2.1 คำนาม (noun)
คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และนามธรรม เช่น child, elephant, computer, love เป็นต้น
2.1.1 ประเภทของคำนาม คำนามอาจแบ่งออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1) Singular or Plural คำนามที่เป็นเอกพจน์ หมายถึง เพียงสิ่งเดียว
เช่น woman, dog, leaf เป็นต้น ส่วนคำนามที่เป็นพหูพจน์จะมีจำนวนสองสิ่งขึ้นไป เช่น
women, dogs, leaves เป็นต้น
SINGULAR |
PLURAL |
REMARKS |
(1) one girl |
two girls |
คำนามส่วนใหญ่มักเติม -s เมื่อเป็นพหูพจน์ |
(2) lady |
ladies |
ลงท้ายด้วยพยัญชนะ + -y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม -es |
(3) toy |
toys |
ลงท้ายด้วยสระ + -y เติม -s |
(4) life |
lives |
ลงท้ายด้วย f/fe ให้เปลี่ยน f/fe เป็น v แล้วเติม -es |
(5) dish |
dishes |
ลงท้ายด้วย -sh, -ch, -ss, -x |
(6) tomato |
tomatoes |
ลงท้ายด้วยพยัญชนะ + -o เติม-es |
(7) radio |
radios |
ลงท้ายด้วยสระ + -o เติม -s |
(8) x |
oxen |
เติม -en |
(9) child |
children |
เติม -ren |
(10) woman |
women |
เปลี่ยนรูปสระ (คำนี้เปลี่ยนการออกเสียงด้วยจาก ‘วูมั่น’ เป็น ‘วีมิ่น’) |
(11) memorandum |
memoranda |
เป็นคำยืมจากภาษาอื่น รูปพหูพจน์ |
(12) deer |
deer |
ไม่เปลี่ยนรูป เมื่อเป็นพหูพจน์ |
นอกจากนี้ คำนามบางคำจะเป็นพหูพจน์เสมอ เช่น shoes, eyeglasses, scissors, trousers เป็นต้น
แต่คำนามบางคำถือเป็นคำนามเอกพจน์ แม้มีรูปเป็นพหูพจน์ คือ เติม -s เช่น news, mathematics, measles (โรคหัด) เป็นต้น
2) Common or Proper คำนามทั่วไป เช่น boy, owl, table เป็นต้น และคำนามที่เป็น
ชื่อเฉพาะอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานที่ เช่น Brad, Linping, Nike, Rome เป็นต้น
จะสังเกตว่า proper noun จะขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ
3) Concrete or Abstract คำนามที่เป็นรูปธรรม หรือคำนามวัตถุเป็นสิ่งที่จับต้องได้
เช่น doctor, house, car, เป็นต้น
ส่วนคำนามที่เป็นนามธรรม หรืออาการนาม เช่น idea, happiness, taste เป็นต้น
4) Countable or Uncountable คำนามนับได้ เช่น teacher, bird, pen เป็นต้น
ส่วนคำนามนับไม่ได้ เช่น water, health, honesty เป็นต้น และคำเหล่านี้จะไม่มีรูปพหูพจน์
5) Collective เป็นคำนามที่กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะเป็นกลุ่ม เช่น team, army,
committee เป็นต้น