สาขาวิชานิติศาสตร์ มุ่งผลิตบัณฑิตทางกฎหมายและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เหมาะสม ตามความต้องการของสังคมในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายรวมทั้งส่งเสริมการวิจัยค้นคว้าทางด้านกฎหมายให้กว้างขวางทันต่อเหตุการณ์ และให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เช่น บริการตอบ ปัญหากฎหมาย โครงการกฎหมายเพื่อชาวบ้าน เป็นต้น สาขาวิชานิติศาสตร์ เปิดหลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี) และหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง (3 ปี) เน้นการศึกษาวิชากฎหมายในลักษณะต่างๆ เพื่อนำไปประกอบอาชีพทางกฎหมาย เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ นิติกร ที่ปรึกษากฎหมาย เป็นต้น เปิดสอนวิชาเอกต่างๆ ดังนี้ 1. วิชาเอกนิติศาสตร์ 4 ปี 2. วิชาเอกนิติศาสตร์ 3 ปี สาขาวิชานิติศาสตร์มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ผลิตบัณฑิตวิชานิติศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมตามความต้องการของสังคม 2) พัฒนาบุคลากรที่อยู่ในวงอาชีพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายให้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะงาน และสภาพสังคม 3) ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมในรูปการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย และให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และหน้าที่การงาน ตลอดจนให้การศึกษาต่อเนื่องในระดับต่างๆ 4) ส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพกฎหมายตลอดจนประชาชนทั่วไปมีความสำนึกในความยุติธรรม และคุณธรรมอันสูง ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพได้ทุกอาชีพ และยังสามารถเข้ารับราชการได้ในทุกกระทรวง ทบวง กรม เช่น ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน ตำรวจ นายทหารพระธรรมนูญ นิติกร ปลัดอำเภอ หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย ตั้งสำนักงานทนายความ และสามารถศึกษาต่อในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อสอบเป็นเนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) ในระดับสูงขึ้นต่อไปได้ และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ |
![]() |
||||||
|
||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จัดทำโดย : ฝ่ายรับนักศึกษา สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2545 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ![]() |