2.3 Abstract (บทคัดย่อ)
2.3.1 ความสำคัญ
บทคัดย่อเป็นเนื้อหาส่วนแรกที่ผู้อ่านจะได้อ่านในบทความ เป็นการสรุปแก่นเนื้อหาของบทความ จึงมีความสำคัญ และยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้อ่านทั่วไปจะสามารถอ่านเพื่อทราบว่าต้องการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้เพิ่มเติมหรือไม่ ก่อนที่จะอ่านบทความฉบับสมบูรณ์ ผู้เขียนบทความจึงควรใส่ใจให้มาก ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน องค์ประกอบของบทคัดย่อในบทความ วิชาการ เป็นการสรุปประเด็นเนื้อหาที่เป็นแก่นสำคัญมักประกอบด้วย บริบททั่วไป ปัญหาหรือสถานการณ์หรือใจความหลักของบทความ และเนื้อหาที่บอกว่าบทความหรืองานวิจัยมีคุณูปการด้านใดต่อวงวิชาการ สรุป ระบุผล ข้อสรุป โดยย่อ บทคัดย่อจะต้องแสดงเนื้อหาของบทความ จากส่วนต่างๆ เช่นวัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษาค้นคว้า วิจัย และ/หรือ ข้อเสนอแนะ
ในการเผยแพร่บทความในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ วารสารนั้นๆ อาจมีการตีพิมพ์ เฉพาะภาษาอังกฤษ หรือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรืออาจเป็นวารสารที่ออกโดยสถาบันการศึกษา หรือองค์กรต่างประเทศ กรณีของบทความภาษาไทยโดยทั่วไปจะประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทย และบทคัดย่อภาษาอังกฤษเพื่อที่ผู้อ่านชาวต่างประเทศจะได้อ่านแก่นเนื้อหาจากบทคัดย่อ หากสนใจก็อาจประสานงานแปลบทความฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปศึกษาต่อไป
3.3.2 การใช้ภาษา
การเขียนเนื้อหาบทคัดย่อขึ้นกับลักษณะของบทความ กล่าวคือหากเป็นบทความวิจัย ก็ต้องมีเนื้อหาส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย เช่นวัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัยหรือวิธีการศึกษาข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย หากเป็นบทความที่นำเสนอประเด็นจากการวิจัยก็ต้องมีวัตถุประสงค์ ซึ่งก็คือประเด็นปัญหาที่ต้องการคำตอบ วิธีศึกษา ผลการศึกษา บทความวิชาการทั่วไปต้องนำเสนอวัตถุประสงค์ วิธีศึกษา ผลการศึกษา หรือประเด็นที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ
2.3.2.1 โครงสร้างของบทคัดย่อ |
2.3.2.2 วิธีการเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ |
2.3.3 ตัวอย่างบทคัดย่อและคำอธิบายองค์ประกอบ
โครงสร้างของบทความ
การเขียนส่วนต่างๆ ของบทความ
- Title
- Author(s)
- Abstract
- Introduction
- Literature Review
- Methodology
- Results
- Discussions
- References
- Appendices