|ระบบสารสนเทศบัณฑิตศึกษา |หลักสูตรการศึกษา |

 สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์

 

สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2555

 

หลักสูตรที่เปิดสอน มี 2 ระดับ 4 หลักสูตร คือ

 

ระดับปริญญาเอก

 
1.
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2554-TQF)
 

ระดับปริญญาโท

 
1.
หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554-TQF)
 
2.
หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการการเกษตร วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554-TQF)
 
3.
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แขนงวิชาสหกรณ์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554-TQF)
  ระยะเวลาการศึกษา
    -  ระดับปริญญาเอกมีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 9 ปีการศึกษา นับจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
    -  ระดับปริญญาโทมีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา นับจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
  ระบบการสอนด้วย e-Learning
     
  หมายเหตุ  กำหนดเวลาการเปิดสอนหลักสูตรในแต่ละระดับสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/ApplyMaster1.htm
TOP

ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
Doctor of Philosophy Program in Agricultural Extension and Development
  ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)
  อักษรย่อ ปร.ด. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Doctor of Philosophy (Agricultural Extension and Development)
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ Ph.D. (Agricultural Extension and Development)
  คุณสมบัติของผู้สมัคร
 
1.
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านส่งเสริมการเกษตร พัฒนาการเกษตร หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือสาขาวิชาอื่นจากมหาวิทยาลัยหรือ
สถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรองวิทยฐานะและรับรองปริญญาแล้ว
 
2.
มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับส่งเสริมการเกษตร พัฒนาการเกษตร หรือการเกษตรอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
 
3.
มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.50 จากระบบคะแนน 4.00 และ
 
4.
มีความรู้ภาษาอังกฤษโดยสอบผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษตามที่สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทั้งนี้ผลการทดสอบมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
  หมายเหตุ   1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่มิใช่ทางส่งเสริมการเกษตรหรือพัฒนาการเกษตร ต้องศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด                     
                   2. ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามข้อ 1-4 มหาวิทยาลัยอาจรับเข้าศึกษาโดยกำหนดให้ศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมหรือตามเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับผลการพิจารณา
ของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย
     

ระดับปริญญาโท

หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
Master of Agriculture Program in Agricultural Extension and Development
  ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)
  อักษรย่อ กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Master of Agriculture (Agricultural Extension and Development)
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ M.Ag. (Agricultural Extension and Development)
  คุณสมบัติของผู้สมัคร
 
1.
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร พัฒนาการเกษตร หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือสาขาวิชาอื่น
จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
 
2.
มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 และ
 
3.
เปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาการเกษตร หรือกิจกรรมอื่นที่ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร และมีประสบการณ์การทำงาน
มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  หมายเหตุ  1. ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1, 3 แต่ได้คะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.50 มหาวิทยาลัยอาจรับเข้าศึกษาโดยพิจารณาจากประสบการณ์ตามที่
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ กำหนด
                 2. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือสาขาวิชาอื่นที่ไม่ใช่ส่งเสริมการเกษตร หรือพัฒนาการเกษตร
ต้องศึกษาเพิ่มอีก 1 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 91720 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา
 
.
     

ระดับปริญญาโท

หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการการเกษตร วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร 
Master of Agriculture Program in Agricultural Resources Management
  ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตร)
  อักษรย่อ กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร)
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Master of Agriculture (Agricultural Resources Management)
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ M.Ag. (Agricultural Resources Management)
  คุณสมบัติของผู้สมัคร
 
1.
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือสาขาวิชาอื่นๆ และ
 
2.
มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50
  หมายเหตุ  1. ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1 แต่ได้คะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.50 มหาวิทยาลัยอาจรับเข้าศึกษาโดยพิจารณาจากประสบการณ์ตามที่
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ กำหนด
                 2. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาอื่น ต้องศึกษาเพิ่มอีก 1 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 95720 การเกษตรเพื่อการจัดการทรัพยากร
 
.
     

ระดับปริญญาโท

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แขนงวิชาสหกรณ
Master of Business Administration Program in Cooperatives
  ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)
  อักษรย่อ บธ.ม. (สหกรณ์)
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Master of Business Administration (Cooperatives)
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ M.B.A. (Cooperatives)
  คุณสมบัติของผู้สมัคร
 
1.
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชาจากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง และ
 
2.
มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50
  หมายเหตุ   ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 แต่ได้คะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.50 มหาวิทยาลัยอาจรับเข้าศึกษาโดยพิจารณาจากประสบการณ์ตามที่
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ กำหนด
 
.
     

จำนวนผู้เยี่ยมชม : 1365911 คน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์สารสนเทศ โทร. 0-2504-7788

ควรใช้ความละเอียดหน้าจอที่ 1024 by 768 pixels และ Internet Explorer version 5.5 + ขึ้นไป
จัดทำข้อมูลโดย ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ
จัดทำระบบโดย คณะทำงานบริหารสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Last updated: 14-June-2012 4:30 PM
©2002-2011 Sukhothai Thammathirat Open University. All rights reserved.