2.8 Discussions and conclusions
2.8 Discussions and conclusions (สรุปผลการวิจัย อภิปรายและข้อเสนอแนะ)
ความสำคัญ | การใช้ภาษา |
2.8.1 ความสำคัญ
การเขียนอภิปรายผลการวิจัย ประกอบด้วย ส่วนต่าง ๆ ดังนี้
สรุปผลการวิจัย (conclusions) เป็นการขมวดเนื้อหาของบทความ สรุปเนื้อหาที่ได้นำเสนอ ควรจะสะท้อน thesis statement ที่เขียนไว้แต่ต้น แต่ไม่ใช่ลอกมาทั้งหมด ไม่ควรเสนอแนวคิดใหม่ บทสรุปควรประกอบด้วย สรุปย่อประเด็นหลักของบทความ ถามคำถามท้าทาย ใช้การอ้างอิง กระตุ้นภาพที่คมชัดเรียกร้องให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แสดงนัยทั่วไปหรือนัยสสรุปผลการวิจัยากล (universalize/generalization) เสนอแนะผลหรือเหตุที่ตามมา
สรุปผลการวิจัย การอภิปราย (discussions) ผลควรอ้างถึงงานวรรณกรรมที่ได้นำเสนอไว้ และเปรียบเทียบกับผลการวิจัยที่ได้อ้างอิงไว้ หากงานวิจัยนั้นมีเนื้อหามาก ในส่วนของการอภิปรายผล จะมีส่วนสรุปย่องานวิจัยด้วย การอภิปรายผลมักจะมีการเปรียบเทียบ และมีส่วนที่เป็นข้อเสนอแนะด้วย อาจจะมีข้อจำกัดของการวิจัยด้วย
ข้อเสนอแนะ (recommendations/ implications) เป็นข้อเสนอแนะทั้งทางการนำไปปฏิบัติและทางทฤษฎี
หากผลการวิจัยมีความเกี่ยวพันกับการอภิปรายผลในแต่ละประเด็น อาจเขียนรวมกันเป็น ผลการวิจัยและการอภิปรายผลก็ได้ แล้วแยกบทสรุปและข้อเสนอแนะเป็นอีกหัวข้อหนึ่ง ผู้เขียนบทความควรศึกษาว่าแนวทางใดสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจผลการวิจัยมากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องศึกษาแนวทางการจัดระบบของวารสารที่จะนำเสนอเพื่อตีพิมพ์ว่านิยมใช้วิธีใด
โครงสร้างของบทความ
การเขียนส่วนต่างๆ ของบทความ
- Title
- Author(s)
- Abstract
- Introduction
- Literature Review
- Methodology
- Results
- Discussions
- References
- Appendices