Back ::
Next
2.7.2.3 การเขียนบรรยายเกี่ยวกับสถิติ
2.7.2.3.1 ความสำคัญ
2.7.2.3.2 การใช้ภาษา
2.7.2.3.3 สำนวนภาษาอังกฤษที่ใช้ในการเขียนบรรยายสถิติ
2.7.2.3.4 การแสดงสถิติด้วยภาพ (visuals)
2.7.2.3.1 ความสำคัญ
การเขียนข้อมูลทางสถิติเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจเป็นเรื่องท้าทาย ต้องพิจารณาผู้อ่าน และเรื่องที่จะเขียน ทั้งยังขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของสถิติที่ใช้ หากเขียนให้ผู้อ่านที่รู้เรื่องสถิติดีอาจไม่จำเป็นต้องอธิบายแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ
ตัวสถิตินั้น ๆ แต่ต้องเขียนให้ท้าทายผู้อ่าน หากเขียนให้ผู้ที่มีพื้นความรู้ทางสถิติน้อย อาจต้องอธิบายหลักการเพื่อความเข้าใจเบื้องต้นก่อน เช่นเดียวกับเขียนเกี่ยวกับสถิติชั้นสูง ในการเขียนทางวิทยาศาสตร์ สถิติอาจเป็นข้อมูลที่สำคัญที่สุดที่ต้องนำเสนอในการทดลองหรือบทความนั้นๆ แต่ในทางสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ สถิติอาจเป็นการสนับสนุนประเด็นที่นำเสนอ ที่สำคัญที่สุดการเขียนเกี่ยวกับสถิติให้ได้ดีในบทความ จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับสถิติอย่างถ่องแท้
ในที่นี้จะเน้นที่การเขียน โครงสร้างและ สำนวนภาษาที่ใช้ในการบรรยายสถิติ และการนำเสนอข้อมูลทางสถิติโดยภาพ เป็นหลัก
โดยทั่วไปสถิติแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
Descriptive: |
สถิติเชิงพรรณนา หากต้องการพรรณนาเฉพาะกลุ่มข้อมูลที่ศึกษามาเช่น percentage (%), mean, mode median, range, standard deviation |
Inferential: |
สถิติอ้างอิง หากต้องการให้สิ่งที่ศึกษามาอธิบายกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น เช่น factor analysis |
2.7.2.3.2 การใช้ภาษา
1. คำแนะนำทั่วไปในการเขียนเกี่ยวกับสถิติ |
|
ข้อแนะนำในการเขียนเกี่ยวกับสถิติ และการใช้สถิติในงานวิจัยในเบื้องต้น
1. อย่าใช้สถิติที่ตนเองไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ต้องปรึกษาผู้รู้อย่างจริงจัง
2. อย่าพยายามอธิบายผลสถิติที่ตนเองไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ถ้าต้องการใช้สถิติขั้นสูงบางชนิด เช่น log linear อาจต้องปรึกษาผู้รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถิติอ้างอิงซึ่ง อาจมีวิธีการแปลผลที่ยอมรับได้หลายวิธี ผู้วิจัยหรือผู้เขียนบทความต้องตระหนักข้อนี้
3. การเขียนเกี่ยวกับสถิติในบทความต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้อ่าน หากเป็นกลุ่มผู้อ่านทั่วไป อาจต้องอธิบายเพิ่มเติม หากเป็นกลุ่มผู้อ่านในวารสารเฉพาะทาง อาจไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามหากผู้เขียนใช้สถิติชั้นสูงอาจต้องอธิบายเพิ่มเติม ในภาคผนวก footnote หรือในเนื้อหาโดยตรง
4. นำเสนอข้อมูลมากเท่าที่จำเป็นเพื่อที่ผู้อ่านจะสามารถแปลผลข้อมูลของผู้เขียนบทความได้ด้วยตนเอง ปกติการใช้สถิติก็เพื่อสนับสนุนข้อโต้แย้งหรือประเด็นของผู้เขียน โน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นด้วยกับบทความด้วยข้อมูล
5. ใช้ ภาพ กราฟ ตาราง แผนภูมิ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า
6. ระมัดระวังการอ้างอิงสถิติจากวารสารที่ไม่มีผู้อ่านตรวจสอบคุณภาพของบทความ (peer-review) เพราะอาจไม่น่าเชื่อถือ
8. อ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ได้มา มิใช่กล่าวโดยเลื่อนลอย
9. อาจต้องอธิบายการคำนวณเกี่ยวกับสถิติในบางสาขาวิชา
10. บอกให้ชัดเจนว่าการวิเคราะห์ให้ข้อมูลแสดงนัยทั่วไป (generalize) หมายถึงประชากรกลุ่มไหน
11. การเขียนเกี่ยวกับสถิติอ้างอิง ให้เขียนให้เรียบง่ายที่สุด อาจบอกการแปลผลก่อนโดยนำข้อมูลไว้ท้ายประโยค
(Sources: Quick Tips on Writing with Statistics. Retrieved December 21, 2009, from http://owl.english.purdue.edu/owl/resource/672/02/ ) |
2. หลักการเขียนสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) |
|
เขียนตรงไปตรงมา ถ้าเขียนเกี่ยวกับหัวข้อเดียวกัน ใส่ข้อมูลรวมไว้ที่ย่อหน้าหรือส่วนเดียวกัน
ตัวอย่างการเขียนผลการวิจัยทางสถิติจากบทความวิชาการ
ตัวอย่างที่ 1
Of 157 women screened, 141(89.8%) were eligible for the study and 136 (96.5%) of those eligible consented to participate and completed data collection.

ตัวอย่างที่ 2
The Shapiro-Wilk test for normality of the data distribution indicated that the sample was normally distributed in terms of age in years (M=54.3; SD9.8; range=28-80 years) and weight in pounds (M=151.3; SD=4. 0.82; range 94-389).

ตัวอย่างที่ 3
As shown by Table 2, the mean scores on the tailor-made tests for the implicit correction group and the explicit correction group are 72.38 and 82.03 respectively. The standard deviation was 18.28 for the implicit correction group and 13.20 for the explicit correction one, indicating that the scores in the explicit correction group were less spread and more homogeneous than the scores in the implicit correction group. The medians of the two groups are 77 and 83 for the implicit and explicit groups, respectively.

ถ้ามีข้อมูลเชิงพรรณนามาก อาจพิจารณาใส่ตารางหรือภาพ ให้ข้อมูลเฉพาะที่สำคัญ อย่าเขียนข้อมูลไปทั้งหมดหมดเพราะเหตุผลของการใช้สถิติคือเพื่อย่นย่อข้อมูลจำนวนมากให้สามารถจัดการได้
(Sources: Writing with descriptive statistics. Retrieved December 24, 2009, from http://owl.english.purdue.edu/owl/resource/672/04/ ตัวอย่างเป็นการค้นคว้าของผู้เขียนชุดฝึกอบรมฯ)
|
3. หลักการเขียนสถิติอ้างอิง (inferential statistics) |
|
สถิติอ้างอิง มีความซับซ้อนและสามารถตีความได้หลายนัย จุดประสงค์ของ สถิติอ้างอิง เพื่อค้นพบคุณลักษณะหรือรูปแบบทั่วไปของกลุ่มใหญ่โดยการศึกษากลุ่มย่อย ต้องมีการแปลผลสำหรับผู้อ่าน
ตัวอย่างการเขียนเกี่ยวกับสถิติอ้างอิง
ตัวอย่างที่ 1 อธิบายการนำมาใช้
An exploratory factor analysis (EFA) was conducted to map the domain of the construct and refine the measure and meaning of OLM. EFA is used to explore the number of factors that account for the covariation between variables when there is no a priori sufficient evidence to form a hypothesis about the number of factors underlying the data (Stevens, 1996).
ตัวอย่างที่ 2 อธิบายผล
Thus, the OLM scale (27 items) consisted of four subscales with eigenvalues ranging from 10.503 to 1.303, explaining 57.26% of the variance. The four distinct clusters of items loaded nearly as expected, and their reliability coefficients (Cronbach’s alpha) were moderate to high: analyzing information (9 items): .87; storing, retrieving, and putting to use of information (10 items):/91; receiving and disseminating information (5 items): .77; and seeking information (3 items):. 73.

(Sources: Writing Inferential Statistics. Retrieved December 24, 2009, from, http://owl.english.purdue.edu/owl/resource/672/06/ ตัวอย่างเป็นการค้นคว้าของผู้เขียนชุดฝึกอบรม) |
โครงสร้างของบทความ
การเขียนส่วนต่างๆ ของบทความ
Activities