2.5 Literature Review (วรรณกรรมหรือเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)
ความสำคัญ การใช้ภาษา
การทบทวนวรรณกรรมหรือเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทำให้เห็นภาพรวม หรือโครงร่างของเอกสารที่ศึกษาและเพื่อเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของประเด็นต่าง ๆ เป็นการสนับสนุนการกล่าวอ้าง (claim) ที่ได้ระบุไว้ในบทคัดย่อ เอกสารที่อ้างไม่ควรเกิน 5-10 ปีย้อนหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่ข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ยกเว้นว่าบทความหรือตำรานั้นเป็นประเด็นสำคัญต้องกล่าวอ้าง
ในการทบทวน(review) วรรณกรรม หรือเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้เขียนควรแสดงให้เห็นภาพรวมของเอกสารที่ศึกษา ใช้คำศัพท์วิชาการ การทบทวนวรรณกรรม ต้องใช้สติปัญญา สกัดแก่นของเนื้อหา สร้างความเชื่อมโยง กำหนดโครงสร้างที่ทำให้ผู้อ่านบทความต้องการศึกษางานที่อ้างอิงเพิ่มเติม มิใช่การรวบรวมไว้มาก ๆ เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นโครงสร้างขององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นที่สำคัญยิ่งคือ มิใช่นำเสนอวรรณกรรมตามผลงานเดิม หรือนำข้อความมาเรียงต่อกันไว้เท่านั้น ต้องเป็นการค้นคว้านำเสนออย่างวิพากษ์ (critical review) วิพากษ์วิจารณ์แนวคิดทฤษฎี งานวิจัย หรือบทความ ที่มีผู้เสนอมาก่อนหน้านี้ และจะต้องเน้นที่ประเด็นที่เกี่ยวข้องเช่น หากจะนำวิธีการวิจัยมาใช้ ต้องวิพากษ์ว่างานเดิมใช้ระเบียบวิธีวิจัยนี้แล้วมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไรมีปัญหาอย่างไร และผู้วิจัยหรือผู้เขียนบทความจะนำมาใช้อย่างไร
2.5.2 การใช้ภาษา
>>2.5.2.1 การจัดระบบข้อมูล |
>>2.5.2.2 การนำเสนอข้อมูลและแหล่งอ้างอิง |
>>2.5.2.3 การใช้ verb tenses |
>>2.5.2.4 การเขียนคำถามวิจัยในการเขียนทบทวนวรรณกรรม |
>>2.5.2.5 สำนวนภาษาที่มีประโยชน์ในการอ้างอิงในเนื้อหา |
2.5.3 ACTIVITIES: LITERATURE REVIEW (22-24)
โครงสร้างของบทความ
การเขียนส่วนต่างๆ ของบทความ
- Title
- Author(s)
- Abstract
- Introduction
- Literature Review
- Methodology
- Results
- Discussions
- References
- Appendices