web site มสธ. | หน้าแรก |  แนวทางการเลือกสาขาวิชา |  สาขาวิชาที่เปิดสอน
             
             มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ยึดหลักการศึกษาตลอดชีพ มุ่งพัฒนาคุณภาพของประชาชน
        ทั่วไป เพิ่มพูนความรู้แก่ผู้ประกอบอาชีพและขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษา เพื่อสนองความต้องการด้าน
        วิชาการ อันหลากหลายของบุคคลและสังคม ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมีหลักการว่าบัณฑิตทุกคนของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นบัณฑิต
        ในสาขาวิชาใดพึงเป็นผู้มีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต้องการเข้าใจสังคมและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะ
        สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมควบคู่ไป
        กับการพัฒนาสภาพจิตใจและความเป็นอยู่ ดังนั้นมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จึงได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี และประกาศ-
        นียบัตรในสาขาวิชาต่างๆ โดยเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ทั้งภาคต้นและภาคปลาย ปีการศึกษา 2549 ดังนี้


สาขาวิชาศิลปศาสตร์
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
สาขาวิชานิเทศศาสตร์
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
สาขาวิชารัฐศาสตร์
สาขาวิชานิติศาสตร์
สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            หลักสูตรที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนทุกหลักสูตร ได้รับอนุมัติและรับรองหลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
        (ทบวงมหาวิทยาลัยเดิม) คุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับการรับรองวุฒิในการบรรจุเป็น
        ข้าราชการพลเรือน จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนเช่นเดียว
        กับคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ และสามารถนำไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

บนสุด/top

  
  
                                 แนวทางการเลือกสาขาวิชา ต้องศึกษาและพิจารณาดังต่อไปนี้
  1. สำรวจความสนใจของตนเอง สำรวจบุคลิกภาพของตนเอง ตรวจสอบความสามารถทางการเรียน ศึกษาความรู้เกี่ยวกับอาชีพและวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้วยของตนเองอย่างเป็นธรรมว่าตนเองเหมาะสมกับการศึกษาในสาขาวิชาใด
  2. ตรวจสอบคุณสมบัติและคุณวุฒิของตนเองว่าจะเข้าศึกษาในสาขาวิชาใดได้บ้าง
  3. ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรของสาขาวิชาที่สนใจว่าจะต้องศึกษากี่ชุดวิชา ประเมินเบื้องต้นจากชื่อชุดวิชาว่ายากหรือง่าย สำหรับความสามารถของตัวเรา
  4. ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสาขาวิชาที่สนใจสมัคร ในประเด็นต่อไปนี้
      1) สนใจสาขาวิชาใดมากกว่ากัน เพราะเหตุใด
      2) สาขาวิชาที่เรียนเกี่ยวข้องกับการทำงานหรือไม่
      3) ความจำเป็นในเรื่องระยะเวลาที่ศึกษา
      4) ความยาก-ง่ายในการเรียนให้สำเร็จการศึกษา
      5) การประกอบอาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา
  5. ตัดสินใจเลือกสาขาวิชาที่เหมาะสมกับตนเองจะมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุด
  6. ศึกษาขั้นตอนและวิธีการสมัครเป็นนักศึกษา

             
บนสุด/top


จัดทำโดย : ฝ่ายรับนักศึกษา สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2545 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
e-mail ติดต่อ : ฝ่ายรับนักศึกษา / ad.reoffice@stou.ac.th