Page 23 - ebook
P. 23
-๒๐-
แนะนำหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การศึกษามีความสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการดำรงชีวิตในทุกด้านการศึกษาสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนใน
ทุกสังคมตลอดจนสามารถพัฒนาความคิดและจิตใจคนได้สังคมใดที่สมาชิกส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาสังคมนั้นจะสามารถ
พัฒนาได้ทุกด้านและในปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสมาชิกในสังคมจึงต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มขึ้นหรือ
เรียนรู้ไปพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต
หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีของ มสธ.เปิดสอนระดับปริญญาตรี๑๑สาขาวิชาที่สามารถตอบสนองความ
ต้องการการพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดีด้วยเนื้อหาหลักสูตรที่เข้มข้นทันสมัยคณาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและมี
ประสบการณ์ตรงตามสาขาวิชารวมทั้งการให้บริการการศึกษาที่ครอบคลุมทุกจังหวัดโดยมีบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้
ความช่วยเหลือบริการแนะแนวและการพัฒนานักศึกษาที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จได้โดยง่าย ซึ่ง มสธ. เปิดทำ
การเรียนการสอน๑๑สาขาวิชาดังนี้
๑. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ ๗. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
๒. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ๘. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
๓. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ๙. สาขาวิชารัฐศาสตร์
๔. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ ๑๐. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
๕. สาขาวิชานิติศาสตร์ ๑๑. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
๖. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี
* ระยะเวลาการศึกษา๑ปีสำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตร๒-๔สำหรับหลักสูตรปริญญาตรีโดยมหาวิทยาลัยให้
ระยะเวลาศึกษา๓เท่าของหลักสูตร
หลักสูตรการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเปิดสอนระดับปริญญาโท๑๒ สาขาวิชาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการเพิ่ม
วิทยฐานะการต่อยอดทางการศึกษาและความสนใจเพิ่มเติมที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จได้โดยง่ายด้วยระบบ
การศึกษาทางไกลมีลักษณะเช่นเดียวกับระดับปริญญาตรีมีการเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาเสริมหรือสัมมนาเข้มประจำชุดวิชา
เพื่อเสนอรายงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาตามช่วงเวลาต่างๆรวมทั้งการจัด
ให้คำปรึกษาแนะนำอย่างมีระบบด้วยวิธีการนัดหมายระหว่างอาจารย์และนักศึกษาตามช่วงเวลาที่เหมาะสมในระดับ
บัณฑิตศึกษาเปิดหลักสูตรสำหรับนักศึกษาเลือกทำวิทยานิพนธ์แผนกและแผนขสำหรับนักศึกษาที่เลือกค้นคว้าอิสระและ
หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต๑๒สาขาวิชาดังนี้
๑. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ ๗. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
๒. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ๘. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
๓. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ๙. สาขาวิชารัฐศาสตร์
๔. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ ๑๐. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
๕. สาขาวิชานิติศาสตร์ ๑๑. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
๖. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี ๑๒. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์