|ระบบสารสนเทศปริญญาตรี |หลักสูตรการศึกษา |

 

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์

      

หลักสูตรระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2565

 

มีหลักสูตร 2 ระดับ 7 หลักสูตร คือ

  ระดับปริญญาตรี
 
1.
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการพัฒนาเด็กปฐมวัย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565-TQF)
 
2.
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563-TQF)
 
3.
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการเรียนรู้ตลอดชีวิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563-TQF)
 
4.
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563-TQF)
 
 
  ระดับประกาศนียบัตร
 
1.
หลักสูตรประกาศนียบัตรนวัตกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
 
2.
หลักสูตรประกาศนียบัตรการพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
 
3.
หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้จัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)
 
e-Book หลักสูตรการศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์

 

หมายเหตุ   กำหนดเวลาการเปิดสอนแต่ละหลักสูตรสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.stou.ac.th/main/apply.html

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(Bachelor of Arts Program in Early Childhood Development)
ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
ศิลปศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาเด็กปฐมวัย)
  อักษรย่อ ศศ.บ. (การพัฒนาเด็กปฐมวัย)
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts (Early Childhood Development)
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.A. (Early Childhood Development)
   
  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
 
1.
สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
 
3.
สำเร็จการศึกษาอนุปริญญาทางการศึกษา (วิชาเอกปฐมวัยศึกษา) หรือ
 
4.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา หรือ
 
5.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางการศึกษา หรือ
 
6.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาอื่นๆ
  หมายเหตุ   ผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 6 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
                    บุคคลซึ่งเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสียจะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้เป็นรายกรณี หากสภาวิชาการพิจารณาเห็นสมควรให้เข้าศึกษา เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันประกาศถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษา หรือเป็นนักศึกษาโครงการความร่วมมือในการจัดการศึกษาให้พิจารณาเป็นรายกรณี
แนวทางการจัดโปรแกรมการศึกษา
       

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
(Bachelor of Arts Program in Guidance and Psychological Counseling)
  ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
ศิลปศาสตรบัณฑิต (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา)
  อักษรย่อ ศศ.บ. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา)
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts (Guidance and Psychological Counseling)
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.A. (Guidance and Psychological Counseling)
   
  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
 
1.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญา หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทุกสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง
  หมายเหตุ
 
1)
ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 2 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
 
2)
บุคคลซึ่งเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิด หรือกระทำโดยประมาท และลุแก่โทษในการกระทำ จะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา ทั้งนี้เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศถอนสภาพการเป็นนักศึกษา
แนวทางการจัดโปรแกรมการศึกษา
       

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการเรียนรู้ตลอดชีวิต
(Bachelor of Arts Program in Lifelong Learning)
  ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
ศิลปศาสตรบัณฑิต (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
  อักษรย่อ ศศ.บ. (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts (Lifelong Learning)
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.A. (Lifelong Learning)
   
  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
 
1.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีทุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง
  หมายเหตุ
 
1)
ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 2 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
 
2)
บุคคลซึ่งเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้น ได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิด หรือกระทำโดยประมาท และลุแก่โทษในการกระทำ จะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา ทั้งนี้เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศถอนสภาพการเป็นนักศึกษา
แนวทางการจัดโปรแกรมการศึกษา
       

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
(Bachelor of Arts Program in Educational Technology and Communications)
  ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
ศิลปศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)
  อักษรย่อ ศศ.บ. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts (Educational Technology and Communications)
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.A. (Educational Technology and Communications)
   
  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
 
1.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง หรือ
 
3.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทุกสาขา
  หมายเหตุ
 
1)
ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 3 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
 
2)
บุคคลซึ่งเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้น ได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิด หรือกระทำโดยประมาท และลุแก่โทษในการกระทำ จะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา ทั้งนี้เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศถอนสภาพการเป็นนักศึกษา
แนวทางการจัดโปรแกรมการศึกษา
       

ระดับประกาศนียบัตร

หลักสูตรประกาศนียบัตรนวัตกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(Certificate Program in Early Childhood Development Innovation)
  ชื่อประกาศนียบัตร
 
ชื่อเต็ม
ประกาศนียบัตรนวัตกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัย
  อักษรย่อ ป. นวัตกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัย
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Certificate in Early Childhood Development Innovation
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ Cert. in Early Childhood Development Innovation
   
  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
 
1.
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และประกอบอาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หลังจากจบมัธยมศึกษาตอนต้น หรือมีอายุไมน้อยกว่า 25 ปีบริบูรณ์ ในวันเปิดภาคการศึกษาที่สมัคร หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
 
3.
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญาหรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง หรือ
 
4.
สำเร็จการศึกษาจากการศึกษานอกระบบ หรือผู้ที่ศึกษาตามอัธยาศัย และได้รับการเทียบโอนผลการศึกษาซึ่งสภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษาได้
 
หมายเหตุ  ผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 4 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
                   บุคคลซึ่งเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสียจะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้เป็นรายกรณี หากสภาวิชาการพิจารณาเห็นสมควรให้เข้าศึกษา เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันประกาศถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษา หรือเป็นนักศึกษาโครงการความร่วมมือในการจัดการศึกษาให้พิจารณาเป็นรายกรณี
     

ระดับประกาศนียบัตร

หลักสูตรประกาศนียบัตรการพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม
(Certificate Program in Holistic Well-Being Development for Early Childhood)
  ชื่อประกาศนียบัตร
 
ชื่อเต็ม
ประกาศนียบัตรการพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม
  อักษรย่อ ป. การพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Certificate in Holistic Well-Being Development for Early Childhood
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ Cert. in Holistic Well-Being Development for Early Childhood
   
  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
 
1.
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และประกอบอาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หลังจากจบมัธยมศึกษาตอนต้น หรือมีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเปิดภาคการศึกษาที่สมัคร หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
 
3.
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญาหรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรี หรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่สภาสถาบันการศึกษานั้นๆ รับรอง หรือ
 
4.
สำเร็จการศึกษาจากการศึกษานอกระบบ หรือผู้ที่ศึกษาตามอัธยาศัย และได้รับการเทียบโอนผลการศึกษาซึ่งสภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษาได้
  หมายเหตุ  ผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 4 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
                   บุคคลซึ่งเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสียจะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้เป็นรายกรณี หากสภาวิชาการพิจารณาเห็นสมควรให้เข้าศึกษา เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันประกาศถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษา หรือเป็นนักศึกษาโครงการความร่วมมือในการจัดการศึกษาให้พิจารณาเป็นรายกรณี
     

ระดับประกาศนียบัตร

หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้จัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ
(Certificate Program in Learning Organizer for the Older Adults)
  ชื่อประกาศนียบัตร
 
ชื่อเต็ม
ประกาศนียบัตรผู้จัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ
  อักษรย่อ ป. ผู้จัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Certificate in Learning Organizer for the Older Adults
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ Cert. in Learning Organizer for the Older Adults
   
  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
 
1.
สำเร็จการศึกษาชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และประกอบอาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หลังจากจบมัธยมศึกษาตอนต้น หรือมีอายุไมน้อยกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเปิดภาคการศึกษาที่สมัคร หรือผ่านการอบรมหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
 
3.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญาหรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง
     
     
 
จำนวนผู้เยี่ยมชม : 98570 คน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์สารสนเทศ โทร. 0 2504 7788

ควรใช้ความละเอียดหน้าจอที่ 1024 by 768 pixels และ Internet Explorer version 5.5 + ขึ้นไป
จัดทำข้อมูลโดย ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ
จัดทำระบบโดย คณะทำงานบริหารสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Last updated: 21-April-2022; 14:46 PM
© 2003 Sukhothai Thammathirat Open University. All rights reserved.