หลักการเขียนภาษาอังกฤษ:
การใช้คำ การเขียนประโยค ย่อหน้า และข้อความต่อเนื่อง


Back :: Next

Summary, Paraphrase, and Synthesis Writing
(การเขียนสรุปความ ถอดความ สังเคราะห์)

3. การเขียนแบบสังเคราะห์ (Synthesis)   
       3.1. ความสำคัญ
การเขียนแบบสังเคราะห์เป็นการเขียนที่สั้น โดยประมวลจากหลายข้อเขียนหรือหลายบทความ ประกอบด้วยประเด็นสำคัญในเนื้อหานั้น ๆ ที่กลั่นกรองมาและเขียนโดยใช้ถ้อยคำของผู้เขียนบทความเอง  
การเขียนแบบสังเคราะห์ ต้องมีแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม สามารถเลือกประเด็นที่เกี่ยวข้อง  ใช้การถอดความ และการสรุปย่อมาประกอบเพื่อเขียนข้อมูลใหม่ด้วยถ้อยคำของตนเอง   ข้อมูลจากหลายแหล่งจะร       วมกันในข้อเขียนใหม่  และต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลเสมอ

       3.2. วิธีการเขียนแบบสังเคราะห์
 ขั้นตอนในการเขียนแบบสังเคราะห์มีดังนี้

  1. หาแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม 
  2. อ่านข้อเขียนจากแหล่งข้อมูลให้เข้าใจถ่องแท้ 
  3. หาความคิดที่เกี่ยวข้อง อาจทำเครื่องหมายไว้ อาจจะเขียน จดโน้ตย่อ ขีดเส้นใต้ หรือระบายสีข้อความ
  4. ระบุความสัมพันธ์ของคำหรือความคิด  ใช้สีหรือหมายเลข
  5. อ่านสิ่งที่จดบันทึกไว้อย่างระมัดระวัง 
  6. จัดระบบข้อมูลที่มี แยกประเด็นที่เหมือน ประเด็นที่ต่าง  .
  7. ถ่ายโอนข้อมูลลงในกระดาษแผ่นเดียวกัน
  8. ถอดความหรือย่อความเท่าที่จำเป็น
  9. ตรวจสอบโน้ตย่อกับต้นฉบับว่าถูกต้องและเกี่ยวข้องกันหรือไม่ 
  10. รวมโน้ตย่อเป็นข้อความเดียวกัน 
  11. ตรวจสอบการเขียนแบบสังเคราะห์ของตนเองตามประเด็นต่อไปนี้
    • วัตถุประสงค์ชัดเจน
    • การใช้ภาษาถูกต้อง
    • ลีลาการเขียนเป็นของตนเอง
    • อ้างอิงงานของผู้อื่น

 

Back :: Next