วี ของชาวไทดำ
    โดย...นางสาวกานต์ทิตา  สีหมากสุก
อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
อีเมล์ : kanthitalove@gmail.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)

 

          ในช่วงอากาศร้อน สิ่งที่ช่วยบรรเทาความร้อนจากอากาศที่คนทุกเพศทุกวัยนิยมใช้ในเบื้องต้น เห็นจะไม่พ้น “พัด” ที่ใช้มือช่วยจับโบกกระพือไปมาในอากาศ ทำให้เกิดการ
เคลื่อนไหวมีลมพัดเกิดขึ้นน้อยๆ ซึ่งชาวไทดำในประเทศไทย เรียกสิ่งที่ช่วยในการพัดโบกให้เกิดการเคลื่อนไหวของลมนี้ว่า “วี”
          วี หรือ พัดของชาวไทดำ มี 3 ชนิด ซึ่งในการนำมาใช้ มิใช่ว่าต้องการจะใช้ก็สามารถเลือกหยิบเอาชนิดใดมาใช้ตามใจชอบได้ หากต้องใช้ให้ถูกต้องตามโอกาสและสถาน
ภาพของผู้ที่จะใช้ด้วย ซึ่ง วี ทั้ง 3 ชนิด มีดังนี้
          1. วี ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถใช้ได้กับคนทั่วไปได้ทั้งหมด นำมาใช้พัดเพื่อคลายความร้อนทั่วไป มีขนาดกว้างประมาณ 20 x 40 เซนติเมตร ยาวประมาณ
50 เซนติเมตร เป็นพัดที่ทำมาจากตอกไม้ไผ่ สานให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู นำมาเย็บติดกับด้ามจับที่ทำมาจากลำไม้ไผ่เล็กๆ
          2. วี ใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แทนขวัญของเด็กแรกเกิด ซึ่งมีรูปร่างเหมือนกับ วี ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก
          3. วี สำหรับหมอผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ใช้พัดโบกไปมาขณะที่กล่าวคำเสน เช่น พิธีเสนเรือน พิธีเสนอานปาง เสนเต็ง เป็นต้น ซึ่งวีจะเปรียบเสมือนครูของหมอ ถือเป็น
ของชั้นสูงที่ห้ามนำมาใช้พัดเล่นได้โดยทั่วไป ต้องใช้เฉพาะเมื่อประกอบพิธีกรรมเท่านั้นโดยแยกเป็น
               3.1 วี (สำหรับพ่อมด) ทำมาจากตอกไม้ไผ่สานให้เป็นรูปคล้ายกับใบโพธิ์ ตกแต่งด้วยเส้นไหมสีต่างๆ ที่นำมาเย็บติดริมไว้โดยรอบ มีด้ามที่ทำมาจากกิ่งไม้เหลาให้มี
ลักษณะงอๆ และนำปลายด้านหนึ่งมาเสียบไว้ตรงกลาง
               3.2 วี (สำหรับแม่มด) ทำมาจากไม้ไผ่และหุ้มด้วยผ้าสีต่างๆ เป็นพัดธรรมดาแบบที่คนไทยทั่วไปใช้
               3.3 วี (สำหรับหมอเสน) มีรูปร่างที่ถูกตกแต่งพิเศษ โดยทำมาจากขนนก 3 ชนิด ได้แก่ นกเค้าแมว นกยูง และนกเงือกหรือ นก-กก โดยเลือกชนิดใดชนิดหนึ่งในสาม
ประเภทที่กำหนดหรือจะใช้ขนนกทั้งสามชนิดมาประกอบในพัดหนึ่งก็ได้

วี ใช้ในชีวิตประจำวัน
วี สำหรับพ่อมด
วี สำหรับหมอเสน

          เมื่อชาวไทดำได้มีการกำหนดชนิดของวีไว้ตามหน้าที่การใช้งานแล้ว บุคคลที่ไม่ใช้หมอผู้นำในพิธีกรรม จึงไม่สามารถที่จะหยิบวีของหมอมาใช้พัดเพื่อใช้คลายร้อนได้
หากนำมาใช้จะเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง และเชื่อว่าอาจจะถูกครูของหมอลงโทษได้ และแม้กระทั่งตัวของหมอผู้นำในพิธีกรรมก็ไม่สามารถที่จะหยิบวีสำหรับประกอบพิธี
กรรมมาใช้พัดเล่นพัดเพื่อคลายร้อนทั่วไปได้เช่นกัน
          สรุป วีหรือพัดของชาวไทดำ ได้ มีการกำหนดรูปแบบของวีแต่ละชนิดไว้อย่างเป็นระบบ มาตรฐาน มีการใช้งานตามชนิดของพัดในแต่ละหน้าที่และตามสถานภาพของ
บุคคลด้วย วีจำเป็นทั้งของใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นเครื่องแสดงสถานภาพของคนผู้นั้นว่าเป็น พ่อมด แม่มดและหมอเสน

ภาพจาก Web Site
ภาพ แม่มดใช้วีสำหรับแม่มด พัดโบกในขณะประกอบพิธีเสนเต็ง

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-4-58



เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

ธิดา ชมพูนิช. (2539). การศึกษาศิลปหัตถกรรมไทยโซ่งในจังหวัดนครปฐม. นครปฐม : สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครปฐม.
นุกูล ชมภูนิช. (2530). วัฒนธรรมไทยโซ่งหมู่บ้านเกาะแรต ตำบลบางปลา อำเภอบางเลน
จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูนครปฐม.
สุมิตร ปิติพัฒน์. (2545). ศาสนาและความเชื่อไทดำในสิบสองจุไท สาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญมี ปาริชาติธนกุล. (2546). ความเชื่อเรื่องผีในพิธีกรรมของชาวไทยโซ่งบ้านไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาไทยศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.