Page 9 - ebook
P. 9

-๖-
          เพื่อนบ้านให้มีความรู้ความเข้าใจทางด้านสุขอนามัยตลอดจนให้การช่วยเหลือเบื้องต้นตามที่ได้รับการอบรม โดยมีการ

          เปิดอบรมขึ้นครั้งแรกที่โรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๔



          ๔. โครงการป่ารักน้ำพระราชดำริ

                 “พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง อ่างเก็บน้ำ ฉันจะ

          สร้างป่า” พระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๙  โดย

          โครงการป่ารักน้ำเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ ที่บ้านถ้ำติ้ว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร และได้

          ขยายไปยังท้องที่ต่างๆทั่วประเทศ โดยการดำเนินการของโครงการมีลักษณะมุ่งให้เกิดการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นในป่า เพื่อ

          ช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจน ไม่มีพื้นที่ทำกิน ให้เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านเพื่อทำหน้าที่ปลูกต้นไม้และดูแลรักษาป่า ทั้งนี้ทรง

          พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นเงินเดือนให้แก่ราษฎรที่ช่วยดูแลป่าอีกด้วย โดยมีหลักการคือ ให้ป่าอยู่กับคน

          คนอยู่กับป่าได้ โดยไม่มีการทำลาย เมื่อชาวบ้านปลูกป่าเอง เกิดความรักในป่าไม้ และรู้จักประโยชน์จากป่าไม้แล้ว ก็จะ

          เลิกการตัดไม้ทำลายป่า



          ๕. โครงการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากมาจากพระราชดำริสวนป่าสิริกิติ์๒๕๒๕

                 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรด

          เกล้าโปรดกระหม่อม ให้มีการสำรวจสภาพป่าบริเวณบ้านโม่งหลวงและบ้านโม่งน้อย ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัด

          เชียงใหม่ พบว่ามีสภาพป่าที่น่าสงวนไว้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แต่เนื่องจากมีราษฎรอาศัยอยู่จึงทรงให้มีการดำเนินงาน

          ปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

          โดยให้กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานหลักและมีส่วนราชการอื่นๆ ซึ่งได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมปศุสัตว์ และกรมส่งเสริม

          การเกษตร เข้ามาช่วยปฏิบัติงานเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว จากการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริปรากฎว่า

          ราษฎรในพื้นที่โครงการมีความเข้าใจในด้านต่างๆ โดยราษฎรมีส่วนร่วม ซึ่งในที่สุดราษฎรก็จะสามารถพึ่งตนเองได้และ

          อาศัยอยู่คู่กับป่าได้อย่างเกื้อกูล ก่อให้เกิดแนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้อย่างแท้จริง



          ๖. โครงการศูนย์เพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์สัตว์ป่าจากพระราชดําริ ๒๕๒๗

                 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๙ ทรงเล็งเห็นปัญหาแหล่ง

          ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถูกทำลาย สัตว์ป่าถูกล่า จึงมีพระราชประสงค์ให้มีศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าขึ้นใน
          ท้องถิ่นทุกภาคของประเทศเพื่อให้เป็นศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าอันเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า วิจัย

          เกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ป่า ตลอดจนการปลูกพืชอาหารสัตว์เสริมในพื้นที่ธรรมชาติและเผยแพร่ แก่ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อ

          เป็นการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่หายากและกำลังศูนย์พันธุ์ นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงพระราชทานพระราชดำริที่เปรียบเสมือน

          การวางแผนเชื่อมโยงจากศูนย์เพาะเลี้ยงฯ ว่า “เมื่อสัตว์ป่าแต่ละชนิดขยายพันธุ์ได้มีปริมาณมากขึ้นแล้ว ก็ให้ดำเนินการ

          ปล่อยคืนสู่ป่าธรรมชาติที่เป็นถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่านั้นๆ เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนประชากรสัตว์ป่าในธรรมชาติไม่ให้สูญ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14