สำนักทะเบียนและวัดผล มสธ.
Web Contents

การโอนชุดวิชาและการเทียบงานรายวิชา

การโอนชุดวิชา         
     "การโอนชุดวิชา" หมายความว่า การนำชุดวิชาที่ได้ศึกษาและสอบผ่านในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมาใช้ในหลักสูตรที่สมัครเข้าศึกษาใหม่ในระดับปริญญาตรี
     นักศึกษาที่ประสงค์จะขอโอนชุดวิชาต้องมีสถานภาพเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยนำหลักฐานใบแสดงผลของชุดวิชาที่นักศึกษาได้สอบผ่านแล้วหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งของมหาวิทยาลัยทั้งในระดับประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี หรือ สัมฤทธิบัตรตามโครงการสัมฤทธิบัตร มาใช้และให้โอนได้ทุกชุดวิชาที่ปรากฏอยู่ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เข้าศึกษาในปัจจุบัน
     นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอโอนชุดวิชาที่ศึกษาจากมหาวิทยาลัย (มสธ.19) หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์ม คลิกที่นี่ ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล ได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาเป็นต้นไป และดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
     1. กรอกข้อความในใบคำร้องขอโอนชุดวิชาที่ศึกษาจากมหาวิทยาลัย (มสธ.19) ให้ถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน พร้อมส่งหลักฐานการโอนชุดวิชา ดังนี้
          1.1 สำเนาใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) หรือสำเนาใบแจ้งผลการสอบผ่านชุดวิชาที่ขอโอน จำนวน 1 ฉบับ
          1.2 สำเนาเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญหย่า เป็นต้น จำนวน 1 ฉบับ
     สำเนาเอกสารตามข้อ 1.1 และ 1.2 นักศึกษาจะต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้องตรงกับต้นฉบับจริงให้เรียบร้อยด้วยตนเองทุกแผ่น
     2. ชำระค่าธรรมเนียมการโอนชุดวิชา ชุดวิชาละ 200 บาท โดยชำระผ่านระบบ Pay at Post โดยแนบสำเนาใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีอย่างย่อมาพร้อมด้วย
     3. หลักจากสำนักทะเบียนและวัดผลได้รับใบคำร้องขอโอนชุดวิชา หลักฐานต่างๆ และค่าธรรมเนียมของนักศึกษาครบถ้วนแล้ว จะจัดส่งใบต้อบรับการรับคำร้องโอนชุดวิชาให้นักศึกษาทราบ และจะดำเนินการโอนชุดวิชาให้นักศึกษาภายใน 20 วันทำการ
     ผลการโอนชุดวิชาของนักศึกษาจะสมบูรณ์เมื่อได้รับใบอนุมัติการโอนชุดวิชาจากมหาวิทยาลัย
     นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติย้ายสังกัดสาขาวิชา-เปลี่นยวิชาเอก ไม่ต้องยื่นคำร้องขอโอนชุดวิชา เพราะจะได้รับการโอนชุดวิชาทุกชุดวิชาที่สอบผ่านจากหลักสูตรเดิมเข้าในหลักสูตรใหม่โดยอัตโนมัติ
 
      เงื่อนไขในการโอนชุดวิชาตามมติสภาวิชาการ     
1. ชุดวิชาที่ใช้โอนแทนกัน
สาขาวิชา/วิชาเอก     ชุดวิชาที่ขอโอน     ใช้แทนชุดวิชา     มติสภาวิชาการ
1. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
    - วิชาเอกนิเทศศาสตร์ 4 ปี
    - วิชาเอกนิเทศศาสตร์ 3 ปี     
22331 สังคมศึกษา 3 : เศรษฐศาสตร์สำหรับครู     
60120 หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น     ครั้งที่ 31/2528
2. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
    - วิชาเอกการจัดการทั่วไป     
11201 คณิตศาสตร์สำหรับสังคมศาสตร์
และ
60310 สถิติเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ     
30205 คณิตศาสตร์และสถิติ     ครั้งที่
7/2539
    - วิชาเอกการจัดการทั่วไป
    - วิชาเอกการบัญชี     320404 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
และ
60310 สถิติเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ     32206 สถิติธุรกิจและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ     ครั้งที่
7/2539
    - วิชาเอกการเงินและการธนาคาร
    - วิชาเอกการประกันภัยทั่วไป     32301 การจัดการการผลิต
และ
32302 การจัดการการตลาด     32202 การจัดการการตลาดและการผลิต     ครั้งที่ 34/2532
    - วิชาเอกการเงินและการธนาคาร
    - วิชาเอกการตลาด
    - วิชาเอกการประกันภัยทั่วไป     11201 คณิตศาสตร์สำหรับสังคมศาสตร์
และ
60310 สถิติเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ     32201 คณิตศาสตร์และสถิติเพื่อธุรกิจ     ครั้งที่ 35/2535
3. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
    - วิชาเอกปฐมวัยศึกษา
    - ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู     
21499 ฝึกอบรมครูและผู้เกี่ยวข้องกับการเลี่้ยงดูเด็กปฐมวัยศึกษา (สอนผ่านไม่เกิน 3 ปี)     
21311 พฤติกรรมการสอนปฐมวัยศึกษา     ครั้งที่
5/2531
    - วิชาเอกสังคมศึกษา     60120 หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น     22331 สังคมศึกษา 3 : เศรษฐศาสตร์สำหรับคร     ครั้งที่ 41/2532
    - วิชาเอกบริหารการศึกษา     23498 ฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา (สอบผ่านไม่เกิน 3 ปี)     23410 การจัดการโรงเรียนประถมศึกษา     ครั้งที่ 25/2532
4. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
    - วิชาเอกเศรษฐศาสตร์
    - วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ     
30205 คณิตศาสตร์และสถิต     
11201 คณิตศาสตร์สำหรับสังคมศาสตร์     ครั้งที่ 45/2535
    - วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ     32301 การจัดการการผลิต
และ
32404 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ     61403 เศรษฐศาสตร์การผลิตและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ     ครั้งที่ 43/2533
   - วิชาเอกเศรษฐศาสตร์     60221 ประวัติและลัทธิเศรษฐกิจ     60227 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและ แนวคิดทางเศรษศาสตร์     ครั้งที่
1/2550
      60222 เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ     60341 ไทยในเศรษฐกิจโลก     
      60310 สถิติเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ     60328 สถิติเศรษฐศาสตร์และ เศรษฐมิติเบื้องต้น     
      60330 การพัฒนาและความจำเริญ ทางเศรษฐกิจ
หรือ
60433 ทฤษฎีและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิ     60335 เศรษฐศาสตร์การพัฒนา
หรือ
60338 เทคโนโลยีและความจำเริญ ทางเศรษฐกิจ     
      60360 เศรษฐศาสตร์กำลังคน
หรือ
60361 เศรษฐศาสตร์แรงงานและ แรงงานสัมพันธ์
หรือ
60481 ประชากรศาสตร์และ ประชาวรรณา     60339 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์     
      60380 เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและ  สิ่งแวดล้อม     60343  เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม     
      60412 สถิติประยุกต์และวิธีการวิจัย     60434 วิธีการวิจัยและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับการศึกษาเศรษฐศาสตร์     
      60432 การวางแผนเศรษฐกิจ     60335 เศรษฐศาสตร์การพัฒนา     
      60472 เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม และทฤษฎีต้นทุน     60473  เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรม     
5. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
    - วิชาเอกเทคโนโลยีการพิมพ์
    - วิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ     

 

97401 การจัดการทางการพิมพ์
หรือ
97408 ธุรกิจการพิมพ์และการจัดพิมพ์
    

 

97410 การจัดการธุรกิจการพิมพ์
    ครั้งที่
7/2550
      96301 คอมพิวเตอร์กับงานธุรกิจด้านพณิชยกรรม     96305 เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจด้านพณิชยกรรม     ครั้งที่
4/2552
      96402 คอมพิวเตอร์กับการบัญชี
และ
96406 คอมพิวเตอร์กับการตลาด     96410 เทคโนโลยีสารสนเทศกับงาน การบัญชีและการบัญชีเพื่อการจัดการ     ครั้งที่
4/2552
 
2. มติสภาวิชาการครั้งที่ 19/2533
   - มหาวิทยาลัยไม่อนุมัติให้นักศึกษาโอนชุดวิชา 21499 หรือ 23498 เป็นชุดวิชาเลือกเสรี
3. มติสภาวิชาการครั้งที่ 7/2539
   - มหาวิทยาลัยไม่อนมุัติให้นักศึกษาที่ขอโอน 2 ชุดวิชาแทน 1 ชุดวิชาแล้ว ไม่สามารถเทียบโอนชุดวิชากลับกัน เพื่อใช้ 1 ชุดวิชา แทน 2 ชุดวิชา
4. มติสภาวิชาการครั้งที่ 23/2541
   - นักศึกษาที่ใช้วุฒิการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตจาก มสธ. สมัครเข้าศึกษาในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สามารถขอโอนชุดวิชา 41231 กฎหมายอาญา 1 และ 41232 กฎหมายอาญา 2 แทนชุดวิชา 81427 กฎหมายอาญา สำหรับรัฐศาสตร์ และขอโอนชุดวิชา 41343 กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 แทนชุดวิชา 81428 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพยานหลักฐานสำหรับรัฐศาสตร์ มาใช้เป็นชุดวิชาเลือกในหมวดวิชาเฉพาะได้
 
 
      การเทียบผลการศึกษาและเทียบประสบการณ์     
     "การเทียบงานรายวิชา" หมายถึง การนำรายวิชาที่สอบผ่านมาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ มาขอเทียบกับชุดวิชาในหลักสูตรที่นักศึกษาสมัครเข้าเรียนใน มสธ และการจะเทียบได้กับชุดวิชาใดนั้นให้อยู่ในดุลพินิจของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้พิจารณาเทียบให้
     นักศึกษาที่ประสงค์ขอเทียบผลการศึกษาและเทียบประสบการณ์ โดยการเทียบงานรายวิชาของผู้ศึกษาในระบบการศึกษา เป็นการนำรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ได้ศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นหรือเทียบเท่า นำมาเทียบเข้าสู่ชุดวิชาของหลักสูตรในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
     นักศึกษาที่มีสิทธิเทียบงานรายวิชาต้องมีสถานภาพเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ศึกษาหลักสูตร 3 ปี และ 4 ปี เท่านั้น นักศึกษาที่ใช้วุฒิปริญญาตรีสมัครเข้าศึกษาและได้รับการยกเว้นชุดวิชาบางชุดวิชาตั่้งแต่เริ่มสมัครเข้าศึกษาไม่มีสิทธิเทียบงานรายวิชา
     คุณสมบัติของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบงานรายวิชานั้น มีลักษณะดังนี้
     1. เนื้อหาสาระครอบคลุมหรือตรงกับเนื้อหาของชุดวิชาของมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของชุดวิชาที่เทียบได้
     2. ลำดับขั้นของแต่ละรายวิชาไม่ต่ำกว่าตัวอักษร C ระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า 2.00 หรือเทียบเท่า
     3. จำนวนชุดวิชาที่เทียบได้ไม่เกินสามในสี่ของชุดวิชาตามหลักสูตรที่ขอเทียบ
     นักศึกษาที่ประสงค์ขอเทียบงานรายวิชาสามารถยื่นใบคำร้องขอเทียบงานรายวิชา (มสธ.18) หรือหรือดาวน์โหลดแบบฟอร์ม คลิกที่นี่ ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาเป็นต้นไป และดำเนินการดังนี้
     1. กรอกข้อความในใบคำร้องขอเทียบงานรายวิชาที่ศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น (มสธ.18) ให้ถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน พร้อมส่งหลักฐานดังนี้
          1.1 สำเนาใบรายงานผลการศึกษาที่ขอเทียบ (Transcript) จำนวน 3 ฉบับ
          1.2 สำเนาเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญการหย่า เป็นต้น จำนวน 3 ฉบับ
     สำเนาเอกสารตามข้อ 1.1 และ 1.2 นักศึกษาจะต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้องตรงกับต้นฉบับจริงให้เรียบร้อยด้วยตนเองทุกแผ่น
     2. หลังจากสำนักทะเบียนและวัดผลได้รับคำร้องและหลักฐานครบถ้วน พร้อมตรวจสอบผ่านตามเกณฑ์การเทียบงานรายวิชา จะจัดส่งใบตอบรับให้นักศึกษาทราบ ได้รับคำร้องของนักศึกษาแล้วและอยู่ระหว่างส่งคณะอนุกรรมการของสาขาวิชาพิจารณาเทียบงานรายวิชาอยู่
     ผลการเทียบงานรายวิชาของนักศึกษาจะสมบูรณ์เมื่อได้รับใบอนุมัติการเทียบงานรายวิชาจากมหาวิทยาลัย
     กรณีที่มีปัญหาในการเทียบงานรายวิชา สำนักทะเบียนและวัดผลจะนำเสนอ "คณะกรรมการบริหารการเทียบผลการศึกษาและเทียบประสบการณ์วินิจฉัยชี้ขาด"

สำนักทะเบียนและวัดผล มสธ.  Version 2018.0.1