หน่วยที่ 5 การประมวลผลภาพกราฟิก
ตอนที่
5.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมวลผลภาพกราฟิก 5.2 เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการภาพกราฟิก 5.3 การประยุกต์ภาพกราฟิกในสำนักงาน
แนวคิด
1. ภาพเป็นภาษาสากลที่สามารถใช้สื่อสารกันได้ ซึ่งภาพที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์และถูกนำไปใช้ในเอกสารเป็นภาพที่เกิดจากภาพกราฟิกแบบบิตแมบและภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ สำหรับภาพกราฟิกที่ใช้ประกอบในเอกสารอาจได้มาจากภาพกราฟิกที่ถูกสร้างไว้ หรือภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่โดยอาศัยซอฟต์แวร์สร้างภาพกราฟิก 2.อุปกรณ์รับภาพกราฟิก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแปลงภาพให้อยู่ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์แสดงภาพกราฟิกเป็นเครื่องมือที่แปลงแฟ้มข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นภาพที่สามารถมองเห็นได้ ส่วนซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการภาพกราฟิกนั้นเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ประมวลผลภาพกราฟิกโดยอาศัยเทคโนโลยีภาพกราฟิกแบบบิตแมบและภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ 3.ภาพเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเอกสาร ภาพที่นำมาประกอบในเอกสารเป็นภาพที่ได้มาจากซอฟต์แวร์สร้างภาพกราฟิก นอกจากจะใช้ภาพกราฟิกในการผลิตเอกสารแล้วยังประยุกต์ใช้ในระบบกระแสงานโดยเป็นสัญรูปที่เข้าสู่การประมวลผลในระบบกระแสงาน การบันทึกภาพและการจัดเก็บภาพจะต้องคำนึงถึงการประหยัดเวลาในการค้นหา และการประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สามารถลดขนาดของภาพที่เป็นแฟ้มข้อมูลได้ ซึ่งทำให้สามารถจัดเก็บภาพได้อย่างประหยัดเวลาและพื้นที่
วัตถุประสงค์
1. บอกลักษณะประเภทและความสำคัญของภาพกราฟิกได้ 2. บอกวิธีการสร้างภาพกราฟิกของซอฟต์แวร์ภาพกราฟิกได้ 3. ระบุอุปกรณ์ที่ใช้รับและแสดงภาพกราฟิกได้ 4. ระบุซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างภาพกราฟิกได้ 5.บอกวิธีการการผลิตและการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลภาพได้
ตอนที่ 5.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมวลผลภาพกราฟิก
เรื่องที่ 5.1.1 ความสำคัญและประเภทของภาพกราฟิก 1. ความสำคัญของภาพกราฟิก การจัดทำเอกสารให้สวยงาม ต้องใช้ภาพประกอบ เพราะภาพจะสามารถสื่อความหมายได้ดีกว่าแสดงด้วยตัวอักษร 2. ประเภทของภาพกราฟิก ภาพกราฟิก หมายถึง ภาพที่จัดเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลรูปภาพเพื่อใช้ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ได้ ประเภทของภาพกราฟิกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภาพกราฟิกแบบบิตแมบและภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ 2.1 ภาพกราฟิกแบบบิตแมบ เป็นภาพที่คอมพิวเตอร์สร้างโดยการนำช่องตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือจุดบนจอภาพที่เรียกว่า พิกเซล มาประกอบกันเป็นภาพ 2.2 ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กราฟิกเชิงวัตถุ เป็นภาพที่สร้างจากการประมวลผลสูตร หรือสมการทางคณิตศาสตร์โดยกลุ่มของบิต คอมพิวเตอร์ที่นำมาประกอบเป็นภาพ 3. การเก็บภาพกราฟิกในหน่วยความจำ เนื่องจากจอภาพเป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลแบบบิตแมบ ภาพที่ปรากฏบนจอภาพ เป็นรูปจุดที่ประกอบกันในลักษณะของตาราง 2 มิติ โดยกำหนดจุดในตาราง 2 มิติ ให้เป็นขาวหรือดำ เพื่อต่อกันเป็นรูปแบบของภาพ เรื่องที่ 5.1.2 การจัดการภาพกราฟิก 1. การนำเข้าภาพกราฟิก 1.1 การนำเข้าภาพกราฟิกโดยอาศัยภาพกราฟิกที่มีอยู่แล้ว 1.1.1 การกราดภาพ 1.1.2 การใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น กล้องถ่ายภาพดิจิทัล อุปกรณ์บันทึกภาพเคลื่อนไหว 1.1.3 การใช้ภาพสำเร็จรูปที่เรียกว่า คลิปอาร์ต ซึ่งหมายถึง ภาพกราฟิกสำเร็จรูปที่ได้รับการออกแบบและจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ 1.2 การสร้างภาพกราฟิกขึ้นใหม่ เช่น ซอฟต์แวร์ฟรีแฮนด์ เพื่อใช้ทำเทมเพลท 2. การประมวลผลภาพกราฟิก ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผลภาพกราฟิก โดยส่วนมากมักถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการที่มีส่วนต่อประสานผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphical User Interface, GUI) จึงทำให้ซอฟต์แวร์ทำงานได้ง่าย โดยได้จำลองเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการปรับแต่งภาพกราฟิก เช่น พู่กัน แว่นขยาย จานสี เป็นต้น 3. การส่งออกภาพกราฟิกและการเชื่อมโยงภาพกราฟิก 3.1 การนำเข้าภาพกราฟิก (Importion) เป็นการนำเข้าภาพกราฟิกจากซอฟต์แวร์อื่น ซึ่งการจะนำมาสู่อีกซอฟต์แวร์หนึ่ง อาจต้องบันทึกภาพกราฟิกนั้นต่างออกไป 3.2 การส่งออกภาพกราฟิก (Exportion) เป็นการส่งภาพกราฟิกไปยังอีกซอฟต์แวร์หนึ่ง โดยการจัดส่งแฟ้มข้อมูลรูปภาพกราฟิกระหว่างซอฟต์แวร์จะทำได้โดยการใช้คลิปบอร์ดในระบบปฏิบัติการวินโดวส์
ตอนที่ 5.2 เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการภาพกราฟิก
เรื่องที่ 5.2.1 อุปกรณ์รับภาพกราฟิก 1. เครื่องกราดภาพ เครื่องกราดภาพเป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลภาพกราฟิก ที่เปลี่ยนข้อมูลที่เป็นตัวอักขระและภาพกราฟิกให้เป็นข้อมูลดิจิทัลโดยใช้สัญญาณแสง 1.1 ประเภทของเครื่องกราดภาพ - เครื่องกราดภาพมือถือ - เครื่องกราดภาพแบนราบ - เครื่องกราดภาพเครื่องหมาย 1.2 ส่วนประกอบของเครื่องกราดภาพ - แหล่งกำเนิดแสง - ที่วางต้นฉบับ - เลนส์รับแสงกราด - อุปกรณ์ตรวจรับแสงซีซีดี - ตัวแปลงสัญญาณ 1.3 การทำงานของเครื่องกราดภาพ ระบบการกราดภาพของเครื่องกราดภาพจะแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ คือ - การกราดภาพ 3 ครั้ง - การกราดภาพครั้งเดียว 1.4 ความละเอียดและความคมชัด 1.5 ซอฟต์แวร์ที่ช่วยการทำงานของเครื่องกราดภาพ - ซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพกราฟิก - ซอฟต์แวร์ประเภทรู้จำอักขระด้วยแสง 2. อุปกรณ์รับภาพกราฟิกประเภทอื่นๆ 2.1 กล้องถ่ายภาพนิ่งแบบดิจิทัล 2.2 กล้องวิดีโอดิจิทัล 2.3 กระดานภาพอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องที่ 5.2.2. อุปกรณ์แสดงภาพกราฟิก 1. จอภาพ 1.1 จอภาพชนิดหลอดรังสีแคโธด 1.2 จอภาพชนิดผลึกเหลว 2. เครื่องพิมพ์ 2.1 เครื่องพิมพ์แบบจุด 2.2 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ 2.3 เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ท 2.4 เครื่องพิมพ์สีใช้ความร้อน 2.5 เครื่องพิมพ์แบบดิจิทัล เรื่องที่ 5.2.3 ซอฟต์แวร์เพื่อการจัดการภาพกราฟิก 1. ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ เช่น แมคเพนท์ แมคดรอว์โปร คอเรลดรอว์ 2. ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานภาพกราฟิกแบบบิตแมบ เช่น เพนท์ชอพโปร คอเรลโฟโตเพนท์ โฟโตชอพ
ตอนที่ 5.3 การประยุกต์ภาพกราฟิกในสำนักงาน
เรื่องที่ 5.3.1 การประยุกต์ภาพกราฟิกในการผลิตเอกสารในสำนักงาน 1. ลักษณะของภาพกราฟิกในเอกสาร 1.1 ภาพแทรกที่ใช้ในเอกสาร 1.1.1 ภาพประดับตกแต่ง 1.1.2 ภาพที่เชื่อมโยงกับเอกสาร 1.2 ภาพพื้นหลัง 2. การนำรูปภาพกราฟิกมาประกอบในเอกสาร 2.1 การนำรูปภาพกราฟิกที่มีอยู่แล้วมาใช้งาน 2.2 การสร้างภาพกราฟิกขึ้นใหม่ ซึ่งวิธีการสร้างภาพจากซอฟต์แวร์ เช่น - ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ โดยอาจเป็น ภาพที่วาดขึ้นเอง หรือภาพสำเร็จรูป - ซอฟต์แวร์สร้างภาพกราฟิก 3. ตัวอย่างการสร้างภาพกราฟิกในเอกสารด้วยซอฟต์แวร์ภาพกราฟิก 3.1 การเรียกใช้ซอฟต์แวร์จากเมนูหลัก 3.2 การวาดภาพกราฟิก - เครื่องมือที่ใช้วาดภาพกราฟิก เช่น เครื่องมือดินสอ เครื่องมือแปรง - เครื่องมือที่ใช้สร้างเส้น เช่น เครื่องมือเส้นตรง เครื่องมือเส้นโค้ง - เครื่องมือที่ใช้สร้างรูปร่าง - เครื่องมือที่ใช้เลือกพื้นที่ 3.3 การจัดการวัตถุ - การเคลื่อนย้ายส่วนที่เลือก - การลบภาพการยกเลิกสิ่งที่ทำแล้วและการกลับไปทำใหม่ - เครื่องมือเคลื่อนย้ายจัดกลุ่ม 3.4 การระบายสี - การเติมสี - การเก็บสีภาพ 3.5 การสร้างตัวอักษรและสัญลักษณ์ 3.6 การซูมดูชิ้นงาน 3.7 สเปเชียลเอฟเฟกต์ 3.8 เลเยอร์ 3.9 การพิมพ์งาน เรื่องที่ 5.3.2 การจัดเก็บและค้นหาภาพกราฟิกในสำนักงาน 1. การจัดเก็บภาพ 1.1 การจัดเก็บภาพตามหมวดหมู่ของภาพ 1.2 การจัดเก็บตามรูปแบบแฟ้มข้อมูลภาพ 1.2.1 Window Device Independent Bitmap,BMP 1.2.2 Graphics Interchange Format, GIF 1.2.3 Z-Soft Paintbrush,PCX 1.2.4 Joint Photographic Experts Group,JPEG 1.2.5 Tagged Image File Format,TIFF 1.2.6 Computer Graphics Metafite,CGM 1.2.7 Data Exchange File , DXF 1.2.8 Encapsulated Post Script,EPS 1.2.9 Hewlett-Packard Graphics Language,HPGL 1.2.10 Lotus Picture File,PIC 1.2.11 Macintosh Quick Draw Picture Format,PICT 1.2.12 Windows Metafile ,WMF
บรรณานุกรม
Ihrig,Sybil and Ihrig,Emil. Scanning The Professional Way. USA : McGraw-Hill,1995. Murray,Kathy. The Graphics Coach. USA : New Riders Publishing,1993. Rimmer,Steve. Bit-Mapped Graphics. USA : McGraw-Hill,1993.
|