พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก
โดย...รศ.ปรีชา ปั่นกล่ำ
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑศิลปะนกฮูก
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง
ปี 2555) |
ภาพจาก
Web Site
http://www.painaidii.com/business/142638/owl-art-museum-73000/lang/th/
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 23-4-58 |
|
ช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่แล้วหลายท่านคงจะเร่งมือสะสางงาน
แล้วก็วางแผนที่จะพักผ่อน แม้ว่าอากาศอาจจะไม่เย็นชื่นใจอย่างที่คิด แต่ก็เชื่อว่าบรรยากาศรวม
ๆ ก็คงจะพอ
ทำให้เรารู้สึกกระฉับกระเฉงขึ้นมาบ้าง มีสถานที่ท่องเที่ยวมาแนะนำเผื่อไว้เป็นทางเลือกในวันหยุด
ซึ่งสถานที่ที่จะแนะนำในวันนี้เป็นพิพิธภัณณ์แปลก ๆ ที่สะสมงานศิลปะเกี่ยว
กับนกฮูก โดยที่นกฮูกเป็นสัตว์หน้าตาแปลก ๆ บางคนอาจจะรู้สึกว่าหน้าตาน่ากลัวด้วยซ้ำไป
ทำไมยังมีคนหลงไหลชื่นชม และเป็นแรงบันดาลใจถึงขนาดต้องสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์
นกฮูกขึ้นมา อย่างที่บอกถึงความแปลกของพิพิธภัณฑ์นกฮูกซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อนและในสภาพแวดล้อมของทุกวันนี้
ไม่ว่าเด็ก ๆ หรือคนทั่วไปจะมีโอกาสได้เห็นนกฮูกตัวเป็น ๆ
จากธรรมชาติกันบ้างไหม นอกเสียจากที่รู้จักกันว่าเป็นพยัญชนะไทยตัวที่ 44 ในหนังสือแบบเรียนชั้นประถม
กอ กา อย่างที่เราคุ้นกัน
จุดเริ่มต้นเกี่ยวกับนกฮูก
เนื่องจากตอนแรกอาจารย์ต้องเล่านิทานก่อนนอนให้ลูกฟังเป็นเรื่องเกี่ยวกับนกฮูก
โดยมีนกฮูกแต่ละที่ แต่ละตัวเอามาทำเป็นตัวเอกในการดำเนินเรื่องของนิทานก่อนนอน
ก็จะดำเนินเรื่องไปทำให้ลูกได้รู้จักนกฮูกตั้งแต่นั้นมา พอมาถึงระยะเวลาหนึ่งก็คิดได้ว่าอยากจะสอนลูกให้รู้จักความรัก
ความรับผิดชอบอะไรบางสิ่งบางอย่างในสิ่งของที่เขามี ก็
เลยคิดโจทย์ในเรื่องของการสะสมขึ้นมา เพราะมีความเชื่อว่าการสะสมอะไรสักอย่างก็ต้องเกิดขึ้นจากความรัก
และเมื่อสะสมแล้วก็ต้องมีการเอาใจใส่ดูแลสิ่งของเหล่านั้น ก็เลย
ชักชวนกันสะสม พูดคุยกันระหว่างพ่อ แม่ ลูก ในที่สุดก็มาลงเอยสะสมที่งานศิลปะและงานออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนกฮูกจึงถือเป็นจุดเริ่มต้น
พอสะสมกันได้สักพักหนึ่ง
ประมาณ 2 ปี ก็รู้สึกจะมีของเยอะขึ้น เยอะขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้วในที่สุดลูกสาวเองก็โตขึ้นเขาก็เริ่มคิดว่าเขาชอบอะไร
เขาจะสะสมอะไรถึงจะดี เขาก็เริ่มหันเหไปสะสมอย่างอื่นตาม
ความคิดของเขา หรือตามความชอบของเขา เขาก็เริ่มไปสะสมของเด็กเล่น ของเล่นของเขาตามเนื้อเรื่องที่เขาได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อมหรือจากนิทานอะไรต่าง
ๆ ของเขา
ภาพจาก
Web Site
http://img.kapook.com/u/sutasinee/travel/ttt/lisaguru-nakorn-patoom-2.jpg
http://www.thailovetrip.com/admin/photo/198.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 23-4-58 |
|
รูป2-3
แต่ว่าพ่อกับแม่ก็ยังเลิกไม่ได้
เกิดหลงรักนกฮูกขึ้นมาก็เลยสะสมกันมาต่ออีกประมาณ 2 ปี ก็มานั่งดูกันว่า
นกฮูกที่เรามีอยู่ในขณะนั้นจริง ๆ แล้วไม่ใช่เป็นแค่นกฮูก ไม่ใช่
แค่ชิ้นงานที่เป็นรูปนกฮูกเฉย ๆ แต่มันเป็นงานศิลปะที่เคลือบแฝงไปด้วยองค์ความรู้ต่าง
ๆ ที่แต่ละพื้นที่เราสะสมนกฮูกว่ามาจากหลากหลายประเทศ จากหลายพื้นที่ทั่วโลก
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ติดตามมาด้วยก็คือ ความงดงามของจิตใจของมนุษย์ที่ออกแบบ
หรือเป็นส่วนที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียกว่านกฮูกตามความเชื่อ ตามความคิดของแต่ละพื้นถิ่น
ก็เลย
คิดว่าถ้ามีเยอะขนาดนี้แล้ว ถ้าคิดจะเก็บไว้กับตัวเองก็อาจจะมีประโยชน์น้อย
ก็คิดว่าน่าจะเอาออกมาเผยแพร่ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ดีไหม ตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มฟอร์มทีมงานหรือ
เก็บชิ้นงานอย่างเข้มงวดขึ้น แล้วก็พยายามที่จะก่อตั้งพิพิธภัณฑ์นกฮูกขึ้นมาให้ได้
ซึ่งพิพิธภัณฑ์ได้เริ่มต้นก่อตั้งจริง ๆ เมื่อปี 2554 แต่เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
27
เมษายน 2555
สถานที่ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ครั้งแรกก็หาทำเลที่คิดว่าน่าจะเป็นจุดที่สามารถจะเชื่อมโยงกับชุมชน
สามารถเชื่อมโยงกับสังคมได้ ก็มองไปถึงแหล่งพื้นที่ในจังหวัดนครปฐม
ตระเวนหา ในที่สุดก็ไปเจอเส้นทางหนึ่งตั้งแต่ศาลายาจนถึงอำเภอนครชัยศรี ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมแล้วรถราอะไรต่าง
ๆ ก็ไม่พลุกพล่านมาก และก็มีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งที่อยู่
ในเส้นทางเดียวกันนี้ ก็คิคว่าถ้าเกิดมีพิพิธภัณฑ์เพิ่มขึ้นมาตรงนี้ก็จะกลายเป็นชุมชนพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาได้
และก็จะเหมาะกับการท่องเที่ยววันเดียวจบอะไรพวกนี้ จึงลงเอยไปที่
อำเภอนครชัยศรีแถว ๆ ตลาดท่านา ห่างจากตลาดท่านาประมาณ 400 เมตร แต่ตอนนี้ยังเป็นสถานที่ที่ยังไม่ถาวร
เนื่องจากว่าที่ดินที่ไปก่อตั้งอยู่เป็นที่ดินที่เช่าเขาอยู่ แต่ว่าทำ
สัญญาประมาณ 6 ปี ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการถาวรได้ เพียงแต่ว่าขอให้มีจุดเริ่มต้นสร้างอะไรขึ้นมาให้ได้เสียก่อน
เพราะต้องใช้แนวคิดในลักษณะที่ว่าอะไรที่ยังไม่มี ก็อย่าเพิ่งไป
ทุกข์ร้อนกับมันมาก ก็ค่อย ๆ เริ่มต้นทำในสิ่งที่คิดว่ามันน่าจะเป็นไปได้
ทำให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเสียก่อน แล้วพอถึงระยะเวลาหนึ่งถ้าเกิดมีความพร้อมก็อาจจะมีการขยาย
หรืออาจจะทำให้มั่นคงมากขึ้นที่หลังก็ได้
ความแตกต่างของนกฮูกกับนกเค้าแมว
ลักษณะที่หลายคนอาจจะสงสัย
ก็คือ นกฮูกกับนกเค้าแมวมีความเหมือนหรือต่างกันตรงไหนนั้น ที่จริงทั้งนกฮูก
นกแสกอะไรต่าง ๆ ที่เราเรียกกันทั้งหมด คือนกเค้าแมว
ทั้งทั่วโลกเลยจะมีอยู่ประมาณ 200 กว่าสายพันธุ์ และจะพบในประเทศไทยประมาณ
20 กว่าสายพันธุ์ซึ่งรวมถึงนกฮูก นกเค้าจุด นกเค้าอะไรต่าง ๆ ที่ทั้งตัวเล็กตัวน้อย
ตัวใหญ่
บ้าง ทั้งนกเหยี่ยวและ นกแสก
รูป4-5
ภาพจาก
Web Site
http://th.openrice.com/UserPhoto/Article/0/S/0005P91606E059D43C0999j.jpg
http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/uploads/images/20121012145152bia8.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 23-4-58 |
|
การจัดแสดงที่มาของชิ้นงาน
เรื่องของการนำสิ่งของที่เกี่ยวกับนกฮูกเข้ามาจัดแสดงก็ใช้เกณฑ์จากตัวอาจารย์เป็นตัวเลือก
อันไหนที่คิดว่าน่าจะมีความงดงาม ความพอดีในตัว ของชิ้นงานที่ถูกออกแบบ
มา ก็จะเลือกตามความคิดตามประสบการณ์ของตัวเองเป็นตัวเลือกคัดกรองขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง
ถ้าชิ้นนี้ถือว่าได้รับการออกแบบ ได้รับการเอาใจใส่ในเรื่องของรายละเอียดหรือ
เทคนิค รวมทั้งวัสดุอะไรต่าง ๆ มีความสอดคล้องกัน ดังนั้นตัวชิ้นงานศิลปะนกฮูกที่เก็บจะไม่ใช่ทุกชิ้นที่มีอยู่ในโลก
แต่ว่าจะเป็นชิ้นที่ถูกเลือกมาแล้วตามกำลังที่สามารถเก็บมา
ได้ และมีอีกเยอะที่ไม่สามารถที่จะเก็บไว้ให้มาชื่นชมกันได้ เพราะว่ามีราคาสูงตัวกำลังทรัพย์ก็ยังไม่เพียงพอ
ซึ่งจริง ๆ แล้วจะมีคุณค่ามากในตัวที่ไม่สามารถเก็บไว้ได้ แต่ว่าใน
ที่สุดตัวที่เก็บมาได้ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างชิ้นงานที่มีคุณภาพในระดับหนึ่ง
เราได้จัดแบ่งหมวดหมู่ของชิ้นงานไว้หลากหลาย
ตั้งแต่ชิ้นงานที่เป็นเครื่องเคลือบดินเผา หรืองานที่เป็นงานหล่อปูน และก็หินทรายอะไรต่าง
ๆ เป็นส่วนหนึ่ง กับอีกส่วนหนึ่ง
เป็นงานแก้ว งานโลหะและก็เป็นงานศิลปะปฏิมากรรม จิตกรรม ภาพพิมพ์ และอีกโซนก็จะเป็นในเรื่องของการแกะไม้เป็นชิ้นงานซึ่งเป็นตัวที่ทำมาจากไม้ทั้งหมด
อีกส่วนหนึ่ง
เป็นชิ้นงานที่ทำมาจากเส้นใยต่าง ๆ จากธรรมชาติหรือผ้า และส่วนที่เป็นเครื่องประดับ
ในลักษณะของชิ้นงานจะมีอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกก็จะเป็นส่วนที่เก็บสะสมมาจากหลาย
ๆ ที่
และมาจากหลาย ๆ ประเทศ อีกส่วนก็จะเป็นงานที่ออกแบบขึ้นมาเองแล้วให้คนในพื้นที่หรือในชุมชนที่เขาสามารถผลิตตามแบบที่ต้องการได้
จึงมีทั้ง 2 ส่วน แต่พอเปิด
พิพิธภัณฑ์มาได้สักระยะหนึ่งก็มีคนรู้ว่าทำพิพิธภัณฑ์ มีคนเอาชิ้นงานมามอบให้หลากหลายเหมือนกัน
ซึ่งเขาเหล่านั้นก็เป็นนักสะสมเหมือนกันและเมื่อรู้สึกว่าของที่สะสมเริ่มจะ
มีมากขึ้น จึงมองหาสถานที่ที่จะรองรับสิ่งสะสมเหล่านี้ได้
รูป6-7
ภาพจาก
Web Site
http://p.isanook.com/tr/0/ud/203/1015675/img_3031.jpg
http://img.painaidii.com/images/20130710_66_1373448505_39776.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 23-4-58 |
|
จากการออกแบบเองก็ไม่ได้กำหนดลงไปชัดเจนว่าต้องประเภทไหน
เพียงแต่ว่าวันไหนถ้าเกิดไปเจอหรือได้มีโอกาสได้ไปเห็นชาวบ้านหรือผู้ประกอบการที่ไหน
ชุมชนไหน
มีเทคนิควิธีการอะไรต่าง ๆ หรือมีวัฒนธรรมในการคิดในการอ่านที่น่าสนใจ และมีความสอดคล้องสามารถที่จะเชื่อมโยงกับความคิดในเรื่องของงานศิลปะนกฮูกนี้ได้
ก็จะออก
แบบเพื่อให้เขาผลิตขึ้นมา ตัวอย่างเช่น เคยไปออกแบบตัวผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาสินค้าให้กับตำบลอ่างศิลา
จังหวัดชลบุรี ก็คิดว่าตัวครกที่เขาทำอยู่ในการแกะหิน พอถึงระยะหนึ่ง
ในปัจจุบันนี้สังคมเริ่มบริโภคมากไปกว่าความเป็นครกธรรมดาที่เป็นแค่ของใช้
แต่ควรจะมี story มีเรื่องเข้ามากำหนด ก็เลยสร้างโมเดลตัวหนึ่งขึ้นมาเป็นครกนกฮูก
และก็
พยายามที่ผลักดันให้ชาวบ้านทำครกนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะเอามาจำหน่าย ปรากฎว่าชาวบ้านก็ยังไม่เห็นดีเห็นงามด้วย
ทำออกมาได้แค่ชิ้นเดียวก็กลายเป็นว่าครกใบนี้ จึงกลายเป็น
ครกใบเดียวในโลกเลยที่เป็นครกนกฮูกก็นำมาจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
ซึ่งจริง ๆ แล้วน่าเสียดายโอกาสในความเปลี่ยนแปลงหรือในการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ตัวนี้
และก็อีก
ชิ้นงานหนึ่งที่ใช้ความพยายามอย่างมากก็คือ งานฮูกตาโขน ที่เรียกฮูกตาโขนก็เพราะว่า
เมื่อไปเจอช่างที่จังหวัดเชียงใหม่ที่เขาทำงานเปเปอร์มาเช่ หรืองานทำกระดาษทำด้วย
มือ แล้วเขาก็ทำเป็นหน้ากากอัฟฟาริกัน ซึ่งมีสีสรรค์ลวดลายสวยงาม และแต่ละชิ้นออกมาก็ไม่เหมือนกันเลย
จึงมีความคิดเชื่อมโยงว่าถ้าไม่ใช่หน้ากากอัฟฟาริกันแต่ว่านึกไปถึง
ผีตาโขนที่เป็นรากเง่าวัฒนธรรมของบ้านเรา ก็เลยขอให้เขาทำหน้ากากนกฮูกเป็นหน้ากากนกฮูกผีตาโขนขึ้นมา
โดยแต่ละชิ้นงานก็จะกลายเป็นนกฮูกที่มีความเชื่อมโยงกับ
สีสรรค์ของวัฒนธรรมผีตาโขน ซึ่งเวลาที่พ่อแม่และลูกหรือครอบครัวมาเที่ยวกัน
พ่อแม่ก็มีโอกาสได้อธิบายถึงวัฒนธรรมในสิ่งที่เห็นอยู่ในเรื่องของผีตาโขนให้กับลูก
ๆ ฟังได้
ความเชื่อเกี่ยวกับนกฮูก
จากการสังเกตจะรู้สึกว่านกฮูกแฝงไว้ซึ่งความหมายหรือว่ามีนัยสื่อเกี่ยวกับผู้ที่มีความรู้
เป็นผู้ทรงภูมิ เป็นผู้ใหญ่ที่เราสามารถจะเข้าไปถามเรื่องเกี่ยวกับความรู้หรือว่าสิ่ง
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งจะเชื่อในด้านลบ
ก็คือสื่อเป็นเรื่องของโชคไม่ดี โชคร้าย ความตาย อะไรต่าง ๆ หรือเป็นภูตผีปีศาจก็ตาม
แต่พื้นที่ที่เขาจะเชื่อกัน ซึ่งในบ้านเราในเมืองไทยก็เชื่อไปในทางรบเหมือนกัน
โดยเราถูกปลูกฝังกันมาตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย และก็ตั้งแต่ในอดีตมาแล้ว จากที่เคยศึกษามาได้ระยะ
หนึ่งเคยเจอตำราบางตำราเขาพูดถึงว่า ในบ้านเราในเมืองไทยผู้เฒ่าผู้แก่จะหลอกให้เป็นกุสโรบายในการที่จะรักษาชีวิตของนกฮูกไว้
เพราะเขาเห็นว่านกฮูกเป็นสัตว์ที่กินหนู
กินงู เป็นอาหารซึ่งถือว่าเป็นตัวที่เป็นศัตรูพืชในระบบนิเวศและมีจำนวนน้อยที่สำคัญคือในตอนกลางวันนกฮูกทั้งหมดมันจะมีตาฝ้าตาฟาง
ไม่สามารถจะช่วยเหลือตัวเองได้ เพราะ
ฉะนั้นมันก็จะถูกจับและถูกทำร้ายได้ง่ายในตอนกลางวัน ดังนั้นปู่ย่า ตายาย
ก็เลยบอกว่าพวกนี้มันเป็นพวกผีอย่าไปจับอย่าเข้าไปใกล้ ซึ่งเป็นกุสโรบายที่ปกป้องนกฮูก
แต่พอ
นาน ๆ เข้าก็เลยกลายเป็นความเชื่อไปจริง ๆ ว่า นกฮูกเป็นภูตผีปีศาจ และในปัจจุบันก็มีการวิจัยว่าถ้าเอานกฮูกมาใช้ในเรื่องของการกำจัดศัตรูพืชจะอยู่ในระบบนิเวศ
ซึ่งทางภาค
ใต้ก็ใช้จัดหนูได้ต่อตารางกิโลเมตรก็ได้ผลดี จึงเป็นความเชื่อหนึ่งที่พูดถึงว่า
นกฮูกจริง ๆ แล้วถือเป็นสัญลักษณ์ของผู้ทรงความรู้ เป็นสติปัญญา ซึ่งทั่วโลกให้ความเชื่อถือในเรื่อง
นี้ให้สาระในเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราสังเกตุดูไม่ว่าจะเป็นภาพยนต์จากเรื่องไหน
ๆ นกฮูกก็จะเป็นตัวในด้านความดี ในด้านปัญญา สติปัญญา ในด้านที่เป็นผู้ใหญ่ใจดีเสมอ
อย่างชัดเจน ในการ์ตูนก็จะเห็นบ่อย ๆ หรือแม้กระทั่งในภาษาไทยของเรา ฮอ นกฮูกตาโตก็ยังถูกระบุไว้ออกจะน่ารัก
รูป8
ภาพจาก
Web Site
http://f.ptcdn.info/956/027/000/1422611552-DSC05192JP-o.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 23-4-58 |
|
สถานที่ตั้งและการเปิดทำการ
ถ้าต้องการอยากจะไปเที่ยว
อยากจะไปเห็นการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูกก็สามารถไปได้ โดยพิพิธภัณฑ์จะปิดวันจันทร์วันเดียว
ซึ่งจะเปิดทำการวันอังคารถึงวันศุกร์
ตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น ในวันเสาร์ วันอาทิตย์และวันนักขัตฤกษ์
เปิดตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้าถึง 1 ทุ่ม การเดินทางก็เดินทางง่าย ถ้ามาทางนครปฐมก็จะผ่านอำเภอ
นครชัยศรี เมื่อแวะเข้าไปทางนครชัยศรีแล้วก็จะไปบรรจบกับที่ตลาดท่านา แล้วก็ข้ามแม่น้ำไปประมาณ
400 เมตร ก็จะเจอพิพิธภัณฑ์ที่นั่น หรือจะสอบถามเส้นทางได้ที่
034 339 721 ก็ได้ ซึ่งเราจะเห็นได้นกฮูกนั้นฉลาดกว่าที่เราคิด และก็มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศในธรรมชาติมากจริง
ๆ วันไหนที่มีเวลาว่างก็สามารถพาครอบครัวแวะไปเที่ยว
ชมกันได้ตามวันและเวลาที่กล่าวข้างต้น.
นางสาวเยาวลักษณ์ ศิริสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2555)
|