2.3 Abstract (บทคัดย่อ)
6. สำนวนภาษาที่เป็นประโยชน์ในการเขียนบทคัดย่อ
สำนวนภาษาที่เป็นประโยชน์ในการเขียนบทคัดย่อในแต่ละส่วนมีดังนี้
1. การเขียนวัตถุประสงค์ ให้บอกว่าเพื่อ... แล้ว เขียนวัตถุประสงค์เรียงกันเป็นข้อตามลำดับความสำคัญ หรือตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย นอกจากนี้ อาจใช้ ตัวเลขในวงเล็บ (1) ... (2) ... โดยใช้เครื่องหมาย comma คั่น เพื่อความชัดเจน โดยข้อความในแต่ละส่วนจะต้องคู่ขนานกัน กล่าวคือเป็นรูปประโยคเหมือนกัน หรือเป็นกลุ่มคำนามเหมือนกัน
เช่น The paper aims to (1) ....verb ..., (2) ....verb...,
The article examines (1) .....noun..., (2) .....noun....,
ส่วนใหญ่ในบทความวิชาการเป็นการเน้นการนำเสนอประเด็นที่สำคัญจึงมักไม่นำเสนอหลายวัตถุประสงค์เกินไป
2. การเขียนระเบียบวิธีวิจัย บอก เครื่องมือ ประชากร กลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ โดยอาจเขียนไปทีละส่วนหรือรวบเป็นประโยคเดียวแล้วแต่ลักษณะของข้อมูล
3. การเขียนผลการวิจัย
ใช้สำนวน Results revealed that … หรือ Findings showed that … โดยเขียนเรียงกันเป็นข้อตามลำดับความสำคัญ หรือตามปัญหาวิจัย อาจใช้ระบบตัวเลขในวงเล็บ (1) (2) โดยหากเป็นประโยคย่อย ใช้เครื่องหมาย semicolon (;) คั่น หากเป็นข้อความใช้ comma คั่น
บางวารสารของไทยใช้ เรียงลงมาเป็นข้อตามลำดับ
บางกรณีเขียนวัตถุประสงค์รวมไปกับวิธีการศึกษา
By comparing information retrieval functions to the Association of College and Research libraries’ information literacy standards, this articles investigates the extent of support that these enhanced systems can offer, and gives librarians greater insight into how these design enhancements could have an impact on information literacy instruction.
ตัวอย่าง สำนวนในการเขียนบรรยายสถิติในส่วนผลการวิจัย
โครงสร้างของบทความ
การเขียนส่วนต่างๆ ของบทความ
- Title
- Author(s)
- Abstract
- Introduction
- Literature Review
- Methodology
- Results
- Discussions
- References
- Appendices