หลักการเขียนภาษาอังกฤษ:
การใช้คำ การเขียนประโยค ย่อหน้า และข้อความต่อเนื่อง
Summary, Paraphrase, and Synthesis Writing
(การเขียนสรุปความ ถอดความ สังเคราะห์)
2. การถอดความ (paraphrase)
2.1 ความสำคัญ
ในการเขียนทบทวนวรรณกรรม เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจต้องมีการกล่าวถึงความคิดที่เป็นของนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ต้องมีการอ้างอิงหากนำมาใช้โดยตรงทั้งหมด ในบางครั้งต้องถอดความมาเพื่อมาเขียนเชื่อมโยงกับส่วนอื่น ๆ ในส่วนการทบทวนวรรณกรรมของผู้เขียนบทความ การถอดความจึงมีความสำคัญมาก ทำให้งานเขียนของผู้เขียนบทความไม่เป็นการลอกเลียนงานของผู้อื่น (plagiarism) อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องอ้างที่มาของแนวคิดไว้ในบทความหรือที่ท้ายบทความเสมอ
การถอดความคือการเขียนถึงความคิดของผู้อื่นโดยใช้ถ้อยคำของตนเอง เป็นการกล่าวอีกครั้งหนึ่ง (restatement) ที่ยาวกว่าการสรุปย่อ เป็นการนำความคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนที่วงวิชาการยอมรับได้หากมีการอ้างอิงที่ถูกต้อง ผู้ถอดความต้องเปลี่ยนการใช้คำและโครงสร้างแต่ต้องรักษาความหมายให้เหมือนเดิม โดยมุ่งหาคำหรือข้อความที่เป็นใจความสำคัญ ใช้ภาษาของผู้เขียนเอง หากลอกข้อความของผู้อื่นมาโดยไม่อ้างอิง ถือเป็นการผิดจรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาการ
2.2 วิธีการเขียนแบบถอดความ
วิธีการเขียนแบบถอดความมีขั้นตอนและรายละเอียดดังนี้
2.2.1 ขั้นตอนการถอดความ
1. |
อ่านเนื้อหาให้เข้าใจถ่องแท้ |
2. |
เขียนความคิดหลัก คำ กลุ่มคำที่สำคัญ หาคำเหมือน แต่อย่าปรับศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางวิชาการ |
3. |
เปลี่ยนโครงสร้างของข้อความ โดยพยายามสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างคำ ข้อความ ความคิด ว่าเป็นไปในทางใด เช่นเป็นเหตุเป็นผล เปรียบเทียบ ดูที่การใช้คำ เช่น similarly บอกความเหมือน แล้วเขียนความสัมพันธ์แบบใหม่ หรือ เปลี่ยนไวยากรณ์ในข้อความ เช่นจากคำนามเป็นคำกริยา คำคุณศัพท์เป็นคำกริยาวิเศษณ์ แบ่งเป็นประโยคย่อยรวมประโยคย่อเข้าด้วยกัน |
4. |
เขียนความคิดหลักใหม่ในประโยคสมบูรณ์ |
5. |
ตรวจสอบว่า ความหมายที่ถอดความออกมายังเหมือนเดิมหรือไม่ ควรมีความยาวประมาณเท่าเดิม ลีลาการเขียนเป็นของตนเอง และต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล |
2.2.2 การใช้สำนวนภาษา
ในการเขียนสรุปแนวคิดของนักวิชาการอื่นๆ เพื่อมาให้ในงานวรรณกรรมต้องมีการถอดความและสรุปย่อเฉพาะสิ่งที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ผู้เขียนบทความต้องการนำเสนอ โดยต้องกล่าวให้ชัดเจนแต่แรกว่าเป็นความคิดของใคร และจุดยืนของผู้เขียนบทความคืออะไรพร้อมทั้งอ้างอิงแหล่งที่มาเสมอ
Brown (1983, p. 231) claims that a far more effective approach is ... แสดงความคิดของ Brown's แต่ไม่ได้บอกความคิดผู้เขียน Brown (1983, p. 231) points out that a far more effective approach is ... แสดงความคิดของ Brown ที่ผู้เขียนเห็นด้วย สนับสนุนโดย Brown |
ถ้าเห็นด้วยกับสิ่งที่นักวิชาการนั้นเขียน ใช้สำนวนต่อไปนี้
The work of X indicates that ... The work of X reveals that ... The work of X shows that ... Turning to X, one finds that ... Reference to X reveals that ... In a study of Y, X found that ... As X points out, ... As X perceptively states, ... As X has indicated ... A study by X shows that ... X has drawn attention to the fact that ... X correctly argues that ... X rightly points out that ... X makes clear that ... |
ถ้าไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการนั้น
X claims that ... X states erroneously that ... The work of X asserts that ... X feels that ... However, Y does not support X's argument that ... If you do not want to give your point of view about what the writer says, According to X ... It is the view of X that ... The opinion of X is that ... In an article by X, ... Research by X suggests that ... X has expressed a similar view. X reports that ... X notes that ... X states that ... X observes that ... X concludes that ... X argues that ... X found that ... X discovered that ... |
การสรุปย่อภายในเนื้อหา
การสรุปย่อภายในเนื้อหาอาจใช้สำนวนต่อไปนี้
To summarize, … To conclude … In conclusion, … |
(Sources: “Academic Writing: citing sources: reporting” Retrieved January 5, 2010, from http://www.uefap.com/writing/writfram.htm)