Back :: Next
2.6 Methodology
2.6.2.2 การเขียนส่วนต่าง ๆ ของระเบียบวิธีวิจัย
1. หลักการเขียนโดยทั่วไป
- การเขียนส่วนต่างๆ ของระเบียบวิธีวิจัย เช่น design, participants/subjects/informants, materials, เป็นการเขียนเชิงพรรณนา โดยจัดระบบข้อมูลให้เข้าใจง่าย อาจเขียนตามลำดับเวลา ตามประเด็น ส่วนการเขียนเกี่ยวกับ procedures, analysis เป็นการเขียนแบบพรรณนาและการบอกขั้นตอน
- การใช้ verb tense ในส่วนของ methodology ใช้ past tense เนื่องจากได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนหน้าที่จะเขียนบทความนี้ ยกเว้นในทางวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้ present tense
2. การเขียนเกี่ยวกับการออกแบบวิจัย (design)
- เป็นการเขียนเกี่ยวกับภาพรวมของระเบียบวิธีวิจัย หลักการที่สำคัญในการออกแบบงานวิจัย
- ใช้วิธีการเขียนแบบพรรณนา ให้เหตุผล จัดระบบข้อมูลตามความสำคัญ
3. การเขียนเกี่ยวกับ population/sample group/participants/subjects/informants
- ใช้การเขียนแบบพรรณนา บอกองค์ประกอบทาง demographic เช่น จำนวน เพศ อายุ การคัดเลือก ตามเนื้อหาและความสำคัญของประเด็นนั้น ๆ ในงานวิจัย และบอกกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างหรือ ผู้ให้ข้อมูลต้องกระทำ โดยเฉพาะงานวิจัยเชิงคุณภาพต้องเขียนให้ชัดเจน ลำดับข้อมูลให้เป็นระบบ
ตัวอย่าง
Forty-five English speaking students in Chinese classes at beginners’ level at the University of Nottingham were involved in the study. There were twenty-four female students and twenty-one male students. The youngest was eighteen and oldest was twenty-one, and their average age was 19.2. None of them had learned Chinese before.
การใช้ verb tense สำหรับการบรรยาย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- กล่าวถึงกลุ่มตัวอย่าง (samples) ใช้ past tense
- กล่าวถึงประชากร (general population) ใช้ present tense
โครงสร้างของบทความ
การเขียนส่วนต่างๆ ของบทความ
- Title
- Author(s)
- Abstract
- Introduction
- Literature Review
- Methodology
- Results
- Discussions
- References
- Appendices