่อคงใช้ไม่ได้ ความสวยมีระดับ คือ สวย
แต่ไม่ใช่สวยแล้ว ดูซับซ้อน แต่ว่าสวยดูปับคือเข้าใจได้เลยชัดเจน

อุปสรรคหรือข้อจำกัดของการฝึกอบรมทางไกล
          ในส่วนของการฝึกอบรม เมื่อเป็นการฝึกอบรมทางไกล ผู้สอนหรือผู้ที่เป็นผู้อบรมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมอยู่คนละที่กัน ฉะนั้นการสื่อสารต่าง ๆ ที่ผ่านมาจะไม่ค่อยมีข้อ
จำกัด เนื่องจากในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีการสื่อสารค่อนข้างจะดีขึ้นกว่าในสมัยก่อนเยอะ ในกรณีที่ผู้เข้าอบรมกับวิทยากรไม่ได้มาเข้าห้องฝึกอบรมเหมือนการฝึกอบรมปกติ การ
ติดต่อสื่อสารก็สามารถจะติดต่อสื่อสารกันได้ เช่น อาจจะโทรศัพท์มาก็ได้ โทรมาถามวิทยากรก็ได้ หรือจะมาติดต่อที่สำนักการศึกษาต่อเนื่องก็ได้ หรือจะส่ง e-mail มาก็ได้ และ
ในบางหลักสูตร เรามีชั่วโมง chat ด้วย เช่น หลักสูตรการจัดการเอกสารสำนักงาน เราจะมีชั่วโมง chat ตอนค่ำ ๆ ประมาณ 2 ทุ่ม เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ผู้เข้าอบรมที่สงสัยในเนื้อ
หาเรื่องอะไร ก็สามารถที่จะ chat เข้ามาถามกับวิทยากรได้ ณ ขณะนั้นเลย ถือว่าค่อนข้างสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับวิทยากร


ภาพจาก Web Site
http://www.stou.ac.th/Offices/Oce/etraining/index.htm
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 17-3-58

          โดยหลักการที่ใช้หลักสูตรฝึกอบรมทางไกลไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องมานั่ง chat พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งหลักการก็จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าอบรม
สามารถที่จะใช้เวลาว่างตอนไหนก็ได้ที่เขาจะศึกษาเนื้อหาสาระจากสื่อ แต่ว่าแน่นอนเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีของทาง Internet ก็มีส่วนมาช่วย อย่างเช่น สามารถที่จะมีการสนทนาสด
ได้ หรือว่าสามารถที่จะ chat ได้ก็เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่าทำให้เหมือนกับบรรยากาศคล้าย ๆ กับห้องฝึกอบรมจริง ๆ ซึ่งกิจกรรมชั่วโมง chat ตอนค่ำ ๆ เป็นกิจกรรมที่ไม่บังคับ
เป็นกิจกรรมที่ทางหลักสูตรได้กำหนดไว้ว่า ถ้าผู้เข้าอบรมอยากที่จะพูดคุยสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือว่าอยากจะซักถามข้อสงสัยกับวิทยากรก็เข้ามาถามได้ในเวลาที่
ออกกาศสด จึงถือว่าเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้บังคับว่าทุกคนจะต้องเข้าร่วม chat แต่ถ้าเข้าแล้วส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์ดีกว่าไม่เข้าร่วม chat

จุดเด่นของหลักสูตรการฝึกอบรมทางไกล
          จะเห็นว่าการเข้าร่วม chat เปรียบเหมือนว่าเป็นจุดขาย ในเมื่อต้องการความเป็นกันเอง แม้ว่าจะไม่ได้เห็นหน้ากัน แต่สื่อตรงนี้จะช่วยให้มีความใกล้ชิดและก็มีปฏิสัมพันธ์
ที่ดี เรียกว่าเป็นจุดเด่นของหลักสูตร การฝึกอบรมทางไกลของสำนักศึกษาต่อเนื่อง คือเป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช มีอยู่ 3 อย่างใหญ่ ๆ ก็คือ เราเน้นการใช้สื่อ
แบบผสมผสาน คือ ใช้สื่อแบบ offline และ online ผสมกัน เน้นการใช้สื่อผสมผสาน โดยใช้สื่อหลาย ๆ อย่างผสมกัน อันไหนที่มีจุดดีตรงไหนเราก็เลือกมาใช้ เนื่องจากปัจจุบัน


ภาพจาก Web Site
http://www.stou.ac.th/Offices/Oce/etraining/pr4/index.htm
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 17-3-58

นี้เมื่อพูดถึงการอบรมทางไกลคนก็จะนึกถึง e-learnging อย่างเดียว ถ้า e-learning ก็จะอยู่บนระบบ Web อย่างเดียว แต่ของสำนักจะใช้ทั้ง offline และ online ซึ่งจะอำนวย
ความสะดวกให้แก่ผู้เข้าอบรม คนที่บางเวลาอาจจะไม่สะดวกที่จะใช้สื่อ online ก็ใช้ offline ได้ และอีกอย่างหนึ่งก็คือ เรามีกิจกรรมที่จะวัดความรู้ของผู้เข้าอบรมด้วย คือจะมี
เหมือนการบ้านให้ผู้อบรมทำ เช่น ให้ผู้อบรมเข้ามาส่งการบ้าน ให้เข้ามาตอบคำถาม และจะมีการตรวจคำตอบ มีการแจ้งผลกลับไป มี feedback กลับไป อันนี้ถือว่าเป็นจุดเด่น
ของหลักสูตรฝึกอบรมทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

การสื่อสารหลักของการฝึกอบรมทางไกล
          เมื่อกล่าวถึงสื่อ offline สื่อ offline เวลานี้เท่าที่สำนักใช้อยู่จะมี เอกสาร และวีดีทัศน์ 2 อย่างนี้ ซึ่งสำนักจะใช้เป็นสื่อหลัก ๆ นอกนั้นก็อาจจะมีสื่ออย่างอื่นเสริมบ้าง เช่น
ในหลักสูตรการฝึกอบรมครูที่สำนักจัดให้ จะจัดทำสื่อ offline หรือเพิ่มเติมให้ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเอกสาร เป็น VCD และเป็นพวก Sport เสียง เป็นสิ่งที่เขาสามารถที่จะเอา
ไปใช้สอนนักเรียนได้ โดยสำนักจะเป็นผู้จัดส่งให้ตามที่อยู่ที่ผู้อบรมแจ้งมาให้ทราบในใบสมัคร

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ารับการฝึกอบรมทางไกลกับมหาวิทยาลัย


ภาพจาก Web Site

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 17-3-58

          ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ารับการฝึกอบรมทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรม ธิราชก็สามารถที่จะเข้ามาดูรายละเอียดได้ที่หน้า Homepage ของมหาวิทยาลัย
ก็จะมีแบนเนอร์ หลักสูตรฝึกอบรมก็สามารถที่จะคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ แต่หลักสูตรฝึกอบรมทางไกลเวลานี้สำนักยังไม่ได้จัดแบบมากนัก แต่ก็พยายามจะจัดไปเท่าที่ทำได้

มีอยู่ 4 – 5 หลักสูตรถือว่ายังมีไม่มาก พยายามจะพัฒนาให้มากขึ้น และก็หลักสูตรอบรมทางไกลก็จะเหมาะกับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลา ที่จะมาเข้าอบรมในชั้นเรียนตามปกติ และค่าลง
ทะเบียนของหลักสูตรฝึกอบรมทางไกลก็จะถูกกว่า ค่าฝึกอบรมหลักสูตรปกติ ซึ่งก็จะต้องมานั่งเข้าเรียน ต้องมีค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าอะไรๆ อีกหลายอย่าง แต่ถ้า
เป็นหลักสูตรฝึกอบรมทางไกล สำนักจะส่งสื่อไปให้ถึงบ้านเลย ส่วนมากจะศึกษาจากสื่อ และนอกนั้นส่วนใหญ่ก็จะมีกิจกรรมฝึกอบรมบน Internet บ้างตามระยะเวลาที่สำนัก
กำหนด ซึ่งถือว่าอำนวยความสะดวกให้มากทีเดียว และมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดด้วย ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นและเป็นสิ่งที่สำนักการศึกษาต่อเนื่องได้สนับสนุนเรื่องของนโยบายของ
มหาวิทยาลัย


ภาพจาก Web Site
http://www.stou.ac.th/Offices/Oce/etraining/pr1/index.htm
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 17-3-58

เรื่องของเทคโนโลยีการสื่อสารระบบ 3 G
          ปัจจุบันนี้ 3G หรือ thirdgenerlation เป็นเทคโนโยลีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์ การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูลและเทคโนโลยีใน
ปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman กล้องถ่ายรูป และ Internet เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่และความจุใน
การรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล APP รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และสมบูรณ์แบบขึ้น เช่น
บริการส่ง FAX โทรศัพท์ต่างประเทศ รับส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ประชุมทางไกลผ่านหน้าจอ อุปกรณ์สื่อสาร Download เพลง ชมภาพยนต์แบบสั้น ๆ เทคโนโลยีความน่า
สนใจของ 3G คือ สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G
สามารถให้บริการระบบเสียงและ APP รูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี เครื่องเล่น MP3 เครื่องเล่น VDO การ Download เกมส์ แสดงกราฟฟิก และการแสดงแผนที่ตั้งต่าง ๆ
ทำให้การสื่อสารเป็นแบบ Interactive ที่สร้างความสนุกสนาน และสมจริงมากขึ้น 3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน
Computer แบบพกพา วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน Account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่าง ๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น Sellcare ตรวจสอบ
ค่าใช้บริการ แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และใช้บริการข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์ ข่าวบันเทิง ข้อมูลด้านการเงิน ข้อมูลการท่องเที่ยว และตารางนัดหมายส่วนตัว Out
base on


ภาพจาก Web Site
http://www.stou.ac.th/Offices/oet/aboutus/eLearningCenter/
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 17-3-58

          คุณสมบัติหลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ นั่นก็คือ ไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ Lockin
ทุกครั้ง เพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไปที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เรา
Lockin เข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฎในรูปแบบของอุปกรณ์สื่อสารอื่น
เช่น RamTop Personal Digital Assistant และ PC






   นางสาวเยาวลักษณ์  ศิริสุวรรณ    ผู้เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2555)