Page 11 - ebook
P. 11
-๘-
โดยยึดหลัก ๓ ประการ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีอาชีพและทำกินถาวร โดยคงสภาพธรรมชาติไว้
รักษาสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์ไว้ไม่ให้ถูกทำลาย และฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายให้คืนสู่สภาพธรรมชาติ โดยให้มีทั้งป่า
ธรรมชาติและป่าไม้ใช้สอย พัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรให้ดีขึ้น
๑๐. โครงการฟาร์มตัวอย่างพระราชดำริ
ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ทุรกันดารอย่างต่อเนื่อง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๙ ทรงพบว่ายังมีราษฎรจำนวนมากที่ยังขาดความรู้ในการ
ประกอบอาชีพ ขาดแหล่งอาหารเพื่อการดำรงชีวิต และประสบปัญหาความยากจนขาดแคลนในด้านต่างๆ จึงเป็นสาเหตุ
สำคัญของการทำลายป่าต้นน้ำลำธาร จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการฟาร์มตัวอย่างพระราชดำริ เพื่อให้ความรู้ที่
ถูกต้องในการประกอบอาชีพ รวมถึงการให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตบางส่วน ตลอดจนติดตามให้คำแนะนำอย่าง
ใกล้ชิดในขณะเดียวกันราษฎรที่เข้ารับการฝึกสอนในโครงการก็จะสามารถนำเอาความรู้ในเรื่องการเกษตรด้านต่างๆ เช่น
การประมง ปศุสัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ของตน โดยโครงการฟาร์ม
ตัวอย่างเริ่มดำเนินการเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ บ้านขุนแตะ ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็น
โครงการฟาร์มตัวอย่างแห่งแรก และได้ขยายผลไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ
๑๑. โครงการธนาคารอาหารชุมชน “food bank”
ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๙
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เรือนประทับแรมปางตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทรงเป็นห่วงถึงการดำเนินชีวิตของ
ราษฎร เนื่องจากทรงทราบว่า องค์การสหประชาชาติได้ทำนายว่าในอนาคตโลกจะประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
รวมถึงปัญหาการขาดแคลนอาหารสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร และด้วยเหตุที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ที่
มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติอยู่มากจึงมีพระราชประสงค์ให้ทำเกษตรกรรมในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนให้มีความ
หลากหลายยิ่งขึ้น โดยให้พิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ และให้ป่าเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่ราษฎร
สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์พร้อมกับร่วมดูแลรักษาป่า และพึ่งพาอาหารจากป่าได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
๑๒. โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ๒๕๔๗
ในการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมในเขตพื้นที่ภาคเหนือให้กลับคืนสู่สภาพป่าที่สมบูรณ์จำเป็นต้องดำเนินการไป
พร้อมๆกับการให้ความรู้ด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ที่เหมาะสมและต้องสร้างงานให้กับราษฎรในพื้นที่ได้ด้วย ดังนั้น
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๙ จึงได้พระราชทานพระราชดำริ
ให้จัดตั้ง สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและน่าน ภายใต้โครงการนี้ได้มีการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อม
โทรมให้กลับคืนสู่สภาพป่าที่สมบูรณ์ จัดสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน เพื่อสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า จัดทำแนวกันไฟ
ป่า รวมทั้งวางแผนการใช้ที่ดินที่เหมาะสม จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการทำคูรับน้ำรอบเขาและปลูกหญ้าแฝก
เพื่อลดปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ด้านการพัฒนาพื้นที่การเกษตร ได้จัดทำแปลงทดสอบการปลูกไม้ผล ไม้