หน่วยที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตอนที่
4.1 การสื่อสารข้อมูล 4.2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4.3 การประยุกต์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสำนักงานอัตโนมัติ
แนวคิด
1. การสื่อสารข้อมูล เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารจากต้นทางไปยังปลายทางโดยผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งแบบสื่อที่ต้องใช้สายและไม่ใช้สาย ซึ่งต้องเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับงาน และองค์การ นอกจากนั้นการสื่อสารข้อมูล ยังเกี่ยวข้องกับชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล ประเภทของการส่งสัญญาณข้อมูล วิธีการสื่อสารข้อมูล ทิศทางการสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์แปลงสัญญาณ วิธีการแปลงสัญญาณ 2. เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ทำงานร่วมกัน และใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร เครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ช่องทางการสื่อสารข้อมูล และอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกกว้างๆ ได้เป็นเครือข่ายระยะใกล้หรือแลน และเครือข่ายระยะไกลหรือแวน นอกจากนั้นยังมีแบบจำลองโอเอสไอ ซึ่งเป็นระบบเปิดเพื่อเป็นแนวทางมาตรฐาน เพื่อให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างระบบกันทำงานร่วมกัน 3. การประยุกต์เครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับสำนักงานอัตโนมัตินั้น เป็นเรื่องของการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์ โทรภาพ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอกซ์ทราเน็ต เวิรลด์ ไวด์ เว็บ หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์
1. อธิบายการสื่อสารข้อมูลได้ 2. อธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ 3. อธิบายการประยุกต์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสำนักงานอัตโนมัติได้
ตอนที่ 4.1 การสื่อสารข้อมูล
เรื่องที่ 4.1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล 1. ความหมายของการสื่อสารโทรคมนาคมและการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารโทรคมนาคม หมายถึง การส่งผ่านสัญญาณ หรือพลังงาน ซึ่งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกัน การส่งผ่านข้อมูลจะเป็นเฉพาะข้อความ ตัวเลข ตัวอักษร เป็นการสื่อสารโทรคมนาคมที่ส่งผ่านเฉพาะข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ เป็นการสื่อสารข้อมูล 2. องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลจะต้องมีองค์ประกอบหลักอย่างน้อย 3 ส่วน คือ 2.1 ผู้ส่งข้อมูล 2.2 ช่องทางการส่งข้อมูล 2.3 ผู้รับข้อมูล 3. ช่องทางการสื่อสารข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลมี 2 ระบบ 3.1 สื่อที่เป็นระบบใช้สาย 3.1.1 สายคู่บิดเกลียว ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ - ยูทีพี เป็นสายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้มอีกชั้น - เอสทีพี เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้มอีก 3.1.2 สายโคแอกเชียล มักนิยมเรียกย่อๆว่า สายโคแอก เป็นสายที่ใช้สื่อสารข้อมูลที่ส่งข้อมูลได้ไกล กว่าแบบยูทีพี และเอสทีพี 3.1.3 เส้นใยนำแสง ประกอบด้วยใยแก้วหรือพลาสติกอยู่ตรงกลางของสาย โดยมีใยแก้วอีกชั้นเป็นตัวหุ้ม และใช้ฉนวนหุ้มชั้นนอกสุด ยูทีพีและเอสทีพี โคแอกเชียล เส้นใยนำแสง ค่าใช้จ่าย ต่ำ ปานกลาง สูง ระยะทาง ไม่เกิน 100 เมตร 500 เมตร 2 กิโลเมตร การติดตั้ง ง่าย ไม่ยาก ต้องใช้ความชำนาญ สื่อที่เหมาะสม ข้อมูล เสียง ภาพ ข้อมูล ข้อมูลมัลติมีเดีย ความเร็ว ปานกลาง ปานกลาง สูงมาก การรบกวนของคลื่นแม่เหล็ก รบกวน รบกวน ไม่มีผลใดๆ การดักสัญญาณ สามารถทำได้ สามารถทำได้ ไม่สามารถทำได้ 3.2 สื่อที่เป็นระบบไร้สาย 3.2.1 ระบบไมโครเวฟ เป็นระบบใช้ส่งสัญญาณที่มีคลื่นความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุ โดยส่งสัญญาณจากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่ง โดยเป็นการเดินทางแบบเส้นตรง 3.2.2 ระบบดาวเทียม ระบบดาวเทียมที่ใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคม จำแนกตำแหน่งของวงโคจรเป็น 3 กลุ่ม คือ จีโอ เป็นดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรที่ตรงกับเส้นศูนย์สูตรของโลก จะอยู่ห่างจากโลกประมาณ 22,000 ไมล์ - มีโอ เป็นดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลก 5,000-10,000 ไมล์ - ลีโอ เป็นดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลกในระดับใกล้ผิวโลกมากประมาณ 400-1,000 ไมล์ 3.2.3 ระบบเซลลูลาร์เป็นการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ จะมีพื้นที่การครอบครองแบ่งเป็นพื้นที่เล็กๆ 4. ปัจจัยในการเลือกช่องทางการสื่อสารข้อมูล 4.1 อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล 4.2 ระยะทาง 4.3 ค่าใช้จ่าย 4.4 ความสะดวกในการติดตั้ง 4.5 ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม 4.6 วิธีการสื่อสารการประชาสัมพันธ์ เรื่องที่ 4.1.2 ระบบการสื่อสาร 1. ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล 1.1 สัญญาณแอนะล็อก เป็นสัญญาณที่มีขนาดค่าความต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญญาณโดยธรรมชาติ เช่น สัญญาณเสียง 1.2 สัญญาณดิจิทัล เป็นสัญญาณที่มีขนาดเปลี่ยนแปลงเป็นค่าตัวเลขลงตัว ที่แสดงสถานะ 2 แบบ คือ 0 กับ 1 2. ประเภทของการส่งสัญญาณข้อมูล 2.1 แบบขนาน เป็นการส่งข้อมูลเป็นชุดของบิตทีละหลายๆบิตไปพร้อมกัน 2.2 แบบอนุกรม เป็นการส่งข้อมูลออกไปทีละบิตต่อเนื่องกัน โดยใช้สายส่งเพียงเส้นเดียวเท่านั้น การส่งข้อมูลแบบอนุกรม ยังแบ่งย่อยออกไปเป็น 2 วิธี คือ การส่งข้อมูลแบบอนุกรมโดยวิธีอะซิงโครนัส เป็นการจัดส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยจะส่งทีละตัวอักษร การส่งข้อมูลอนุกรมแบบซิงโครนัส เป็นการจัดส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยจะส่งข้อมูลเป็นกลุ่มข้อมูลทีละตัว 3. ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล 3.1 แบบทิศทางเดียว เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ การฝากข้อความ 3.2 แบบกึ่งสองทิศทาง เช่น วิทยุสื่อสารผลักกันพูด 3.3 แบบสองทิศทาง เช่น โทรศัพท์ เรื่องที่ 4.1.3 อุปกรณ์แปลงสัญญาณข้อมูล 1. ความหมายของโมเด็ม โมเด็ม หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไปมาระหว่างสัญญาณดิจิทัลและสัญญาณแอนะล็อก เพื่อใช้ส่งข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์ การแปลงสัญญาณดิจิทัลจากต้นทางเป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า modulation การแปลงสัญญาณแอนะล็อกที่ได้รับกลับสัญญาณดิจิทัล เรียกว่า demodulation 2. วิธีพื้นฐานในการแปลงสัญญาณของโมเด็ม 2.1 การเปลี่ยนความกว้างหรือแอมพลิจูด 2.2 การเปลี่ยนความถี่ 2.3 การเปลี่ยนเฟส 3. ประเภทของโมเด็ม 3.1 โมเด็มแบบภายนอก 3.2 โมเด็มแบบภายใน 3.3 โมเด็มแบบการ์ดพีซีเอ็มซีไอเอ 4. ความเร็วในการส่งข้อมูลของโมเด็ม 4.1 ความเร็วต่ำ มีอัตราการส่งข้อมูลประมาณ 1,200-2,400 บิตต่อวินาที 4.2 ความเร็วปานกลาง มีอัตราการส่งข้อมูลประมาณ 9,600-14,000 บิตต่อวินาที 4.3 ความเร็วสูง มีอัตราการส่งข้อมูล เช่น 28,800 บิตต่อวินาที
ตอนที่ 4.2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ 4.2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1.จุดประสงค์ของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1.1 การใช้ทรัพยากรร่วมกัน 1.2 การประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลา 1.3 การติดต่อสื่อสาร 1.4 การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น 1.5 การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการหรือการทำงาน 2. ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ให้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เพื่อทำงานและใช้ทรัพยากรร่วมกัน 3. องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3.1 ระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ ตั้งแต่ เมนเฟรม มินิ สถานีงาน หรือ พีซี 3.2 ช่องทางการสื่อสารข้อมูล 3.3 อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3.3.1 ฟรอนต์เอนด์โพรเซสเซอร์ เป็นการนำคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจมีขนาดเล็กอย่างพีซี มินิ หรือสถานีงาน ซึ่งเรียกว่า ฟรอนต์เอนด์โพรเซสเซอร์ มาต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์หลัก 3.3.2 มัลติเฟลกเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากเทอร์มินัลจากต้นทางหลายตัวเข้าด้วยกัน เพื่อส่งข้อมูลไปตามช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียว 3.3.3 คอนเซนเทรเตอร์ เป็นมัลติเพลกเซอร์ประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จะมีบัพเฟอร์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์ต้นทางที่มีความเร็วต่ำในการทำงาน 3.3.4 ฮับ เป็นอุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมต่อเครือข่ายโครงสร้างแบบดาว ซึ่งใช้เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัว 3.3.5 รีพีตเทอร์ เป็นอุปกรณ์เพิ่มแรงสัญญาณเพื่อให้เดินทางได้ไกลออกไปมากกว่าปกติ 3.3.6 บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ใช้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 วงเข้าด้วยกัน 3.3.7 เราเตอร์ เป็นอุปกรณ์ใช้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 วงเข้าด้วยกันโดยจะหาเส้นทางในการส่งข้อมูลที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติ 3.3.8 เกตเวย์ ทำหน้าที่เชื่อมและแปลงข้อมูลที่แตกต่างกันระหว่างเครือข่ายในส่วนโพรโทคอลและสถาปัตยกรรมเครือข่าย เรื่องที่ 4.2.2.ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1. เครือข่ายแลน 1.1 ความหมายของเครือข่ายแลน เครือข่ายที่เชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆในพื้นที่ใกล้เคียงกัน นิยมใช้สายเคเบิลที่มีความเร็วสูงเพียงเป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูล 1.2 ชนิดของเครือข่ายแลน 1.2.1 แบบลูกข่าย/แม่ข่าย การทำงานของเครือข่ายแบบลูกข่าย/แม่ข่าย มี 3 ลักษณะ คือ - แบบแม่ข่ายกำหนดหน้าที่เฉพาะ - แบบแม่ข่ายไม่กำหนดหน้าที่เฉพาะ - แบบเพียร์ทูเพียร์ 1.3 องค์ประกอบของเครือข่ายแลน - คอมพิวเตอร์ - โปรแกรมระบบปฏิบัติการเครือข่าย - ช่องทางการสื่อสารข้อมูล - แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย - ทรัพยากรและอุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายแลน 1.4 โครงสร้างของเครือข่ายหรือโทโพโลยีของเครือข่าย - โครงสร้างแบบดาว - โครงสร้างแบบบัส - โครงสร้างแบบแหวน 1.5 ตัวอย่างโพรโทคอลของเครือข่ายแลน โพรโทคอล คือ กฎเกณฑ์ หรือข้อตกลงกำหนดขึ้นในการรับส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางซึ่งเปรียบเสมือนกฎจราจรในการลำเลียงข้อมูลภายในช่องทางสื่อสาร เช่น - โพรโทคอลซีเอสเอ็มเอซีดี - โพรโทคอลโทเค็นริงก์ - โพรโทคอลแบบโทเค็นบัส - เอฟดีดีไอ 2. เครือข่ายแวน 2.1 ความหมายของเครือข่ายแวน หมายถึงเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันในระยะไกล 2.2 ชนิดของเครือข่ายแวน 2.2.1 เครือข่ายสาธารณะ 2.2.2 เครือข่ายโทรศัพท์ 2.2.3 เครือข่ายข้อมูลสาธารณะ ซึ่งประกอบด้วย - เครือข่ายสวิตช์วงจร - เครือข่ายสวิตช์ข่าวสาร - เครือข่ายสวิตช์กลุ่มข้อมูล - เครือข่ายไอเอสดีเอ็น 2.2.4 เครือข่ายส่วนตัว - เครือข่ายเช่า - เครือข่ายที่จัดทำภายใน เรื่องที่ 4.2.3 แบบจำลองโอเอสไอ 1. ความหมายของแบบจำลองโอเอสไอ หมายถึง แบบจำลองที่จัดทำเป็นระบบเปิดเพื่อเป็นแนวทางมาตรฐานให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันได้ กำหนดขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศที่ชื่อองค์การโอเอสไอ 2. ลำดับชั้นทั้ง 7 ของโอเอสไอ ประกอบด้วย ชั้นที่ 7 ชั้นการประยุกต์ ชั้นที่ 6 ชั้นนำเสนอ ชั้นที่ 5 ชั้นเซสชั่น ชั้นที่ 4 ชั้นขนส่ง ชั้นที่ 3 ชั้นเครือข่าย ชั้นที่ 2 ชั้นเชื่อมข้อมูล ชั้นที่ 1 ชั้นกายภาพ
ตอนที่ 4.3 การประยุกต์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสำนักงานอัตโนมัติ
เรื่องที่ 4.3.1 เครื่องมือสำหรับการติดต่อสื่อสารในสำนักงาน 1. การติดต่อสื่อสารโดยผ่านระบบโทรศัพท์ 1.1 โทรสาร - โทรสารที่ทำหน้าที่เป็นโทรสารอย่างเดียว - โทรสารที่ใช้แผงวงจรแฟกซ์ 1.2 ไปรษณีย์เสียง 2.การติดต่อสื่อสารโดยวีดิทัศน์และเสียง 2.1 การประชุมทางไกล 2.1.1 เทคโนโลยีในการประชุมทางไกล ประกอบด้วย อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ กล้องจับภาพ อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล แผงวงจรเพื่อจับภาพ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประชุมทางไกล 2.1.2 ประเภทของการประชุมทางไกล - การประชุมทางไกลด้วยเสียง - การประชุมทางไกลด้วยวีดีทัศน์ - การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์ 2.2 โทรศัพท์ภาพ เรื่องที่ 4.3.2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสำนักงานอัตโนมัติ 1. อินเทอร์เน็ต 1.1 ความหมาย อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายสาธารณะที่อิสระจากการเป็นเจ้าของ เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงเครือข่ายย่อยทั่วโลกให้ถึงกัน 1.2 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต - การเชื่อมต่อโดยตรง - การเชื่อมต่อผ่านการหมุนโทรศัพท์ 1.3 ระบบการแทนชื่อในอินเทอร์เน็ต - การใช้ระบบรายชื่อโดเมนแทนการจดจำและเรียกจากหมายเลขไอพี - หลักเกณฑ์การกำหนดระบบรายชื่อโดเมน เช่น หน่วยงานรัฐบาล ใช้ .gov หน่วยงานนานาชาติ ใช้ .int 1.4 บริการในอินเทอร์เน็ต - ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ - บริการข่าวสาร - เทลเน็ต - การถ่ายโอนข้อมูล - เมลลิ่งลิสต์ 2. อินทราเน็ต 2.1 ความหมาย อินทราเน็ต คือ เครือข่ายที่ใช้หลักการและมาตรฐานการทำงานของอินเทอร์เน็ต และเวิรลด์ ไวด์ เว็บ มาใช้เป็นเครือข่ายภายในองค์การโดยใช้งานจำกัดเฉพาะบุคลากรภายในองค์การเท่านั้น 2.2 องค์ประกอบของอินทราเน็ต - เครือข่ายแลน - คอมพิวเตอร์แม่ข่าย - ไฟร์วอล - อุปกรณ์อื่นๆ 2.3 ตัวอย่างการประยุกต์อินทราเน็ตในสำนักงาน - การติดต่อสื่อสาร - การกระจายข่าวสาร - การจัดเก็บข้อมูล - การเคลื่อนย้ายเอกสาร 3. เอกซ์ทราเน็ต 3.1 ความหมาย เอกซ์ทราเน็ต หมายถึง การนำเครือข่ายอินทราเน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายเฉพาะภายในองค์การมาเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้บุคคลภายนอกขององค์การที่เป็นสมาชิกหรือได้รับอนุญาตดำเนินการได้ 3.2 ข้อควรคำนึงในการนำเอกซ์ทราเน็ตมาใช้ในองค์การ - มีระบบเครือข่ายอินทราเน็ตอยู่แล้ว - เชื่อมต่ออินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ต - มีฐานข้อมูลกลางในการทำธุรกรรมร่วมกัน - มีซอฟต์แวร์และการประยุกต์งานด้านต่างๆ - มีระบบป้องกันความเสียหาย และความปลอดภัยของข้อมูล เรื่องที่ 4.3.3 เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต 1. เวิรลด์ ไวด์ เว็บ 1.1 ความหมาย เวิรลด์ ไวด์ เว็บ เป็นเครือข่ายฐานข้อมูลที่เป็นเอกสารในรูปไฮเปอร์เทกซ์ที่เก็บบนแม่ข่ายเว็บ ตามแหล่งต่างๆทั่วโลกให้เชื่อมโยงถึงกันได้จนกระทั่งมีลักษณะเหมือนใยแมงมุมที่ต่อกันได้ทั่วทุกจุดบนโลก 1.2 วิธีการนำเสนอข้อมูลบนหน้าเว็บ - การดึง - การผลัก 2. เทคโนโลยีอื่นๆ 2.1 โทรศัพท์บนเครือข่ายหรือโทโลโฟนี 2.1.1 อุปกรณ์ต่อเชื่อมที่จำเป็น ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่มีแผงวงจรเสียง โมเด็ม ซอฟต์แวร์ ไมโครโฟนและลำโพง 2.1.2 รูปแบบการทำงาน มี 3 รูปแบบ คือ พีซีกับพีซี พีซีกับโทรศัพท์ และโทรศัพท์กับโทรศัพท์
บรรณานุกรม
Capron,H.L.. Computers : Tool for An Information Age. . 4th The USA Benjamin/Camming Publishing Company ,Inc.,1996 Hutchinson,Sarah and Sawyer,Stacey. Computers and Information System 1994-1995 ed . The USA : Richard D Irwin,Inc. 1994. Schultheis,Robert and Sumner,Mary . Management Information Systems : The Managers View. :4th ed.,The USA Irwin/McGraw-Hill,1998.
|