|ระบบสารสนเทศปริญญาตรี |หลักสูตรการศึกษา |

 

 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

      

หลักสูตรระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2561

  มีหลักสูตร 1 ระดับ 3 หลักสูตร คือ
  1. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสาธารณสุขชุมชน (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560-TQF)
  2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561-TQF)
  3. หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558-TQF)
 


e-Book หลักสูตรการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ใบแทรก


 
หมายเหตุ   กำหนดเวลาการเปิดสอนแต่ละหลักสูตรสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.stou.ac.th/main/apply.html

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสาธารณสุขชุมชน
(Bachelor of Public Health Program in Community Public Health)
  ชื่อปริญญา
  ชื่อเต็ม สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)
  อักษรย่อ ส.บ. (ธารณสุขชุมชน)
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Public Health (Community Public Health)
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.P.H. (Community Public Health)
   
  คุณสมบัติของผู้สมัคร
 
คุณสมบัติเฉพาะ

ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง และวุฒิการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง จะต้องได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพนั้นๆ

 
วุฒิการศึกษา
 
 
1.
สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือประกาศนียบัตรอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง (ยกเว้น ป.ผู้ช่วยพยาบาล) ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตร 1 ปี หรือรับจาก ผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษา ตอนต้นและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี [ เช่น ป . ผู้ช่วยทันตแพทย์
ป.ผู้ช่วยเภสัชกร ป.ผู้ช่วยแพทย์ ป.ผดุงครรภ์อนามัย ป.วิชาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (พนักงานอนามัย จบก่อน ปี 2525)
ป.พนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลักสูตร 1 ปี หรือปีที่ 1] หรือ
 
3.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ที่มิใช่ทางสาธารณสุขศาสตร์ หรือ
 
4.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่มิใช่ทางสาธารณสุขศาสตร์ หรือ
 
5.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล หรือ
 
6.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เช่น รังสีเทคนิค เซลล์วิทยา พยาธิวิทยา พยาธิวิทยาคลินิก โลหิตวิทยาและธนาคารเลือด หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี) หรือ
 
7.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เป็นงานสนับสนุน (เช่น เวชระเบียน โสตทัศนศึกษาโสตทัศนูปกรณ์ ส่งเสริมสุขภาพ สุขศึกษา หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ยกเว้น เวชกรรมฟื้นฟู เวชกิจฉุกเฉิน ) ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษา ประโยค มัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี) หรือ
 
8.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางการแพทย์แผนไทยหรือเทียบเคียง ซึ่งรับจากผู้สำเร็จ การศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
 
9.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางสาธารณสุขศาสตร์ที่มิใช่สาธารณสุขศาสตร์โดยตรง (เช่น ทันตาภิบาล ทันตสาธารณสุข เทคนิคเภสัชกรรม เจ้าพนักงานเภสัชกรรม) ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษา ตอนปลายและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี) หรือ
 
10.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรทางการพยาบาล หลักสูตร 2 ปี ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเคียง และมีใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้น 2 หรือสำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางเวชกิจฉุกเฉิน หรือเวชกรรมฟื้นฟู หรือ
 
11.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่าด้านสังคมศาสตร์ หรือเทียบเคียง หรือ
 
12.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี หรือสูงกว่า ปริญญาตรี ด้าน วิทยาศาสตร์(เช่น วิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ) หรือ
 
13.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางสาธารณสุขศาสตร์ (เช่น สาธารณสุขชุมชน พนักงานอนามัย นักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารแพทย์ หรือเทียบเคียง ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษา ประโยค มัธยมศึกษา ตอนปลาย และศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี ) หรือ
 
14.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี หรือสูงกว่า ปริญญาตรี ด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์ (เช่น สัตวแพทย์ เทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) หรือ
 
15.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี หรือสูงกว่า ปริญญาตรี ด้านการ แพทย์แผนไทย หรือเทียบเคียง หรือ
 
16.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าอนุปริญญาหรืออนุปริญญาทางการพยาบาล หรือปริญญาตรีทางการพยาบาลหรือสูงกว่าและมีใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้น 1 หรือสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี หรือสูงกว่าด้าน วิทยาศาสตร์สุขภาพ (เช่น แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกรรม ส่งเสริมสุขภาพ สุขศึกษา อาชีวอนามัย หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง )
           
         

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
(Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety)
  ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
วิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
  อักษรย่อ วท.บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Science (Occupational Health and Safety)
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.Sc. (Occupational Health and Safety)
   
  คุณสมบัติของผู้สมัคร
 
1.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือ
 
3.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตร์ หรือ
 
4.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์ หรือ
 
5.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีการแพทย์แผนไทย หรือ
 
6.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หรือ
 
7.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรมศาสตร์ หรือ
 
8.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ทุกสาขาวิชา หรือปริญญาตรีเทคโนโลยี
     
การฝึกปฏิบัติหลักสูตรวิชาเอกอาชีวอนามัย และความปลอดภัย      
     

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต
(Bachelor of Thai Traditional Medicine Program)
  ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
การแพทย์แผนไทยบัณฑิต
  อักษรย่อ พท.บ.
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Thai Traditional Medicine
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.TM.
     
  คุณสมบัติของผู้สมัคร
 
1.
สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม .6) หรือเทียบเท่าสายวิทยาศาสตร์หรือสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส .) หรืออนุปริญญาทางด้านการแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือสูงกว่า หรือ
 
3.
สำเร็จการศึกษาอนุปริญญา หรือปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสูงกว่าปริญญาตรี หรือ
 
4.
สำเร็จการศึกษาอนุปริญญา หรือปริญญาตรีสาขาอื่นที่มิใช่ทางการแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ หรือทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสูงกว่า
     
     หมายเหตุ 1) ผู้สมัครตามข้อ 1 และข้อ 4 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยได้รับการศึกษา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
กรณีไม่เป็นไปตามที่กำหนดต้องศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมเพื่อปรับพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์หรือภาษาอังกฤษตามที่หลักสูตรกำหนด
    2) ผู้สมัครตามข้อ 2-4 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง และมหาวิทยาลัยอาจเทียบความรู้และเทียบประสบการณ์ให้ตามระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการเทียบผลการศึกษาและเทียบประสบการณ์ระดับปริญญาตรี
    3) ผู้สมัครตามข้อ 1-4 ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไทย หรือการผดุงครรภ์ไทย หรือเภสัชกรรมไทย จะได้รับการยกเว้นชุดวิชาตามที่หลักสูตรกำหนด
    4) ผู้สมัครตามข้อ 2 ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์จะได้รับการยกเว้นชุดวิชาตามที่หลักสูตรกำหนด
    5) ผู้สมัครตามข้อ 1-4 ต้องไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายซึ่งสภาวิชาชีพแพทย์แผนไทยเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยศาลพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่สภาวิชาชีพฯ เห็นว่าอาจจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็น โรคที่สภาวิชาชีพฯ ประกาศกำหนดว่าไม่สมควรให้ประกอบโรคศิลปะ และไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
    6) ผู้สมัครตามข้อ 1-4 ต้องไม่เป็นโรคซึ่งต้องห้ามในการขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ดังนี้ โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคพิษ สุราเรื้อรัง หรือโรคอื่นที่สภาวิชาชีพฯ พิจารณาเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
 
   
      
 
จำนวนผู้เยี่ยมชม : 157797 คน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์สารสนเทศ โทร. 0 2504 7788

ควรใช้ความละเอียดหน้าจอที่ 1024 by 768 pixels และ Internet Explorer version 5.5 + ขึ้นไป
จัดทำข้อมูลโดย ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ
จัดทำระบบโดย คณะทำงานบริหารสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Last updated: 6-February-2021; 11:23 AM
© 2003 Sukhothai Thammathirat Open University. All rights reserved.