หลักการเขียนภาษาอังกฤษ:
การใช้คำ การเขียนประโยค ย่อหน้า และข้อความต่อเนื่อง
Summary, Paraphrase, and Synthesis Writing
(การเขียนสรุปความ ถอดความ สังเคราะห์)
2.3. ตัวอย่างการเขียนแบบถอดความ
ต้นฉบับเดิม
Students in the humanities write for many purposes, including to express their responses to creative works and to inform. Expressive writing often begins as a response to personal questions when reading a text
What do I feel when reading this material?
Why do I feel the way I do?
How am I changed in response to this text?
How can I account for differences I have observed between this text and others, or between this text and my own experience?
Readers may find themselves as involved with a text that they want to respond in writing. You might consider keeping a reading journal in which you record responses to texts and, based on your entries, develop ideas for papers. A great deal of writing in humanities begins as personal response.
การถอดความ
Rosen (2008) proposes that one of the objectives in writing in humanities is to inform their personal response to creative work such as their feeling, how they feel, how they changed, how they explain the differences to other texts. He also suggests keeping a log to record responses which can be a starting point in writing.
หมายเหตุ ในที่นี้ การอ้างอิงการสรุปย่อหรือถอดความใช้ระบบ APA (ชื่อผู้เขียนตามด้วยปีที่ตีพิมพ์)
ข้อสังเกต ความแตกต่างระหว่างการอ้างอิง การถอดความและการสรุปย่อ
การนำความคิดหรือข้อค้นพบของผู้อื่นมาใส่ในบทความของตนเองอาจใช้
การอ้างอิงแบบสมบูรณ์ การถอดความ หรือ การสรุปย่อ
ในบทความทางวิชาการผู้เขียนมักจะใช้การการอ้างอิงสมบูรณ์ การถอดความ และสรุปย่อ ไปด้วยกัน
การอ้างอิงแบบสมบูรณ์ คือการยกข้อความพร้อมแหล่งข้อมูลมาทั้งหมด เพื่อสนับสนุน โต้แย้ง หรือบอกประเด็นต่าง ๆ ในบทความ ในการอ้างอิงเช่นนี้ผู้เขียนต้องเขียนประเด็นของตนมิใช่ให้ข้อความที่อ้างอิงนั้นทำหน้าที่แทน
การถอดความ คือการนำข้อความต้นฉบับมาในคำพูดของตนเอง ต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูล ข้อความที่ถอดออกมาสั้นกว่าข้อความเดิม
การสรุปย่อ เป็นการสรุปใจความหลักด้วยถ้อยคำของตนเอง มีเพียงประเด็นสำคัญเท่านั้น การสรุปย่อจะสั้นกว่าต้นฉบับเดิมและเป็นการมองภาพรวม มุมกว้างของแหล่งข้อมูล
วัตถุประสงค์ของการอ้างอิง การถอดความและการสรุปย่อ มีดังนี้
- ให้การสนับสนุน การกล่าวอ้างหรือความน่าเชื่อถือแก่บทความ
- เป็นการอ้างถึงงานต่าง ๆที่จะนำมาสู่งานของตนเอง
- ให้ตัวอย่างในประเด็นและมุมมองต่างๆ แก่หัวข้อที่เขียน
- เรียกความสนใจจุดที่ผู้เขียนต้องการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
- ให้จุดเน้นเฉพาะ เช่น กลุ่มคำ ประโยค หรือข้อความต่อเนื่อง ที่เด่น น่าสนใจ โดยการอ้างอิงต้นฉบับจริง
- เป็นการขยายวงและความลุ่มลึกของงานเขียน