ผาช่อ...แกรนด์แคนยอนเมืองไทย
โดย...คุณดวงดาว  เตชะวัฒนาบวร
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วาง

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2555)

          เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวการพบแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่มีชื่อว่าผาช่อ เป็นปรากฎการณ์ น่าอัศจรรย์ของธรรมชาติ เกิดเป็นหน้าผาสูงประมาณ 30 ถึง 50 เมตร ทีเดียว บริเวณ
หน้าผามีร่องลอยปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจากตะกอนของแม่น้ำ ผาช่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่มีความสมบูรณ์มาก ๆ เพราะว่านักท่องเที่ยวยังไม่เคยรู้จักมากนัก


ภาพจาก Web Site
http://www.atnorthern.com/wp-content/uploads/2014/10/phachor-028.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 21-4-58

ความเป็นมา
          ประวัติความเป็นมาของอุทยานแห่งชาติแม่วางนั้น เดิมเมื่อปีพ.ศ. 2544 ได้มีหนังสือจากอุทยานแห่งชาติออกผ่านจังหวัดเชียงใหม่ได้รายงานให้กรมป่าไม้ทราบในขณะ
นั้นว่า มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าจอมทองและป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ขาด แม่วาง ที่มีทรัพย์การธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามน่าสนใจหลายแห่ง รวมทั้ง
แหล่งท่องเที่ยวผาช่อซึ่งมีจุดเด่นที่น่าสนใจมีลักษณะแปลกตาและก็มีความสวยงาม มีลวดลายวิจิตรพิศดาร รวมพื้นที่ทั้งหมด 74,766 ไร่ มีศักยภาพเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็น
อุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ในขณะนั้นจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่คือ นางดวงดาว เตชะวัฒนาบวร ตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ชำนาญการมาปฏิบัติงานทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ
แม่วาง และได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติจนแล้วเสร็จ และประกาศพื้นที่แห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติโดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติแม่วาง โดย
ประกาศเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 112 ของประเทศไทย โดยอุทยานแห่งชาติแม่วางมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ 3 อำเภอ และ 6 ตำบล ได้แก่อำเภอ
ดอยหล่อ ตำบลดอยหล่อ ตำบลสันติสุขและตำบลยางคาม อำเภอจอมทองก็มีตำบลบ้านหลวง ตำบลข่วงเปา และอำเภอเม่วางก็มีตำบลทุ่งปี้ นับจากจุดเริ่มต้นของอุทยานแห่งชาติ
แม่วางก็ได้รับการพัฒนาจากสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่ใช้ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ก็มาเริ่มการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เริ่มต้นจากแหล่งท่องเที่ยวผาช่อซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชน
และนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก


ภาพจาก Web Site
http://static.tlcdn3.com/data/11/pictures/0213/11-28-2014/p197qdepv434q1go91c2dnkdpnm5.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 21-4-58

ลักษณะพิเศษ
          แหล่งท่องเที่ยวผาช่อนับเป็นจุดเด่นจากสิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของผาช่อ คือตัวผาช่อซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นลักษณะเป็นหน้าผาดิน
ตะกอนสูงประมาณ 30 เมตร หน้าผาดินตะกอนเกิดจากตะกอนที่สะสมบริเวณขอบแอ่ง หรือเชิงเขาของแนวเถือกเขาถนนธงชัย กลางตอนปลายยุคเธอชิลี่ ต่อมาเกิดสภาพธรณี
แปรสัณฐาน ทำให้ตะกอนเชิงเขาดังกล่าวถูกดันขึ้นมาเป็นพื้นที่เนินเขา และพื้นที่รอนชัน ภายหลังน้ำกัดเซาะและชะล้างผิวหน้าดิน จึงเกิดเป็นหน้าผาที่มีความสวยงาม มีลวดลาย
วิจิตรพิศดาร จึงถือเป็นจุดเด่นซึ่งถ้าหากนักท่องเที่ยวได้ไปเห็นก็จะทราบได้ทันที่ว่านี่คือผาช่อ

ความหมายของผาช่อ
          ที่มาของชื่อผาช่อ มาจากภาษาคำเมืองที่เขาเรียกผาจ่อ มีลักษณะเป็นช่อขึ้นมา คือในตัวของหน้าผาดินตะกอนจะมีช่อขึ้นไปสูงอีก ลักษณะเหมือนเสาโรมัน ซึ่งแสดงให้เห็น
ว่าดูค่อนข้างแข็งแรงและก็ทำให้มีภาพนึกถึงสถานที่ของต่างประเทศ และนอกจากนี้ตัวผาช่อจะมีจุดสำคัญเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ว่า ถ้าเราไปตรงผาช่อจะมีอยู่ 3 แห่งที่มีลักษณะ
ใก้ลเคียงกัน คือ ผาช่อจะมีระบบนิเวศน์ที่เป็นเฉพาะถิ่น คือจะมีสัตว์ป่าและก็มีชนิดพันธุ์ไม้ที่แตกต่างจากตัวแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ น้ำตกหรือถ้ำจะไม่เหมือนกันและก็ตัวของผาช่อ
จะมีสัตว์ป่าที่ไม่เหมือนกับที่อื่น เนื่องจากป่าจะเป็นป่าเต็งรัง ป่าระบบนิเวศน์โดยรอบของตัวผาช่อจะมีความสวยงามและก็ทำให้เราได้ศึกษา ได้ชมความสวยงามและได้ศึกษา
ลักษณะทางธรณีวิทยาอีกด้วย ตัวอย่างของสัตว์ป่าซึ่งเราอาจจะพบเห็นได้ในเวลาที่เราไปเที่ยว อย่างที่เห็นกันชัด ๆ คือมีนกจำนวนมาก ทั้งนกอพยพและนกท้องถิ่น และต่อมาก็คือ
พวกไก่ป่าซึ่งจะคุ้นเคยกับคนมาก ยังมีสุนัขจิ้งจอกอีก ซึ่งถ้าเรามาตอนกลางคืนเราจะพบมูลอยู่แป็นประจำ ในบริเวณที่พบนกอพยพจะพบในช่วงฤดูหนาว ซึ่งจะเป็นนกประเภท
นกเป็ดจะมาบินวนเวียนอยู่ใกล้ ๆ เพราะว่ามีอ่างน้ำก็จะมาอาศัยอยู่ด้วย


ภาพจาก Web Site
http://www.doiinthanontour.com/gallery/phashaw1.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 21-4-58

การดูแล
          ในบริเวณที่มีสัตว์ป่าจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลหลัก ๆ ที่ทำอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะเข้าไป จะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะให้คำแนะนำ โดยให้ปฏิบัติ
ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เพื่อความปลอดภัย เพื่อให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของอุทยานแห่งชาติ ในการเข้าไปจะมีป้ายสื่อความหมายให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและเพื่อป้องกัน
การเกิดอุบัติเหตุ หรือสื่อความหมายต่าง ๆ ที่จะให้ประโยชน์แก่นักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวชม ซึ่งจะเป็นป้ายสัญลักษณ์ตามมาตรฐานทั่วไป สัญลักษณ์บอกข้อความ เช่น ห้าม
ขูดขีด ห้ามยิงปืน ห้ามส่งเสียง หรือไม่ก็ห้ามเข้าไปในบริเวณที่ห้ามเข้า หรือว่าให้เดินเส้นทางเดียว หรือระวังลื่น ระวังหกล้ม อะไรพวกนี้ ในกรณีที่มีนักท่องเที่ยวอยากจะดูชีวิต
สัตว์ช่วงกลางคืนก็สามารถดูได้ โดยจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบก่อน แล้วเจ้าหน้าที่จะช่วยดูแลและเป็นผู้นำพาไป

พันธุ์ไม้ในอุทยานแห่งชาติ


ภาพจาก Web Site
http://f.ptcdn.info/069/026/000/1417285334-304-o.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 21-4-58

          พันธุ์ไม้ในบริเวณอุทยานแห่งชาติแม่วางและที่ผาช่อจะเป็นบริเวณของป่าเต็งรัง จะมีพันธุ์ไม้เป็นลักษณะเด่น ๆ ก็เป็นพวกเต็งรัง เฮียงพวง ไม้ปลงป่าซึ่งมีเป็นจำนวนมาก
ที่อยู่ในพื้นที่บริเวณของผาช่อ ซึ่งเป็นแหล่งปลงที่น่าจะใหญ่มาก เพราะว่าจากการศึกษาแล้วว่า ระบบนิเวศน์ของปลงป่าที่อยู่ในป่าเต็งรังของบริเวณผาช่อจะมีพื้นที่กว้างขวาง และ
ก็มีความอุดมสมบูรณ์มาก จะสังเกตุได้ว่าจะเป็นไม้ใหญ่ ๆ พวกไม้ยืนต้น และตัวปลงป่าจะเป็นไม้พุ่ม ไม้ชั้นล่าง ไม้เต็งรัง ไม้เฮียงพวงจะมีลักษณะเป็นไม้ผลัดใบ ในบริเวณผาช่อ
จะเป็นต้นไม้เต็งรังรุ่น 2 เนื่องจากว่าสภาพพื้นที่ดังกล่าวเมื่อก่อน ๆ ที่จะประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ จะมีชุมชนเข้ามาใช้ประโยชน์ตรงพื้นที่ดังกล่าว พวกทำฟืนเผาถ่าน หลัง
จากอุทยานเข้ามาควบคุมดูแลป่าทำให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์ ก็เลยเป็นสภาพป่ารุ่นที่ 2 โดยต้องทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ด้วย จากการมีส่วนร่วมของท้องที่ดังกล่าวของอำเภอ
ดอยหล่อดีมาก จึงทำให้สามารถดำเนินการประกาศจัดตั้งได้ภายใน 8 ปี ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งถือว่าใช้ระยะเวลาเร็วมาก เนื่องจากว่าชุมชนเข้าใจแล้วก็มีส่วน
รวมในการบริหารจัดการทรัพยากรในอุทยานแห่งชาติ ถ้านักท่องเที่ยวที่สนใจและจะเข้าไปเที่ยวก็สามารถพักค้างคืนได้ โดยจะมีลานกางเต้นท์ให้ และก็มีบ้านพักไว้คอยบริการ
ที่สามารถให้บริการได้ตอนนี้มีอยู่ 4 หลัง แต่ถ้าจะกางเต้นท์สามารถกางได้ 100 – 200 หลัง

ระบบนิเวศน์ของผาช่อ


ภาพจาก Web Site
http://www.klongdigital.com/image_board/3268_21.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 21-4-58

          บริเวณของผาช่อหากได้มีการศึกษาระบบนิเวศน์ของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ก่อนจะดีมาก แต่เนื่องจากได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแล้ว ในขั้นตอนของการศึกษาทางวิชาการ
ก็ยังเป็นแค่เบื้องต้น ถ้าอาจารย์หรือนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมาช่วยในการทำการศึกษาก็จะดีมาก เพราะเป็นเฉพาะด้าน ซึ่งก็จะมีพวกพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พวกพันธุ์พืชนี้ก็จะ
เป็นไม้เต็งรังทั้งหมด อย่างเรื่องของการทดแทน Sucession ก็จะดี จะทำให้รู้อัตราส่วนของการเติบโต และการตายไปของพันธุ์ไม้ในบริเวณผาช่อ และอีกอย่างระบบนิเวศน์ที่
เรียนให้ทราบในเบื้องต้น ก็คือเป็นระบบนิเวศน์เฉพาะถิ่น เพราะฉะนั้นพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ก็จะแตกต่างจากป่าเต็งรังที่อื่น โดยเฉพาะปลงป่าซึ่งมีจำนวนมาก ถ้าไม่มีการศึกษาพืช
ที่อื่น ๆ อาจจะสูญพันธุ์ หรืออาจจะถูกลักขโมย แต่ที่นี้ยังเป็นบริเวณที่กว้างขวางมีอยู่หลายพันไร่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์มากและหาชมได้ยาก เป็นที่ที่มีบริเวณกว้างขวาง อีกอย่างหนึ่ง
เป็นป่าผลัดใบที่ใกล้ชุมชนเป็นส่วนมาก ก็จะถูกชาวบ้านบุกรุก เพราะเวลาหน้าแล้งถ้าป่าผลัดใบลงไปก็จะเหมือนป่าเสื่อมโทรมจะโล่ง ๆ แต่ว่าที่นี่จะได้รับความร่วมมือจากชุมชน
โดยเจ้าหน้าที่อุทยานได้ประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชน กับฝ่ายปกครองท้องถิ่นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันดูแล จะประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านทราบว่าแทนที่จะใช้แต่ทรัพยากร
เพียงอย่างเดียว ก็ควรจะหันมาช่วยกันดูแลรักษาและก็จัดการทรัพยากรให้ยั่งยืนต่อไป จึงอยากให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมให้สนับสนุนในเรื่องของการประชาสัมพันธ์แหล่งท่อง
เที่ยว และเรื่องของการศึกษาวิจัยทรัพยากรธรรมชาติอันได้แก่ พันธุ์พืชที่อยู่โดยรอบตัวผาช่อ และก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวผาช่อที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันอีก 2, 3 แห่งที่เหมือนกัน แต่
ว่าความอลังการยิ่งใหญ่วิจิตพิศดารจะสู้ตัวผาช่อไม่ได้ แต่ลักษณะการเกิดจะเหมือนกัน คือแหล่งท่องเที่ยวกิ่วเสือเต้นกับแหล่งท่องเที่ยวผาแดง ซึ่งเวลาขึ้นไปชมจะเห็นภาพของ
อำเภอทั้งอำเภอ ของอำเภอดอยหล่อจะสวยงามมาก
          การเดินทางเข้าไปที่ผาช่อมีถนนแต่ยังไม่ค่อยสะดวก คือเป็นถนนลูกรังบดอัด ซึ่งเมื่อถึงเวลาหน้าน้ำก็จะโดยน้ำกัดเซาะ ยังต้องมีการปรับปรุงถนนอีก ทางเข้าที่จะต้องมี
การปรับปรุงอยู่ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุง แต่ตอนนี้ก็สามารถเข้าไปชมได้ แต่ต้องใช้ยานพาหนะที่เป็นพวกรถปิกอัพหรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อ
หรือถ้าไม่มียานพาหนะดังที่กล่าว ก็ควรจะติดต่อเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติ เพื่อที่จะประสานงานและนำเอารถของอุทยานเข้าไปส่งให้ ถ้ามีความสนใจอยากสอบถาม
รายละเอียดในตอนนี้ก็สามารถสอบถามได้ที่หัวหน้าอุทยานโดยตรงที่เบอร์โทรศัพท์ 081 881 4729 ได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไม่มีสัญญาณขอให้กดเรียกซ้ำ ๆ เพราะอยู่ในป่า
สัญญาณจะไม่ดี แต่อีกไม่กี่วันทางอุทยานจะเปิดโทรศัพท์เป็นเบอร์กลางให้สอบถามได้อีก

โครงการต่อไป
          ในเบื้องต้นอุทยานจะพัฒนาในสิ่งที่จะอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวผาช่อ ซึ่งเป็นตัวโดดเด่นที่สุดของอุทยาน ก็มี 1 เรื่องของถนนในแหล่งท่องเที่ยว 2 ลานจอดรถ
3 ห้องสุขาและศาลาพักผ่อน สุดท้ายก็คือเส้นทางเดินศึกษาทางธรรมชาติ ซึ่งทางเดินเข้าชมแหล่งท่องเที่ยวผาช่อ จะประกอบไปด้วย Headtail และตัวสถานีต่าง ๆ สิ่งก่อสร้างที่
อยากจะทำให้เสร็จเร็วที่สุด คือ จุดถ่ายรูปที่จะให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและถ่ายรูปได้ โดยที่ไม่ต้องเข้าไปสัมผัสหรือขูดขีดกับตัวผาช่อ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะเปราะบาง
ทำให้เกิดการสึกกร่อน
          จำนวนนักท่องเที่ยวที่สามารถจะต้อนรับได้ประมาณวันละ 100 คนต่อวัน เพราะว่านักท่องเที่ยวจะเข้าไปเที่ยวโดยทะยอยกันเข้าไป คือเข้าออกต่อ 1 วัน แต่มีสิ่งที่จะขอ
ความร่วมมือกับนักท่องเที่ยว คือเรื่องของการกำจัดขยะ การไม่ไปทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งผาช่อเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สร้างความสวยงาม ความแปลกตาไว้ให้ค่อนข้าง
สมบูรณ์กับผู้ไปเที่ยวได้ชม ซึ่งการค้นพบแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ถือว่าเป็น Unseen อีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย ว่ากันว่าสามารถเทียบชั้นได้กับแกรนด์แคนยอนเลยทีเดียว
เพราะผาช่อเกิดจากตะกอนของแม่น้ำปิง ก่อตัวขึ้นเป็นชั้นจนมีลวดลายที่สวยงาม และมีขนาดใหญ่เป็นปรากฏการณ์แสนน่าที่ง ควรที่เราซึ่งเป็นประชาชนคนทั่วไปเมื่อไปเที่ยว
แล้วก็ควรจะดูแลรักษาสมบัติที่ธรรมชาติให้มานี้ให้คงคุณค่ายาวนานต่อไป.




   นางสาวเยาวลักษณ์  ศิริสุวรรณ    ผู้เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2555)