หนังสือเสียงระบบ DAISY (Digital Accessible Information System
DSS Center
ฝ่ายแนะแนวการศึกษา
สำนักบริการการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หนังสือเสียง ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักแสดงในรูปแบบซีดี ระบบ DAISY มีคุณลักษณะเหมือนหนังสือ แต่อยู่ในรูปของ แผ่นซีดี ได้รับความนิยม เพราะสามารถใส่ดรรชนีไว้ในเนื้อหาส่วนต่างๆได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็นในการใช้งาน ส่งผลให้ผู้ฟังค้นหาและเลือกฟังเนื้อหาส่วนต่างๆที่อาจอ่านค้างไว้ เช่น หน้า ย่อหน้า หรือ ที่คั่นหน้าของหนังสือเสียงได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟท์แวร์ที่ใช้เปิดอ่าน เช่น TAB Player TPB reader เป็นต้น หรือ ใช้กับเครื่องอ่านผ่านซีดีระบบเดซี โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถพกพาไปได้ เช่น Plextalk( สหรัฐอเมริกา) VICTOR(แคนาดา) เป็นต้น (ปัจจุบัน เครื่องอ่านเดซียังไม่มีจำหน่ายแพร่หลาย แต่อาจสั่งซื้อได้จากสหกรณ์สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย) แต่ DAISY เป็นสื่อมัลติมีเดียมาตรฐาน ที่สามารถนำเทคโนโลยีมาแสดงภาพ ข้อความ เสียงบรรยาย การค้นหาข้อมูลที่ต้องการ รวมทั้งการแนบไฟล์วิดีโอ หรือ ภาพแอนนิเมชั่น ในอนาคต ผู้ใช้สามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการทั้งในแนวตั้งและแนวระนาบ ซึ่งแตกต่างจากเทปเสียงที่สามารถค้นหาได้ตามแนวระนาบอย่างเดียว
มาตรฐาน DAISY เป็นแอพพลิเคชั่นของ XHTML, XML, และสื่อมัลติมีเดีย (SMIL) โดยใช้ XML
หนังสือเสียงเดซีจัดอยู่ในกลุ่มของเอกสารเสียง (DTB : Digital Talking Book) ซึ่งมีหลายลักษณะ ได้แก่
1.หนังสือเสียงที่มีเฉพาะหัวข้อเรื่อง (Full audio with Title element only) เป็นหนังสือเสียงที่ไม่มีโครงสร้างการค้นหา มีเฉพาะชื่อเรื่องเท่านั้นที่เป็นข้อความ เนื้อหาเอกสารจะมีลักษณะเป็น Linear audio เท่านั้น ไม่สามารถค้นหาเนื้อหาในเฉพาะส่วนที่ต้องการด้วย
2.หนังสือเสียงที่มีโครงสร้างการค้นหา (NCC or NCX only) เป็นหนังสือเสียงที่มีโครงสร้างสำหรับการค้นหา โดยโครงสร้างมีลักษณะ 2 มิติ ประกอบด้วยลำดับ (Sequential) และการค้นหาตามลำดับชั้น (hierarchical) หนังสือบางรายการสามารถค้นหาตามหน้าเอกสารได้ (หมายเหตุ-ตัวอย่างเอกสารเสียงลักษณะนี้สามารถดูตัวอย่างได้ที่มูลนิธิราชสุดา สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ทัณฑสถานหญิงกลางคลองเปรม )
3.หนังสือเสียงที่มีโครงสร้างการค้นหาและมีข้อความบางส่วน (Full audio with Navigation Center and Partial Text) เป็นหนังสือเสียงที่มีโครงสร้างเช่นเดียวกับข้อ 2 โดยกำหนดดรรชนี (Index) และคำค้น (Keyword) ข้อความที่บรรจุไว้จะแสดง ก็ต่อเมื่อกำหนดคำค้นหรือคำที่ตรงกันไปปรากฎในเอกสาร เช่น ดรรชนี ปทานุกรมศัพท์ อ้างอิง เป็นต้น เสียงและข้อความที่ปรากฎจะต้องสอดคล้องกัน (Synchronized) (หรือประสานเวลาเดียวกัน)
4.หนังสือเสียงและข้อความเต็มรูป (Full audio and Full text) เป็นหนังสือเสียงที่มีโครงสร้าง มีข้อความและข้อมูลเสียงเต็มรูปข้อความและเสียงสอดคล้องกัน หนังสือ รูปแบบนี้สามารถแปลงเป็นอักษรเบลล์ได้
5.หนังสือข้อความเต็มรูปและเสียงบางส่วน (Full text and some audio) เป็นหนังสือ DTB ที่มีโครงสร้าง ข้อความเต็มรูป และมีข้อมูลเสียงในบางส่วนที่จำเป็น DTB ลักษณะนี้อาจจะใช้เป็นพจนานุกรมเพื่อให้ข้อมูล เช่นการออกเสียง สะกดคำ ซึ่งจะเป็นข้อความเสียง รูปแบบนี้ก็จะต้องมีการ Link ข้อความเสียงและข้อความเช่นกัน
6.หนังสือเต็มรูปไม่มีเสียง (Text and no audio) เป็นหนังสือ DTB ที่มีโครงสร้างการค้นหาเหมือน NCC และการกำหนดส่วนที่จำเป็น (Mark up) เป็น e-text ที่ไม่มี audio หนังสือนี้สามารถใช้ในการผลิต Braille
ข้อดีของหนังสือเสียง Daisy DTBS
Daisy จะมีประโยชน์ที่สำคัญ ดังนี้
1.การสืบค้น (Global and local navigation) ผู้ใช้งานสามารถสืบค้นข้อมูลทั้งจากภายในตัวเอกสาร ณ จุดที่ต้องการอ่าน หรือจากภายนอกเอกสาร เพื่อค้นหาเนื้อหาส่วนที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
2. การบูรณาการสื่อมัลติมีเดีย ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อความและรูปภาพในหนังสือในขณะที่กำลังฟังเสียงบรรยาย ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากเทปเสียง หรือ สื่อสิ่งพิมพ์แบบเดิม (อักษรเบลล์)
3.ทางเลือกในการเลือกใช้สื่อ เอกสารเสียงเดซีสามารถใช้งานกับเครื่องเล่นหลายชนิด (Play Back) รวมทั้งสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ ผ่านซอฟแวร์หลายชนิด และเครื่องเล่นบางชนิดสามารถนำติดตัวผู้ใช้งานไปได้ทุกหนแห่ง
กระบวนการการผลิตหนังสือเสียงเดซีโดยสังเขป
การผลิตหนังสือเสียงเดซี จะดำเนินการผลิต ผ่านซอฟแวร์โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง เช่น Sigtuna DAR3, MyStudioPC , Daisy Validator , Bruno หรือ LPStudioPro และมีโปรแกรมสำหรับการใช้งานงหรือการฟัง(Play Back) เช่น TAB player หรือ TPB เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 1 จัดทำเอกสารหลัก (Source Document) - นำเอกสารที่เป็นแฟ้มข้อมูล (*.txt, *.doc) จัดทำเป็นเอกสาร XHTML - บันทึกแฟ้มข้อมูลเสียง (*.wav) (*สามารถบันทึกในโปรแกรม Sigtuna DAR3 ได้ทันที หากจัดทำเป็น NCC only ดูขั้นตอนที่ 7)
ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลัก (Validation#1) ใช้ Software Program - Daisy Validator
ขั้นตอนที่ 3 จัดทำโครงงาน (Project) จัดทำกลุ่ม File Daisy2.02 ด้วยBruno (Software)
ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบความถูกต้องของโครงงานก่อนบันทึก (Validation#2)
ขั้นตอนที่ 5 กระบวนการบันทึก (Recording Setting) กำหนดค่าและจัดทำแฟ้มข้อมูล (Synchronized Book) ด้วย Sigtuna DAR3
ขั้นตอนที่ 6 กระบวนการบันทึกและตัดต่อเสียง (Calibration & Mixer Settings) ปรับระดับเสียง ทดสอบการบันทึก ตรวจสอบคุณภาพ ความชัดเจน ของระดับเสียง ( +3 ถึง -6 )
ขั้นตอนที่ 7 การบันทึกโดยตรง (Direct Recording)
การบันทึกเสียงอาจทำได้หลายวิธี
-การบันทึกเสียงล่วงหน้าและ Import file
-การบันทึกเสียงในช่วงเหตุการณ์ (events) ที่กำหนดจากเอกสารหลัก( Source Document)โดยการบันทึกโดยตรงจาก Microphone ซึ่งจะต้องใช้ห้องบันทึกเสียงที่มี Software จะได้เสียงที่ชัดเจน ควบคุมระดับเสียงได้เป็นมาตรฐาน และลดขั้นตอนในตัดต่อเสียง
(* ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการจัดทำเอกสาร DTB เพราะเกี่ยวข้องกับคุณภาพของเอกสาร)
ขั้นตอนที่ 8 บรรณาธิกรณ์ (editing) เอกสาร DTB ที่มีลักษณะเป็น Full Text จะต้องมีการจัดการเอกสารบางรายการเช่นการแทรกรูปภาพก่อนเสียงบรรยาย เป็นต้น การกำหนด mark up จัดย่อหน้า เลขหน้า กิจกรรมทุกรายการที่จัดทำตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 - 7 จะต้องผ่านการจัดการ ตรวจสอบ ตัดต่อ ให้เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 9 การลบแฟ้มข้อมูล (Clean Up) แฟ้มเอกสารมีขนาดใหญ่มากเนื่องจากเป็นแฟ้มข้อความเสียง หากมีการตัดต่อจะมีแฟ้มส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ใช้งาน และ จะต้องทำการลบแฟ้มข้อมูลเพื่อให้มีขนาดเล็กลง ก่อนทำการบีบอัดแฟ้มข้อมูล
ขั้นตอนที่ 10 การกำหนดรายละเอียดข้อมูลบรรณานุกรมของเอกสาร (Bibliographic Information or Meta Data) เป็นข้อมูลที่เป็นส่วนสำคัญที่จะบอกความเป็นเจ้าของหนังสือ เช่น ผู้แต่ง วัน เดือน ปี ISBN คำสำคัญ Version ของ Daisy เป็นต้น หากไม่ระบุรายละเอียดดังกล่าว เอกสาร Daisy อาจไม่ผ่านการ Validate และไม่สามารถอ่านโดยเครื่องเล่นหรือ Software บางโปรแกรม
ขั้นตอนที่ 11 การตรวจสอบคุณภาพ (QA Player) ก่อนที่จะมีการบีบอัดแฟ้มข้อมูลจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพค่า การประสานเวลา (Synchronize) ข้อมูลต่าง ๆ มีความถูกต้องสัมพันธ์กัน
ขั้นตอนที่ 12 การตรวจสอบ (Validation#3) เอกสารก่อนการบันทึก ต้องมีการตรวจสอบเอกสารที่จัดทำก่อนการบีบอัดข้อมูล โดยตรวจสอบการประสานเวลา และ การ mark up Meta Data
ขั้นตอนที่ 13 การบีบอัดแฟ้มข้อมูลเสียง (Audio Compression) แปลงแฟ้มข้อมูลเสียง *.wav เป็นแฟ้มข้อมูล MP3
ขั้นตอนที่ 14 การตรวจสอบ (Validation #4 ) เอกสารก่อนการเผยแพร่ เป็นการตรวจสอบครั้งสุดท้ายเพื่อตรวจสอบว่ากระบวนการจัดทำเอกสารทุกขั้นตอนไม่มีข้อผิดพลาด เอกสารเดซีที่สมบูรณ์ จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูล 3 ชนิด คือ *.html *.mp3 ,*.smil
ในปัจจุบัน การตัดต่อและบันทึกเสียงให้เป็นหนังสือเสียงเดซีในรูปแบบของ หนังสือเสียงและข้อความเต็มรูป (Full audio and Full text) ยังต้องกระทำโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ หรือชำนาญเกี่ยวกับโปรแกรมการผลิตหนังสือเสียง แต่ ในปัจจุบัน การจัดทำหนังสือเสียงในรูปแบบของหนังสือเสียงที่มีโครงสร้างการค้นหา (NCC or NCX only) กระทำได้ง่ายขึ้น เพราะมีการอบรมให้ความรู้ทั้งในหน่วยงานภาครับและเอกชน ทำให้หนังสือเสียงเริ่มมีจำนวนมากขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้พิการทางการมองเห็น บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(Learning Disability ) งตลอดจนกลุ่มผู้สูงอายุ สามารถเข้าถึงความรู้ และวิทยาการ ได้มากขึ้น
อย่างไรก็ดี การจัดทำหนังสือเสียง นอกจากผู้จัดทำจะต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีแล้ว หนังสือด้านวิชาการทุกเล่มผู้บันทึกเสียงควรที่จะมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาการเป็นอย่างดี และต้องการ"ใจ"ใส่ลงในหนังสือทุกเล่มเพื่อให้ หนังสือเดซีงเป็นหนังสือที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน
สนใจเข้ารับการอบรมเป็นอาสาสมัครอ่านหนังเสือเสียง
ผู้ที่มีความสนใจร่วมเป็นอาสาสมัครอ่านหนังสือเสียงเดซีสามารถ download ใบสมัครได้ที่นี่ หรือ ติดต่อมายัง ฝ่ายแนะแนวการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช "โครงการ DAISY"
|