หลักการเขียนภาษาอังกฤษ:
การใช้คำ การเขียนประโยค ย่อหน้า และข้อความต่อเนื่อง


Back :: Next

 

Paragraph Writing (การเขียนย่อหน้าประเภทต่าง ๆ)

6. การเขียนบทความทางวิชาการแบบโต้แย้ง
             6.1  ความสำคัญ
          นักวิชาการใช้การเขียนแบบโต้แย้งเพื่อทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เข้าใจความหมายของการกระทำและการสร้างสรรค์  ในวงวิชาการการโต้แย้งเป็นความพยายามที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ นักวิชาการหรือนักวิจัย สังเกต และนำเสนอข้อมูลเป็นบทความทางวิชาการเพื่อท้าทายความคิดเห็นเดิม นำเสนอการค้นพบใหม่ วิธีการคิดแบบใหม่

          คำศัพท์ที่ควรทราบในการเขียนแบบโต้แย้งมีดังนี้ 

การกล่าวอ้าง (claim) เป็นข้อความที่โต้แย้งได้ที่ต้องการให้ผู้อ่านยอมรับ
เหตุผล (reasons) เป็นตรรกะที่ใช้เพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่านว่าการกล่าวอ้างของผู้เขียนบทความเป็นความจริงหรือเป็นที่น่าพอใจ  
ข้อมูลสนับสนุน (evidence) เป็นข้อเท็จจริง สถิติ ตัวอย่างหรือถ้อยแถลงของผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ใช้สนับสนุนการกล่าวอ้างของผู้เขียน

(Rosen, 2008: 281-283)
 
             6.2  แนวทางการเขียนแบบโต้แย้ง

  1. ตั้งสมมติฐาน
  2. มองจากมุมมองของผู้อ่าน กำหนดยุทธศาสตร์การโน้มน้าวใจ
  3. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
  4. เขียนข้อโต้แย้งของท่าน – ใช้การแสดงนัยทั่วไป  (generalization)  การใช้เหตุและผล  (causes and effects)    การใช้กรณีคู่ขนาน (parallel case)
  5. ยกประเด็นขัดแย้งของผู้อื่น และเขียนโต้แย้ง
  6. วางแผน กำหนดโครงร่างการเขียนย่อหน้า
  7. ร่าง 2 - 3 ครั้ง

          ในการเขียนแบบโต้แย้ง ผู้เขียนต้องนำเสนอประเด็น หรือมุมมอง จากจุดยืน /มุมมอง อภิปรายด้านบวกและด้านลบของแต่ละประเด็น  หมายความว่าต้องนำเสนอความคิดของผู้อื่นทั้งด้านบวกและด้านลบ และมุมมองของตนเอง ผู้เขียนต้องประเมินข้อโต้แย้งจากมุมมองต่าง ๆ ชั่งน้ำหนักหลักฐาน ข้อมูล ที่สำคัญที่สุดผู้เขียนต้องเสนอจุดยืนของตนต่อหัวข้อเรื่องที่เขียน
          ความคิดเห็นของผู้เขียนต้องมีข้อมูลสนับสนุน ต้องนำเสนอข้อมูลสนับสนุนและอธิบายว่าทำไมข้อมูลนั้น ๆ จึงสนับสนุนข้อโต้แย้งของผู้เขียน


 (Sources: 1. Academic writing: Rhetorical functions in academic writing    Retrieved January 11, 2010, from http://www.uefap.com/writing/writfram.htm  
2.Organizing Your Argument. Retrieved December 23, 2009, from  http://owl.english.purdue.edu/owl/resource/588/03/)

             6.3  การใช้ภาษา
                การใช้ภาษาในการเขียนแบบโต้แย้งมีศัพท์ และสำนวนภาษาที่ควรทราบดังนี้

                          6.3.1 การนำเสนอมุมมองของผู้อื่น

Subject

Verb

Noun clause

Some people
(The researcher)
In the study of  “topic,” (the researcher)

maintain (s)
says
argues
claims
points out
believes

that ….

 

Subject/It…

Noun clause

The opinion of  (the researcher)  is
It can be argued
It has been suggested
It might be said

 that

 

Prepositional phrase

Independent clause

In the view of X,

 

According to X,

 

 

                          6.3.2 การวิจารณ์ความเห็น มุมมองของผู้อื่น
                การวิจารณ์ความคิดเห็นหรือมุมมองของผู้อื่น หากไม่เห็นด้วย อาจใช้คำกริยาที่แสดงความโน้มเอียง (tentative) เพื่อมิให้ดูกร้าวเกินไป  อย่างไรก็ตามในการเขียนแบบโต้แย้งบางครั้งผู้เขียนอาจมิได้ใช้คำศัพท์ สำนวนวิจารณ์โดยตรง ผู้อ่านต้องสังเกต น้ำเสียง (tone) ของผู้เขียน และข้อความอื่น ๆในเนื้อหาประกอบด้วย

Subject

Verb

Complement

They
He
X
This
X’s approach

is/are
may be
seem(s) to be
would seem to be

somewhat
rather

mistaken
wrong
rigid
inadequate

 

Subject

Verb

Complement

This
These views

is/are

open to doubt
incorrect
highly debatable
highly speculative

 

Independent clause

Noun clause

I disagree with X when he writes
                                            says
One of the main arguments against X is

that  …

                          6.3.3 การวิจารณ์ความเห็น มุมมองของผู้อื่น
ในการวิจารณ์ความเห็น มุมมองของผู้อื่นในการเขียนแบบโต้แย้ง อาจใช้ศัพท์สำนวนโดยตรง งอย่างไรก็ตามในบางครั้งผู้เขียนอาจมิได้ใช้คำศัพท์ สำนวนโดยตรง ผู้อ่านต้องสังเกต น้ำเสียง (tone) ของผู้เขียน และข้อความอื่น ๆในเนื้อหาประกอบด้วย

Independent clause

Noun clause

  I agree with X when he writes …
                                       says

that  …

One advantage of  “the topic” is
Another point in favor of “the topic” is

 

                    6.3.4 การแสดงความเห็น มุมมองของตนเอง

Independent clause

Noun clause

 It is necessary to bear in mind  

that  …

The first thing to be considered is
 It is a fact that…

 

This paper argues

that …

             6.4 ตัวอย่างงานเขียนย่อหน้าแบบโต้แย้ง

text

ประเด็น

It has been argued that strong identification with one’s culture of origin could protect women of color against the unrealistic White standard of beauty.  Those who embrace the mainstream culture, however, may become more vulnerable to the pressures for thinness (e.g. Root, 1990).  In fact, findings from empirical studies have provided supporting evidences.  For example, Abrams et al. (1993) found that Black women with stronger ethnic identity reported more positive body image and lower likelihood of developing eating disorders.  In contrast, Black women who adhere more to the values of mainstream culture reported a stronger drive to be thin, and were more likely to engage in dietary restraint.

ตั้งประเด็น

 

ให้ข้อมูลสนับสนุนประเด็น
เปรียบเทียบ

(Sources: Academic writing: Rhetorical functions in academic writing. Retrieved  January 5, 2010, from
http://www.uefap.com/writing/writfram.htm  )

 

SubMenu :: Back :: Next

TOP