แก่อย่างมีค่า...ชราอย่างมีสุข
โดย...รศ.หวล   พินธุพันธ์
กรรมการชมรมผู้อาวุโสเทพสตรี

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2555)

          พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ชราปทุขา แปลว่าความแก่เป็นทุกข์ ปฐมเหตุแห่งความทุกข์ เพราะว่าเมื่อมีเกิด จึงมีแก่ และปัญาที่ตามมาจากความแก่ คือ ความเหงา ความเศร้า
ความว้าเหว่ และโดยทั่วไปแล้วผู้สูงอายุจะมีอุปนิสัยที่เปลี่ยนไปด้วย จะมีอารมณ์ที่หงุดหงิดง่ายมากขึ้น โมโหง่าย ถูกกระทบกระเทือนอะไรไม่ค่อยได้ แต่ว่าเราก็หนีความแก่กัน
ไม่พ้น เราจึงต้องมีวิธีเผชิญกับความแก่อย่างไร สำหรับการที่จะดูแลเรื่องของสุขภาพในช่วงวัยของผู้สูงอายุ
          รศ. หวล พินธุพันธ์ กรรมการชมรมผู้อาวุโสเทพสตรี และอดีตเลขานุการและประชาสัมพันธ์ชมรมผู้สูงอายุมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ ซึ่งมีอายุ 76 ปี ยังมีสุขภาพ
แข็งแรงสามารถเดินเหินได้อย่างกระฉับกระเฉงไม่มีอาการหอบหรือเหนื่อย ท่านมีการเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับการที่ท่านจะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ด้วยการต้องยอมรับ
สภาพว่าเรามีอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะเริ่มไม่แข็งแรง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็สึกหรอไป มีปวดเมื่อยบ้าง ระบบย่อยอาหารไม่ดีบ้าง หน้าเริ่มเหี่ยวย่นบ้าง มีผมหงอก ซึ่งก็ต้องยอม
รับสภาพว่าเราต้องเจอสิ่งเหล่านี้และก็จะเจออยู่เรื่อย ๆ ทุกวัน ด้วยมันเป็นวัฏจักรของชีวิต
          ซึ่งก่อนหน้าที่ท่านจะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุท่านก็ไม่ค่อยได้เตรียมการอะไร แต่พอท่านเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่ มศว. บางเขน ก็ต้องยอมรับสภาพตัวเอง แต่
ก็ยังมีงานทำอยู่เรื่อย ๆ เป็นกรรมการบ้าง ไปช่วยสอนหนังสือบ้าง ไปทำงานเป็นกรรมการชมรม กรรมการโครงการสารานุกรมศึกษาศาสตร์ที่ มศว. ประสานมิตร ซึ่งท่านไม่ได้
ปล่อยให้ตัวเองอยู่ว่าง ๆ หรืออยู่เฉย ๆ จะมีตารางการทำงานอาจจะเบาบางลงกว่าเมื่อตอนยังไม่เกษียณ คือรับทำงานเท่าที่พอจะรับได้ ไม่หักโหมจนเกินไป ถือเป็นเทคนิคหรือ
วิธีการดูแลสุขภาพร่างกายรวมถึงจิตใจของผู้ที่มีอายุมากขึ้น ให้มีความสดชื่นแจ่มใส


ภาพจาก Web Site
http://1.bp.blogspot.com/-jBaoR0cq2uw/U7oskRYCDfI/AAAAAAAAArk/i-sNsZLoBdc/s1600/a-582.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-5-58

การดูแลเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย
          การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ ทางด้านร่างกายจะควบคุมเรื่องอาหาร เช่น ทานผักผลไม้มาก ๆ เนื้อสัตว์ประเภทปลาที่ย่อยง่าย ๆ เรื่องอาหารนี้เป็นเรื่องสำคัญ
หมั่นไปตรวจสุขภาพประจำปี หรือถ้าหมอนัดก็ต้องไปตามนัด และเดินออกกำลังกาย ซึ่งท่านจะมาเดินออกกำลังกายเป็นประจำที่ในบริเวณมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่ง
ท่านจะเดิน 1 รอบประมาณ 2 กิโล ในระยะเวลาประมาณ 20 นาที มักจะมาเดินในช่วงเวลาตอนเย็นอย่างสม่ำเสมอแทบทุกวัน นอกจากมีถ้ามีงานอื่นต้องไปข้างนอกบ้างอะไร
บ้าง หรือบางวันก็ไปเดินที่สวนสมเด็จ ซึ่งที่ มสธ. นี่ใกล้ ๆ บ้านไม่ไปไกล การออกกำลังกายนี้สมมุติว่าถ้าเราไม่มาเดิน เช่น ฝนตก ก็อยู่บ้านใช้วิธีแกว่งแขนก็ได้ ยืนกางขาเล็ก
น้อยแล้วก็แกว่งแขนสัก 200 – 300 ครั้ง นี่เป็นทางด้านร่างกาย
          ทางด้านจิตใจก็จะพยายามยิ้มแย้มแจ่มใสกับผู้คนรอบข้าง ไม่โกรธง่าย ทำตัวให้สดชื่นรื่นเริง มีโอกาสก็ไปทำสมาธิกับองค์กรต่าง ๆ ที่เขาจัดขึ้น เรื่องการทำสมาธิเป็นสิ่ง
ที่ดีจะทำให้เรามีใจสบาย ผ่อนคลาย สดชื่น การทำสมาธิแล้วจะทำให้ใจเราสบาย ๆ ร่างกายจะหลั่งสารชนิดหนึ่งขึ้นมาเป็นสารมีความสุข จึงเห็นว่าเรื่องการทำสมาธิเป็นเรื่องที่น่า
ทำสม่ำเสมอ แต่ถ้าเราไม่สะดวกจะเดินทางไปในสถานที่เขาจัดในองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถทำเองที่บ้านก็ได้เพราะจะทราบวิธีการทำสมาธิอยู่บ้างแล้ว


ภาพจาก Web Site
http://www.adsthai.net/Admin/Showimg.asp?pMode=3&ID=13&pID=2
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-5-58

เทคโนโลยีกับผู้สูงอายุ
          ในโลกปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยี มีความรู้ มีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เรื่องเหล่านี้ผู้สูงอายุก็ควรจะปฏิบัติหรือเรียนรู้ควบคู่กันไปด้วย คือ ควรจะพยายามตามให้ทัน อย่าง
เช่น เทคโนโลยีสมัยใหม่เดี๋ยวนี้มีคอมพิวเตอร์แล้ว ผู้สูงอายุก็น่าจะฝึกใช้คอมพิวเตอร์บ้าง เพราะลูกหลานเขาก็เป็นคอมพิวเตอร์กันทุกคน ของบ้านส่วนใหญ่ในสังคมคนชนชั้น
กลางก็จะมีคอมพิวเตอร์ของลูกหลาน ซึ่งของตัวเองยังไม่มีก็ไม่เป็นไรก็ไปใช้ของลูกหลานได้ น่าจะฝึกใช้ Internet ด้วยก็ยิ่งดีใหญ่ ส่ง e-mail ค้นคว้าหาข้อมูลทาง Internet
อะไรทำนองนี้ ซึ่งมีอยู่หลากหลายมากมาย ซึ่งก่อนที่ท่านจะเกษียณก็ได้มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ บ้างนิด ๆ หน่อย ๆ ยังไม่ค่อยจะรู้เท่าไหร่ แต่พอหลังเกษียณแล้วก็มานั่งศึกษา
เนื่องจากอยู่บ้านกัน 2 คนกับภรรยา ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ไม่รู้จะถามใคร ก็จะโทรศัพท์ไปถามลูก เขาอธิบายเราก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องเท่าไหร่ ก็ต้องรอให้ลูกมาก่อนจึงจะ
ถาม ซึ่งก็สามารถจะถามจากลูก ๆ หลาน ๆ ได้ คือ มาทีก็ถามที และเพื่อน ๆ ที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกันก็มีสังคมประเภทนี้เหมือนกันส่วนหนึ่ง ก็จะมีการส่ง e-mail บ้าง Facebook
ถึงกันก็มีบ้าง

ประสบการณ์
          ความรู้หรือประสบการณ์ที่เป็นตัวอย่างสำหรับคนรุ่นท่านไปสู่คนรุ่นต่อ ๆ ไป ที่ท่านเคยทำอยู่ เช่น เขียนบทความ เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่องการทำสมาธิมีประโยชน์อย่างไร
เรื่องการรักษาสุขภาพร่างกาย แล้วนำไปขึ้น Webside ที่ท่านทำอยู่ใน Webside ของ มศว. บทความก็ขึ้นบน Webside หนังสือที่เขียนอยู่ก็จะส่งให้ไปขึ้น Webside ของ
มหาวิทยาลัย เรื่องของบทความก็มี บทความเรื่องฝึกสมาธิได้ประโยชน์อย่างไร

การดูแลโรคภัยไข้เจ็บการรักษาและการป้องกัน
          เรื่องของการดูแลโรคภัยไข้เจ็บหรือการป้องกันซึ่งท่านมีโรคประจำตัวบ้างเล็กน้อย สิ่งที่เป็นประจำก็เรื่องเกี่ยวกับท้อง เช่น ปวดท้อง ไปหาหมอ ๆ บอกว่าร่างกายหลั่งกรด
ออกมาเวลาท้องว่างก็จะมีกรดออกมามาก บอกให้ทานอาหารให้ตรงเวลา ต้องรับประทานยาลดกรด และมีต่อมลูกหมากก็เป็นนิดหน่อย
          ในเรื่องของอาหารของผู้สูงอายุควรจะรับประทานให้ครบ 3 มื้อ ยิ่งถ้าเป็นโรคกระเพาะ เป็นโรคกรด ต้องรับประทานอาหารให้ตรงเวลาตามปกติ ซึ่งท่านจะเป็นคนทาน
อาหารตรงเวลาและไม่ใช่เฉพาะ 3 มื้อเท่านั้น ท่านจะมีมื้อย่อย ๆ ตอนสายถ้ารู้สึกปวดท้องก็ทานเล็กน้อยเมื่อทานเข้าไปก็จะหายปวดท้อง ตอนบ่าย และก็ตอนค่ำประมาณ 2 ทุ่ม
ก็ทานนิดหน่อยไม่ทานมาก ซึ่งท่านเป็นคนทานไม่มากอยู่แล้ว อาหารตอนค่ำจะเป็นพวกนมกล่อง นมจืด ไวตามิ้น นมถั่วเหลือง
          เรียกว่าเราใช้ชีวิตตรงตามหลักสุขศึกษาที่เป็นวิชาเรียนมาสมัยก่อนตอนเป็นเด็ก ๆ ชั้นประถมเราจะเรียนวิชาสุขศึกษา ก็คือการรับประทานอาหารให้เหมาะสมตามช่วงอายุ
ถือเป็นหลักปฏิบัติง่าย ๆ แต่ว่าบางทีเราอาจจะลืม เพราะสมัยก่อนเราเรียนสุขศึกษาเราก็เรียนแบบท่องจำไปแล้วก็ไปทำตอบข้อสอบ ซึ่งความจริงเราสามารถนำมาใช้ได้อย่างดี


ภาพจาก Web Site
http://guru.sanook.com/picfront/pedia/resize_590__09032007112144.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-5-58

คำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่เป็นผู้สูงอายุ
          สำหรับผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่เป็นผู้สูงอายุหรือว่าสำหรับครอบครัวที่ต้องดูและผู้สูงอายุ เรื่องของอาหารถือเป็นหลักสากลก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุก็ดี หรือคนหนุ่มคนสาว
ก็ดี จะต้องระมัดระวังเรื่องของอาหาร ต้องมีการออกกำลังกายด้วย และต้องทำจิตใจให้ผ่องใสร่าเริง ถือเป็นเรื่องที่สำคัญทั้ง 3 เรื่องที่ทุกคนต้องมี ยิ่งผู้สูงอายุยิ่งจำเป็น ต้อง
ควบคุมเรื่องอาหาร ทานผักผลไม้มาก ๆ มีการออกกำลังกาย ไม่ใช่นั่งจับเจ่าอยู่ที่บ้าน แกว่งแขนบ้าง ออกไปเดินบ้าง หรือเก็บใบไม้ก็ได้ เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ จิตใจ
ก็ต้องสำคัญไม่โกรธง่าย โมโหง่าย ไม่จู้จี้ขี้บ่น ถือเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุมักจะจู้จี้ขี้บ่น ต้องพยายามปรับเรื่องนี้ให้ได้จะดีมาก และหมั่นตรวจสุขภาพ เดี๋ยวนี้
เขามีสตรีวัยทอง ชายวัยทองแล้ว จะดูแลเฉพาะเรื่องนี้ เวลาไปตรวจสุขภาพเขาจะตรวจให้ทุกอย่าง และมักจะเป็นอะไรก็ให้ยามา ควรมีการติดตามข่าวสาร ทางวิทยุ โทรทัศน์
มีรายการดี ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ เดี๋ยวนี้คนส่วนใหญ่มักไปฟังเพลง ไปดูละคร ไปบันเทิงกันเสียส่วนมาก ความจริงรายการดีที่มีประโยชน์อย่างของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ทำ ก็มีประโยชน์มากมายเหลือเกิน เพราะว่าคนที่ติดตามเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่เราดูในโทรทัศน์ ฟังวิทยุ ไม่ใช่เอาแต่บันเทิงอย่างเดียว และก็พยายามอ่านหนังสือ อ่านบทความ
ที่เกี่ยวกับสุขภาพพลานามัย เกี่ยวกับธรรมะ หรือถ้าเป็นไปได้ก็เข้าสมัครเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งเดี๋ยวนี้มีเยอะมาก ทุกตำบล ในหมู่บ้านจัดสรรก็มีร่วมกันเป็นกลุ่ม ๆ ก็ไป
สมัครเข้าร่วมกิจกรรมกับเขา โดยเขาก็จะเชิญวิทยากรมาบรรยายบ้าง เรื่องของการออกกำลังบ้าง พาไปทัศนะศึกษาบ้าง ก็ผ่อนคลายทำให้ตัวเรามีความสุขขึ้น หรือแม้กระทั่ง
เลี้ยงสุนัข เลี้ยงแมว ก็มีประโยชน์ ทำให้เพลิดเพลิน ให้อาหารนก อาหารหมา แมว จรจัด ทำแล้วสบายใจ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่น่าทำ และก็ฝึกใช้คอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นไปได้ก็เป็น
อาสาสมัครช่วยเหลือชุมชนในหมู่บ้าน ซึ่งการเป็นอาสาสมัครทำอะไรก็ตามล้วนมีประโยชน์ ซึ่งส่วนใหญ่บางคนอาจจะคิดว่าอายุมากแล้วจะไปอาสาสมัครทำอะไรจะได้ประโยชน์
หรือ ตัวอย่างเช่น มีผู้สูงอายุท่านหนึ่งเดินเก็บเศษขยะอยู่หน้าบริเวณมหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นประจำ นี่ก็ถือว่าเป็นอาสาสมัครแบบง่าย ๆ คือสมัครใจทำเอง หรือไปเข้า
ร่วมกับชมรมอะไรก็ได้ยิ่งดีใหญ่
          เรื่องของการพักผ่อน บางทีจะได้ยินเสียงบ่นว่านอนไม่ค่อยหลับสำหรับผู้สูงอายุ ตื่นก็แต่เช้า ตื่นเช้าเกินไปตั้งแต่ตี 3 ตี 4 สมมุติว่าถ้าเรานอนไม่หลับ คือ ผู้สูงอายุมักจะมี
เรื่องของการนอนไม่หลับ เมื่อนอนไม่หลับก็ควรจะทำสมาธิเสีย เดี๋ยวง่วงก็หลับไปเองโดยทำสมาธิวิธีง่าย ๆ ถ้าไปฝึกที่วัด ฝึกตามหน่วยงานองค์กรที่เขาจัดทำ ที่มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราชก็เคยจัด ซึ่งท่านก็เคยมาเข้าร่วมก็ยิ่งดี แต่ถ้ายังไม่รู้วิธีก็ใช้วิธีนับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 นับไปเรื่อย ๆ ก็ได้ ให้ใจเราหยุดนิ่งจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เดี๋ยวก็จะหลับไปเอง เพราะบางทีคนที่นอนไม่หลับเอาแต่คิดกังวล คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ คิดว่าลูกเราไม่มาเยี่ยมสักที ความจริงน่าจะทำใจนะว่าลูกเขาก็มีภาระเขาต้องทำงาน บาง
ทีก็น้อยใจก็มาคิด คิดแต่เรื่องความหลัง ก็เลยทำให้นอนไม่หลับ ก็อย่าไปคิดฟุ้งซ่านเหล่านั้น สู้มาคิดเรื่องเดียวดีกว่า ทำวินาทีปัจจุบันให้เราสบายใจเดี๋ยวก็หลับไปเอง ถึงแม้ว่า
ใครก็ตามที่ยังไม่เป็นผู้สูงอายุ แต่อาจจะมีผู้สูงอายุอยู่ในครอบครัวของคุณ สามารถนำแนวคิดของท่านที่ให้ไว้น่าจะนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันอย่างมีประโยชน์มากทีเดียว


ภาพจาก Web Site
http://www.health4win.com/private_folder/Furn/p/work4/ef.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-5-58

วันผู้สูงอายุแห่งชาติ
          แม้จะเป็นวัยที่หลายคนนิยามว่า เป็นไม้ใกล้ฝั่ง แต่ผู้สูงอายุทั้งหลายคือผู้สร้างประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองมานับไม่ถ้วนแล้ว หรืออย่างน้อย ๆ ก็เป็นหนึ่งในผู้มีพระคุณของ
ครอบครัวที่เราจะละเลยเสียไม่ได้ อีกทั้งผู้สูงอายุยังนับเป็นประชากรที่มีสัดส่วนมากถึง 3 ใน 5 ของประชากรโลก ด้วยเหตุนี้ทั่วโลกจึงพากันรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ
ด้วยการกำหนดวันผู้สูงอายุประหนึ่งเป็นเครื่องเตือนใจให้บรรดาลูกหลานทั้งหลาย หันมามองและเอาใจใส่บุคคลเหล่านั้นที่เป็นคนใกล้ตัว สำหรับประเทศไทยวันผู้สูงอายุถูกผูกรวม
ไว้กับวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์ ตรงกับที่วันที่ 13 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่านอกจากจะทำบุญ ตักบาตรในช่วงเช้าตามวิถีชาวพุทธแล้ว กิจกรรมสำคัญอันดับต้น
ของวันก็คือ การรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือนั่นเอง ประเทยไทยเริ่มจุดประกายเรื่องนี้ในสมัยของจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการกำหนด
นโยบายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข และได้มอบให้ กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งสถานสงเคราะห์
คนชราบ้านบางแคเป็นแห่งแรก ในปีพุทธศักราช 2496 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
          1. เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อน ยากจน ไม่มีที่อยู่อาศัย หรือไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้
          2. เพื่อให้บริการแก่ผู้สูงอายุที่อยู่กับครอบครัวของตน แต่มีความต้องการบริการสงเคราะห์คนชราบางอย่าง เช่น การรักษาพยาบาล กายภาพบำบัด นันทนาการ
          3. เพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัวผู้มีรายได้น้อยหรือยากจน ที่ไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูคนชราไว้ในครอบครัวได้
          4. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมอันเกี่ยวกับคนชราไม่ให้เร่ร่อนทำความเดือดร้อนรำคาญแก่สังคม และให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างผาสุกตามสมควรแก่อัตภาพ
          5. เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีที่ผู้สูงอายุได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และท้ายสุดเพื่อผู้สูงอายุจะได้คลายวิตกกังวล เมื่อชราภาพไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไป
ได้แล้ว ทางรัฐบาลจะมีหน้าที่เลี้ยงดูอุปการะเลี้ยงดูต่อไป
          ในส่วนของรัฐบาลไทยสมัยนั้นซึ่งตรงกับรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ก็ได้เห็นความสำคัญต่อนโยบายดังกล่าว โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม
2525 อนุมัติให้ วันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ แล้วกำหนดให้ดอกลำดวนเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา.



   นางสาวเยาวลักษณ์  ศิริสุวรรณ    ผู้เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2555)