สำนักทะเบียนและวัดผล มสธ.
คำถามถามบ่อย
คำถามถามบ่อยในการเรียนระดับปริญญาตรีกับ มสธ.
นักศึกษาจะต้องสมัครเป็นนักศึกษาใหม่  โดยดำเนินการสมัครเข้าเป็นนักศึกษาเช่นเดียวกับผู้สมัครใหม่ทุกประการและจะต้องสั่งซื้อวัสดุการศึกษาใหม่ แม้ว่าชุดวิชานั้นนักศึกษาจะเคยลงทะเบียนเรียนมาแล้วในสถานภาพนักศึกษาก่อน ๆ ก็ตาม
สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. ให้ติดต่อสถานศึกษาเดิมเพื่อให้ออกหลักฐานการสำเร็จการศึกษาให้ใหม่ หรือ
2. กรณีที่ไม่สามารถติดต่อสถานการศึกษาเดิมได้  ขอให้ติดต่อขอสำเนาวุฒิการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง

ระเบียบการสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2567 ผู้สมัครสามารถศึกษารายละเอียดและ DOWNLOAD ได้ฟรีที่เว็บไวต์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (www.stou.ac.th/main/apply.html) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย คลิกได้ที่นี่ 

ให้นำวุฒิการศึกษาไปเทียบวุฒิการศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แล้วส่งใบเทียบวุฒิการศึกษาไปยังมหาวิทยาลัยพร้อมเอกสารการสมัคร
  1. เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่านักศึกษาลงทะเบียนเรียนมากกว่า 1 ชุดวิชาจะตัดชุดวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนออกบางชุดวิชาเพื่อให้พอกับจำนวนเงินที่ส่งมาและแจ้งให้นักศึกษาลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาที่ตัดออกพร้อมชำระเงินเพิ่มเติมให้ครบถ้วน
  2. กรณีนักศึกษาสมัครและลงทะเบียนเรียนเพียง 1 ชุดวิชาจะมีหนังสือแจ้งให้นักศึกษาชำระ  ค่าลงทะเบียนเพิ่มเติมให้ครบถ้วนจึงจะรับเป็นนักศึกษา
  1. มหาวิทยาลัยจะแจ้งผลการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ให้นักศึกษาทราบภายใน 15 วัน  นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารการสมัครครบถ้วน สมบูรณ์ และตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครว่าถูกต้องแล้ว
  2. จะจัดส่งใบตอบรับการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ พร้อมบัตรประจำตัวนักศึกษา คู่มือนักศึกษา โครงสร้างและรายละเอียดของหลักสูตรที่ต้องศึกษาให้ทางไปรษณีย์ สำหรับวัสดุการศึกษาจะทยอยจัดส่งให้ภายหลังต่อไป
  3. ตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ได้ที่เว็บไซต์ มสธ www.stou.ac.th  หัวข้อ  หัวข้อบริการนักศึกษา  เลือกนักศึกษาปริญญาตรี หัวข้อระบบสารสนเทศงานทะเบียนนักศึกษาและงานบริการการศึกษา  คลิกที่ สอบถามการสมัครเป็นนักศึกษา/ผู้เรียน
    หมายเหตุ หากข้อมูลที่นักศึกษาได้รับไม่ตรงกับข้อมูลที่นักศึกษาแจ้งไว้ในใบสมัคร  ขอให้นักศึกษาแจ้งแก้ไขข้อมูลไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลทันที
นักศึกษาสามารถตรวจสอบการตอบรับการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาและการจัดส่งบัตรประจำตัวนักศึกษาได้จาก website ของมหาวิทยาลัย หรือแจ้งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล  เพื่อทำการตรวจสอบ
  1. ผู้สมัครจะต้องขออนุญาตจากกรมราชทัณฑ์
  2. ส่งใบอนุญาตจากกรมราชทัณฑ์ และแบบกรอกข้อมูลสำหรับผู้สมัครทีเป็นผู้ต้องขังไปพร้อมกับเอกสารการสมัครตามขั้นตอนการสมัครเช่นเดียวกับผู้สมัครใหม่โดยทั่วไป

มหาวิทยาลัยได้จัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างประเทศไว้  2  รูปแบบคือ

รูปแบบที่ 1 ดำเนินการรับสมัคร รับลงทะเบียนเรียน และจัดสอบ สำหรับคนไทยในต่างประเทศ เฉพาะประเทศสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย เมืองฮ่องกง ไต้หวัน ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ค่าลงทะเบียนเรียนเก็บในอัตราเหมาจ่าย (รวมค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าบำรุงการศึกษา ค่าบัตรประจำตัวนักศึกษา และค่าใช้จ่ายในการจัดสอบ)

ค่าลงทะเบียนเรียนครั้งแรก ที่สมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ค่าลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาต่อไป ค่าลงทะเบียนสอบซ่อมต่อครั้ง
1 ชุดวิชา 5,600 บาท 1 ชุดวิชา 5,000 บาท 1,500 บาท
2 ชุดวิชา 6,600 บาท
2 ชุดวิชา 6,000 บาท  
3 ชุดวิชา 7,600 บาท 3 ชุดวิชา 7,000 บาท  

 โดยนักศึกษาสามารถชำระค่าลงทะเบียนเรียนผ่านศูนย์บริการการศึกษาของ มสธ. ในต่างประเทศ ได้แก่

- สำนักงานแรงงานไทยในประเทศสิงคโปร์                           ประเทศสิงคโปร์  
- สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน             ประเทศบรูไน
- สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์                    ประเทศมาเลเซีย
- สำนักงานแรงงานไทย ณ เมืองฮ่องกง                               ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
- สำนักงานแรงงานไทย ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) กรุงไทเป        ประเทศไต้หวัน
- สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ  กรุงริยาด                             ประเทศซาอุดิอาระเบีย
- สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ                                         ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

รูปแบบที่ 2 จัดสอบอย่างเดียว สำหรับคนไทยในต่างประเทศ นอกเหนือ รูปแบบที่ 1

  1. ผู้สมัครสามารถสมัครโดยใช้ที่อยู่ในประเทศไทย ชำระค่าลงทะเบียนเรียนในอัตราเดียวกับผู้สมัครในประเทศ มหาวิทยาลัยจะจัดส่งเอกสารการสอนและเอกสารอื่น ๆ ให้ตามที่อยู่ในประเทศไทย ผู้สมัครต้องมีญาติหรือบุคคลที่คอยรับ และจัดส่งเอกสารต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยส่งให้เพื่อส่งต่อให้กับผู้สมัคร ทั้งนี้ผู้สมัครต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสารเอง
  2. ชำระค่าจัดสอบอัตราเหมาจ่ายจำนวน 6,500 บาท ต่อการจัดสอบแต่ละครั้ง โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขานนทบุรี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 140-0-96697-2 ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พร้อมส่งสำเนาใบโอนเงิน ก่อนการสอบ 45 วัน ไปยัง ฝ่ายจัดสอบ สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 หรือแจ้งการโอนเงินทาง e-mail address  : ev.reoffice@stou.ac.th  หรือแจ้งทางโทรสารหมายเลข 0 2503 2742 ภายในวันที่ชำระเงินหรือวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการโอนเงินให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้สมัคร
  3. มหาวิทยาลัยจะจัดสอบให้ ณ สถานกงสุลไทย / สถานทูตไทยประจำประเทศนั้น ๆ ที่มีความพร้อมที่จะจัดสอบให้ได้ หากมีข้อขัดข้องใด ๆเกี่ยวกับสถานที่สอบ มหาวิทยาลัยจะแจ้งให้นักศึกษาทราบและจะคืนเงินค่าธรรมเนียมในการจัดสอบให้นักศึกษา หรือหากมีค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติมมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้นักศึกษาทราบก่อนการสอบ
มหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาใหม่ปีการศึกษาละ 2 ครั้ง ดังนี้
ภาคต้น แบ่งเป็น 2 ช่วง     ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง 20 มิถุนายน ของทุกปี
  ช่วงที่ 2 ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ถึง 1 กันยายน  ของทุกปี
ภาคปลาย                          ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน ถึง 16 กุมภาพันธ์      ของทุกปี

การสมัครเรียนออนไลน์ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ผู้สมัครจะต้องจัดเตรียมเอกสารประกอบการสมัครในลักษณะไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

1.รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ แต่งกายสุภาพ (ไม่สวมเสื้อยืดคอกลม) ฉากหลังของภาพเป็นสีพื้นเท่านั้น แนบเป็นไฟล์ .JPG

2.สำเนาวุฒิการศึกษาฉบับที่ระบุหลักสูตรที่จบการศึกษาและวันจบการศึกษา เช่นใบรับรองสำเร็จการศึกษา หรือใบประกาศนียบัตร หรือใบปริญญาบัตร หรือใบรายงานผลการศึกษา (TRANSCRIPT)

3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน อย่างใดอย่างหนึ่ง

4.สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อสกุล เช่นใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อ-สกุล ใบแต่งตั้งยศ ใบสำคัญการสมรส เป็นต้น

หมายเหตุ  เอกสารประกอบการสมัครในข้อที่ 2-4 ต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ และจัดทำในรูปแบบไฟล์ .PDF

1. สมัครได้ที่เว็บไซต์ มสธ. www.stou.ac.th  เลือกคลิกที่หัวข้อสมัครเรียนกับมสธ. เลือกคลิกที่หัวข้อระดับปริญญาตรี  และเลือกคลิกที่หัวข้อสมัครเรียนออนไลน์

2. สมัครได้ที่เว็บไซต์ https://apply.stou.ac.th/course-information/  เลือกคลิกที่หัวข้อสมัครเรียนออนไลน์

1.ค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวนเงิน 1,400 บาท ประกอบด้วย

1.1 ค่าธรรมเนียมแรกเข้า  800 บาท  (ผู้สมัครที่มีอายุครบ 60 ปี ขึ้นไป นับถึงวันเปิดภาคการศึกษาที่สมัคร จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า)

1.2 ค่าบำรุงการศึกษา 500 บาท

1.3 ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษา 100 บาท

2.ค่าชุดวิชาสำหรับนักศึกษาใหม่ในแต่ละชุดวิชาจะมีอัตราเรียกเก็บแตกต่างกัน โปรดอ่านรายละเอียดได้ที่ระเบียบการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่และลงทะเบียนเรียนภาคต้นและภาคปลายของปีการศึกษานั้นๆ

1.ระบบ Pay At Post ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขา

2. จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ที่ร้าน 7-ELEVEN ทุกสาขา

3.ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ.10 แห่ง จังหวัดลำปาง  สุโขทัย  อุดรธานี  อุบลราชธานี  นครสวรรค์  จันทบุรี  เพชรบุรี  นครนายก  นครศรีธรรมราช  และยะลา

4. ศูนย์บริการร่วมแบบครบวงจร ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จ.นนทบุรี

สามารถนำใบสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา (มสธ.1) เอกสารการสมัคร และสำเนาหลักฐานการชำระเงินค่าสมัคร บรรจุลงในซอง ฝากส่ง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ หรือบริษัทขนส่งพัสดุ  โดยจ่าหน้าซองดังนี้

ฝ่ายรับนักศึกษา สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 9/9 หมู่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ  ต.บางพูด  อ.ปากเกร็ด  จ.นนทุบรี  11120  (วงเล็บมุมซอง สมัครนักศึกษาใหม่)

การโอนชุดวิชาคือ การนำชุดวิชาที่ได้ศึกษาและสอบผ่านในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมาใช้ในหลักสูตรที่สมัครเข้าศึกษาใหม่ให้แก่ผู้ที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยจะพิจารณาการโอนชุดวิชาให้แก่ผู้ที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาโดยให้โอนชุดวิชาที่นักศึกษาสอบผ่านในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งของมหาวิทยาลัยทั้งในระดับประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี หรือสัมฤทธิบัตรตามโครงการสัมฤทธิบัตร เข้าสู่ชุดวิชาที่ปรากฎในหลักสูตรระดับปริญญตรีที่เข้าศึกษาใหม่ได้
สามารถขอโอนได้ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี  พ.ศ. 2547  โดยสามารถขอโอนชุดวิชาที่สอบผ่านและมีในหลักสูตรใหม่ได้ทุกชุดวิชา
นักศึกษาที่ประสงค์ขอโอนชุดวิชาสามารถขอโอนได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาเป็นต้นไป  และขอโอนได้มากกว่า 1 ครั้ง
  1. เป็นชุดวิชาที่นักศึกษาสอบผ่านในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งของมหาวิทยาลัย
  2. เป็นชุดวิชาที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตรที่สมัครใหม่
  1. ยื่นคำร้องขอใบคำร้องโอนชุดวิชา มสธ 19 จากสำนักทะเบียนและวัดผล หรือถ่ายสำเนาแบบฟอร์มจากคู่มือนักศึกษา  หรือ  Download จาก website  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp  โดยผู้ที่สมัครเป็นนักศึกษาใหม่จะต้องได้รับการตอบรับขึ้นทะเบียนนักศึกษาและมีเลขประจำตัวนักศึกษาใหม่แล้ว
  2. กรอกรายละเอียดลงในใบคำร้องขอโอนชุดวิชา มสธ 19 แล้วจัดส่งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการโอนชุดวิชา ชุดวิชาละ 200 บาท และแนบสำเนาใบรายงานผลการศึกษาหรือใบแจ้งผลการสอบไปด้วย
นักศึกษาที่ผ่านชุดวิชาในโครงการสัมฤทธิบัตรขณะที่ศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีสามารถขอโอนชุดวิชาได้ตามระเบียบฯ  ว่าด้วยการโอนชุดวิชา
นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้โอนชุดวิชาจะไม่มีสิทธิได้รับปริญญาเกียรตินิยม
  1. นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอโอนชุดวิชาที่สอบผ่านจากสูตรเดิมและมีอยู่ในโครงสร้างหลักสูตรที่สมัครใหม่ได้ทุกชุดวิชา ส่วนชุดวิชาที่ไม่มีอยู่ในหลักสูตรใหม่ นักศึกษาสามารถขอโอนเป็นชุดวิชาเลือกเสรีในหลักสูตรใหม่ได้เช่นกัน แต่ชุดวิชานั้นจะต้องไม่เป็นชุดวิชาที่มหาวิทยาลัยห้ามใช้เป็นชุดวิชาเลือกเสรีตามประกาศฯ เรื่องเกณฑ์การลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรี
  2. หลังจากที่นักศึกษาได้รับอนุมัติการโอนชุดวิชาแล้วระยะเวลาเรียนยังคงเป็น 3 เท่าของหลักสูตรตามปกติ  
ได้ โดยนักศึกษาจะต้องเขียนรายละเอียดลงในใบคำร้องมสธ 11 แนบมาพร้อมกับสำเนาใบแจ้งผลการสอบผ่านที่ปริ้นออกมาจากเว็บไซต์มสธ พร้อมใบคำร้องขอโอนชุดวิชา มสธ 19 และชำระค่าธรรมเนียมการโอนชุดวิชาละ 200 บาท ส่งไปสำนักทะเบียนและวัดผลต่อไป
การเทียบงานรายวิชา หรือกลุ่มรายวิชาของผู้ศึกษาจากการศึกษาในระบบ หรือการเทียบผลการเรียนรู้ของผู้ศึกษาจากการศึกษานอกระบบ เข้าสู่ชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี หรือหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย  ทั้งนี้การจะเทียบผลการศึกษาได้กับชุดวิชาใดนั้นให้อยู่ในดุลพินิจของสาขาวิชาที่จะพิจารณาเทียบให้
นักศึกษาที่ประสงค์ขอเทียบผลการศึกษา สามารถยื่นคำร้องขอเทียบผลการศึกษาได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่สมัครเข้าศึกษาเป็นต้นไป และสามารถขอเทียบผลการศึกษาได้มากกว่า 1 ครั้ง
  1. กรอกรายละเอียดลงในคำร้องการขอเทียบผลการศึกษา ( มสธ 18 )  หรือถ่ายสำเนาแบบฟอร์มคำร้องจากคู่มือนักศึกษา  หรือ  ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ มสธ.  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp  ส่งไปสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมกับรับรองสำเนาถูกต้องลงในใบรายงานผลการศึกษาของสถาบันเดิม 3 ฉบับ และสำเนาเอกสารอื่นๆ ถ้ามี
  2. ชำระค่าธรรมเนียมการยื่นคำร้องการเทียบผลการศึกษา จำนวนเงิน  300 บาท
  • เป็นผู้มีสถานภาพเป็นนักศึกษาของ มสธ
  • เป็นผู้ศึกษาอยู่ในหลักสูตรปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยจะพิจารณาเทียบผลการศึกษาได้ไม่เกินสามในสี่ของชุดวิชาตามหลักสูตรที่ขอเทียบ  และเมื่อเทียบผลการศึกษาเข้าสู่ชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแล้ว นักศึกษาต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการศึกษา
นักศึกษาทีได้รับอนุมัติเทียบผลการศึกษา หรือ เทียบประสบการณ์แล้ว จะไม่มีสิทธิได้รับปริญญาเกียรตินิยม

1.เป็นรายวิชา หรือกลุ่มมรายวิชาในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

2.เนื้อหาของรายวิชา หรือกลุ่มมรายวิชานั้นต้องมีเนื้อหาสาระครอบคลุม หรือตรงกับเนื้อหาของชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่นักศึกษาผู้นั้นเข้าศึกษาไม่น้อยกว่าสามในสี่ของชุดวิชาที่ขอเทียบผลการศึกษาของรายวิชาหรือกลุ่มมรายวิชานั้น

3.รายวิชา หรือกลุ่มรายวิชานั้นต้องได้ลำดับขั้นไม่ต่ำกว่าระดับคะแนนตัวอักษร C หรือมีแต้มไม่ต่ำกว่าระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่า และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่นำมาขอเทียบผลการศึกษานั้น เมื่อรวมกันแล้วต้องได้เท่ากับหรือมากกว่า 6 หน่วยกิตขึ้นไป

  1. ภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนได้อย่างน้อย 1 ชุดวิชา  และไม่เกิน  3  ชุดวิชา
  2. ภาคการศึกษาพิเศษนักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนได้เพียง  1  ชุดวิชา

ระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชว่าด้วย เงินค่าบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าวัสดุการศึกษา ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555  ได้กำหนดอัตราเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 ดังนี้

1.ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาปกติ และภาคการศึกษาพิเศษ ภาคการศึกษาละ 500 บาท

2.ค่าชุดวิชา ชุดวิชาละ 300 บาท

3.ค่าวัสดุการศึกษา ชุดวิชาละ 700 บาท

4.สำหรับค่ากิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะจะกำหนดอัตราเรียกเก็บต่างกันให้นักศึกษาตรวจสอบจากคู่มือการลงทะเบียนเรียนของปีการศึกษานั้น

สามารถลงทะเบียนเรียนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในปฏิทินการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยจะจัดส่งคู่มือการลงทะเบียนเรียนของแต่ละภาค/ปีการศึกษาให้นักศึกษา โดยตรวจสอบชุดวิชาที่จะลงทะเบียนเรียนได้จากโปรแกรมการศึกษาที่มหาวิทยาลัยจัดให้ในหลักสูตรการศึกษาประจำสาขาวิชา ซึ่งได้จัดส่งให้นักศึกษาในภาคการศึกษาแรกที่สมัครเข้าศึกษา
  1. หากชุดวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนมีอยู่ในโครงสร้างของหลักสูตรและมีวัน เวลา สอบไม่ซ้ำซ้อนกัน นักศึกษาสามารถลงทะเบียนชุดวิชาดังกล่าวได้โดยไม่ต้องขอเปลี่ยนชุดวิชา
  2. หากชุดวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียน ไม่มีอยู่ในโครงสร้างของหลักสูตรแต่ถ้าหลักสูตรที่นักศึกษา ศึกษาอยู่กำหนดให้ลงทะเบียนชุดวิชาเลือกเสรี นักศึกษาสามารถใช้ชุดวิชาดังกล่าวเป็นชุดวิชาเลือกเสรีได้ แต่ต้องไม่เป็นชุดวิชาที่ห้ามลงทะเบียนเป็นชุดวิชาเลือกเสรี
กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนและยังสอบไม่ผ่านตามโปรแกรมการศึกษาที่มหาวิทยาลัยกำหนด นักศึกษาสามารถจัดโปรแกรมการศึกษาหรือวางแผนการเรียนด้วยตนเองได้ โดยการนำชุดวิชาที่ยังสอบไม่ผ่านมาลงทะเบียนเรียนคละกับชุดวิชาที่มหาวิทยาลัยจัดให้ตามโปรแกรมการศึกษา หรือนำชุดวิชาที่ยังสอบไม่ผ่านมาลงทะเบียนเรียนก่อนก็ได้ ทั้งนี้ขอให้นักศึกษาวางแผนการเรียนให้รอบคอบด้วย เนื่องจากบางชุดวิชาจะเปิดสอนเฉพาะภาคการศึกษาที่ 1 บางชุดวิชาจะเปิดสอนเฉพาะภาคการศึกษาที่ 2 และขอให้ตรวจสอบชุดวิชาที่เปิดสอนวัน เวลาสอบจากตารางสอบไล่ในคู่มือลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษานั้น ๆ ด้วย
มหาวิทยาลัยไม่จำกัดจำนวนครั้งที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียน กรณีที่นักศึกษาสอบไล่ไม่ผ่านในภาคการศึกษาใด สามารถลงทะเบียนสอบซ่อมชุดวิชาดังกล่าวในภาคการศึกษานั้น ๆ หากสอบซ่อมไม่ผ่านต้องลงทะเบียนเรียนชุดวิชานั้นใหม่ และหากสอบไล่ไม่ผ่านอีก นักศึกษามีสิทธิ์ลงทะเบียนสอบซ่อมในภาคการศึกษานั้น ๆ ได้อีกจนกว่าจะสอบผ่านภายในระยะเวลา 3 เท่าของหลักสูตรที่สมัครเข้าศึกษา

นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้ดังนี้

  1. ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาที่เหลือได้ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอนตามตารางสอบแต่เมื่อรวมกับชุดวิชาอื่นแล้วต้องไม่เกิน 3 ชุดวิชา ในภาคการศึกษานั้น ๆ
  2. รอลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาพิเศษ (หากมีเปิดสอนตามตารางสอบ) โดยลงทะเบียนเรียนได้เพียงครั้งละ 1 ชุดวิชา

กรณีดังกล่าวนักศึกษาสามารถดำเนินการได้ดังนี้

  1. หากชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนมีอยู่ในโครงสร้างหลักสูตร และมีวัน เวลาสอบไม่ซ้ำซ้อนกัน นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนชุดวิชาดังกล่าว โดยไม่ต้องขอถอนชุดวิชา
  2. หากชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไม่มีอยู่ในโครงสร้างหลักสูตร แต่หลักสูตรที่ศึกษากำหนดให้ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรี และชุดวิชานั้นไม่เป็นชุดวิชาที่ห้ามใช้เป็นชุดวิชาเลือกเสรี นักศึกษาสามารถใช้ชุดวิชาดังกล่าวเป็นชุดวิชาเลือกเสรีได้ โดยไม่ต้องขอถอนชุดวิชา
  3. หากชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไม่มีอยู่ในโครงสร้างหลักสูตร และหลักสูตรที่ศึกษาไม่กำหนดให้ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรี นักศึกษาสามารถเปลี่ยนชุดวิชาได้ โดยการยื่นคำร้องขอเพิ่ม-ถอนชุดวิชาภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้การถอนชุดวิชา มหาวิทยาลัยไม่คืนเงินให้ แต่จะจัดส่งวัสดุการศึกษาให้ตามปกติ (กรณีสั่งซื้อ) ดังนั้นการขอเพิ่มชุดวิชานักศึกษาจะต้องชำระเงินตามปกติ

การลงทะเบียนเรียนแต่ละภาคการศึกษานักศึกษาสามารถตรวจสอบ  วัน  เวลาสอบล่วงหน้าได้จากตารางสอบไล่ในคู่มือลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษานั้น ๆ กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนชุดวิชาที่มีวัน  เวลาสอบตรงกัน  สามารถเลือกดำเนินการได้ดังนี้

  1. ยื่นคำร้องขอถอนชุดวิชาใดชุดวิชาหนึ่งตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด (การถอนชุดวิชานักศึกษาจะไม่ได้รับเงินคืน)
  2. เลือกเข้าสอบชุดวิชาใดชุดวิชาหนึ่ง และพยายามสอบให้ผ่าน เพื่อมีสิทธิลงทะเบียนสอบซ่อมอีกชุดวิชาที่ไม่ได้เข้าสอบได้  แต่หากสอบไม่ผ่านจะต้องเลือกลงทะเบียนสอบซ่อมชุดวิชาใดชุดวิชาหนึ่ง และนำอีกชุดวิชาไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอน
กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาซ้ำกับชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียน  สำนักทะเบียนและวัดผลจะไม่รับลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชานั้นอีก และจะมีหนังสือแจ้งให้นักศึกษาแก้ไขชุดวิชาใหม่ โดยไม่ต้องขอถอนชุดวิชา  หากยื่นคำร้องขอถอนชุดวิชา จะมีผลกระทบกับชุดวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนไว้ในครั้งแรก
  1. นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอถอนชุดวิชาและขอลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาใหม่ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
  2. การขอถอนชุดวิชานักศึกษาจะไม่ได้รับเงินคืน  และการขอเพิ่มชุดวิชานักศึกษาจะต้องชำระเงินใหม่ตามปกติ
  1. นักศึกษาจะลงทะเบียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพฯ ได้ในภาคการศึกษาสุดท้ายที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาโดยต้องเหลือชุดวิชาที่จะลงทะเบียนเรียนเพียง 1-3 ชุดวิชา
  2. หากนักศึกษาลงทะเบียนเรียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพฯ ในขณะที่ยังไม่มีสิทธิลงทะเบียนเรียน สำนักทะเบียนและวัดผลจะมีหนังสือแจ้งให้นักศึกษาทราบเพื่อลงทะเบียนเรียนชุดวิชาอื่นแทน
กรณีที่นักศึกษาเหลือชุดวิชา 3 ชุดวิชาสุดท้ายตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ ฯ ในภาคการศึกษานั้นได้ถึงแม้ว่าชุดวิชาที่เหลือบางชุดวิชาไม่เปิดสอนในภาคการศึกษาดังกล่าวก็ตาม
นักศึกษาสามารถเลือกชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี เป็นชุดวิชาเลือกเสรีได้ทุกชุดวิชา ยกเว้นชุดวิชาที่ไม่อนุญาตให้ลงทะเบียนเป็นชุดวิชาเลือกเสรีตามประกาศฯ  เรื่องเกณฑ์การลงทะเบียนชุดวิชาเลือกเสรี  ซึ่งนักศึกษาสามารถตรวจสอบได้จากคู่มือการลงทะเบียนเรียน หรือหลักสูตรการศึกษาแต่ละสาขาวิชา
นักศึกษาสามารถเปลี่ยนชุดวิชาเลือกเสรีได้  โดยการลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรีใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอน
กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรีชุดวิชาใดแล้วสอบไม่ผ่าน สามารถเลือกลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรีชุดวิชาใหม่ได้ โดยไม่ต้องลงทะเบียนเรียนเพื่อสอบผ่านชุดวิชาเดิม และจะไม่มีผลต่อการสำเร็จการศึกษา และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วผลการเรียนในใบรายงานผลการศึกษาจะปรากฏเฉพาะชุดวิชาที่สอบผ่านเท่านั้น
มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาพิเศษมากกว่า 1 ชุดวิชา เนื่องจากระยะเวลาการศึกษาในภาคการศึกษาพิเศษมีจำกัด หากลงทะเบียนเรียนมากกว่า 1 ชุดวิชาจะทำให้นักศึกษามีเวลาในการศึกษาไม่เพียงพอ และเพื่อมาตรฐานในการศึกษา
เนื่องจากภาคการศึกษาพิเศษไม่ได้กำหนดให้มีการสอบซ่อม ดังนั้นนักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนชุดวิชาดังกล่าวใหม่ได้ในภาคการศึกษาต่อไปที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน
  1. ตารางสอบซ่อมและตารางสอบไล่ภาคการศึกษาที่  2  จะเป็นตารางสอบเดียวกัน  เพียงแต่เปลี่ยนแปลงวัน  เดือน  ปี  ที่สอบเท่านั้น
  2. สำหรับตารางสอบภาคการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยจะจัดตารางสอบโดยใช้ตารางสอบไล่หรือตารางสอบซ่อมภาคการศึกษาที่ 2 ในคาบที่ 1 และคาบที่ 2 และเปิดสอนชุดวิชาบางชุดวิชาเพิ่มเติมในคาบที่ 3 ดังนั้นนักศึกษาสามารถตรวจสอบกำหนดวัน เวลาสอบซ่อมภาคการศึกษาที่ 2 ได้จากตารางสอบภาคการศึกษาพิเศษ

กรณีของนักศึกษาอาจจะพบปัญหาดังนี้

1.ลงทะเบียนชุดวิชาไม่เปิดสอบ

2.ชำระค่าลงทะเบียนเงินขาด

3.ชำระค่าลงทะเบียนไม่ตรงตามช่องทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด

4.ลงทะเบียนชุดวิชาที่ไม่อนุญาตเลือกเสรี

5.ไม่ชำระค่าวัสดุการศึกษา (กรณีปรับปรุงชุดวิชา)

6.ไม่ชำระค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา (กรณีไม่ได้ลงทะเบียนภาคก่อนหน้า)

7.ไม่ชำระค่าต่ออายุสถานภาพการเป็นนักศึกษา

8.ขอยกเว้นค่าวัสดุการศึกษา (ไม่แนบสำเนาผลการสอบกรณีเคยเรียนโครงการสัมฤทธิบัตร)

 

หมายเหตุ โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนและวัดผลได้ที่ E-mail : re.reoffice@stou.ac.th หรือ กล่องข้อความถามไพฑูรย์ @askpaitoon

การลงทะเบียนเรียนผ่านทางออนไลน์นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดและจะต้องมีสถานภาพการเป็นนักศึกษาในภาคการศึกษาปัจจุบัน  คลิกได้ที่นี่  http://cs.stou.ac.th/register/ 

หมายเหตุ ติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนและวัดผลได้ที่ E-mail : re.reoffice@stou.ac.th หรือ กล่องข้อความถามไพฑูรย์ @askpaitoon

ไม่ได้ เนื่องจากการลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชา นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้นๆ ไว้แล้วอย่างน้อย 1 ชุดวิชา
  1. เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลตรวจสอบพบว่านักศึกษาลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาเพียง 1 และซ้ำกับชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนจะมีหนังสือแจ้งให้นักศึกษาทราบเพื่อแก้ไข แต่หากจะลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชามากกว่า 1 ชุดวิชาจะรับลงทะเบียนชุดวิชาที่ลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาถูกต้องให้โดยจะตัดฝากเงินส่วนที่เกินสำหรับชุดวิชาที่ลงทะเบียนเพิ่มซ้ำจะมีหนังสือแจ้งให้นักศึกษาแก้ไขชุดวิชา
  2. กรณีดังกล่าวนักศึกษาจะขอถอนชุดวิชาที่ซ้ำซ้อนไม่ได้  เพราะหากถอนชุดวิชาจะมีผลกระทบกับชุดวิชาเดิมที่ลงทะเบียนเรียนไว้
มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นักศึกษาลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ ยกเว้นผู้ที่ลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาเพื่อเข้าสอบเฉพาะภาคทฤษฎีอย่างเดียว เนื่องจากได้รับการยกเว้นภาคปฏิบัติซึ่งนักศึกษาได้สอบผ่านไว้แล้ว
การลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาไม่ต้องชำระค่าบำรุงการศึกษา เพราะว่านักศึกษาได้ชำระพร้อมกับการลงทะเบียนเรียนแล้ว
ไม่ได้ เนื่องจากการลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชานักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไว้อย่างน้อย 1 ชุดวิชา และเมื่อนับชุดวิชาที่ขอเพิ่มชุดวิชาต้องรวมกับชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไว้ไม่เกิน 3 ชุดวิชา
ได้  โดยที่นักศึกษาต้องเลือกแผนการศึกษา ก2 ก3 ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดเท่านั้น
นักศึกษาสามารถขอถอนชุดวิชาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดการขอถอนชุดวิชาของภาคการศึกษานั้น ๆ โดยการยื่นคำร้องพร้อมระบุชุดวิชาและสาเหตุที่ขอถอนชุดวิชาให้ชัดเจน
ไม่ได้ เพราะการถอนชุดวิชามหาวิทยาลัยจะไม่คืนเงินค่าลงทะเบียนแต่ยังคงจัดส่งวัสดุการศึกษาให้ตามปกติ (ถ้าสั่งซื้อ) ดังนั้นการขอเพิ่มชุดวิชานักศึกษาต้องชำระเงินใหม่ตามปกติ
ไม่ต้องถอนชุดวิชา เนื่องจากการขอถอนชุดวิชานักศึกษาจะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีดังกล่าวนักศึกษาสามารถเข้าสอบชุดวิชาเลือกเสรี และชุดวิชาเลือกใหม่ที่ลงทะเบียนเรียนไว้ได้ และเมื่อสำเร็จการศึกษาชุดวิชานั้นจะไม่ปรากฏในใบรายงานผลการศึกษา
กรณีดังกล่าว มหาวิทยาลัยจะถือว่าการถอนชุดวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้แล้วเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสถานภาพนักศึกษาโดยที่นักศึกษาไม่ต้องชำระค่ารักษาสถานภาพนักศึกษาแต่อย่างใด
ภาคการศึกษาใดหากนักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้ ต้องยื่นคำร้องขอลาพักการศึกษาในภาคการศึกษานั้น เพื่อคงสถานภาพการเป็นนักศึกษาไว้

ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2559 เป็นต้นไป ทุกรหัสประจำตัวนักศึกษาจะต้องชำระค่าบำรุงการศึกษาภาคการศึกษาละ 500 บาท   

หมายเหตุ   สำหรับนักศึกษาที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีก่อนปีการศึกษา 2556 หากมีการชำระค่าบำรุงการศึกษาย้อนหลัง สามารถชำระค่าบำรุงการศึกษาภาคการศึกษาละ 300 บาท ได้จนถึงภาคการศึกษาที่ 2/2558  เท่านั้น

นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนพร้อมชำระค่าบำรุงการศึกษาใหม่ได้  หากอยู่ในระยะเวลาที่กำหนดลงทะเบียนเรียนและจะถือการลาพักการศึกษาเป็นโมฆะ
ภาคการศึกษาพิเศษนักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนหรือไม่ก็ได้ และหากไม่ลงทะเบียนเรียนก็ไม่ต้องขอลาพักการศึกษา
  1. นักศึกษาที่มีความจำเป็นขอลาพักการศึกษาเกิน 2 ภาคการศึกษาติดต่อกันสามารถยื่นคำร้องไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลเพื่อเสนอพิจารณาได้
  2. ระยะเวลาการลาพักการศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาเรียนด้วย  ดังนั้นนักศึกษาที่ขอลาพักการศึกษาหลายภาคการศึกษาจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาเรียนตามหลักสูตรด้วย
นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอถอนการลาพักการมาพร้อมกับการลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้น ภายในกำหนดระยะเวลาการลงทะเบียนเรียน โดยมหาวิทยาลัยจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมในการลาพักการศึกษาให้นักศึกษา
  1. นักศึกษาที่ลงทะเบียนสอบซ่อมต้องชำระค่าธรรมเนียมสอบซ่อม ชุดวิชาละ 200 บาท
  2. สำหรับชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะและสอบไม่ผ่านภาคทฤษฎีเพียงกิจกรรมเดียว ชำระชุดวิชาละ 200 บาท กรณีที่สอบไม่ผ่านปฏิบัติเพียงกิจกรรมเดียวหรือสอบไม่ผ่านทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติชำระค่าธรรมเนียมสอบซ่อมชุดวิชาละ 200 บาท และค่าวัสดุกิจกรรมเสริมทักษะ (นักศึกษาสามารถตรวจสอบค่าวัสดุกิจกรรมเสริมทักษะของแต่ละชุดวิชาได้จากคำชี้แจงลงทะเบียนสอบซ่อม)
ชุดวิชาที่นักศึกษามีสิทธิลงทะเบียนสอบซ่อมจะต้องเป็นชุดวิชาที่สอบไล่ไม่ผ่านหรือไม่ได้เข้าสอบไล่ ในภาคการศึกษานั้น ๆ เท่านั้น ดังนั้นชุดวิชาที่นักศึกษาสอบซ่อมไม่ผ่านจะต้องนำไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอน ส่วนค่าวัสดุการศึกษาท่านไม่ต้องชำระ  (ยกเว้นชุดวิชานั้น ๆ มีการปรับปรุงเอกสารการสอนใหม่ถึงแม้จะไม่ได้ลงทะเบียนเรียนในภาค/ปีการศึกษาที่ปรับปรุงก็ต้องชำระค่าวัสดุการศึกษาใหม่ด้วย)
ในกรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อมชุดวิชาที่สอบผ่านมาแล้วในการสอบไล่ หากมหาวิทยาลัยตรวจสอบพบจะไม่รับลงทะเบียนสอบซ่อมและจะแจ้งให้นักศึกษาทราบ
กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อมชุดวิชาที่ไม่ได้สอบตกมาจากการสอบไล่ของภาคการศึกษานั้นๆ  มหาวิทยาลัยจะไม่รับลงทะเบียนสอบซ่อมและจะแจ้งให้นักศึกษาทราบ  และจะต้องนำชุดวิชานั้นไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาที่เปิดสอน
นักศึกษาเข้าสอบซ่อม โดยไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อม มหาวิทยาลัยจะไม่แจ้งผลการสอบซ่อมให้ทราบ และจะถือผลการสอบซ่อมเป็นโมฆะ ซึ่งนักศึกษาจะต้องนำชุดวิชานั้นไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอน
มหาวิทยาลัยจะจัดสอบซ่อมให้นักศึกษาตามรายชื่อผู้ที่สอบไล่ไม่ผ่าน หรือไม่ได้เข้าสอบในภาคการศึกษานั้นๆ และมีสถานภาพนักศึกษาในภาคการศึกษาถัดไป โดยการลงทะเบียนเรียนหรือลาพักการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีดังกล่าวนักศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมไว้อาจจะได้รับใบแจ้งกำหนดการสอบด้วย แต่นักศึกษาที่ลงทะเบียนสอบซ่อมไว้แล้วเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบซ่อมได้
นักศึกษาจะมีสิทธิลงทะเบียนเรียนเข้าอบรมชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพฯ  ในภาคการศึกษาที่เหลือ 1-3 ชุดวิชาสุดท้าย
เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลรับลงทะเบียนเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  สำนักวิชาการจะจัดกลุ่มอบรม  และแจ้งรายละเอียดการอบรมเข้มให้นักศึกษาทราบเป็นรายบุคคล และสามารถรอตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์มสธ. หัวเรื่องการเรียนการสอน การอบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ คลิกได้ที่นี่ 
ให้นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนไว้  แต่ถ้านักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนไว้  หรือลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีไว้แล้วแต่ไม่ได้เข้าสอบหรือเข้าสอบซ่อมแล้วแต่สอบไม่ผ่าน  นักศึกษาจะต้องนำไปลงทะเบียนเรียนใหม่  โดยสอบเฉพาะภาคทฤษฎีเพียงอย่างเดียวจนกว่าจะสอบผ่าน แต่หากมีการปรับปรุงชุดวิชา นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่และสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ให้นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อม  และเข้าฝึกปฏิบัติในภาคการศึกษาถัดไป  หากนักศึกษายังไม่ได้เข้ารับการฝึกปฏิบัติอีก หรือไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อม  ให้นักศึกษานำไปลงทะเบียนเรียนใหม่  โดยสอบเฉพาะภาคปฏิบัติเพียงอย่างเดียวจนกว่าจะสอบผ่าน

ให้นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนไว้  แต่ถ้านักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนไว้  หรือลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีไว้แล้วแต่ไม่ได้เข้าสอบหรือเข้าสอบแล้วแต่สอบไม่ผ่าน  นักศึกษาจะต้องนำไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาที่เปิดสอน โดยสอบเฉพาะภาคทฤษฎีเพียงอย่างเดียวและไม่ต้องชำระค่าวัสดุกิจกรรมในการอบรมประสบการณ์วิชาชีพ หรือ ฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ เว้นแต่เป็นชุดวิชาที่มีการปรับปรุงเอกสารการสอน นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่โดยต้องชำระค่าชุดวิชา ค่าวัสดุการศึกษาและค่าวัสดุกิจกรรม และต้องสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติใหม่
ให้นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อมภาคปฏิบัติ  และเข้าฝึกปฏิบัติเสริมทักษะพร้อมกับนักศึกษาในภาคการศึกษาถัดไป ถ้านักศึกษายังไม่ได้เข้ารับการฝึกปฏิบัตเสริมทักษะอีก  หรือเข้าฝึกปฏิบัติเสริมทักษะแล้วยังสอบไม่ผ่านภาคปฏิบัติ หรือไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อม ให้นักศึกษานำไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาที่เปิดสอน  โดยจะต้องเข้าสอบภาคปฏิบัติเพียงอย่างเดียว เว้นแต่เป็นชุดวิชาที่มีการปรับปรุงเอกสารการสอน นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่โดยต้องชำระค่าชุดวิชา ค่าวัสดุการศึกษาและค่าวัสดุกิจกรรม และต้องสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติใหม่

1. นักศึกษาต้องเหลือชุดวิชาที่ศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรกำหนดไม่เกิน 4 ชุดวิชาสุดท้ายที่จะสำเร็จการศึกษา

2. เป็นชุดวิชาที่ได้รับอนุมัติหรือผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารชุดวิชา

3. ชุดวิชาเชิงปฏิบัติที่จัดอบรมเข้ม (พิเศษ) เฉพาะภาคทฤษฎีนั้น  นักศึกษาต้องสอบผ่านภาคปฏิบัติมาแล้วตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป และสอบไม่ผ่านมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา 

4.ชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพฯ ที่จัดอบรมเข้ม (พิเศษ) เฉพาะภาคทฤษฎีนั้น  นักศึกษาต้องสอบผ่านภาคปฏิบัติมาแล้วตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป และสอบไม่ผ่านมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา 

5.กรณีที่มหาวิทยาลัยปรับปรุงชุดวิชา นักศึกษาจะไม่มีสิทธิเข้ารับการอบรมเข้ม (พิเศษ)

6. ผู้ที่มีสิทธิเข้ารับการอบรมเข้ม (พิเศษ) ที่มหาวิทยาลัยจัดให้ในชุดวิชาใด สำนักวิชาการจะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการอบรมเข้ม (พิเศษ) ให้นักศึกษาทราบเป็นรายบุคคลที่เว็บไซต์มสธ. https://www.stou.ac.th/main/Bachelor.html

  1. ยื่นคำร้องขอแบบฟอร์มการย้ายสังกัดสาขาวิชา  (มสธ 9) ซึ่งสามารถคัดลอกสำเนาได้จากคู่มือนักศึกษาหรือ download จาก website ของมหาวิทยาลัย
  2. เมื่อได้รับ  มสธ 9  ให้กรอกรายละเอียดต่างๆ  ในแบบฟอร์มแล้วส่งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมเอกสารประกอบการย้ายสังกัดสาขาวิชา (ใบวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ หรือเอกสารอื่น ๆ ถ้ามี)
  3. นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2552 ต้องชำระเงิน 100 บาท เป็นค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายในการขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษาตลอดอายุการเป็นนักศึกษา 
  4. มหาวิทยาลัยจะจัดส่งหนังสือตอบอนุมัติการย้ายสังกัดสาขาวิชาพร้อมแจ้งเลขประจำตัวนักศึกษาใหม่ และจัดทำบัตรประจำตัวใหม่ให้ (โดยที่นักศึกษาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำบัตร)

      1.ยื่นคำร้องขอแบบฟอร์มการเปลี่ยนวิชาเอก  (มสธ 9) ซึ่งสามารถคัดลอกสำเนาได้จากคู่มือนักศึกษาหรือ download จาก website ของมหาวิทยาลัย

      2.เมื่อได้รับ  มสธ 9  ให้กรอกรายละเอียดต่างๆ  ในแบบฟอร์มแล้วส่งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมเอกสารประกอบการเปลี่ยนวิชาเอก (ใบวุฒิการศึกษาจำนวน 2 ฉบับ หรือเอกสารอื่น ๆ ถ้ามี)  

      3.นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2552 ต้องชำระเงิน จำนวน 100  บาท เป็นค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายในการขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษาตลอดอายุการเป็นนักศึกษา หรือยื่นคำร้องทางอินเทอร์เน็ต (ศึกษารายละเอียดได้ที่) 

      4.การเปลี่ยนวิชาเอกนักศึกษาไม่ต้องขอทำบัตรนักศึกษาใหม่ โดยยังคงใช้รหัสประจำตัวนักศึกษาเดิม

  1. ภาคต้น นักศึกษาต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 15 สิงหาคม ของทุกปี 
  2. ภาคปลาย นักศึกษาต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี 
ไม่ได้ เนื่องจากตามระเบียบฯ  ว่าด้วยการย้ายสังกัดสาขาวิชาและการเปลี่ยนวิชาเอก  กำหนดให้นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งภาคการศึกษาปกติ  ดังนั้นนักศึกษาขอย้ายสังกัดสาขาวิชาหรือเปลี่ยนวิชาเอกได้ในภาคการศึกษาที่  2  เป็นต้นไป
ให้นักศึกษาดำเนินการยื่นคำร้อง  ขอย้ายสังกัดสาขาวิชา  หรือเปลี่ยนวิชาเอกกลับไปสังกัดสาขาวิชา หรือวิชาเอกเดิมตามขั้นตอนของการย้ายสังกัดสาขาวิชา หรือเปลี่ยน  วิชาเอก
นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติย้ายสังกัดสาขาวิชาหรือเปลี่ยนวิชาเอกมหาวิทยาลัยจะดำเนินการโอนชุดวิชาทั้งหมด  ที่นักศึกษาเคยลงทะเบียนเรียนไว้ในสาขาวิชาหรือวิชาเอกเดิม  มาไว้ในสาขาวิชา หรือวิชาเอกใหม่ทุกชุดวิชา โดยที่นักศึกษาไม่ต้องยื่นคำร้องขอโอนชุดวิชา
นักศึกษาอาจจะลงทะเบียนเรียนชุดวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปหรือชุดวิชาที่สาขาวิชากำหนดให้ศึกษาร่วมกันได้  ส่วนชุดวิชาอื่นๆ เช่น ชุดวิชาทีมีการอบรมเข้ม ชุดวิชาที่มีการฝึกปฎิบัติเสริมทักษะ และชุดวิชาทีมีการเรียนออน์ไลน์ ควรรอลงทะเบียนเรียนหลังจากที่ได้รับอนุมัติให้ย้ายสังกัดสาขาวิชา  หรือเปลี่ยนวิชาเอกแล้ว
  1. หากนักศึกษาต้องการศึกษาเน้นกลุ่มวิชาเฉพาะการบริหารงานบุคคล ขอให้ท่านยื่นคำร้องขอเปลี่ยนกลุ่มวิชาเฉพาะไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลตามแบบ มสธ 9 พร้อมจัดส่งสำเนาวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ

         นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2552 ต้องชำระเงิน 100 บาท เป็นค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายในการขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษาตลอดอายุการเป็นนักศึกษา

      2.หากไม่ประสงค์จะเปลี่ยนกลุ่มวิชาเฉพาะจะถือชุดวิชาของเน้นกลุ่มวิชาเฉพาะการบริหารงานบุคคลซึ่งสอบผ่านแล้ว เป็นชุดวิชาเกินของหลักสูตรหรือนักศึกษาอาจจะใช้เป็นชุดวิชาเลือกเสรี หากไม่เป็นชุดวิชาที่สาขาวิชาห้ามลงทะเบียนเรียนเป็นชุดวิชาเลือกเสรี ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องศึกษาชุดวิชาเฉพาะของกลุ่มวิชาเฉพาะการบริหารทั่วไปให้ครบทั้ง 4 ชุดวิชาด้วย

1.นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวิชาเอกได้โดยดำเนินการตามแบบฟอร์ม มสธ 9 (ฟรีไม่เสียค่าธรรมเนียมสำหรับนักศึกษาที่สมัครเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป)

2.แนบสำเนาวุฒิการศึกษาจำนวน 2 ฉบับ โดยรับรองสำเนาถูกต้อง

3.ภายหลังจากได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนวิชาเอกแล้ว มหาวิทยาลัยจะนับระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่ปีที่สมัครเข้าเป็นนักศึกษาใหม่

  1. ให้นักศึกษาขอคำร้องขอเปลี่ยนที่อยู่  (มสธ  7)  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล  หรือคัดลอกสำเนาคำร้องจากคู่มือนักศึกษา  หรือ  website  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/เมื่อได้รับใบคำร้องขอเปลี่ยนที่อยู่ (มสธ 7) แล้วให้กรอกรายละเอียดให้เรียบร้อยแล้วจัดส่งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมชำระค่าธรรมเนียม 100 บาท หรือ
  2. ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนที่อยู่ทางอินเทอร์เน็ต (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่)
  3. เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลดำเนินการเปลี่ยนที่อยู่ให้เรียบร้อยแล้ว จะจัดส่งใบตอบอนุมัติการเปลี่ยนที่อยู่ให้นักศึกษาทราบ ในระหว่างที่รอการตอบอนุมัติให้นักศึกษาตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยส่งไปให้ตามที่อยู่เดิมด้วย

หมายเหตุ -นักศึกษาที่ชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษาตั้งแต่แรกเข้าศึกษา จำนวน 100 บาทแล้วไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนที่อยู่              -นักศึกษาจะต้องกรอกในส่วนข้อมูลสำหรับให้มหาวิทยาลัยใช้ในการจัดสนามสอบด้วยทุกครั้ง มิฉะนั้น จะถือว่านักศึกษายืนยันให้ใช้สถานที่ในการจัดสนามสอบตามข้อมูลที่กรอกไว้ในใบสมัคร

  1. ให้ใช้วิธีฝากส่งต่อ  โดยแจ้งที่อยู่ของญาติ  หรือเพื่อน  เพื่อรับเอกสารแทนนักศึกษาแล้วส่งต่อให้นักศึกษาอีกต่อหนึ่ง
  2. ใช้วิธีพักไว้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ โดยทำการตกลงกับนายไปรษณีย์ ให้พักเอกสารที่มีถึงนักศึกษาไว้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ก่อน แล้วนักศึกษาจะไปรับจากที่ทำการไปรษณีย์ภายหลังด้วยตนเอง
  3. ติดต่อเช่าตู้ไปรษณีย์ จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบเป็นการชั่วคราวไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลได้ก่อนการสอบภาคการศึกษานั้น ๆไม่น้อยกว่า 45 วัน
  1. ให้แจ้งมหาวิทยาลัยเพื่อขอคำร้อง ขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษา โดยระบุ “บัตรประจำตัวหาย”ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล หรือ download แบบฟอร์มได้จาก website ของมหาวิทยาลัย http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้กรอกรายละเอียดให้ถูกต้องและชัดเจน
  2. ส่งคำร้องพร้อมสำเนาใบแจ้งความ รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูปและค่าธรรมเนียม 100 บาท  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล
  1. ให้แจ้งมหาวิทยาลัยเพื่อขอคำร้องขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาโดยระบุว่า”บัตรหมดอายุ” หรือ ”บัตรชำรุด” แล้วแต่กรณี ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลหรือ download แบบฟอร์มได้จาก website ของมหาวิทยาลัย
  2. เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้กรอกรายละเอียดให้ถูกต้องและชัดเจน
  3. ส่งคำร้องพร้อมบัตรประจำตัวนักศึกษาที่หมดอายุหรือบัตรชำรุด รูปถ่ายแต่งกายสุภาพ ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป และค่าธรรมเนียม 100 บาท ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล
  1. ให้ยื่นคำร้องเพื่อขอคำร้องขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ชื่อ และชื่อสกุล ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลหรือ download แบบฟอร์มได้จาก website ของมหาวิทยาลัย
  2. เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้กรอกรายละเอียดให้ถูกต้องและชัดเจน
  3. ส่งคำร้อง มสธ 8 สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ  ชื่อ  ชื่อสกุล  และค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ - ชื่อ – ชื่อสกุล จำนวน 100 บาท  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล
  4. ภายหลังจากที่มหาวิทยาลัยอนุมัติการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ  ชื่อ  และชื่อสกุลแล้ว  จะจัดส่งหนังสือตอบรับการอนุมัติให้นักศึกษาพร้อมกับเอกสารขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
  5. นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา  2545  เป็นต้นไป  กรณีที่เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อเช่น  ยศ  หรือตำแหน่ง ไม่ต้องขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
  6. หมายเหตุ นักศึกษาที่ชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษา จำนวน 100 บาทแล้วไม้ต้องชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ  ชื่อ  ชื่อสกุล 
ให้นักศึกษาเตรียมรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป ไปติดต่อกองอำนวยการสอบ ณ สถานที่สอบ เพื่อทำบัตรเข้าห้องสอบ โดยใช้ควบคู่กับบัตรประจำตัวประชาชน

1.บัตรประจำตัวนักศึกษาสูญหาย

2.บัตรประจำตัวนักศึกษาชำรุด

3.เปลี่ยนยศ คำนำหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อสกุล

4.บัตรประจำตัวนักศึกษาหมดอายุ

5.ย้ายสาขาวิชา

มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนชุดวิชาใด ๆ เป็นครั้งแรกในสถานภาพหนึ่ง ๆ จะต้องสั่งซื้อวัสดุการศึกษาพร้อมการลงทะเบียนเรียนด้วย และนักศึกษาสามารถสั่งซื้อวัสดุการศึกษาชุดวิชาต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้หรือเพื่อศึกษาเนื้อหาของชุดวิชาที่จะลงทะเบียนเรียนได้ที่ ฝ่ายเผยแพร่และจัดจำหน่าย สำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัย แต่เมื่อลงทะเบียนเรียนชุดวิชานั้น ๆ เป็นครั้งแรกจะต้องสั่งซื้อวัสดุการศึกษาพร้อมกับการลงทะเบียนเรียนด้วย ถึงแม้ว่านักศึกษาเคยสั่งซื้อไว้ล่วงหน้าแล้วก็ตาม กรณีนี้นักศึกษาอาจจะศึกษาเนื้อหาของชุดวิชาล่วงหน้าได้จากวัสดุการศึกษาที่ห้องสมุดประชาชนหรือมุม มสธ.ที่เป็นศูนย์บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยหรือของเพื่อนนักศึกษาด้วยกันที่เคยลงทะเบียนเรียนในชุดวิชาดังกล่าว
เพื่อให้การวัดผลการศึกษาหรือการสอบชุดวิชาดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในเอกสารการสอนฉบับปรับปรุง นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนพร้อมกับสั่งซื้อวัสดุการศึกษาใหม่ (ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ลงทะเบียนในภาค/ปีการศึกษาที่ปรับปรุงก็ตาม)
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ จะผลิตชุดวิชาการศึกษาทั่วไปทุกชุดวิชาให้นักศึกษาทุกสาขาวิชาที่ต้องศึกษาชุดวิชาการศึกษาทั่วไปใช้ศึกษาร่วมกัน ดังนั้นกรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนชุดวิชาดังกล่าวตามที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด และได้รับเอกสารการสอนเป็นของสาขาวิชาศิลปศาสตร์นั้น ถือว่าได้รับเอกสารการสอนถูกต้องแล้ว และสามารถศึกษาได้ตามปกติ
นักศึกษาไม่ต้องชำระค่าวัสดุการศึกษาอีก ชำระเฉพาะค่าลงทะเบียนเรียนและค่าวัสดุกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะโดยให้ระบุเป็นการลงทะเบียนเรียน (ไม่สั่งซื้อวัสดุการศึกษา) ถึงแม้ว่าจะสอบผ่านภาคปฎิบัติแล้วก็ตาม   ยกเว้นภาคการศึกษาที่มีการใช้เอกสารการสอนฉบับปรับปรุงจะต้องสั่งซื้อเอกสารการสอนฉบับปรับปรุงใหม่พร้อมกับการลงทะเบียนเรียนด้วย
ระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วย เงินค่าบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าวัสดุการศึกษา ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558  ในกรณีที่นักศึกษาสอบผ่านภาคปฏิบัติ แต่สอบไม่ผ่านภาคทฤษฎีเมื่อนำชุดวิชามาลงทะเบียนใหม่ไม่ต้องชำระค่าวัสดุกิจกรรมในการอบรมเสริมประสบการณ์วิชาชีพหรือฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ  ยกเว้นเป็นชุดวิชาที่มีการปรับปรุงวัสดุการศึกษา นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนใหม่โดยต้องชำระเงินค่าชุดวิชา ค่าวัสดุการศึกษา ค่าวัสดุกิจกรรม และต้องสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติใหม่ (ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ลงทะเบียนในภาค/ปีการศึกษาที่ปรับปรุงก็ตาม)
  1. มหาวิทยาลัยจะจัดสอบให้นักศึกษาตามจังหวัดที่นักศึกษาแจ้งที่อยู่ไว้กับมหาวิทยาลัยและจะจัดส่งใบแจ้งกำหนดการสอบให้นักศึกษาทุกคนก่อนกำหนดการสอบประมาณ  10 - 25 วัน
  2. หากไม่ได้รับใบแจ้งกำหนดการสอบ นักศึกษาสามารถตรวจสอบข้อมูลการสอบได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย  www.stou.ac.th  ตรวจสอบผ่านทาง E-mail address: re.reoffice@stou.ac.th  ผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยเข้ากล่องข้อความถามไพฑูรย์  https://www.facebook.com/askpaitoon/

การแสดงตนในการเข้าสอบให้นักศึกษานำบัตรประจำตัวนักศึกษา หรือ แอปพลิเคชันของมสธ. STOU SISA  โดยปรากฏรูปถ่าย เลขประจำตัวนักศึกษาและเลขบัตรประจำตัวประชาชน  หรือบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยปรากฏรูปถ่ายและเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก  หากไม่มีบัตรประจำตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง

1. กรณีสอบ ณ สนามสอบโรงเรียน เจ้าหน้าที่กองกลางหรือผู้ประสานงานการสอบ จะถ่ายรูปนักศึกษาและอัปโหลดรูปถ่ายของนักศึกษาไว้ในโปรแกรมของมหาวิทยาลัย พร้อมออกเอกสารบัตรเข้าสอบชั่วคราว (บัตรสีเขียว) ให้ต่อไป

2. กรณีสอบออนไลน์ นักศึกษาต้องยื่นคำร้องทำบัตรเข้าสอบออนไลน์ชั่วคราว (บัตรสีเหลือง) พร้อมแนบรูปตนเองที่เว็บไซต์มสธ. 

ลักษณะของข้อสอบโดยทั่วไปจะเป็นแบบปรนัย แต่จะมีบางชุดวิชาจะมีลักษณะเป็นอัตนัยด้วยซึ่งมหาวิทยาลัยจะแจ้งลักษณะของข้อสอบของแต่ละภาคการศึกษาให้นักศึกษาทราบในข่าว มสธ.ก่อนการสอบภาคการศึกษานั้น ๆ หรือสามารถตรวจสอบได้จาก website ของมหาวิทยาลัย ที่ www.stou.ac.th
  1. มหาวิทยาลัยจัดเตรียมข้อมูลการสอบซ่อมจากรายชื่อผู้ที่สอบไล่ไม่ผ่าน หรือไม่ได้เข้าสอบในภาคการศึกษานั้น ๆ และมีสถานภาพเป็นนักศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาปัจจุบัน (ลงทะเบียนเรียนหรือลาพักการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด) ดังนั้นนักศึกษาอาจจะมีรายชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเข้าสอบซ่อมด้วยถึงแม้ว่าท่านไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมก็ตาม แต่ผู้ที่มีสิทธิเข้าสอบซ่อมจะต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนสอบซ่อม ในภาคการศึกษาดังกล่าวเท่านั้น
  2. หากนักศึกษาเข้าสอบซ่อมโดยที่ท่านไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมไว้ มหาวิทยาลัยจะไม่แจ้งผลการสอบให้ทราบ และจะต้องนำชุดวิชานั้นไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอน
  1. ในกรณีที่นักศึกษามีความจำเป็นต้องไปราชการต่างจังหวัด หรือไปธุระต่างจังหวัดใน ช่วงสอบ  ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบก่อนสอบ 45 วันเพื่อมหาวิทยาลัยจะได้จัดเตรียมข้อสอบให้นักศึกษา โดยให้ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบ มสธ 27 ซึ่งคัดลอกสำเนาคำร้องจากคู่มือนักศึกษา  หรือ  website  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/
  2. ถ้านักศึกษาต้องเดินทางอย่างกระทันหันให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเข้าห้องสอบสำรองที่ สนามสอบที่นักศึกษาไปราชการ หรือไปธุระเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสนามสอบ จึงจะเข้าสอบได้
กรณีนี้ให้นักศึกษาไปติดต่อที่กองกลางประจำสนามสอบในจังหวัดที่นักศึกษาไปธุระหรือมีราชการเพื่อขอเข้าสอบห้องสอบสำรอง โดยนักศึกษาจะต้องเตรียมบัตรประจำตัวนักศึกษา บัตรประจำตัวประชาชน และใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนหรือใบแจ้งสนามสอบ ไปแสดงประกอบการพิจารณาด้วย
 กรณีนี้นักศึกษาจะต้องไปติดต่อขอเข้าสอบห้องสอบสำรองที่สนามสอบเดิม และเตรียมหลักฐานเพื่อขอเข้าสอบห้องสอบสำรองคือ บัตรประจำตัวนักศึกษา บัตรประจำตัวประชาชน และใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนหรือใบแจ้งสนามสอบไปแสดงประกอบการพิจารณาด้วย
กรณีดังกล่าวนักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบเป็นการถาวรพร้อมชี้แจงเหตุผลความจำเป็นไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลเพื่อพิจารณาได้
กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล  มหาวิทยาลัยจะจัดสนามสอบตามเขตไปรษณีย์ที่อยู่ของนักศึกษาที่แจ้งไว้กับมหาวิทยาลัย โดยพยายามจัดสนามสอบให้กระจายทั่วไปทุกเขตไปรษณีย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาและผู้เรียน ซึ่งสนามสอบแต่ละแห่งมีข้อจำกัดในเรื่องของอาคารสถานที่ และบุคลากรในการดำเนินการสอบ แต่มหาวิทยาลัยได้พยายามจัดให้เหมาะสมหรือใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามหากนักศึกษามึความจำเป็นที่จะขอเปลี่ยนสนามสอบ ขอให้ยื่นคำร้องพร้อมชี้แจงเหตุผลความจำเป็นไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลเพื่อพิจารณาต่อไป
ให้นักศึกษาติดต่อที่กองกลางสนามสอบเพื่อตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าสอบจากบัญชีผู้เข้าสอบอีกครั้ง(ถ้าไม่พบอาจจะต้องตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน หรือตรวจสอบสถานภาพนักศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติให้เข้าสอบห้องสอบสำรอง)
เนื่องจาก มสธ จัดสอบพร้อมกันทั่วประเทศจึงไม่มีนโยบายให้นักศึกษาขอเปลี่ยนแปลงวัน และเวลาสอบ

นักศึกษาอาจจะมีปัญหาในการลงทะเบียนเรียน หรือสาเหตุดังนี้ 
1.ลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชา โดยที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้ก่อนในกรณีนี้ จะถูกยกเลิกการลงทะเบียนเพิ่มและไม่จัดสอบให้ หรือ

2.ลงทะเบียนครั้งแรก ของแต่ละชุดวิชาแต่ไม่สั่งซื้อเอกสารการสอนในกรณีนี้จะถูกยกเลิกการลงทะเบียนและไม่จัดสอบในชุดวิชานั้นๆ หรือ

 3.ลงทะเบียนในชุดวิชาที่ไม่มีสิทธิลงทะเบียนหรือยังไม่มีคุณสมบัติในกรณีนี้จะถูกยกเลิกการลงทะเบียนเฉพาะชุดวิชาที่ยังไม่มีคุณสมบัติและไม่จัดสอบในชุดวิชานั้นๆ หรือ

  4. ลงทะเบียนล่าช้า

ตามระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วย การสอบไล่ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551

หมวด 3 แนวปฏิบัติการเข้าสอบของนักศึกษา

1.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่จะเข้าสอบต้องเข้าสอบเฉพาะชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนหรือลงทะเบียนสอบซ่อมแล้วเท่านั้น

2.       ไม่อนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียน เข้าสอบ 2 ชุดวิชา ในวันและเวลาสอบเดียวกัน

3.       ไม่อนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียนเข้าห้องสอบหลังจากเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้เริ่มทำการสอบไปแล้ว 30 นาที

4.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่จะเข้าสอบต้องมีหลักฐานแสดงตน คือ บัตรประจำตัวนักศึกษา/บัตรประจำตัวผู้เรียนและบัตรประจำตัวประชาชนครบทั้งสองบัตร ถ้าขาดบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองบัตร ให้เขียนคำร้องขอทำบัตรเข้าสอบ (บัตรสีเหลือง) ณ กองกลางสนามสอบ ก่อนเวลาสอบชุดวิชานั้น โดยนำรูปถ่ายที่เหมือนกัน ขนาด 1 นิ้ว ที่ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป (ห้ามใช้รูปถ่ายจากเครื่องถ่ายเอกสาร) มาขอทำบัตรเข้าสอบ และต้องคืนบัตรเข้าสอบ (บัตรสีเหลือง) ณ กองกลางสนามสอบเมื่อเสร็จสิ้นการสอบ

5.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่จะเข้าสอบต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย หากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถแต่งกายได้ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ต้องขออนุญาตผู้อำนวยการสนามสอบเพื่อขอเข้าห้องสอบโดยเขียนคำร้องขอเข้าสอบเนื่องจากแต่งกายไม่สุภาพ (บัตรสีฟ้า) เมื่อผู้อำนวยการสนามสอบอนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียน ถือบัตรแต่งกายไม่สุภาพไปแสดงต่อกรรมการคุมสอบต่อไป

6.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่ไม่มีรายชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบทั้งห้องสอบปกติและห้องสอบสำรอง แต่มีหลักฐานในการลงทะเบียนเรียน ลงทะเบียนสอบซ่อม ให้เขียนคำร้องขอเข้าห้องสอบสำรอง (บัตรสีชมพู) เมื่อผู้อำนวยการสนามสอบ อนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียน ถือบัตรเข้าห้องสอบสำรองไปแสดงต่อกรรมการคุมสอบห้องสอบสำรองต่อไป

หมายเหตุ  นักศึกษา/ผู้เรียนที่เข้าสอบโดยไม่มีรูปถ่าย ไม่ส่งรูปถ่ายหรือไม่ส่งบัตรเข้าสอบ (บัตรสีเหลือง) คืนให้ผู้ประสานงานการสอบ (ตามข้อที่ 4) มหาวิทยาลัยจะไม่ตรวจกระดาษคำตอบและให้ถือว่านักศึกษาสอบไม่ผ่านในชุดวิชานั้น
ไม่ต้องค่ะ เมื่อเลือกรูปแบบการสอบออนไลน์ในสถานภาพใดสถานภาพหนึ่งแล้ว จะถือว่าอีกสถานภาพหนึ่งเป็นการเลือกสอบรูปแบบออนไลน์ด้วยเช่นกัน
แต่ละภาคการศึกษาสามารถเปลี่ยนรูปแบบการสอบออนไลน์ได้ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด  หากพ้นระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดแล้วไม่เข้าสอบตามรูปแบบการสอบที่เลือกไว้ จะถือว่าเป็นผู้ขาดสอบ
มหาวิทยาลัยจะแจ้งผลการสอบ ให้นักศึกษาทราบภายหลังจากเสร็จสิ้นการสอบแต่ละครั้งประมาณ  35 - 45  วัน  โดยจะประกาศวันประกาศผลการสอบในแต่ละภาคการศึกษาให้ทราบในคู่มือการลงทะเบียนเรียนแต่ละปีการศึกษา
  1. มหาวิทยาลัยจะแจ้งผลการสอบถึงตัวนักศึกษาทุกคนทางไปรษณีย์  โดยจัดส่งตามที่อยู่ที่นักศึกษาแจ้งไว้กับมหาวิทยาลัย
  2. ตรวจสอบผลการสอบได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย  www.stou.ac.th

1.  H เกียรตินิยม (Honor)  หมายถึงสอบได้ช่วงคะแนน ร้อยละ  76  ขึ้นไป
2.  S ผ่าน (Satisfactory)         หมายถึงสอบได้ช่วงคะแนน ร้อยละ  60 - 75
3.  U ไม่ผ่าน (Unsatisfactory)      หมายถึงสอบได้ช่วงคะแนนต่ำกว่าร้อยละ  60
4.  I     (Incomplete)             หมายถึงผลการสอบไม่สมบูรณ์

ผลการสอบที่มีเครื่องหมาย  *  กำกับแสดงว่าเคยลงทะเบียนเรียนและสอบชุดวิชานั้นไม่ผ่านมาแล้วมากกว่า 1 ครั้ง
  1. H  ของแต่ละชุดวิชา มีค่า   4.00
  2. S  ของแต่ละชุดวิชา มีค่า   2.30
  1. นำจำนวนชุดวิชาที่สอบได้ลำดับขั้น  H  ทั้งหมดคูณด้วย  4.00
  2. นำจำนวนชุดวิชาที่สอบได้ลำดับขั้น  S  ทั้งหมดคูณด้วย  2.30
  3. นำผลคูณจากข้อ 1 และ 2 รวมกัน  แล้วหารด้วยจำนวนชุดวิชาที่สอบได้ H และ S รวมกันออกมาเป็นเกรดเฉลี่ยสะสม
NA  หมายถึงผลสอบในชุดวิชานั้นยังไม่สมบูรณ์รอคะแนนภาคปฏิบัติซึ่งนักศึกษาจะต้องรอการแจ้งผลการสอบที่สมบูรณ์อีกครั้ง
  1. ให้โทรศัพท์สอบถามไปยังศูนย์ข้อมูลทะเบียนและบริการนักศึกษา  เพื่อจะได้ตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นหรือ
  2. ยื่นคำร้องถึงสำนักทะเบียนและวัดผล  พร้อมแนบสำเนาหลักฐานการลงทะเบียน  เพื่อสำนักทะเบียนและวัดผลจะได้ดำเนินการตรวจสอบ
ให้นักศึกษายื่นคำร้องถึงสำนักทะเบียนและวัดผลทันทีที่ได้รับผลการสอบโดยระบุชุดวิชา  สนามสอบ  วันและเวลาที่เข้าสอบ  เพื่อจะได้ดำเนินการตรวจสอบให้ต่อไป
นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องเพื่อขอตรวจสอบผลการสอบหรือขอทราบคะแนนผลการสอบไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลได้ภายใน  90  วัน  นับจากวันเสร็จสิ้นการสอบของแต่ละภาคการศึกษานั้นๆ  พร้อมแจ้งปี/ภาคการศึกษาและชุดวิชาที่จะขอตรวจสอบให้ชัดเจน ทั้งนี้นักศึกษาสามารถ download คำร้องขอตรวจสอบผลการสอบได้จาก website ของมหาวิทยาลัย  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp
ภาคการศึกษาพิเศษไม่มีการสอบซ่อม  หากนักศึกษาไม่ได้เข้าสอบหรือสอบไม่ผ่านผลการสอบจะเป็นลำดับขั้น U และจะต้องนำชุดวิชานั้นไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน
  1. นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาใดเป็นครั้งแรก  หากไม่ได้เข้าสอบจะได้ผลการสอบเป็นลำดับขั้น  I  ซึ่งนักศึกษามีสิทธิ์ลงทะเบียนสอบซ่อมชุดวิชาดังกล่าวในภาคการศึกษานั้นๆ  และผลการสอบที่ได้รับจะไม่มีเครื่องหมาย  *  กำกับ
  2. หากนักศึกษาไม่ได้เข้าสอบซ่อม  ผลการสอบจะเปลี่ยนจาก  I  เป็น  U  และเมื่อนักศึกษาลงทะเบียนเรียนใหม่  ผลการสอบที่ได้จะมีเครื่องหมาย  *  กำกับอยู่ด้วย
มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนซ้ำชุดวิชาเพื่อยกระดับคะแนนให้สูงขึ้นและในระบบการลงทะเบียนเรียนจะไม่รับลงทะเบียนเรียนชุดวิชาที่สอบผ่านแล้ว
  1. ยื่นคำร้องขอใบรายงานผลการศึกษา (ตรวจสอบผลการเรียน) ตามแบบฟอร์ม มสธ 30 พร้อมจัดส่งรูปแต่งกายสุภาพขนาด 1 นิ้วจำนวน 2 รูป และชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 50 บาท ซึ่งสามารถดาวน์โหลด มสธ 30 ได้ที่ website http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp
  2. ลงทะเบียนขอตรวจสอบประวัติผลการเรียนได้ที่ website https://regis.stou.ac.th/STOU/login.jsp โดยนักศึกษาจะต้องลงทะเบียนใช้ระบบก่อน (ผู้ที่ขอตรวจสอบได้จะต้องมีสถานภาพนักศึกษาในปัจจุบัน)

        สำนักทะเบียนและวัดผลจะจัดส่งเอกสารขอสำเร็จการศึกษา  (มสธ 10)  พร้อมคำชี้แจงให้นักศึกษาทุกคนที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา เมื่อนักศึกษาได้รับ มสธ 10  แล้วให้กรอกรายละเอียดแล้วจัดส่งไปยังมหาวิทยาลัยพร้อมกับรูปถ่ายสวมชุดครุย ขนาด 1 นิ้วจำนวน 7 รูปหลังจากที่ทราบผลการสอบภาคการศึกษาสุดท้ายแล้ว ดังนี้

         1. ภาคต้น  จะจัดส่งมสธ 10 ประมาณเดือนมกราคม

         2. ภาคปลาย  จะจัดส่งมสธ 10 ประมาณต้นเดือนกรกฎาคม

         3. ภาคการศึกษาพิเศษ จะจัดส่งมสธ 10 ประมาณเดือนตุลาคม

หลังจากประกาศผลการสอบแต่ละภาคการศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยจะตรวจสอบรายชื่อผู้ที่สำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษานั้น ๆ เพื่อส่งรายชื่อเข้าสภามหาวิทยาลัยอนุมัติปริญญาและหลังจากสภามหาวิทยาลัยอนุมัติปริญญาแล้วสำนักทะเบียนและวัดผลจะจัดส่งหนังสือรับรองสำเร็จ (มสธ14) การศึกษาพร้อมใบคำร้องขอขึ้นทะเบียนบัณฑิต (มสธ. 16) ให้นักศึกษา

ระหว่างรอสภามหาวิทยาลัย หากนักศึกษาต้องการหนังสือรับรองในขั้นต้น สามารถยื่นคำร้องขอรับหนังสือรับรองสอบผ่านครบตามโครงสร้างหลักสูตร (มสธ 13) ได้ โดยยื่นคำร้องตามแบบ มสธ. 30/1  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมรูปถ่ายสวมชุดครุยขนาด 1 นิ้วจำนวน 2 รูป พร้อมชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 50 บาท เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลดำเนินการแล้วจะจัดส่งให้นักศึกษาต่อไป

หมายเหตุ มสธ 30/1 จะอยู่ในเอกสารขอสำเร็จการศึกษา มสธ 10 โดยสามารถยื่นขอ มสธ 13 ไปพร้อมกับเอกสาร มสธ 10 ได้

นักศึกษาจะต้องขึ้นทะเบียนบัณฑิตหลังจากที่มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้สำเร็จการศึกษา (ระดับปริญญาตรี) แล้ว โดยมหาวิทยาลัย จะส่งใบคำร้องขอขึ้นทะเบียนบัณฑิต (มสธ 16) ไปให้นักศึกษาพร้อมกับหนังสือรับรองสำเร็จการศึกษา (มสธ 14) และเมื่อนักศึกษาได้รับแล้ว ขอให้ชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 800 บาท ณ ที่ทำการไปรษณีย์ด้วยบริการ Pay at Post  
ให้นักศึกษากรอกรายละเอียดต่างๆ  ในใบคำร้องขอขึ้นทะเบียนบัณฑิต  (มสธ 16) พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนบัณฑิต  จำนวน  800  บาท
  1. สอบผ่านชุดวิชาต่างๆ ครบตามโครงสร้างหลักสูตรภายในกำหนดเวลาของหลักสูตร
  2. ไม่เคยสอบได้คะแนนลำดับขั้น  U  ในชุดวิชาใดตลอดหลักสูตร
  3. ไม่เคยเรียนซ้ำชุดวิชาใดเพื่อยกระดับคะแนน
  4. มีชุดวิชาสะสมของลำดับขั้น  H  เป็นจำนวนตั้งแต่สามในสี่ขึ้นไปของชุดวิชาในหลักสูตรทั้งหมด
  5. นักศึกษาที่ได้รับการเทียบงานรายวิชาหรือโอนชุดวิชาไม่มีสิทธิได้รับปริญญาเกียรตินิยม
  1. สอบผ่านชุดวิชาต่างๆ ครบตามโครงสร้างหลักสูตรภายในกำหนดเวลาของหลักสูตร
  2. ไม่เคยสอบได้คะแนนลำดับขั้น  U  ในชุดวิชาใดตลอดหลักสูตร
  3. ไม่เคยเรียนซ้ำชุดวิชาใดเพื่อยกระดับคะแนน
  4. มีชุดวิชาสะสมของลำดับขั้น  H  เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของชุดวิชาสะสมทั้งหมด
  5. นักศึกษาที่ได้รับการเทียบงานรายวิชาหรือโอนชุดวิชาไม่มีสิทธิได้รับปริญญาเกียรตินิยม
นักศึกษาที่จะขอรับอนุปริญญาในสาขาวิชาที่ไม่มีหลักสูตรอนุปริญญาโดยเฉพาะจะต้องสอบได้ชุดวิชาบังคับไม่น้อยกว่าสามในสี่ของชุดวิชาบังคับที่กำหนดไว้ในหลักสูตรปริญญาตรีที่ตนจะขอรับอนุปริญญา โดยไม่รวมชุดวิชาเลือกเสรี
  1. ยื่นคำร้องแจ้งความจำนงเพื่อขอรับอนุปริญญา
  2. เมื่อมหาวิทยาลัยได้รับคำร้องเพื่อขอใบคำร้องขอรับอนุปริญญาแล้ว จะพิจารณาผลการเรียน หากอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถออกอนุปริญญาได้จะจัดส่ง มสธ 10 ให้นักศึกษา
  3. เมื่อได้รับใบคำร้องขอรับอนุปริญญา  มสธ  10  แล้วให้กรอกรายละเอียด  ต่างๆ  ให้ชัดเจน
  4. ส่งใบคำร้องขอรับอนุปริญญา  มสธ  10  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมรูปถ่ายขนาด  1  นิ้ว จำนวน  4  รูป  ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองสำเร็จการศึกษาฉบับละ  50  บาท  ค่าใบรายงานผลการศึกษาฉบับละ  50  บาท  และค่าขึ้นทะเบียนอนุปริญญา  200  บาท
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ และมีอำนาจให้ปริญญา  อนุปริญญา  และประกาศนียบัตร  ที่มีศักดิ์และสิทธิ์เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ของรัฐ ซึ่งหลักสูตรที่เปิดสอนทุกหลักสูตรได้รับการรับรองจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)  แต่นักศึกษาจะใช้วุฒิการศึกษาดังกล่าวในการปรับวุฒิได้หรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับหน่วยงานต้นสังกัดของนักศึกษาโดยตรง

สภามหาวิทยาลัยจะอนุมัติสำเร็จการศึกษาให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาตามช่วงระยะเวลาดังนี้

         ภาคต้น      (สอบไล่)                   ปลายเดือนมิถุนายน

                       (สอบซ่อม)                  ปลายเดือนสิงหาคม -  กันยายน

        ภาคปลาย   (สอบไล่)                    ปลายเดือนธันวาคม

        (สอบซ่อม - ภาคการศึกษาพิเศษ)    ปลายเดือนกุมภาพันธ์

สามารถยื่นคำร้องขอใบรายงานผลการศึกษา (มสธ 15) ฉบับใหม่ได้ โดยยื่นคำร้องตามแบบ มสธ. 30/2 ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมรูปถ่ายสวมชุดครุยขนาด 1 นิ้วจำนวน 2 รูป พร้อมชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 50 บาท เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลดำเนินการแล้วจะจัดส่งให้นักศึกษาต่อไป

หมายเหตุ  สามารถดาวน์โหลดใบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา มสธ 30 ผ่านทาง website http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp


สามารถยื่นคำร้องขอใบรายงานผลการศึกษา (มสธ 15) ฉบับภาษาอังกฤษได้ โดยยื่นคำร้องตามแบบ มสธ. 30/2 ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมรูปถ่ายสวมชุดครุยขนาด 1 นิ้วจำนวน 2 รูป พร้อมชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 50 บาท เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลดำเนินการแล้วจะจัดส่งให้นักศึกษาต่อไป

หมายเหตุ  สามารถดาวน์โหลดใบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา มสธ 30 ผ่านทาง website http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp


  1. นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษาใดหรือรุ่นใด จะต้องเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรตามรุ่นปีที่สำเร็จการศึกษา ตามกำหนดการที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในแต่ละรุ่นโดยจะขอเข้ารับพระราชทานพร้อมรุ่นปีการศึกษาอื่น ๆ ไม่ได้
  2. นักศึกษากรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ตามวัน เวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด  ขอให้รอรับใบปริญญาบัตรทางไปรษณีย์ ซึ่งสำนักทะเบียนและวัดผลจะจัดส่งให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้หลังจากพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 1 เดือน


ในกรณีของบัณฑิตที่มีสถานภาพเป็นภิกษุอยู่นั้น  มหาวิทยาลัยจะอำนวยความสะดวกให้โดยการส่งปริญญาบัตรไปให้ทางไปรษณีย์หลังจากเสร็จสิ้นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแล้วประมาณ 45 วัน  หากไม่ได้รับ ขอให้ติดต่อไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลโดยตรง  กรณีมหาบัณฑิตขอให้ติดต่อไปยังสำนักบัณฑิตศึกษา
บัณฑิตที่รับราชการพยาบาล ให้แต่งชุดเครื่องแบบปกติขาว หรือแต่งชุดเสื้อพระราชทาน หรือเสื้อชุดไทยแขนยาว สีขาว  ส่วนบัณฑิตที่ประกอบวิชาชีพพยาบาลเอกชนต้องแต่งชุดเสื้อพระราชทานหรือเสื้อชุดไทยแขนยาว สีขาว ตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนดเท่านั้น ดังตัวอย่างการแต่งกายในจดหมายข่าวบัณฑิต
บัณฑิตที่ได้แจ้งเปลี่ยนชื่อ - ชื่อสกุล หลังจากวันอนุมัติปริญญา  ในใบปริญญาบัตรจะเป็นชื่อ - ชื่อสกุลเดิม  แต่ถ้าได้รับการตอบรับจากสำนักทะเบียนและวัดผลว่าได้เปลี่ยนให้แล้วก่อนวันอนุมัติปริญญา ในใบปริญญาบัตรจะเป็นชื่อ - ชื่อสกุล ตามที่เปลี่ยนใหม่  ทั้งนี้หากบัณฑิตท่านใดประสงค์จะเปลี่ยนแปลงยศ  คำนำหน้าชื่อ - ชื่อ - ชื่อสกุล หรือที่อยู่ ต้องแจ้งโดยด่วนก่อนการอนุมัติปริญญา  หลังจากอนุมัติปริญญาแล้วมหาวิทยาลัยจะไม่เปลี่ยนแปลงยศ  คำนำหน้าชื่อ - ชื่อ - ชื่อสกุล  และในปริญญาบัตรจะยังคงใช้ตามเดิมตามที่บัณฑิตแจ้งขออนุมัติปริญญา  สำหรับการขานชื่อในขณะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรนั้น มหาวทิยาลัยจะแก้ไขเฉพาะยศ และคำนำหน้าชื่อให้เท่านั้น ส่วนชื่อและชื่อสกุลจะไม่เปลี่ยนแปลงให้  โดยขอให้บัณฑิตที่ประสงค์จะแก้ไขยศและคำนำหน้าชื่อ (เช่น นางสาว  เป็น นาง)  ในเวลาขานชื่อแจ้งขอเปลี่ยนแปลงต่อเจ้าหน้าที่รับแจ้งปัญหาในวันฝึกซ้อมย่อยด้วย เพื่อจะได้นำมาแก้ไขในใบขานชื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต่อไป
สามารถเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ แต่ต้องเข้ารับการฝึกซ้อมย่อยและซ้อมใหญ่ตามกำหนดวันที่มหาวิทยาลัยแจ้งให้ทราบในคู่มือการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร  และควรแจ้งให้สำนักวิชาการทราบถึงการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของบัณฑิต
ไม่ได้  บัณฑิต/มหาบัณฑิตทุกท่านที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต้องเข้ารับการฝึกซ้อมย่อยและฝึกซ้อมใหญ่ ตามวันเวลาที่กำหนด  ถ้าขาดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง จะถูกตัดชื่อออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร และบัณฑิต/มหาบัณฑิต  จะต้องเข้ารับการฝึกซ้อมย่อย ฝึกซ้อมใหญ่ และเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรด้วยตนเองเท่านั้น  จะให้ผู้อื่นเข้าแทนไม่ได้
กรณีดังกล่าวสามารถนำบัตรประจำตัวนักศึกษาไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่จุดรับแจ้งปัญหา ในวันที่บัณฑิตมารับการฝึกซ้อมย่อยที่มหาวิทยาลัยได้

ขอให้ท่านไปแจ้งความเรื่องบัตรประจำตัวนักศึกษาสูญหายที่สถานีตำรวจท้องที่ที่บัตรประจำตัวสูญหาย  และขอให้ท่านนำใบแจ้งความที่ได้รับไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในวันรายงานตัวเข้ารับการฝึกซ้อมย่อย  และฝึกซ้อมใหญ่  พร้อมกับบัตรข้าราชการหรือบัตรประจำตัวประชาชน

บัณฑิตที่บัตรประจำตัวนักศึกษาหมดอายุหลังจากวันที่สำเร็จการศึกษาแล้ว  ไม่ต้องต่ออายุบัตรและสามารถนำบัตรนักศึกษาที่หมดอายุดังกล่าวมาแสดงตนพร้อมกับบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวประชาชนในวันรายงานตัวฝึกซ้อมย่อยได้

ให้ข้าราชการนอกประจำการใช้เครื่องแบบเช่นเดียวกับข้าราชการประจำ เว้นแต่ให้ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างซ้ายและติดเครื่องหมายอักษร "นก" ซึ่งทำด้วยโลหะโปร่ง สีทอง ไม่มีขอบสูง 2 ซม. ที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2536
ตามเกณฑ์ที่กรมตำรวจกำหนดผู้ที่แต่งชุดปกติขาวได้ จะต้องมียศตั้งแต่ชั้นจ่าสิบตำรวจขึ้นไป โดยต้องคาดกระบี่ตามชั้นยศทุกคน ดังนั้นกรณีที่บัณฑิตมียศสิบตำรวจโทจึงไม่มีสิทธิแต่งกายชุดปกติขาว และขอให้ชุดเสื้อพระราชทานแขนยาว สีขาว กางเกงสีขาว ตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด 

การขอหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา นักศึกษาสามารถดำเนินการได้โดยการยื่นคำร้องตามแบบฟอร์ม มสธ30/2  พร้อมชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 50 บาทและแนบสำเนาใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปัจจุบันไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล เพื่อดำเนินการต่อไป

หมายหตุ  สำหรับหนังสือรับรองกรณีอื่น ๆ ขอให้นักศึกษายื่นคำร้องพร้อมชี้แจงรายละเอียดไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาเป็นเฉพาะกรณี

1.ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
  • ผู้ที่สมัครเป็นนักศึกษาใหม่ทุกคนต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า  800 บาท  ยกเว้นผู้สมัครที่มีอายุ  60  ปีขึ้นไปนับถึงวันที่  1  กรกฎาคม  ของปีการศึกษาที่สมัครเข้าศึกษา  จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า

2. ค่าบำรุงการศึกษา

 

  •    ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2559 เป็นต้นไป ทุกรหัสประจำตัวนักศึกษาจะต้องชำระค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 500 บาท   
  • สำหรับนักศึกษาที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีก่อนปีการศึกษา 2556 หากมีการชำระค่าบำรุงการศึกษาย้อนหลัง สามารถชำระค่าบำรุงการศึกษาภาคการศึกษาละ 300 บาท ได้จนถึงภาคการศึกษาที่ 2/2558  เท่านั้น

 

3. ค่าชุดวิชา
   • นักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนเรียน  หรือลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชา  ต้องชำระค่าชุดวิชา ชุดวิชาละ  300  บาท

4. ค่าวัสดุการศึกษา
    • นักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนในชุดวิชาใดเป็นครั้งแรก ต้องชำระค่าวัสดุการศึกษา ชุดวิชาละ 700 บาท ยกเว้นชุดวิชาที่มีวัสดุเพิ่มเติม หรือชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติ ให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือการลงทะเบียนของแต่ละภาคการศึกษา

5.  ค่าลงทะเบียนสอบซ่อม
    • นักศึกษาที่ลงทะเบียนสอบซ่อมต้องชำระค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียนสอบซ่อม ชุดวิชาละ  200  ยกเว้นชุดวิชาที่ต้องลงทะเบียนสอบซ่อมภาคปฏิบัติให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก คำชี้แจงการลงทะเบียนสอบซ่อม

6. ค่าธรรมเนียมการออกบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
  • นักศึกษาที่ขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่กรณีเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุลต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกบัตรใหม่ครั้งละ  100  บาท

7. ค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลงประวัติการศึกษา 100 บาท
   • นักศึกษาที่ต้องการเปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล เปลี่ยนสาขาวิชา/วิชาเอก สามารถชำระค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียวได้ตลอดหลักสูตร  

8.ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา
  • นักศึกษาที่ขอหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ  50  บาท

9.ค่าธรรมเนียมการออกใบรายงานผลการศึกษา (Transcript)
  • นักศึกษาที่ประสงค์จะขอใบรายงานผลการศึกษา (กรณีไม่สำเร็จการศึกษา)  หรือนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว และขอใบรายงานผลการศึกษาฉบับที่ 2 เป็นต้นไป  ต้องชำระค่าธรรมเนียม ฉบับละ 50 บาท

10.ค่าธรรมเนียมการต่ออายุสถานภาพนักศึกษา
    • นักศึกษาที่มีสิทธิในการต่ออายุสถานภาพนักศึกษาเมื่อยื่นคำร้องขอต่ออายุสถานภาพ
นักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียม  300  บาท

11.ค่าธรรมเนียมบัณฑิต
    • นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทุกคนต้องชำระค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิตคนละ  800  บาท

12. ค่าธรรมเนียมใบรับรองอนุปริญญา
      • นักศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา  ถ้าต้องการใบรับรองต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

13. ค่าธรรมเนียมใบรายงานผลการศึกษาอนุปริญญา
     • นักศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา ถ้าต้องการใบรายงานผลการศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

14. ค่าธรรมเนียมใบแปล ใบรับรองการศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ
     • นักศึกษาที่ต้องการใบรับรองเป็นภาษาอังกฤษต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ 50  บาท

15. ค่าธรรมเนียมใบแปลใบปริญญาบัตรเป็นภาษาอังกฤษ
     • นักศึกษาที่ต้องการใบปริญญาที่แปลเป็นภาษาอังกฤษต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

16. ค่าธรรมเนียมใบแทนใบปริญญาบัตร  ประกาศนียบัตร  สัมฤทธิบัตร
    • นักศึกษาที่ทำใบปริญญาบัตร  ประกาศนียบัตร  หรือสัมฤทธิบัตรที่มหาวิทยาลัยออกให้
สูญหายและต้องการให้มหาวิทยาลัยออกใบแทนให้ใหม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

17. ค่าธรรมเนียมใบรับรองอื่นๆ
    • ถ้านักศึกษาต้องการใบรับรองที่ไม่ได้กำหนดค่าธรรมเนียมไว้เฉพาะนักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

18. ค่าธรรมเนียมใบสัมฤทธิบัตรกรณีพิเศษ
     • นักศึกษาที่ได้ลงทะเบียนและสอบผ่านหลังจากที่ได้พ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษาไปแล้ว และต้องการให้มหาวิทยาลัยออกใบสัมฤทธิบัตรกรณีพิเศษให้ นักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกสัมฤทธิบัตรฉบับละ  50  บาท

19. ค่าธรรมเนียมคำอธิบายชุดวิชา รายวิชา
     • นักศึกษาที่ต้องการคำอธิบายชุดวิชา หรือรายวิชา ต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ 50  บาท

20. ค่าธรรมเนียมการคัดลอกเอกสารสำคัญ
     • นักศึกษาที่ต้องการถ่ายสำเนาเอกสารสำคัญต่างๆ  ของนักศึกษาที่สำนักทะเบียนและ
วัดผล ได้จัดเก็บไว้ในไมโครฟิล์มนักศึกษาต้องชำระค่าถ่ายสำเนาฉบับละ  10  บาท

21. ค่าธรรมเนียมการรับรองสำเนาถูกต้อง
      • นักศึกษาที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยรับรองสำเนาเอกสารสำคัญต่างๆ  ที่มหาวิทยาลัยได้ออกให้นักศึกษาไปแล้วนักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  10  บาท

22. ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนอนุปริญญา
     • นักศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาเมื่อมหาวิทยาลัยพิจารณาให้สำเร็จ
การศึกษาแล้วต้องชำระค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนอนุปริญญาคนละ  200  บาท

23.ค่าธรรมเนียมค่าขอโอนชุดวิชา
    • การขอโอนชุดวิชา นักศึกษาจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการขอโอนชุดวิชา ชุดวิชาละ 200 บาท

24.ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองโครงการกู้ยืมเงินของธนาคารกรุงไทย (กยศ.204)
   • นักศึกษาที่ขอหนังสือรับรองโครงการกู้ยืมเงินของธนาคารกรุงไทย ต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ  50  บาท

25.ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาองค์การทหารผ่านศึก (กสก.2)
   • นักศึกษาที่ขอหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาองค์การทหารผ่านศึก ต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ  50  บาท

กรณีที่นักศึกษาได้รับอนุมัติให้ลาออกจากการเป็นนักศึกษาแล้ว  ถือว่านักศึกษาได้สิ้นสุดสถานภาพการเป็นนักศึกษา ถ้าประสงค์จะศึกษาต่อต้องดำเนินการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษาต่อไป  และภายหลังจากได้รับตอบรับเป็นนักศึกษาใหม่แล้ว สามารถยื่นคำร้อง ขอโอนชุดวิชาที่เคยสอบผ่านจากหลักสูตรเดิมและมีในหลักสูตรใหม่ได้ทุกชุดวิชาโดยดำเนินการได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่สมัครเข้าศึกษาเป็นต้นไป
  1. ถ้านักศึกษามีความประสงค์ที่จะศึกษาต่อ ให้ดำเนินการลาพักการศึกษาย้อนหลังในภาคการศึกษาที่ได้รับแจ้ง และรอลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาต่อไป
  2. หากไม่ประสงค์ที่จะศึกษาต่อ ให้นักศึกษาแจ้งลาออกจากการเป็นนักศึกษา และสามารถสมัครเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ในโอกาสต่อไปได้
  1. หลักสูตร 1 ปี มีระยะเวลาศึกษาในหลักสูตร 3 ปี
  2. หลักสูตร 2 ปี มีระยะเวลาศึกษาในหลักสูตร 6 ปี  (นักศึกษาที่ศึกษาหลักสูตรมากกว่า 15 ชุดวิชา จะได้รับการอนุญาตให้ศึกษาได้ภายในระยะเวลา  7  ปีการศึกษา)
  3. หลักสูตร 3 ปี  มีระยะเวลาศึกษาในหลักสูตร 9 ปี
  4. หลักสูตร 4 ปี มีระยะเวลาศึกษาในหลักสูตร 12 ปี

หมายเหตุ นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาในภาคปลายของปีการศึกษา ให้นับระยะเวลาครบ  3 เท่า  ในภาคการศึกษาต้นของปีการศึกษาถัดไปหลังจากครบกำหนดการศึกษา  3  เท่าของปีการศึกษาที่เข้าสมัคร

มหาวิทยาลัยจะมีหนังสือแจ้งนักศึกษาที่ใช้เวลาครบ 3 เท่าของหลักสูตรและนักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอต่ออายุสถานภาพนักศึกษาได้อีก 1 ปีการศึกษา
  1. ยื่นเรื่องเพื่อขอคำร้องต่ออายุสถานภาพนักศึกษา (มสธ 25)  ไปยังสำนักทะเบียน และวัดผล หรือ Download จาก website ของมหาวิทยาลัย
  2. เมื่อได้รับคำร้อง มสธ 25 แล้วให้กรอกรายละเอียดพร้อมชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุสถานภาพนักศึกษาจำนวน 300 บาท ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลภายใน 45 หลังจากที่ได้รับหนังสือแจ้งจากมหาวิทยาลัย
หากนักศึกษามีความประสงค์ที่จะศึกษาต่อ  ให้นักศึกษาสมัครเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ตามขั้นตอนการสมัครเช่นเดียวกับผู้สมัครใหม่โดยทั่วไป และภายหลังจากได้รับการตอบรับการเป็นนักศึกษาใหม่แล้ว สามารถยื่นคำร้องขอโอนชุดวิชาที่สอบผ่านจากหลักสูตรเดิมและมีอยู่ในหลักสูตรใหม่ได้ทุกชุดวิชา ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่สมัครเข้าศึกษาเป็นต้นไป
ญาติจะต้องแจ้งการเสียชีวิตของนักศึกษาพร้อมแนบสำเนาใบมรณบัตรไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลเพื่อดำเนินการด้านงานทะเบียนประวัตินักศึกษาตามขั้นตอนต่อไป
นักศึกษาที่สมัครตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยกำหนดหลักเกณฑ์ระยะเวลาการศึกษาของการควบรวมหลักสูตร 4 ปี โดยกำหนดโครงสร้างหลักสูตรจากจำนวนชุดวิชาและระยะเวลาที่ต้องศึกษาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัคร ทั้งนี้นักศึกษาสามารถตรวจสอบระยะเวลาการศึกษาควบรวมหลักสูตรและระยะเวลาการศึกษาที่จะอยู่ในเกณฑ์การได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม ดังนี้

ตาราง หลักเกณฑ์ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตรระดับปริญญาตรี(4 ปี)

 

รายละเอียดระยะเวลาการศึกษา (ปี) หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

จำนวน

(1)

(2)

(3)

(4)

(5)

ชุดวิชาที่

ระยะเวลา

ระยะเวลา

ระยะเวลา

ระยะเวลา

รวมระยะเวลาการ

ศึกษา

การศึกษา

การได้รับเกียรตินิยม

การศึกษา 3 เท่าฯ

ต่ออายุสถานภาพ

ศึกษาที่อยู่ในระบบ

 

(ปี)

(ปี)

(ปี)

นักศึกษา

(ปี)

= (3)+(4)

(ปี)

5 - 6

1

 

3

1

4

12

2

2

6

1

7

13 – 15

2.5

2.5

7.5

1

8.5

16 - 18

3

3

9

1

10

19 – 21

3.5

3.5

10.5

1

11.5

22 - 26

4

4

12

1

13


ภาคต้น        สมัครสอบประมาณกลางเดือนกันยายน ถึงกลางเดือนธันวาคม

      ภาคปลาย       สมัครสอบประมาณกลางเดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนมิถุนายน
นักศึกษาจะต้องกรอกใบสมัครทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยที่ www.stou.ac.th ภายใต้หัวข้อบริการนักศึกษา เลือกปริญญาตรี จะปรากฏหัวข้อต่างๆ มองไปที่การสอบและคลิกที่สมัครสอบตามความพร้อมของนักศึกษารายบุคคลด้วยคอมพิวเตอร์ (Walk-in Exam)

ภาคต้น       กำหนดสอบเสาร์-อาทิตย์ตลอดเดือนธันวาคม

ภาคปลาย    กำหนดสอบเสาร์-อาทิตย์ตลอดเดือนมิถุนายน

ค่าธรรมเนียมการขอสอบชุดวิชาละ 300 บาท ชำระโดยตัดบัญชี KTB online หรือชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ทั่วประเทศ

ณ  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 6-8 ชั้นลอย และ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ณ  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. เพชรบุรี  นครสวรรค์  อุดรธานี  จันทบุรี  นครศรีธรรมราช ลำปาง อุบลราชธานี  สุโขทัย  ยะลา  และนครนายก (จัดเฉพาะวันอาทิตย์)

หมายเหตุ  นักศึกษาสามารถเลือกสถานที่สอบได้พร้อมกับการสมัครทางอินเทอร์เน็ต www.stou.ac.th ภายใต้หัวข้อบริการนักศึกษา เลือกปริญญาตรี จะปรากฏหัวข้อต่างๆ มองไปที่การสอบและคลิกที่สมัครสอบตามความพร้อมของนักศึกษารายบุคคลด้วยคอมพิวเตอร์ (Walk-in Exam)

1.  ต้องเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาที่มีการเปิดสอบ Walk-in Exam ในภาคการศึกษานั้น

2.  นักศึกษาสามารถสมัครสอบ Walk-in Exam ในแต่ละชุดวิชาได้ 1 ครั้ง ต่อ 1 ภาคการศึกษา

3.  หากเข้าสอบ Walk-in Exam แล้วสอบไม่ผ่าน นักศึกษามีสิทธิ์เข้าสอบไล่ประจำภาคการศึกษาในชุดวิชานั้นได้

1. เมื่อการสอบ Walk-in Exam เสร็จสิ้น นักศึกษาจะได้รับแจ้งผลการสอบทันที ว่าสอบผ่านหรือไม่ผ่าน พร้อมกระดาษ A4 แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผลการสอบอย่างไม่เป็นทางการ  (แต่ได้ไม่แสดงผลเป็นคะแนนสอบ)

2. สำหรับผลการสอบอย่างเป็นทางการ มหาวิทยาลัยจะส่งให้นักศึกษาพร้อมกับการประกาศผลการสอบประจำภาคการศึกษานั้น

3. การประเมินผลการสอบ Walk-in Exam ในแต่ละชุดวิชาให้เป็นไปตามเงื่อนไขการตัดสินผลสอบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

4.  นักศึกษาที่สอบผ่าน Walk-in Exam แล้ว หากเข้าสอบไล่ประจำภาคการศึกษานั้นอีก ให้ถือผลการสอบของ Walk-in Exam เป็นหลัก

5. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน Walk-in Exam สามารถเข้าสอบไล่ประจำภาคการศีกษานั้นได้อีก และถ้าสอบไล่ผ่านให้ใช้ผลการสอบผ่านของการสอบไล่นั้น
ไม่นำคะแนนในส่วนของกิจกรรมประจำชุดวิชามารวม แต่จะคิดคะแนนจากเกณฑ์การตัดสินผลการสอบจากการทำข้อสอบ 120 ข้อ
ผลการสอบทั้ง 2 ส่วนจะแจ้งให้ทราบพร้อมกันภายหลังจากการสอบเสร็จสิ้นประมาณ 2 สัปดาห์ ทางอีเมลที่นักศึกษาแจ้งไว้ในการสมัครสอบสมัคร (Walk-in Exam)
ไม่ได้ เพราะตามระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการศึกษาในระบบวัดผลตามความพร้อมของนักศึกษารายบุคคล สามารถสมัครสอบตามความพร้อมในแต่ละชุดวิชาได้ 1 ครั้งต่อ 1 ภาคการศึกษาเท่านั้น   แต่นักศึกษาสามารถนำชุดวิชาที่สอบไม่ผ่านไปใช้สิทธิ์เข้าสอบไล่ในภาคการศึกษาที่ 2/2561 ได้ตามวัน เวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดอีกครั้ง
จากประกาศของคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน 2559  จึงส่งผลเริ่มบังคับใช้กับนักศึกษาที่สมัครเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ภาคต้นปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป
นักศึกษาสามารถยื่นเอกสารที่แสดงว่าได้รับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษแล้วเมื่อเหลือ 3 ชุดวิชาสุดท้ายของโครงสร้างหลักสูตร
1. การทดสอบภาษาอังกฤษ STOU-EPT ของ มสธ.
2. สถาบันหรือศูนย์ทดสอบทางภาษาที่ได้มาตราฐานเทียบเคียงกับ
CEFR เช่น TU-GET, CU_TEP, TOEFL, IELTS, TOEIC
3.
สถาบันหรือศูนย์ทดสอบทางภาษานอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 ให้ส่งผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเสนอคณะกรรการพิจารณาเป็นรายกรณีไป
มหาวิทยาลัยไม่ได้พิจารณาว่าสอบผ่านหรือสอบไม่ผ่าน แต่จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐานประกอบที่แสดงว่านักศึกษาได้ผ่านการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเท่านั้น
ผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษหากแนบไปพร้อมกับการสมัครตั้งแต่แรกเข้าศึกษา มหาวิทยาลัยจะพิจารณาเอกสารจากวันที่ยื่นว่าผลการทดสอบภาษาอังกฤษยังคงมีอายุการใช้งานอยู่  หากนักศึกษาใช้ระยะเวลาศึกษาเกิน 4 ปี ก็ให้ถือว่าผลการทดสอบครั้งแรกที่ยื่นยังคงใช้ได้
มีผลทำให้ไม่สามารถสำเร็จการศึกษา ฉะนั้นนักศึกษาทุกคนต้องยื่นผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษก่อนการสำเร็จการศึกษา

มหาวิทยาลัยมีแนวทางส่งเสริมการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการ โดยจะได้รับยกเว้นการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งนักศึกษาพิการต้องมีลักษณะดังนี้

1.พิการทางการเห็น

2.พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย

3.พิการออทิสติก ระดับ 3 ขึ้นไป

ทั้งนี้นักศึกษาต้องยื่นบัตรประจำตัวคนพิการเพื่อประกอบการยกเว้นการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษด้วย

แผนการศึกษา ก1 การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ศึกษาด้วยตนเองผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ สอบปลายภาค 100 คะแนน โดยประเมินผลหน่วยการเรียนรู้ 1-15

แผนการศึกษา ก2 ศึกษาด้วยตนเองผ่านระบบการเรียนออนไลน์สมบูรณ์แบบในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) และสื่อออนไลน์ มีกิจกรรมการเรียนการสอนแบบนัดหมายเก็บคะแนน 40 คะแนน และสอบปลายภาค 60 คะแนน โดยประเมินผลหน่วยการเรียนรู้ 1-15

แผนการศึกษา ก3 ศึกษาด้วยตนเองผ่านระบบการเรียนออนไลน์สมบูรณ์แบบในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) และสื่อออนไลน์ มีกิจกรรมร่วมเรียนรู้ 40 คะแนน และมีการสอบกลางภาคหน่วยการเรียนรู้ 1-7 และมีสอบปลายภาคหน่วยการเรียนรู้ 8-15  รวม 60 คะแนน

มหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนทางไกลในระดับปริญญาตรีดังนี้

เริ่มจัดการศึกษาแผน ก2 ในภาคต้นปีการศึกษา 2562

เริ่มจัดการศึกษาแผน ก3 ในภาคปลายปีการศึกษา 2562

ภายหลังจากที่นักศึกษาชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนแล้ว สามารถเข้าไปเลือกแผนการศึกษา ก1  ก2  ก3  ได้ที่เว็บไซต์มสธ.  https://dssj.stou.ac.th/chooseplan
ในแต่ละภาคการศึกษานักศึกษาสามารถเลือกแผนการศึกษาเหมือนหรือต่างกันในแต่ละชุดวิชาได้

มหาวิทยาลัยไม่ได้เปิดแผนการศึกษา ก2 ก3 ทุกชุดวิชา ดังนั้นนักศึกษาสามารถเลือกแผนการศึกษาจากชุดวิชาที่กำหนดให้เลือกแผนการศึกษาได้เท่านั้น ทั้งนี้สามารถตรวจสอบชุดวิชาที่เปิดให้เลือกแผนการศึกษาได้ที่เว็บไซต์ของมสธ. https://dssj.stou.ac.th/chooseplan

สามารถเลือกแผนการศึกษา ก2 ก3 ได้ ภายในช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตเปลี่ยนแปลงแผนการศึกษา ก1 ก2 ก3 จนกว่าจะลงทะเบียนเรียนใหม่ภาคการศึกษาถัดไป  ยกเว้นกรณีของนักศึกษาที่เลือกแผนการศึกษา ก3 มีจำนวนน้อยกว่า 15 คนของชุดวิชาที่เปิดให้เลือกแผน นักศึกษากลุ่มนี้จะถูกเปลี่ยนแผนการศึกษาของชุดวิชา ก3 ไปตามแผนสำรองที่นักศึกษาเลือกไว้

การจัดสอบกลางภาคมหาวิทยาลัยจะจัดสอบในวันเสาร์และวันอาทิตย์ 

ภาคต้นจะสอบวันเสาร์และวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน

ภาคปลายจะสอบวันเสาร์และวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม

การจัดสอบกลางภาคจะเป็นกลุ่มที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนและเลือกแผนการศึกษา ก3 ฉะนั้นมหาวิทยาลัยจะจัดสอบในรูปแบบออนไลน์เท่านั้้น  แต่สำหรับการสอบปลายภาคนักศึกษาสามารถเลือกรูปแบบการสอบออนไลน์ หรือเลือกรูปแบบการสอบสนามสอบได้
มหาวิทยาลัยจะไม่ประกาศผลการสอบกลางภาค โดยจะประมวลผลการสอบรวมทั้งหมดและจะประกาศผลการสอบในปลายภาคต่อไป
การเลือกแผนการศึกษา นักศึกษาไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมใดๆ เพิ่มเติม ให้ชำระค่าลงทะเบียนเรียนตามอัตราค่าลงทะเบียนที่มหาวิทยาลัยกำหนดปกติ
เป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรีเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นักศึกษาเลือกแผนการศึกษา ก 2 หรือ ก 3 เฉพาะนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร ผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตร  นักศึกษาลักษณะพิเศษ  นักศึกษาผู้ต้องขัง และนักศึกษาโครงการกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน   
ชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนนั้นจะถูกกำหนดให้เป็นแผนการศึกษา ก1  (สอบปลายภาคหน่วยการเรียนรู้ที่ 1-15)
ไม่ตรง เนื่องจากมหาวิทยาลัยกำหนดวันสอบกลางภาค ภาคต้นสอบวันเสาร์และวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ภาคปลายสอบวันเสาร์และวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม     แต่สำหรับการสอบซ่อมมหาวิทยาลัยจะกำหนดสอบซ่อมภาคต้นสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม และสอบซ่อมปลายภาคสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน

การสอบปลายภาคแผนการศึกษา ก1 ก2 (สอบหน่วยที่ 1-15) ใช้เวลาในการทำแบบทดสอบคาบละ 3 ชั่วโมง

การสอบปลายภาคแผนการศึกษา ก3 (สอบหน่วยที่ 8-15) ใช้เวลาในการทำแบบทดสอบคาบละ 2 ชั่วโมง

 

มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมร่วมเรียนรู้ (blended learning) จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 2 วัน  รวม 40 คะแนน ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Microsoft Teams
มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมสอนเสริมแบบเก็บคะแนน จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 2 วัน  รวม 40 คะแนน ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Microsoft Teams  หรือรูปแบบเผชิญหน้า (เฉพาะชุดวิชาไทยศึกษา จัดเมื่อมีนักศึกษาจำนวน 50 คน )
ชำระเงินผ่านศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. 10 แห่ง และศูนย์บริการร่วมแบบครบวงจร (One Stop Service) ที่มหาวิทยาลัยโดยตรง

1.ช่องทางลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส

2.ช่องทางที่ทำการไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ ด้วยระบบ Pay at Post   

3. ช่องทางเคาน์เตอร์ธนาคาร 9 ธนาคารตามที่ระบุไว้ในคู่มือลงทะเบียนเรียน

4. ช่องทางตู้บริการ ATM

5. ช่องทางบนอุปกรณ์พกพา (STOU-SISA)

ภาคต้นหมดเขตวันที่ 25 สิงหาคม ของทุกปี

 ภาคปลายหมดเขตวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

ปีการศึกษา 2565 มสธ.ปรับรูปแบบการจัดแผนการศึกษาใหม่ การสอบกลางภาคจัดให้เฉพาะนักศึกษาที่เลือกแผนการศึกษา ก3 โดยจัดสอบในรูปแบบออนไลน์เท่านั้น

กำหนดสอบวันละ 2 คาบ คาบละ 1 ชม.ครึ่ง ดังนี้

วันนเสาร์  คาบที่ 1 เวลา 9.00-10.30 น           คาบที่ 2 เวลา 13.00-14.30

วันอาทิตย์  คาบที่ 3 เวลา 9.00-10.30 น               คาบที่ 4 เวลา 13.00-14.30

สำหรับภาคการศึกษาพิเศษมหาวิทยาลัยจะเปิดสอนเฉพาะแผนการศึกษา ก1 เท่านั้น
เป็นการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในชุดวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดให้มีการจัดสอบ ทั้งการสอบกลางภาค การสอบไล่ การสอบซ่อม และการสอบอื่นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ได้ที่เว็บไซต์  exam.stou.ac.th  โดยมหาวิทยาลัยเปิดระบบให้นักศึกษาและผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตรสามารถ Login เข้าสู่ระบบสอบออนไลน์ ก่อนเวลาสอบ 60 นาที กรอกอีเมลและรหัสผ่าน (อีเมล คือ รหัสนักศึกษา @stou.ac.th) (รหัสผ่าน คือ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน)
มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาและผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตรที่เลือกรูปแบบการสอบออนไลน์จะต้องใช้วัน และเวลาในการสอบเดียวกัน โดยยึดตามเวลาของประเทศไทย
แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เนื่องจากมีการบันทึกภาพเหตุการณ์ตลอดระยะเวลาการทำข้อสอบออนไลน์ของนักศึกษา
นักศึกษาและผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตรต้องจัดสถานที่สอบออนไลน์ด้วยตนเองและให้เหมาะสมกับการสอบออนไลน์ เช่น ที่พักอาศัย ที่พักในโรงแรม ที่ทำงาน หรือที่อื่นๆ ที่มีความเป็นส่วนตัว มีความมิดชิด โดยไม่มีบุคคลอื่นเข้า-ออก ภายในบริเวณห้องที่ใช้เป็นสถานที่สอบออนไลน์ตลอดคาบเวลาสอบออนไลน์ และโต๊ะที่นั่งสอบออนไลน์ต้องไม่มีสิ่งอื่นใดบนโต๊ะ ยกเว้นอุปกรณ์ที่ใช้สอบออนไลน์เท่านั้น
  1. เครื่องคอมพิวเตอร์ (Personal Computer) ที่มีลำโพงพร้อมกล้องถ่ายภาพ หรือ Webcam พร้อมเชื่อมต่อ INTERNET ความเร็วอย่างน้อย 4Mbps ตลอดคาบสอบ
  2. เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค  Notebook ที่มีลำโพงพร้อมกล้องถ่ายภาพ หรือ Webcam พร้อมเชื่อมต่อ INTERNET ความเร็วอย่างน้อย 4Mbps ตลอดคาบสอบ
  3. อุปกรณ์เครื่องสำรองไฟหรือ Power Bank เพื่อสำรองไฟให้เพียงพอต่อการสอบในแต่ละคาบ

บัตรประจำตัวนักศึกษา หรือบัตรประจำตัวผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตร

บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นบัตรใดที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบัตรนั้นต้องปรากฏรูปถ่ายและเลขบัตรประจำตัวประชาชนสิบสามหลักบนบัตรนั้น หรือแอปพลิเคชัน STOUSISA ต้องปรากฏรูปถ่ายและเลขประจำตัวนักศึกษา เลขประจำตัวประชาชนด้วย

พร้อมกับเขียนลายมือชื่อลงบนกระดาษ A4 ถ่ายรูปตนเอง (Selfie) ให้เห็นใบหน้าอย่างชัดเจน และ Upload เอกสารดังกล่าวเข้าระบบการสอบออนไลน์ เพื่อส่งให้มหาวิทยาลัยตรวจสอบ

นักศึกษาและผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตรสามารถ Login เข้าระบบสอบออนไลน์ ก่อนเวลาสอบ 1 ชั่วโมงและไม่อนุญาตให้นักศึกษาและผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตรเข้าระบบสอบออนไลน์หลังจากเริ่มดำเนินการสอบออนไลน์ไปแล้ว 30 นาที ทั้งนี้นักศึกษาและผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตรต้องนั่งอยู่กับที่นั่งสอบจนกว่าจะหมดเวลาสอบตามคาบเวลาสอบนั้นๆ

1.ห้ามเข้าสอบมากกว่าหนึ่งชุดวิชาในวันและเวลาเดียวกัน

2.ห้ามใส่หูฟังในขณะทำการสอบออนไลน์

3.ห้ามกระทำการหรือมีพฤติกรรมอันเป็นการทุจริตในการสอบออนไลน์ เช่นให้ผู้อื่นเข้าสอบออนไลน์แทนตน พูดหรือติดต่อกับนักศึกษารายอื่น หรือบุคคลภายนอก พยายามดูคำตอบจากนักศึกษารายอื่น หรือยอมให้นักศึกษารายอื่นดูคำตอบของตนเองทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  หรือคัดลอกข้อสอบ หรือทำสำเนาข้อสอบด้วยวิธีการบันทึก หรือจับภาพหน้าจอ หรือถ่ายรูปข้อสอบ

4.ห้ามนำวัสดุอุปกรณ์ใดๆ ที่สามารถใช้รับและแสดงผลข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการตอบข้อสอบ หรือในการคิดคำนวณ ตำรา เอกสาร ข้อความหรือวัสดุอุปกรณ์ใด ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอบออนไลน์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยตามชุดวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด

นักศึกษาและผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตรสามารถเขียนตอบข้อสอบอัตนัยลงบนกระดาษ A4 ได้  และเมื่อนักศึกษาเขียนตอบเรียบร้อยแล้วให้ถ่ายรูปกระดาษคำตอบ แล้วให้ Upload กระดาษคำตอบส่งเข้าระบบสอบออนไลน์ ภายในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องเก็บต้นฉบับกระดาษคำตอบอัตนัยไว้ 45 วัน หลังการสอบออนไลน์ เพื่อประโยชน์ของนักศึกษากรณีที่มหาวิทยาลัยเรียกตรวจสอบภายหลัง
มหาวิทยาลัยไม่อนุญาต แท็บเล็ต (Tablet) หรือ iPad หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ (smartphone) เป็นอุปกรณ์ในการสอบออนไลน์   แต่สามารถใช้เปิดเป็นอุปกรณ์แทนกล้องได้ โดยนักศึกษาต้องดาวน์โหลดโปรแกรม ZOOM ลงบนอุปกรณ์ดังกล่าว
ไม่ต้องค่ะ เมื่อเลือกรูปแบบการสอบออนไลน์ในสถานภาพใดสถานภาพหนึ่งแล้ว จะถือว่าอีกสถานภาพหนึ่งเป็นการเลือกสอบรูปแบบออนไลน์ด้วยเช่นกัน
แต่ละภาคการศึกษาสามารถเปลี่ยนรูปแบบการสอบออนไลน์ได้ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด  หากพ้นระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดแล้วไม่เข้าสอบตามรูปแบบการสอบที่เลือกไว้ จะถือว่าเป็นผู้ขาดสอบ
ไม่ได้ค่ะ นักศึกษาที่ไม่ได้เลือกรูปแบบการสอบภายในระยะเวลาที่กำหนด มหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบให้ด้วยการสอบ ณ สนามสอบ
ศึกษารายละเอียดได้ที่  https://onlineexam.stou.ac.th/bachelor/  หรือ คีย์คำว่า การสอบออนไลน์ มสธ.
มหาวิทยาลัยจะจัดส่งใบแจ้งกำหนดการสอบให้นักศึกษาทราบก่อนสอบประมาณ 1-2 สัปดาห์ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับมหาวิทยาลัย หรือตรวจสอบได้ที่ www.stou.ac.th หัวข้อบริการนักศึกษา - นักศึกษาปริญญาตรี - การสอบ

ช่องแรก : กรอก ชื่อ นามสกุล รหัสนักศึกษา  (ระบุเป็นภาษาไทย)
ช่องสอง : กรอก รหัสนักศึกษา@stou.ac.th

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   https://onlineexam.stou.ac.th/bachelor/  หัวข้อการใช้งานระบบสอบออนไลน์ (EXAM.STOU.AC.TH)

สัญญาณเชื่อมต่อ INTERNET ชนิด 3G ขึ้นไป และมีแพ็คเก็จอินเทอร์เน็ตอย่างน้อย 2 GB ต่อ 1 วัน หรือ สัญญาณเชื่อมต่อ WIFI ความเร็วอย่างน้อย 4Mbps ตลอดคาบสอบ
นักศึกษาและผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตรสามารถเข้าไปศึกษาวิธีการติดตั้งโปรแกรม ZOOM สำหรับการสอบออนไลน์ได้ที่นี่ https://onlineexam.stou.ac.th/2-devices/
สำนักทะเบียนและวัดผล มสธ.  Version 2018.0.1